ASTVผู้จัดการรายวัน - ครม.สรุปให้แบงก์กรุงเทพเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค 2,000 บาท รัฐบาลใช้งบ 20 ล้านสำหรับเช็ค 10 ล้านใบ กระทรวงการคลังเร่งหารือกับส่วนราชการวันนี้ ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 จะทำให้การเบิกจ่ายล่าช้า กำชับผู้ประกันตนทีมีสิทธิ์รีบยื่นก่อนวันที่ 16 มีนาคม เพื่อให้ได้รับเช็คในงวดแรก ประธานสภาองค์การพัฒนาลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทยข้องใจให้แบงก์กรุงเทพแทนที่จะเป็นกรุงไทย (KTB)
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ได้รายงานแนวทางการจ่ายเช็ค 2,000 บาท ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมอบหมายให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เป็นผู้ดำเนินการจ่ายเช็คจำนวน 9.7 ล้านคน โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 20 ล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ย 2 บาทต่อเช็ค 1 ใบ
โดยในวันนี้ (11 มี.ค.) จะเรียกข้าราชการกว่า 300 หน่วยงาน มาประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้มีสิทธิรับเช็คเพื่อเตรียมส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารกรุงเทพในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เพื่อให้ธนาคารสามารถส่งเช็คกลับมาได้ภายในวันที่ 24 มีนาคม และพร้อมจะจ่ายให้แก่ประชาชนได้ทันในวันที่ 26 มีนาคม โดยเช็คช่วยชาติจะมีอายุ 6 เดือน ขณะเดียวกันการขอยื่นรับเช็คหาก พ้นวันที่ 8 เมษายนนี้ไปแล้วผู้ประกันตนยังสามารถมาขอรับเช็คได้ โดยจะขยายระยะเวลาให้ 90 วันนับจากวันที่ 8 เมษายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ จะประสานงานให้กระทรวงการคลังเข้าเจรจากับสมาคมธนาคารไทยเพื่อขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขึ้นเช็คช่วยชาติ รวมไปถึงจะมีการวางกฏเกณฑ์กลางการใช้เช็คว่าจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรจะสามารถทอนเงินคืนได้หรือไม่ รวมถึงจะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องที่ร้านค้าจะเข้ามาร่วมสนับสนุนการใช้เช็ค 2,000 บาท
เรียกผู้ประกันตนยื่นก่อน 16 มี.ค.
นางประภา ศิรวัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 กล่าวว่า ขณะนี้มีข้อมูลของผู้ประกันตนกว่า 5 ล้านคน ที่มาลงทะเบียนขอรับเช็คเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท ของผู้มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ส่วนขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการคัดแยกสำหรับผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ
นางประภาขอให้ผู้ประตนที่มีสิทธิ์รีบเดินทางมาลงทะเบียนก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2552 เพื่อจะได้รับเงินในกลุ่มแรก และจะเริ่มเบิกจ่ายเช็ควันแรก ในวันที่ 26 มีนาคม 2552 ซึ่งในวันนี้จะเป็นวันแรกที่สำนักงานประกันสังคมจะส่งรายชื่อของผู้ประกันตนให้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำการพิมพ์เช็ค นอกจากนี้ยังกังวลว่าในวันที่ผู้ประกันตน มารับเช็คจะมีผู้มารับเป็นจำนวนมาก และอาจจะทำให้การเบิกจ่ายเช็คล่าช้าและใช้เวลามาก
การลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เขตพื้นที่ 3 ประจำกระทรวงแรงงาน ดูแลใน 4 เขต พื้นที่ ประกอบด้วย ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง ขณะนี้เป็นไปอย่างคึกคัก โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์รับเช็คช่วยเหลือดังกล่าว ทยอยเดินทางมาลงทะเบียนกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของ สปส.เขตพื้นที่ 3 ยังระบุว่า ปัญหาที่พบอยู่ตลอด คือ ประชาชนยังสับสนการยื่นเรื่อง ทั้งผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 38 เนื่องจากผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 33 เดินทางลงทะเบียนด้วยตัวเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะนายจ้างต้องรวบรวมรายชื่อมายื่นแทน
ข้องใจแบงก์กรุงไทยวืด
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การพัฒนาลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดกรมบัญชีกลางที่เคยบอกว่าให้ธนาคารของรัฐบาลเป็นผู้เข้ามาดำเนินการ แต่มาวันนี้ให้เป็นหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพเพียงแห่งเดียว หรือเป็นเพราะธนาคารอื่นถอนตัวไม่เสนอราคาเข้าไปให้รัฐบาลพิจารณา ทั้งที่น่าจะเป็นธนาคารของรัฐ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลกำไรมาเกี่ยวข้อง และมองว่าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งเป็นธนาคารที่ผู้ประกันตนเคยใช้และสะดวกใช้ เนื่องจากเบิกจ่ายเงินในกองทุนเงินทดแทนอยู่แล้ว
ด้านพรรคเพื่อไทยจะยื่นหนังสือเพื่อยื่นถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีคนอื่นๆ ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ซึ่งจะมีเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งใน 14 ประเด็น เพราะเห็นว่าการบริหารที่ผ่านมา ไม่เป็นประโยชน์ สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ได้รายงานแนวทางการจ่ายเช็ค 2,000 บาท ให้แก่ผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมอบหมายให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) เป็นผู้ดำเนินการจ่ายเช็คจำนวน 9.7 ล้านคน โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 20 ล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ย 2 บาทต่อเช็ค 1 ใบ
โดยในวันนี้ (11 มี.ค.) จะเรียกข้าราชการกว่า 300 หน่วยงาน มาประชุมเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้มีสิทธิรับเช็คเพื่อเตรียมส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารกรุงเทพในวันที่ 12 มีนาคมนี้ เพื่อให้ธนาคารสามารถส่งเช็คกลับมาได้ภายในวันที่ 24 มีนาคม และพร้อมจะจ่ายให้แก่ประชาชนได้ทันในวันที่ 26 มีนาคม โดยเช็คช่วยชาติจะมีอายุ 6 เดือน ขณะเดียวกันการขอยื่นรับเช็คหาก พ้นวันที่ 8 เมษายนนี้ไปแล้วผู้ประกันตนยังสามารถมาขอรับเช็คได้ โดยจะขยายระยะเวลาให้ 90 วันนับจากวันที่ 8 เมษายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ จะประสานงานให้กระทรวงการคลังเข้าเจรจากับสมาคมธนาคารไทยเพื่อขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการขึ้นเช็คช่วยชาติ รวมไปถึงจะมีการวางกฏเกณฑ์กลางการใช้เช็คว่าจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไรจะสามารถทอนเงินคืนได้หรือไม่ รวมถึงจะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องที่ร้านค้าจะเข้ามาร่วมสนับสนุนการใช้เช็ค 2,000 บาท
เรียกผู้ประกันตนยื่นก่อน 16 มี.ค.
นางประภา ศิรวัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 กล่าวว่า ขณะนี้มีข้อมูลของผู้ประกันตนกว่า 5 ล้านคน ที่มาลงทะเบียนขอรับเช็คเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท ของผู้มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ส่วนขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการคัดแยกสำหรับผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ
นางประภาขอให้ผู้ประตนที่มีสิทธิ์รีบเดินทางมาลงทะเบียนก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2552 เพื่อจะได้รับเงินในกลุ่มแรก และจะเริ่มเบิกจ่ายเช็ควันแรก ในวันที่ 26 มีนาคม 2552 ซึ่งในวันนี้จะเป็นวันแรกที่สำนักงานประกันสังคมจะส่งรายชื่อของผู้ประกันตนให้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำการพิมพ์เช็ค นอกจากนี้ยังกังวลว่าในวันที่ผู้ประกันตน มารับเช็คจะมีผู้มารับเป็นจำนวนมาก และอาจจะทำให้การเบิกจ่ายเช็คล่าช้าและใช้เวลามาก
การลงทะเบียนที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.)เขตพื้นที่ 3 ประจำกระทรวงแรงงาน ดูแลใน 4 เขต พื้นที่ ประกอบด้วย ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง ดินแดง ขณะนี้เป็นไปอย่างคึกคัก โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์รับเช็คช่วยเหลือดังกล่าว ทยอยเดินทางมาลงทะเบียนกันอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของ สปส.เขตพื้นที่ 3 ยังระบุว่า ปัญหาที่พบอยู่ตลอด คือ ประชาชนยังสับสนการยื่นเรื่อง ทั้งผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 38 เนื่องจากผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 33 เดินทางลงทะเบียนด้วยตัวเอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะนายจ้างต้องรวบรวมรายชื่อมายื่นแทน
ข้องใจแบงก์กรุงไทยวืด
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การพัฒนาลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่าเหตุใดกรมบัญชีกลางที่เคยบอกว่าให้ธนาคารของรัฐบาลเป็นผู้เข้ามาดำเนินการ แต่มาวันนี้ให้เป็นหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพเพียงแห่งเดียว หรือเป็นเพราะธนาคารอื่นถอนตัวไม่เสนอราคาเข้าไปให้รัฐบาลพิจารณา ทั้งที่น่าจะเป็นธนาคารของรัฐ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลกำไรมาเกี่ยวข้อง และมองว่าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ซึ่งเป็นธนาคารที่ผู้ประกันตนเคยใช้และสะดวกใช้ เนื่องจากเบิกจ่ายเงินในกองทุนเงินทดแทนอยู่แล้ว
ด้านพรรคเพื่อไทยจะยื่นหนังสือเพื่อยื่นถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีคนอื่นๆ ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ซึ่งจะมีเรื่องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งใน 14 ประเด็น เพราะเห็นว่าการบริหารที่ผ่านมา ไม่เป็นประโยชน์ สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง