ASTVผู้จัดการรายวัน - นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้(24ก.พ.) ว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่าง พระราชบัญญัติขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา พ.ศ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่าง พระราชบัญญัติ คือ
1. กำหนดนิยามคำว่า “ หนังสือสัญญา” หมายความว่า ความตกลงเป็นหนังสือสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยหรือราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลต่างประเทศ รัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดพันธะกรณี ภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร
2. กำหนดให้การจัดทำหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันได้แก่ หนังสือสัญญาดังต่อไปนี้ ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้
2.1 หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือ เขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยหรือมีอำนาจ ตามหนังสือสัญญาหรือหนังสือระหว่างประเทศ
2.2 หนังสือสัญญา ที่จะต้อง ออก พ.ร.บ.เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
2.3 หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพัน งบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ
2.4 หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
2.5 หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันทางด้านการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนังสือสัญญากู้เงิน หรื่อ ค้ำประกันเงินกู้ ที่รัฐบาลไทย หรือราชอาณาจักรไทย ทำขึ้นตามกฎหมาย ที่ให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะหรือเป็นการทั่วไป เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายให้อำนาจดำเนินการเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว
3. กำหนดขั้นตอนวิธีการ และหลักเกณฑ์ในการจัดทำหนังสือสัญญาอื่น ที่มิใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 4 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
4. ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐที่มิได้รับมอบอำนาจจากคณะรัฐมนตรีทำความตกลงกับรัฐบาลของต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือ หน่วยงานของรัฐต่างประเทศ ให้มีผลเช่นเดียวกับหนังสือสัญญาตามมาตรา 4
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การจัดทำกรอบการเจรจา เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อสภาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเจรจา การเผยแพร่กรอบการเจรจาให้ประชาชนทั่วไป ได้รับทราบ ได้รับฟังความคิดเห็น เพื่อจะทำหนังสือสัญญา
6. กำหนดให้ คณะรัฐมนตรี ต้องเสนอหนังสือสัญญาต่อรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการลงนาม ในกรณีที่หนังสือสัญญามีผลใช้บังคับเมื่อมีการลงนาม โดยไม่ต้องแสดงเจตนา ให้มีผลผูกพันในภายหลัง และในกรณีหนังสือสัญญา ที่มีผลใช้บังคับเมื่อมีการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันธ์ ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลดังกล่าวให้ คณะรัฐมนตรีเสนอหนังสือสัญญาดังกล่าวนั้นต่อรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยการเสนอหนังสือสัญญาต่อรัฐสภานี้ให้ คณะรัฐมนตรีเผยแพร่รายละเอียดของหนังสือสัญญาให้ประชาชนทราบ ตามวิธีการที่กำหนด
7 .กำหนดหลักเกณฑ์ การเผยแพร่หนังสือสัญญาที่มีผลบังคับใช้ การจัดให้มีการศึกษา ผลกระทบจากการปฎิบัติตามหนังสือสัญญา รวมทั้งมาตราการแก้ไขหรือการเยียวยาผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนการจัดให้มีฐานข้อมูลหนังสือสัญญา เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือสัญญา
8. กำหนดบทเฉพาะการให้การดำเนินการเพื่อจัดทำหนังสือสัญญาใดที่รัฐบาลไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย ยังมิได้มีแสดงเจตนา ให้มีผลผูกพัน ให้ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.นี้ และให้ถือว่า การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้ว เป็นการดำเนินการ พ.ร.บ.นี้ และให้ถือว่า การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้วเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่าง พระราชบัญญัติ คือ
1. กำหนดนิยามคำว่า “ หนังสือสัญญา” หมายความว่า ความตกลงเป็นหนังสือสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยหรือราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลต่างประเทศ รัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดพันธะกรณี ภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร
2. กำหนดให้การจัดทำหนังสือสัญญา ตามมาตรา 190 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันได้แก่ หนังสือสัญญาดังต่อไปนี้ ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้
2.1 หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือ เขตพื้นที่นอกอาณาเขต ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยหรือมีอำนาจ ตามหนังสือสัญญาหรือหนังสือระหว่างประเทศ
2.2 หนังสือสัญญา ที่จะต้อง ออก พ.ร.บ.เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
2.3 หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพัน งบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ
2.4 หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
2.5 หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันทางด้านการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงหนังสือสัญญากู้เงิน หรื่อ ค้ำประกันเงินกู้ ที่รัฐบาลไทย หรือราชอาณาจักรไทย ทำขึ้นตามกฎหมาย ที่ให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะหรือเป็นการทั่วไป เพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายให้อำนาจดำเนินการเป็นการเฉพาะอยู่แล้ว
3. กำหนดขั้นตอนวิธีการ และหลักเกณฑ์ในการจัดทำหนังสือสัญญาอื่น ที่มิใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 4 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
4. ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐที่มิได้รับมอบอำนาจจากคณะรัฐมนตรีทำความตกลงกับรัฐบาลของต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือ หน่วยงานของรัฐต่างประเทศ ให้มีผลเช่นเดียวกับหนังสือสัญญาตามมาตรา 4
5. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การจัดทำกรอบการเจรจา เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอต่อสภาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการเจรจา การเผยแพร่กรอบการเจรจาให้ประชาชนทั่วไป ได้รับทราบ ได้รับฟังความคิดเห็น เพื่อจะทำหนังสือสัญญา
6. กำหนดให้ คณะรัฐมนตรี ต้องเสนอหนังสือสัญญาต่อรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการลงนาม ในกรณีที่หนังสือสัญญามีผลใช้บังคับเมื่อมีการลงนาม โดยไม่ต้องแสดงเจตนา ให้มีผลผูกพันในภายหลัง และในกรณีหนังสือสัญญา ที่มีผลใช้บังคับเมื่อมีการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันธ์ ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลดังกล่าวให้ คณะรัฐมนตรีเสนอหนังสือสัญญาดังกล่าวนั้นต่อรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยการเสนอหนังสือสัญญาต่อรัฐสภานี้ให้ คณะรัฐมนตรีเผยแพร่รายละเอียดของหนังสือสัญญาให้ประชาชนทราบ ตามวิธีการที่กำหนด
7 .กำหนดหลักเกณฑ์ การเผยแพร่หนังสือสัญญาที่มีผลบังคับใช้ การจัดให้มีการศึกษา ผลกระทบจากการปฎิบัติตามหนังสือสัญญา รวมทั้งมาตราการแก้ไขหรือการเยียวยาผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนการจัดให้มีฐานข้อมูลหนังสือสัญญา เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือสัญญา
8. กำหนดบทเฉพาะการให้การดำเนินการเพื่อจัดทำหนังสือสัญญาใดที่รัฐบาลไทย หรือ ราชอาณาจักรไทย ยังมิได้มีแสดงเจตนา ให้มีผลผูกพัน ให้ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.นี้ และให้ถือว่า การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้ว เป็นการดำเนินการ พ.ร.บ.นี้ และให้ถือว่า การดำเนินการที่ได้ทำไปแล้วเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว