ASTVผู้จัดการรายวัน - ศธ.เคาะเรียนฟรี 15 ปี แจกเงินสดผู้ปกครองไปซื้อชุดนักเรียน-อุปกรณ์ ส่วนตำราเรียนให้โรงเรียนจัดซื้อให้นักเรียนยืม มั่นใจไม่มีนักเรียนผี แจงตรวจจากเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ขณะเดียวกันก็จะเร่งรณรงค์ให้คนมีฐานะแสดงความจำนงขอสละสิทธิ์เพื่อจะได้นำงบฯ ไปให้กับเด็กด้อยโอกาส ส่วน "โรลแบ็ก 2 พัน" ส่อจ่ายเป็นเช็ค "กอร์ปศักดิ์" เผยพุธนี้สรุปในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ เตรียมแก้ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน หวังแจก 2 พันบาทให้ครูอีก 1.3 แสนราย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุม 5 องค์กร เพื่อหาข้อสรุปโครงการเรียนฟรี 15 ปี เมื่อวานนี้ (16 ก.พ.) ว่า เงินงบประมาณ 9,000 ล้านบาท ศธ.จะจัดสรรให้กับโรงเรียนโดยตรงหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2552 มีผลบังคับใช้แล้ว สำหรับแนวทางการจัดซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ศธ.จะจัดสรรเงินสดให้ผู้ปกครองและนักเรียนจะดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเอง โดยให้ไปเบิกจ่ายจากโรงเรียนต้นสังกัด ส่วนตำราเรียน ทางโรงเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ เพราะว่าตำราเรียนเมื่อซื้อแล้วจะเป็นสมบัติของโรงเรียน เป็นทรัพย์สินของโรงเรียนจะจัดการให้นักเรียนได้ยืมเรียน ส่วนการตัดสินใจว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใดนั้นเป็นหน้าที่ของโรงเรียน โดยขึ้นอยู่กับภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการนักเรียน ตัวแทนชุมชน และบวกกับคณะกรรมการโรงเรียน เป็นผู้พิจารณา คือร่วมกันตัดสินใจ
“เราจะให้โรงเรียนเบิกเป็นเงินสดแทนคูปอง แล้วให้ผู้ปกครอง นักเรียน เซ็นต์รับเงินไปแล้วนำไปจัดซื้อชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนเอาเอง ตามความประสงค์ของตนเอง จะซื้อชุดนักเรียนแบบไหน ลักษณะไหน อุปกรณ์จะไปซื้อสมุด ดินสอ ปากกา กี่เล่ม แต่เราจะมีรายการแนะนำให้ โดยจะบอกว่ามีรายการอะไรบ้าง นอกจากนี้ หากมีผู้ปกครองรวมตัวกันแล้วจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดชุดนักเรียนก็ได้ ตรงนี้เราให้สิทธิดำเนินการอย่างเต็มที่”
**แจงใช้เงินสดซับซ้อนน้อยสุด
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่เลือกวิธีการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนนั้น เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด หากใช้คูปองจะต้องแลกไปมา และอาจมีปัญหาคูปองปลอม โดยเงินสดนี้ผู้ปกครองหรือนักเรียนจะเบิกจ่ายพร้อมคำแนะนำในการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม โดยแต่ละคนเลือกซื้อได้ตามความจำเป็น เช่น มีไม้บรรทัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ ให้ซื้ออุปกรณ์อื่นแทนได้ หรือโควตาชุดนักเรียนให้ซื้อคนละ 2 ชุด ดังนั้น อาจจะเปลี่ยนเป็นซื้อชุดนักเรียน 1 ชุด และซื้อชุดลูกเสือหรือเนตรนารี 1 ชุดก็ได้
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่รัฐบาลจัดให้นักเรียน 1 คนมีดังต่อไปนี้ 1.ชุดนักเรียน/ต่อปี ระดับก่อนประถมศึกษา 300 บาท ประถมศึกษา 360 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 450 บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 500 บาท 2.หนังสือแบบเรียน/เทอม ก่อนประถมศึกษา 200 บาท ประถมศึกษา 433 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 669 บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 897 บาท 3.อุปกรณ์การเรียน/เทอม ก่อนประถมศึกษา 200 บาท ประถมศึกษา 390 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 420 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย 460 บาท 4.กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ/เทอม ก่อนประถมศึกษา 215 บาท ประถมศึกษา 240 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 440บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 475 บาท เพื่อให้โรงเรียนไปดำเนินการจัดกิจกรรม 4 ประเภท คือ กิจกรรมวิชาการ ,กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เช่น ลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด ,กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานศึกษา และกิจกรรมให้บริการไอซีทีและคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนเพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
เมื่อถามว่าหากมีการนำใบเสร็จปลอม หรือผู้ปกครอง นักเรียนไปซื้อชุดนักเรียนเพียงชุดเดียว นายจุรินทร์กล่าวว่า ไม่มีระบบใดที่จะสมบูรณ์ 100 % หากใช้ระบบคูปอง ก็มีคนพูดเหมือนกันว่าไม่ได้นำไปซื้อ จะมีการนำไปแลกกับร้านค้า 90 % โดยร้านค้ารับไป 10 % ซึ่งทุกระบบก็มีข้อดีข้อเสีย
“ในที่ประชุมมีการเสนอว่าให้นำชุดนักเรียน ใบเสร็จมาแสดงกับโรงเรียน ซึ่งตรงนี้จะเป็นรายละเอียด ที่ สพฐ. สอศ. และสกอ. จะต้องมาคุยกัน ขณะเดียวกันจะมีการรณรงค์ให้เด็กมีฐานะช่วยเหลือตนเองได้ สละสิทธิ์ไม่ใช้สิทธิในเรื่องงบประมาณ ชุดนักเรียน อุปกรณ์ ศธ.จะมีการออกใบขอบคุณ ประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้สละสิทธิ โดยเงินงบประมาณที่เหลือจากเด็กสละสิทธิจะนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส โรงเรียนยากจน ประมาณ 600 โรง นักเรียนคนใดสละสิทธิถือว่ามีส่วนช่วยโรงเรียนด้อยโอกาส ซึ่งเราไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีเด็กสละสิทธิกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นนโยบายให้โรงเรียนไปรณรงค์เท่านั้น” นายจุรินทร์ กล่าวและว่า เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้สั่งการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ตรวจราชการ ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและประเมินผลด้วย
ต่อข้อถามว่า จะมีแนวทางป้องกันตัวเลขนักเรียนผีแอบอ้างเพื่อของบประมาณหรือไม่ นายจุรินทร์ ตอบว่า ก่อนจ่ายเงินให้ผู้ปกครอง นักเรียน จะมีการเช็คเลข 13 หลักจากบัตรประชาชน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้รวดเร็วว่าเด็กมีตัวตนจริงหรือไม่ เพราะระบบข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปคิดระบบป้องกันเรื่องนี้มา โดยอาจกำหนดให้ผู้ปกครองต้องใบเสร็จ หรือชุดนักเรียนที่ซื้อมายืนยันกับโรงเรียน
ทั้งนี้ ในส่วนนักเรียนของโรงเรียนเอกชนนั้น จะได้รับสิทธิของฟรี 4 อย่างเช่นกัน และโรงเรียนเองจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มจาก 60 % เป็น 70 % ในปีการศึกษา 52 ด้วย
**กลุ่มสาธิตเผยรับไม่รับแล้วแต่พ่อแม่
ด้านแหล่งข่าวจากโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสาธิตทั่วประเทศ ได้มีการหารือกันว่าจะให้ผู้ปกครองแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการชุดนักเรียน ตำราเรียนหรือไม่ เพราะอยากให้รัฐบาลนำไปให้โรงเรียนด้อยโอกาสหรือโรงเรียนห่างไกล มากกว่า แต่เรื่องนี้คงไปตัดสินใจแทนผู้ปกครองทุกคนไม่ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิตามกฎหมาย ขึ้นอยู่ว่านักเรียน ผู้ปกครองจะใช้หรือไม่ใช้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตำรายืมเรียนเงินที่รัฐจัดสรรคงนำมาจัดซื้อตำราเรียนได้ไม่ครบ ดังนั้น ผู้ปกครองจะต้องจ่ายในส่วนที่เกินเองและเมื่อเรียนจบเทอมแล้วจะต้องนำตำราเรียนมาคืนโรงเรียนด้วย
***พุธนี้ได้ข้อสรุปโอนเงิน 2 พันบาท
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การจ่ายเงิน 2 พันบาท สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทนั้นจะได้ข้อสรุปวิธีการจ่ายว่าจะจ่ายโดยเช็คเงินสดหรือโอนผ่านทางบัญชีได้ภายในวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจจะได้มีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งจะได้มีการหารือในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เงินที่อัดฉีดลงไปในระบบนั้นสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“วิธีการจ่ายด้วยเช็คเงินสดมีความเหมาะสมกว่า ซึ่งจะหารือกับภาคเอกชนทั้งห้างร้านขนาดใหญ่ โชห่วย ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารว่าหากให้บริการผู้ที่ถือเช็คใบนี้จะมีส่วนลดพิเศษให้ได้บ้างหรือไม่” นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
***เล็งหว่านเพิ่มครู 1.3 แสนคน
นายกอร์ปศักดิ์ยังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาทว่า ในส่วนของบุคลากรภาครัฐ โดยข้าราชการและพนักงานของรัฐ มีประมาณ 1.3 ล้านคนจะได้รับการโอนเงินสดจากหน่วยงานเพิ่มในบัญชีเงินเดือน งวดแรกวันที่ 26 มี.ค.นี้ รวมทั้งบุคลากรที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และพนักงานรัฐวิสาหกิจอีก 7 หมื่นคนเศษ
ส่วนกรณีของข้าราชการที่จะได้รับการโอนเงินสดเข้าบัญชีแล้ว จะนำเงินสด 2,000 บาทไปใช้จ่ายจริงหรือไม่นั้น ยอมรับว่ายังไม่ทราบ เพราะเงินที่โอนให้เป็นเงินที่โอนเข้าบัญชี และข้าราชการจะนำไปใช้เมื่อใดก็ไม่ทราบได้
นายกอร์ปศักดิ์ยอมรับว่า ยังมีบุคลากรภาครัฐ ลูกจ้าง ที่อยู่นอกระบบ ตกหล่นจากการได้รับเงินค่าครองชีพกว่า 1 แสนคน เช่น ครูช่วยสอนในโรงเรียนรัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกลุ่มเหล่านี้ รัฐบาลจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรายการงบกลาง
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอความเห็นชอบให้ครูบุคลากรของ โรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับสิทธิเหมือนลูกจ้างประเภทอื่นในนโยบายที่รัฐบาลให้สมาชิกประกันสังคม (สปส.) และบุคลากรภาครัฐได้เงินช่วยเหลือหัวละ 2 พันบาท เช่นกัน
สาเหตุที่ครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนตกหล่น เพราะ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับใหม่ ให้ครู บุคลากร และลูกจ้างของโรงเรียนไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงจะเสนอ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
ทั้งนี้ มีครู บุคคลากร และลูกจ้างโรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 อยู่ทั้งหมด 132,600 คน จะต้องใช้งบประมาณรองรับ 265 ล้านบาท สำหรับจ่ายเงิน 2,000 บาทให้แก่ทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ครู บรรณารักษ์ ครูแนะแนว เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนรวมทั้งลูกจ้างประเภทอื่นๆ เช่น ภารโรง คนสวน คนขับรถ คนครัว พี่เลี้ยงเด็ก ยาม พนักงานบริการ เป็นต้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า เงิน 2 พันบาทที่จะจ่ายให้ผู้เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดนั้นไม่มีความขัดข้องว่าจะจ่ายโดยวิธีใด ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลต้องการจะเห็นคือผู้รับเงินจะต้องได้รับเงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเงิน 2 พันบาทที่ได้ไปนั้นจะต้องเกิดการใช้จ่ายที่แท้จริงเพื่อให้เงินหมุนเข้าไปในระบบ
“หลักการที่สำคัญคือเงินที่จะจ่ายให้กับประชาชนนั้นประชาชนจะได้จริงไหม ได้เร็วไหมและได้ครบไหมเพราะรัฐบาลต้องการให้เงินนี้เข้าไปสู่ระบบโดยเร็วที่สุด ซึ่งการจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้กับประชาชนอย่างไรถือเป็นเรื่องของวิธีการเท่านั้นแต่ที่ต้องการเห็นคือให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลตั้งไว้” นายกรณ์กล่าว
***มาร์คเตรียมโรดโชว์ยุโรป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเดินหน้าให้ข้อมูลกับนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กลับคืนมา หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป้าหมายต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ รัฐบาลจะเดินทางไปที่จีน ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปจะมีกำหนดเดินทางในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้
นายกฯ ยังกล่าวในงานสัมนา “ฟื้นเศรษฐกิจไทย ใต้เงาวิกฤตเศรษฐกิจโลก”ว่า ตอนนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างกำลังช้วยกันแก้ไขปัญหาอยู่ โดยในการประชุมจี20 ที่ลอนดอน ทุกคนคาดหวังกันไว้ว่าจะมีการหารือร่วมมือแก้ไขเรื่องนี้เพิ่มเติม เพราะจะมีการเชิญตัวแทนในภูมิภาคต่างๆ เข้ามาร่วมประชุมด้วย
"การแก้ไขของรัฐบาลไทย จะเน้นให้ความจริงในด้านต่างๆ กับภาคประชาชน ให้ข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รู้ เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ต่อมาสิ่งที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญคือ การทำตลาดเพิ่มเติม โดยจะเจาะเข้าไปทุกจุด เพื่อประครองเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นภายในประเทศก่อน เราต้องบริหารประเทศในท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้นผมจึงได้จัดให้มีการประชุมครม.เศรษฐกิจทุกสัปดาห์ ประจำทุกวันพุธ เพื่อสามารถช่วยประเมินสถานการณ์และตัดสินใจในเร่องต่างๆได้เร็วขึ้น โดยวันพุธที่จะถึงนี้ (18 ก.พ.) จะมีการเชิญเอกชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในมาตรการต่างๆที่รัฐบาลนำออกมาใช้ เช่นจ่าย 2,000 บาทแบบนี้จะต้องมีรูปแบบอย่างไร”
แม้ที่ผ่านมาจะมีมาตรการต่างๆ มาต่อเนื่อง แต่ไตรมาส4/2551 ตัวเลขยังคงติดลบ แต่จะต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ แต่พอมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้เริ่มส่งจ่ายเม็ดเงินได้จริงตั้งแต่มีนาคมนี้ จะทำให้ไตรมาส2 แม้จะติดลบอยู่ก็จะไม่มากเท่าใดนัก เชื่อว่าน่าจะทำให้ไตรมาส3-4 ของปีนี้กลับมาเป็นบวกได้.
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุม 5 องค์กร เพื่อหาข้อสรุปโครงการเรียนฟรี 15 ปี เมื่อวานนี้ (16 ก.พ.) ว่า เงินงบประมาณ 9,000 ล้านบาท ศธ.จะจัดสรรให้กับโรงเรียนโดยตรงหลังจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายกลางปี 2552 มีผลบังคับใช้แล้ว สำหรับแนวทางการจัดซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน ศธ.จะจัดสรรเงินสดให้ผู้ปกครองและนักเรียนจะดำเนินการจัดซื้อด้วยตนเอง โดยให้ไปเบิกจ่ายจากโรงเรียนต้นสังกัด ส่วนตำราเรียน ทางโรงเรียนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ เพราะว่าตำราเรียนเมื่อซื้อแล้วจะเป็นสมบัติของโรงเรียน เป็นทรัพย์สินของโรงเรียนจะจัดการให้นักเรียนได้ยืมเรียน ส่วนการตัดสินใจว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใดนั้นเป็นหน้าที่ของโรงเรียน โดยขึ้นอยู่กับภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการนักเรียน ตัวแทนชุมชน และบวกกับคณะกรรมการโรงเรียน เป็นผู้พิจารณา คือร่วมกันตัดสินใจ
“เราจะให้โรงเรียนเบิกเป็นเงินสดแทนคูปอง แล้วให้ผู้ปกครอง นักเรียน เซ็นต์รับเงินไปแล้วนำไปจัดซื้อชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนเอาเอง ตามความประสงค์ของตนเอง จะซื้อชุดนักเรียนแบบไหน ลักษณะไหน อุปกรณ์จะไปซื้อสมุด ดินสอ ปากกา กี่เล่ม แต่เราจะมีรายการแนะนำให้ โดยจะบอกว่ามีรายการอะไรบ้าง นอกจากนี้ หากมีผู้ปกครองรวมตัวกันแล้วจ้างกลุ่มแม่บ้านตัดชุดนักเรียนก็ได้ ตรงนี้เราให้สิทธิดำเนินการอย่างเต็มที่”
**แจงใช้เงินสดซับซ้อนน้อยสุด
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่เลือกวิธีการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนนั้น เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด หากใช้คูปองจะต้องแลกไปมา และอาจมีปัญหาคูปองปลอม โดยเงินสดนี้ผู้ปกครองหรือนักเรียนจะเบิกจ่ายพร้อมคำแนะนำในการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม โดยแต่ละคนเลือกซื้อได้ตามความจำเป็น เช่น มีไม้บรรทัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ ให้ซื้ออุปกรณ์อื่นแทนได้ หรือโควตาชุดนักเรียนให้ซื้อคนละ 2 ชุด ดังนั้น อาจจะเปลี่ยนเป็นซื้อชุดนักเรียน 1 ชุด และซื้อชุดลูกเสือหรือเนตรนารี 1 ชุดก็ได้
ทั้งนี้ จำนวนเงินที่รัฐบาลจัดให้นักเรียน 1 คนมีดังต่อไปนี้ 1.ชุดนักเรียน/ต่อปี ระดับก่อนประถมศึกษา 300 บาท ประถมศึกษา 360 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 450 บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 500 บาท 2.หนังสือแบบเรียน/เทอม ก่อนประถมศึกษา 200 บาท ประถมศึกษา 433 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 669 บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 897 บาท 3.อุปกรณ์การเรียน/เทอม ก่อนประถมศึกษา 200 บาท ประถมศึกษา 390 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 420 บาท มัธยมศึกษาตอนปลาย 460 บาท 4.กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ/เทอม ก่อนประถมศึกษา 215 บาท ประถมศึกษา 240 บาท มัธยมศึกษาตอนต้น 440บาท และมัธยมศึกษาตอนปลาย 475 บาท เพื่อให้โรงเรียนไปดำเนินการจัดกิจกรรม 4 ประเภท คือ กิจกรรมวิชาการ ,กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เช่น ลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด ,กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานศึกษา และกิจกรรมให้บริการไอซีทีและคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนเพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
เมื่อถามว่าหากมีการนำใบเสร็จปลอม หรือผู้ปกครอง นักเรียนไปซื้อชุดนักเรียนเพียงชุดเดียว นายจุรินทร์กล่าวว่า ไม่มีระบบใดที่จะสมบูรณ์ 100 % หากใช้ระบบคูปอง ก็มีคนพูดเหมือนกันว่าไม่ได้นำไปซื้อ จะมีการนำไปแลกกับร้านค้า 90 % โดยร้านค้ารับไป 10 % ซึ่งทุกระบบก็มีข้อดีข้อเสีย
“ในที่ประชุมมีการเสนอว่าให้นำชุดนักเรียน ใบเสร็จมาแสดงกับโรงเรียน ซึ่งตรงนี้จะเป็นรายละเอียด ที่ สพฐ. สอศ. และสกอ. จะต้องมาคุยกัน ขณะเดียวกันจะมีการรณรงค์ให้เด็กมีฐานะช่วยเหลือตนเองได้ สละสิทธิ์ไม่ใช้สิทธิในเรื่องงบประมาณ ชุดนักเรียน อุปกรณ์ ศธ.จะมีการออกใบขอบคุณ ประกาศเกียรติคุณให้แก่ผู้สละสิทธิ โดยเงินงบประมาณที่เหลือจากเด็กสละสิทธิจะนำไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส โรงเรียนยากจน ประมาณ 600 โรง นักเรียนคนใดสละสิทธิถือว่ามีส่วนช่วยโรงเรียนด้อยโอกาส ซึ่งเราไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีเด็กสละสิทธิกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นนโยบายให้โรงเรียนไปรณรงค์เท่านั้น” นายจุรินทร์ กล่าวและว่า เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้สั่งการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ตรวจราชการ ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบและประเมินผลด้วย
ต่อข้อถามว่า จะมีแนวทางป้องกันตัวเลขนักเรียนผีแอบอ้างเพื่อของบประมาณหรือไม่ นายจุรินทร์ ตอบว่า ก่อนจ่ายเงินให้ผู้ปกครอง นักเรียน จะมีการเช็คเลข 13 หลักจากบัตรประชาชน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้รวดเร็วว่าเด็กมีตัวตนจริงหรือไม่ เพราะระบบข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์เชื่อมโยงกันทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ไปคิดระบบป้องกันเรื่องนี้มา โดยอาจกำหนดให้ผู้ปกครองต้องใบเสร็จ หรือชุดนักเรียนที่ซื้อมายืนยันกับโรงเรียน
ทั้งนี้ ในส่วนนักเรียนของโรงเรียนเอกชนนั้น จะได้รับสิทธิของฟรี 4 อย่างเช่นกัน และโรงเรียนเองจะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเพิ่มจาก 60 % เป็น 70 % ในปีการศึกษา 52 ด้วย
**กลุ่มสาธิตเผยรับไม่รับแล้วแต่พ่อแม่
ด้านแหล่งข่าวจากโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง กล่าวว่า กลุ่มสาธิตทั่วประเทศ ได้มีการหารือกันว่าจะให้ผู้ปกครองแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการชุดนักเรียน ตำราเรียนหรือไม่ เพราะอยากให้รัฐบาลนำไปให้โรงเรียนด้อยโอกาสหรือโรงเรียนห่างไกล มากกว่า แต่เรื่องนี้คงไปตัดสินใจแทนผู้ปกครองทุกคนไม่ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิตามกฎหมาย ขึ้นอยู่ว่านักเรียน ผู้ปกครองจะใช้หรือไม่ใช้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตำรายืมเรียนเงินที่รัฐจัดสรรคงนำมาจัดซื้อตำราเรียนได้ไม่ครบ ดังนั้น ผู้ปกครองจะต้องจ่ายในส่วนที่เกินเองและเมื่อเรียนจบเทอมแล้วจะต้องนำตำราเรียนมาคืนโรงเรียนด้วย
***พุธนี้ได้ข้อสรุปโอนเงิน 2 พันบาท
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การจ่ายเงิน 2 พันบาท สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทนั้นจะได้ข้อสรุปวิธีการจ่ายว่าจะจ่ายโดยเช็คเงินสดหรือโอนผ่านทางบัญชีได้ภายในวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจจะได้มีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งจะได้มีการหารือในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เงินที่อัดฉีดลงไปในระบบนั้นสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“วิธีการจ่ายด้วยเช็คเงินสดมีความเหมาะสมกว่า ซึ่งจะหารือกับภาคเอกชนทั้งห้างร้านขนาดใหญ่ โชห่วย ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารว่าหากให้บริการผู้ที่ถือเช็คใบนี้จะมีส่วนลดพิเศษให้ได้บ้างหรือไม่” นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
***เล็งหว่านเพิ่มครู 1.3 แสนคน
นายกอร์ปศักดิ์ยังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ถึงมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ 2,000 บาทว่า ในส่วนของบุคลากรภาครัฐ โดยข้าราชการและพนักงานของรัฐ มีประมาณ 1.3 ล้านคนจะได้รับการโอนเงินสดจากหน่วยงานเพิ่มในบัญชีเงินเดือน งวดแรกวันที่ 26 มี.ค.นี้ รวมทั้งบุคลากรที่อยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และพนักงานรัฐวิสาหกิจอีก 7 หมื่นคนเศษ
ส่วนกรณีของข้าราชการที่จะได้รับการโอนเงินสดเข้าบัญชีแล้ว จะนำเงินสด 2,000 บาทไปใช้จ่ายจริงหรือไม่นั้น ยอมรับว่ายังไม่ทราบ เพราะเงินที่โอนให้เป็นเงินที่โอนเข้าบัญชี และข้าราชการจะนำไปใช้เมื่อใดก็ไม่ทราบได้
นายกอร์ปศักดิ์ยอมรับว่า ยังมีบุคลากรภาครัฐ ลูกจ้าง ที่อยู่นอกระบบ ตกหล่นจากการได้รับเงินค่าครองชีพกว่า 1 แสนคน เช่น ครูช่วยสอนในโรงเรียนรัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ตามในกลุ่มเหล่านี้ รัฐบาลจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรายการงบกลาง
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอความเห็นชอบให้ครูบุคลากรของ โรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับสิทธิเหมือนลูกจ้างประเภทอื่นในนโยบายที่รัฐบาลให้สมาชิกประกันสังคม (สปส.) และบุคลากรภาครัฐได้เงินช่วยเหลือหัวละ 2 พันบาท เช่นกัน
สาเหตุที่ครูและบุคลากรของโรงเรียนเอกชนตกหล่น เพราะ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฉบับใหม่ ให้ครู บุคลากร และลูกจ้างของโรงเรียนไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงจะเสนอ ร่างแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550
ทั้งนี้ มีครู บุคคลากร และลูกจ้างโรงเรียนเอกชนที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 อยู่ทั้งหมด 132,600 คน จะต้องใช้งบประมาณรองรับ 265 ล้านบาท สำหรับจ่ายเงิน 2,000 บาทให้แก่ทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ ครู บรรณารักษ์ ครูแนะแนว เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนรวมทั้งลูกจ้างประเภทอื่นๆ เช่น ภารโรง คนสวน คนขับรถ คนครัว พี่เลี้ยงเด็ก ยาม พนักงานบริการ เป็นต้น
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า เงิน 2 พันบาทที่จะจ่ายให้ผู้เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดนั้นไม่มีความขัดข้องว่าจะจ่ายโดยวิธีใด ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลต้องการจะเห็นคือผู้รับเงินจะต้องได้รับเงินอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเงิน 2 พันบาทที่ได้ไปนั้นจะต้องเกิดการใช้จ่ายที่แท้จริงเพื่อให้เงินหมุนเข้าไปในระบบ
“หลักการที่สำคัญคือเงินที่จะจ่ายให้กับประชาชนนั้นประชาชนจะได้จริงไหม ได้เร็วไหมและได้ครบไหมเพราะรัฐบาลต้องการให้เงินนี้เข้าไปสู่ระบบโดยเร็วที่สุด ซึ่งการจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้กับประชาชนอย่างไรถือเป็นเรื่องของวิธีการเท่านั้นแต่ที่ต้องการเห็นคือให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลตั้งไว้” นายกรณ์กล่าว
***มาร์คเตรียมโรดโชว์ยุโรป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเดินหน้าให้ข้อมูลกับนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนให้กลับคืนมา หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป้าหมายต่อไปในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ รัฐบาลจะเดินทางไปที่จีน ขณะที่กลุ่มประเทศยุโรปจะมีกำหนดเดินทางในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้
นายกฯ ยังกล่าวในงานสัมนา “ฟื้นเศรษฐกิจไทย ใต้เงาวิกฤตเศรษฐกิจโลก”ว่า ตอนนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างกำลังช้วยกันแก้ไขปัญหาอยู่ โดยในการประชุมจี20 ที่ลอนดอน ทุกคนคาดหวังกันไว้ว่าจะมีการหารือร่วมมือแก้ไขเรื่องนี้เพิ่มเติม เพราะจะมีการเชิญตัวแทนในภูมิภาคต่างๆ เข้ามาร่วมประชุมด้วย
"การแก้ไขของรัฐบาลไทย จะเน้นให้ความจริงในด้านต่างๆ กับภาคประชาชน ให้ข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รู้ เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ต่อมาสิ่งที่รัฐบาลจะให้ความสำคัญคือ การทำตลาดเพิ่มเติม โดยจะเจาะเข้าไปทุกจุด เพื่อประครองเศรษฐกิจด้วยการกระตุ้นภายในประเทศก่อน เราต้องบริหารประเทศในท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้นผมจึงได้จัดให้มีการประชุมครม.เศรษฐกิจทุกสัปดาห์ ประจำทุกวันพุธ เพื่อสามารถช่วยประเมินสถานการณ์และตัดสินใจในเร่องต่างๆได้เร็วขึ้น โดยวันพุธที่จะถึงนี้ (18 ก.พ.) จะมีการเชิญเอกชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในมาตรการต่างๆที่รัฐบาลนำออกมาใช้ เช่นจ่าย 2,000 บาทแบบนี้จะต้องมีรูปแบบอย่างไร”
แม้ที่ผ่านมาจะมีมาตรการต่างๆ มาต่อเนื่อง แต่ไตรมาส4/2551 ตัวเลขยังคงติดลบ แต่จะต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปีนี้ แต่พอมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้เริ่มส่งจ่ายเม็ดเงินได้จริงตั้งแต่มีนาคมนี้ จะทำให้ไตรมาส2 แม้จะติดลบอยู่ก็จะไม่มากเท่าใดนัก เชื่อว่าน่าจะทำให้ไตรมาส3-4 ของปีนี้กลับมาเป็นบวกได้.