ASTVผู้จัดการรายวัน-ครม.เห็นชอบหลักการร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่ทอท. จัมกุมผู้กระทำผิดในสนามบินได้ทันที โดยไม่ต้องรอตำรวจ ส่วนปัญหาการประท้วงยังคงเป็นหน้าที่ตำรวจ เหตุเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ขณะเดียวกัน ทอท. ยังได้เพิ่มมาตรการป้องกันสนามบิน หวังเรียกความเชื่อมั่นต่างชาติให้กลับคืน
นาวาอากาศโทประทีป วิจิตรโท รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ฝ่ายปฎิบัติการ) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (28 ม.ค.) มีมติเห็นชอบร่างหลักการ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อขอเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ของสนามบินให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทอท. โดยขั้นตอนจากนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณารายละเอียดของเนื้อหา และส่งกลับมายัง ครม.อีกครั้งก่อนเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ทั้งนี้ ทอท.ต้องการให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีอำนาจสามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดภายในพื้นที่สนามบิน เช่น ไกด์ผี แท็กซี่เถื่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นอำนาจของตำรวจที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงสามารถเปรียบเทียบปรับได้ในบางกรณี เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดจะมีการกำหนดในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้เสนอขออนุมัติหลักการในการตราพ.ร.บ.ดังกล่าว
นาวาอากาศโทประทีปกล่าวว่า ในกรณีมีการชุมนุมประท้วง ทั้งในทางการเมืองหรือการประท้วงผลกระทบทางเสียงที่ผ่านมานั้น อำนาจในการดำเนินการจับกุมหรือสลายการชุมนุมยังคงเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะกฎหมายนี้ไม่ครอบคลุม เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทอท. เป็นพลเรือนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และกรณีดังกล่าวมีกฎหมายด้านความมั่นคงของรัฐ ในขณะที่ทอท.มีแผนรองรับเหตุการณ์ที่ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่แล้ว
“พ.ร.บ.ดังกล่าว จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกว่าจะกำหนดอะไรไว้บ้าง ซึ่งจะเป็นการให้อำนาจเพิ่มเติมกับทอท.ในส่วนของการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สนามบิน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ”นาวาอากาศโทประทีปกล่าว
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การมีกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการเรียกความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ เพราะเวลานายกรัฐมนตรีไปไหนก็จะมีคำถามเสมอว่ามาตรการในการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานจะเป็นอย่างไร ซึ่งต่อไปจะสามารถชี้แจงได้ โดยเฉพาะวันนี้ (29ม.ค.) นายกฯ จะเดินทางไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นไปญี่ปุ่น ก็จะสามารถตอบคำถามได้ ขณะเดียวกัน ก็ยังได้มีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มเติมอีกด้วย
มาตรการที่ว่ากำหนดไว้ 2 ระดับ คือ 1.มาตรการเร่งด่วน จัดตั้งด่าน เพื่อตรวจตรา และป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องตามเส้นทางเข้าออกท่าอากาศยาน 2.มาตรการต่อเนื่องในระยะยาว จัดตั้งจุดตรวจสอบถาวร สำหรับการตรวจสอบบุคคลที่จะเดินทางก่อนเข้าสู่ท่าอากาศยาน การวางแผน การฝึกซ้อมตามแผนรองรับ ภาวะฉุกเฉินของท่าอากาศยาน และจัดตั้งศูนย์เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นาวาอากาศโทประทีป วิจิตรโท รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ฝ่ายปฎิบัติการ) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (28 ม.ค.) มีมติเห็นชอบร่างหลักการ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อขอเพิ่มอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ของสนามบินให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทอท. โดยขั้นตอนจากนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะพิจารณารายละเอียดของเนื้อหา และส่งกลับมายัง ครม.อีกครั้งก่อนเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ทั้งนี้ ทอท.ต้องการให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีอำนาจสามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดภายในพื้นที่สนามบิน เช่น ไกด์ผี แท็กซี่เถื่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นอำนาจของตำรวจที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงสามารถเปรียบเทียบปรับได้ในบางกรณี เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดจะมีการกำหนดในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงได้เสนอขออนุมัติหลักการในการตราพ.ร.บ.ดังกล่าว
นาวาอากาศโทประทีปกล่าวว่า ในกรณีมีการชุมนุมประท้วง ทั้งในทางการเมืองหรือการประท้วงผลกระทบทางเสียงที่ผ่านมานั้น อำนาจในการดำเนินการจับกุมหรือสลายการชุมนุมยังคงเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะกฎหมายนี้ไม่ครอบคลุม เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทอท. เป็นพลเรือนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และกรณีดังกล่าวมีกฎหมายด้านความมั่นคงของรัฐ ในขณะที่ทอท.มีแผนรองรับเหตุการณ์ที่ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่แล้ว
“พ.ร.บ.ดังกล่าว จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกว่าจะกำหนดอะไรไว้บ้าง ซึ่งจะเป็นการให้อำนาจเพิ่มเติมกับทอท.ในส่วนของการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สนามบิน ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ”นาวาอากาศโทประทีปกล่าว
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การมีกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการเรียกความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ เพราะเวลานายกรัฐมนตรีไปไหนก็จะมีคำถามเสมอว่ามาตรการในการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานจะเป็นอย่างไร ซึ่งต่อไปจะสามารถชี้แจงได้ โดยเฉพาะวันนี้ (29ม.ค.) นายกฯ จะเดินทางไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จากนั้นไปญี่ปุ่น ก็จะสามารถตอบคำถามได้ ขณะเดียวกัน ก็ยังได้มีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มเติมอีกด้วย
มาตรการที่ว่ากำหนดไว้ 2 ระดับ คือ 1.มาตรการเร่งด่วน จัดตั้งด่าน เพื่อตรวจตรา และป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องตามเส้นทางเข้าออกท่าอากาศยาน 2.มาตรการต่อเนื่องในระยะยาว จัดตั้งจุดตรวจสอบถาวร สำหรับการตรวจสอบบุคคลที่จะเดินทางก่อนเข้าสู่ท่าอากาศยาน การวางแผน การฝึกซ้อมตามแผนรองรับ ภาวะฉุกเฉินของท่าอากาศยาน และจัดตั้งศูนย์เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด