ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (8มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี (กบส.) กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงกว่า 500 คน ซึ่งปิดถนนราชดำเนินช่วงสะพานมัฆวานรังสรรค์ ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล ปราศรัยรณรงค์วันสตรีสากล เรียกร้องและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานหญิง โดย
1.ขอให้รัฐจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในเขตชุมชนย่านอุตสาหกรรมต่างๆในปริมาณที่เพียงพอและปรับคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยมีผู้แทนของผู้ใช้แรงงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2.ขอให้รัฐออกกฎหมายกำหนดสัดส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกระดับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
3. ขอให้รัฐประกาศวันสตรีสากลเป็นวันหยุดตามประเพณี
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงยังขอติดตาม 1. เรื่องการปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระและขยายการคุ้มครองสิทธิสู่แรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ 2. ขอให้รัฐเร่งดำเนินการออกกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
3. รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 และ 4.ต้องยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ 5. รัฐต้องคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติให้เท่าเทียมกับแรงงานไทย 6. รัฐต้องจัดมาตรการรองรับแรงงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศหลังกลับสู่ประเทศไทย
7.รัฐต้องบังคับใช้ พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง 8.ต้องยุติการคุกคามทางเพศในสถานประกอบการ ต่อเด็กและสตรี
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้รับข้อเรียกร้องดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า สภาพข้อเท็จจริงของสังคมเราในปัจจุบันแม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติชัดเจนคุ้มครองเรื่องความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ แต่ข้อเท็จจริงจากการสำรวจรายได้ โอกาส สถานภาพต่างๆ ยอมรับว่า พี่น้องสตรี ยังเป็นกลุ่มที่เสียเปรียบในสังคม ฉะนั้นตรงนี้ถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล ที่จริงรัฐบาลไม่ว่าจะชุดไหนก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องมีนโยบายเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหานี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สภาพปัญหาของสตรีที่พบคือ ปัญหาเรื่องความรุนแรง นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งที่ต้องช่วยกันคือ เรื่องการเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อสตรี โดยสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญตรงนี้มาก ขอให้สื่อช่วยให้ความสำคัญตระหนักเรื่องนี้ด้วย
ส่วนข้อเรียกร้องที่เสนอมาหลายข้อ อยากเรียนว่า หลายๆเรื่องตรงกับนโยบายของรัฐบาล ทั้งเรื่องศูนย์ดูแลเด็กเล็กและอีกหลายๆ เรื่อง ตนเป็นคนที่พูดตรงไปตรงมา การที่รับไปแล้วบอกว่าจะทำให้ทุกข้อนั้น เป็นการพูดไม่จริง เราต้องดูสภาพความเป็นจริงตรงไหนจะเดินได้ก่อนหลังอย่างไร และขอเรียนตรงๆงานเหล่านี้ยากขึ้น เวลาเศรษฐกิจไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองแรงงานต่างชาติ ความกดดันแง่การต่อต้านแรงงงานต่างชาติจะสูงขึ้น เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงตรงนี้ ฉะนั้นหลายๆ เรื่องจะมีความละเอียดอ่อนในตัวของมันเอง แต่หลักๆ เรื่องการดูแลเด็กเล็กนั้น นโยบายที่รัฐบาลอยากลองเดินก่อนคือ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อให้สถานประกอบการทำเอง ตรงนี้เป็นนโยบายที่เคยนำเสนอในฐานะพรรคการเมือง วันนี้ตั้งใจที่จะผลักดันต่อไป และในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม เด็ก สตรี จะดูแลเรื่องเด็กเล็ก เด็กอ่อน ซึ่งจะรณรงค์ดูแลเด็กเล็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ และทำให้เด็กรักการอ่าน เรามีความคิดหลายเรื่องที่กำลังผลักดันสอดคล้องกับที่เสนอมา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องของประกันสังคมในแรงงาน เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปฏิรูป มีการเสนอเข้าที่ประชุม ครม.มาแล้วครั้งหนึ่ง จะแยกกองทุนประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน แต่ให้ยังขึ้นกับสำนักงาน ซึ่งเป็นกรม ตนบอกอย่างนี้ไม่ได้ อยู่ดีๆ มีนิติบุคคลที่เป็นตัวกองทุนมาขึ้นกับกรม มันไม่อิสระ จึงให้นำกลับไปทำใหม่ หากอยากเป็นอิสระต้องออกเต็มรูปแบบ ไม่ให้เกิดความสับสนและไปแทรกแซง เพราะที่สุดแล้วกองทุนประกันสังคมเป็นเงินที่มาจากผู้ใช้แรงงานและนายจ้างไม่ใช่เงินของรัฐบาล รัฐบาลเพียงสมทบเข้าส่วนหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นตรงนี้อยู่ในแนวทางที่ตรงกัน คือสนับสนุนประกันสังคมให้เป็นอิสระ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนความพยายามที่จะให้ครอบคลุมไปยังแรงงานนอกระบบ ขณะนี้คนในประกันสังคมประมาณ 9 ล้านคน และในที่สุดจะถึง 20 กว่าล้านคน ปัญหาคือ คนที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการจะมีวิธีการอย่างไร คือจะต้องไม่มีนายจ้างสมทบ และจะมีวิธีดูแลอย่างไรที่จะส่งเงินเข้าสม่ำเสมอ จะตั้งเป็นองค์กร หรือชมรม อย่างไร หรือเป็นแบบสหกรณ์แบบชนบท ตรงนี้ตนได้ให้ที่ปรึกษาดูอยู่
ส่วนการมีส่วนร่วมของสตรีในคณะกรรมการต่างๆ ตนก็พยายามดูแล เรามี ส.ส.หญิงหลายคนที่ใส่ใจ แต่ต้องยอมรับว่า เวลาอยากได้ผู้หญิงเข้ามาทำงานในหลายๆ เรื่องเวลาทาบทาม หาไม่ง่าย โดยเฉพาะการให้มาเป็น ส.ส. แต่ก็จะพยายามต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตาม ยินดีที่จะรับข้อเสนอทั้งหมดนี้ไปพิจารณาเดินหน้า หากมีอะไร ขอให้มาพูดคุยกันได้เสมอ ไม่ต้องรอปีละครั้ง ให้ผู้แทนประสานงานมายังรัฐบาลได้ทันที อะไรทำได้จะทำ หากทำไม่ได้จะเล่าให้ฟัง เหตุที่ทำไม่ได้เพราะอะไร
"ปีนี้หนักหนาสาหัสสำหรับทุกคน ฉะนั้นหลายอย่างที่จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหาผ่านไปได้ต้องอาศัยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ความเข้าอกเข้าใจกัน โดยเฉพาะในเรื่องแรงงาน ผมพยายามอย่างยิ่งในภาวะอย่างนี้อย่าให้เกิดความขัดแย้ง เพราะจุดหนึ่งที่ทำให้คนไทยได้รับโอกาสในแง่การลงทุนอย่างมาก คือคนยังไม่มีความรู้ว่าปัญหาแรงงานสัมพันธ์เป็นปัญหาใหญ่ แต่หากเมื่อไรถ้าเรามีความขัดแย้งรุนแรงจะกระทบอย่างมากต่อการสร้างความเชื่อมั่น และการสร้างโอกาสของพี่น้องประชาชน" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กว่า ตนจะไปดูในส่วนของเอกชนเพราะมีแนวคิดอยู่แล้วเรื่องการให้สถานประกอบการมีสถานที่ดูแลเด็กเล็กในสถานประกอบการ โดยรัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนเรื่องสิทธิประโยชน์ ด้านภาษีอากร เป็นนโยบายที่เราเคยประกาศไว้ ก็จะเดินหน้า ขณะเดียวกันการดูแลเด็กเล็กในชุมชนต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง ซึ่งได้คุยกับทางคณะกรรมการดูแลเด็กปฐมวัยอยู่ คิดว่าเร็วๆนี้ จะมีความชัดเจนในแง่เป้าหมายที่จะทำได้ในช่วงนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังรับข้อเรียกร้องและข้อเสนอของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง นายกรัฐมนตรี ได้เดินไปทักทายกลุ่มเครือข่ายเกษตร และเครือข่ายสลัม 4 ภาค ที่มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน และที่ดินอยู่อาศัย เพื่อติดตามเรื่องการนัดหมายหารือร่วมกับนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับตัวแทนเครือข่ายเกษตรกร ในช่วงบ่าย (8 มี.ค.) ที่กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้รับปากจะดูคำสั่ง เซ็น และนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันอังคารที่ 10 มี.ค.และวันพุทธที่ 11 มี.ค. จะพบกันอีกช่วงบ่าย ที่สภาฯ
1.ขอให้รัฐจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในเขตชุมชนย่านอุตสาหกรรมต่างๆในปริมาณที่เพียงพอและปรับคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้แรงงาน โดยมีผู้แทนของผู้ใช้แรงงานและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2.ขอให้รัฐออกกฎหมายกำหนดสัดส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกระดับอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
3. ขอให้รัฐประกาศวันสตรีสากลเป็นวันหยุดตามประเพณี
นอกจากนี้ กลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิงยังขอติดตาม 1. เรื่องการปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระและขยายการคุ้มครองสิทธิสู่แรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ 2. ขอให้รัฐเร่งดำเนินการออกกฎหมายจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
3. รัฐต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 และ 4.ต้องยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ 5. รัฐต้องคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติให้เท่าเทียมกับแรงงานไทย 6. รัฐต้องจัดมาตรการรองรับแรงงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศหลังกลับสู่ประเทศไทย
7.รัฐต้องบังคับใช้ พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง 8.ต้องยุติการคุกคามทางเพศในสถานประกอบการ ต่อเด็กและสตรี
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้รับข้อเรียกร้องดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า สภาพข้อเท็จจริงของสังคมเราในปัจจุบันแม้จะมีรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติชัดเจนคุ้มครองเรื่องความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ แต่ข้อเท็จจริงจากการสำรวจรายได้ โอกาส สถานภาพต่างๆ ยอมรับว่า พี่น้องสตรี ยังเป็นกลุ่มที่เสียเปรียบในสังคม ฉะนั้นตรงนี้ถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล ที่จริงรัฐบาลไม่ว่าจะชุดไหนก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่มีความจำเป็นต้องมีนโยบายเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหานี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สภาพปัญหาของสตรีที่พบคือ ปัญหาเรื่องความรุนแรง นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมาย สิ่งที่ต้องช่วยกันคือ เรื่องการเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อสตรี โดยสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญตรงนี้มาก ขอให้สื่อช่วยให้ความสำคัญตระหนักเรื่องนี้ด้วย
ส่วนข้อเรียกร้องที่เสนอมาหลายข้อ อยากเรียนว่า หลายๆเรื่องตรงกับนโยบายของรัฐบาล ทั้งเรื่องศูนย์ดูแลเด็กเล็กและอีกหลายๆ เรื่อง ตนเป็นคนที่พูดตรงไปตรงมา การที่รับไปแล้วบอกว่าจะทำให้ทุกข้อนั้น เป็นการพูดไม่จริง เราต้องดูสภาพความเป็นจริงตรงไหนจะเดินได้ก่อนหลังอย่างไร และขอเรียนตรงๆงานเหล่านี้ยากขึ้น เวลาเศรษฐกิจไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องการคุ้มครองแรงงานต่างชาติ ความกดดันแง่การต่อต้านแรงงงานต่างชาติจะสูงขึ้น เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงตรงนี้ ฉะนั้นหลายๆ เรื่องจะมีความละเอียดอ่อนในตัวของมันเอง แต่หลักๆ เรื่องการดูแลเด็กเล็กนั้น นโยบายที่รัฐบาลอยากลองเดินก่อนคือ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อให้สถานประกอบการทำเอง ตรงนี้เป็นนโยบายที่เคยนำเสนอในฐานะพรรคการเมือง วันนี้ตั้งใจที่จะผลักดันต่อไป และในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคม เด็ก สตรี จะดูแลเรื่องเด็กเล็ก เด็กอ่อน ซึ่งจะรณรงค์ดูแลเด็กเล็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ และทำให้เด็กรักการอ่าน เรามีความคิดหลายเรื่องที่กำลังผลักดันสอดคล้องกับที่เสนอมา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องของประกันสังคมในแรงงาน เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องปฏิรูป มีการเสนอเข้าที่ประชุม ครม.มาแล้วครั้งหนึ่ง จะแยกกองทุนประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน แต่ให้ยังขึ้นกับสำนักงาน ซึ่งเป็นกรม ตนบอกอย่างนี้ไม่ได้ อยู่ดีๆ มีนิติบุคคลที่เป็นตัวกองทุนมาขึ้นกับกรม มันไม่อิสระ จึงให้นำกลับไปทำใหม่ หากอยากเป็นอิสระต้องออกเต็มรูปแบบ ไม่ให้เกิดความสับสนและไปแทรกแซง เพราะที่สุดแล้วกองทุนประกันสังคมเป็นเงินที่มาจากผู้ใช้แรงงานและนายจ้างไม่ใช่เงินของรัฐบาล รัฐบาลเพียงสมทบเข้าส่วนหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นตรงนี้อยู่ในแนวทางที่ตรงกัน คือสนับสนุนประกันสังคมให้เป็นอิสระ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนความพยายามที่จะให้ครอบคลุมไปยังแรงงานนอกระบบ ขณะนี้คนในประกันสังคมประมาณ 9 ล้านคน และในที่สุดจะถึง 20 กว่าล้านคน ปัญหาคือ คนที่ไม่ได้อยู่ในสถานประกอบการจะมีวิธีการอย่างไร คือจะต้องไม่มีนายจ้างสมทบ และจะมีวิธีดูแลอย่างไรที่จะส่งเงินเข้าสม่ำเสมอ จะตั้งเป็นองค์กร หรือชมรม อย่างไร หรือเป็นแบบสหกรณ์แบบชนบท ตรงนี้ตนได้ให้ที่ปรึกษาดูอยู่
ส่วนการมีส่วนร่วมของสตรีในคณะกรรมการต่างๆ ตนก็พยายามดูแล เรามี ส.ส.หญิงหลายคนที่ใส่ใจ แต่ต้องยอมรับว่า เวลาอยากได้ผู้หญิงเข้ามาทำงานในหลายๆ เรื่องเวลาทาบทาม หาไม่ง่าย โดยเฉพาะการให้มาเป็น ส.ส. แต่ก็จะพยายามต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตาม ยินดีที่จะรับข้อเสนอทั้งหมดนี้ไปพิจารณาเดินหน้า หากมีอะไร ขอให้มาพูดคุยกันได้เสมอ ไม่ต้องรอปีละครั้ง ให้ผู้แทนประสานงานมายังรัฐบาลได้ทันที อะไรทำได้จะทำ หากทำไม่ได้จะเล่าให้ฟัง เหตุที่ทำไม่ได้เพราะอะไร
"ปีนี้หนักหนาสาหัสสำหรับทุกคน ฉะนั้นหลายอย่างที่จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหาผ่านไปได้ต้องอาศัยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ความเข้าอกเข้าใจกัน โดยเฉพาะในเรื่องแรงงาน ผมพยายามอย่างยิ่งในภาวะอย่างนี้อย่าให้เกิดความขัดแย้ง เพราะจุดหนึ่งที่ทำให้คนไทยได้รับโอกาสในแง่การลงทุนอย่างมาก คือคนยังไม่มีความรู้ว่าปัญหาแรงงานสัมพันธ์เป็นปัญหาใหญ่ แต่หากเมื่อไรถ้าเรามีความขัดแย้งรุนแรงจะกระทบอย่างมากต่อการสร้างความเชื่อมั่น และการสร้างโอกาสของพี่น้องประชาชน" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กว่า ตนจะไปดูในส่วนของเอกชนเพราะมีแนวคิดอยู่แล้วเรื่องการให้สถานประกอบการมีสถานที่ดูแลเด็กเล็กในสถานประกอบการ โดยรัฐบาลจะส่งเสริมสนับสนุนเรื่องสิทธิประโยชน์ ด้านภาษีอากร เป็นนโยบายที่เราเคยประกาศไว้ ก็จะเดินหน้า ขณะเดียวกันการดูแลเด็กเล็กในชุมชนต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับปรุง ซึ่งได้คุยกับทางคณะกรรมการดูแลเด็กปฐมวัยอยู่ คิดว่าเร็วๆนี้ จะมีความชัดเจนในแง่เป้าหมายที่จะทำได้ในช่วงนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังรับข้อเรียกร้องและข้อเสนอของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง นายกรัฐมนตรี ได้เดินไปทักทายกลุ่มเครือข่ายเกษตร และเครือข่ายสลัม 4 ภาค ที่มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน และที่ดินอยู่อาศัย เพื่อติดตามเรื่องการนัดหมายหารือร่วมกับนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กับตัวแทนเครือข่ายเกษตรกร ในช่วงบ่าย (8 มี.ค.) ที่กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้รับปากจะดูคำสั่ง เซ็น และนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.วันอังคารที่ 10 มี.ค.และวันพุทธที่ 11 มี.ค. จะพบกันอีกช่วงบ่าย ที่สภาฯ