นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก ถึงข้อสรุปโครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพว่า กระทรวงจะเริ่มจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนโดยตรง ภายหลัง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายกลางปี 2552 มีผลบังคับใช้แล้ว โดยชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีนั้น จะให้ผู้ปกครองหรือนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการจัดหาเอง โดยกระทรวงจัดสรรเป็นเงินสดจ่ายผ่านโรงเรียนให้ผู้ปกครอง หรือนักเรียนมาลงนามรับเงินไปจัดซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนตามราคากลาง ซึ่งแตกต่างกันตามระดับชั้น ส่วนตำราเรียน จะให้โรงเรียนพิจารณาดำเนินการจัดซื้อ เพื่อเป็นสมบัติของโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนยืมเรียน ส่วนการตัดสินใจใดๆ ของโรงเรียนให้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการโรงเรียนร่วมกับภาคี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้แทนครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการนักเรียนและผู้แทนชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมการกระจายอำนาจ
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกวิธีการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนนั้น เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด หากใช้คูปองจะต้องแลกไปมา และอาจมีปัญหาคูปองปลอม โดยเงินสดนี้ผู้ปกครองหรือนักเรียนจะเบิกจ่ายพร้อมคำแนะนำในการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม โดยแต่ละคนเลือกซื้อได้ตามความจำเป็น เช่น มีไม้บรรทัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ ให้ซื้ออุปกรณ์อื่นแทนได้ หรือโควต้าชุดนักเรียนให้ซื้อคนละ 2 ชุด ดังนั้น อาจจะเปลี่ยนเป็นซื้อชุดนักเรียน 1 ชุด และซื้อชุดลูกเสือหรือเนตรนารี 1 ชุดก็ได้
ส่วนประเด็นการตรวจสอบเงินว่าจะถึงมือผู้ปกครองหรือนักเรียนหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า จะใช้ระบบเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของนักเรียน เมื่อมีการลงนามจ่ายเงิน รวมทั้งมีข้อเสนอให้ตรวจสอบใบเสร็จจากการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน
ทั้งนี้ กรณีที่ว่าหากมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนเงินไม่ครบตามจำนวนเงินที่ได้รับจะต้องคืนเงินหรือไม่ นายจุรินทร์ บอกว่า เงินที่ให้ไปค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตาม ครอบครัวใดหรือเด็กนักเรียนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ กระทรวงจะรณรงค์ให้สละสิทธิ์ความช่วยเหลือดังกล่าว โดยเงินที่เหลือจะนำไปพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส โรงเรียนยากจนทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 600 แห่ง
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่เลือกวิธีการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนนั้น เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด หากใช้คูปองจะต้องแลกไปมา และอาจมีปัญหาคูปองปลอม โดยเงินสดนี้ผู้ปกครองหรือนักเรียนจะเบิกจ่ายพร้อมคำแนะนำในการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม โดยแต่ละคนเลือกซื้อได้ตามความจำเป็น เช่น มีไม้บรรทัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ ให้ซื้ออุปกรณ์อื่นแทนได้ หรือโควต้าชุดนักเรียนให้ซื้อคนละ 2 ชุด ดังนั้น อาจจะเปลี่ยนเป็นซื้อชุดนักเรียน 1 ชุด และซื้อชุดลูกเสือหรือเนตรนารี 1 ชุดก็ได้
ส่วนประเด็นการตรวจสอบเงินว่าจะถึงมือผู้ปกครองหรือนักเรียนหรือไม่ นายจุรินทร์ กล่าวว่า จะใช้ระบบเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของนักเรียน เมื่อมีการลงนามจ่ายเงิน รวมทั้งมีข้อเสนอให้ตรวจสอบใบเสร็จจากการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน
ทั้งนี้ กรณีที่ว่าหากมีใบเสร็จมาแสดงแต่จำนวนเงินไม่ครบตามจำนวนเงินที่ได้รับจะต้องคืนเงินหรือไม่ นายจุรินทร์ บอกว่า เงินที่ให้ไปค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตาม ครอบครัวใดหรือเด็กนักเรียนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ กระทรวงจะรณรงค์ให้สละสิทธิ์ความช่วยเหลือดังกล่าว โดยเงินที่เหลือจะนำไปพัฒนาโรงเรียนด้อยโอกาส โรงเรียนยากจนทั่วประเทศที่มีอยู่กว่า 600 แห่ง