เมื่อเวลา 09.00 น.วานนี้(11ก.พ.) ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำเนียบรัฐบาล มีการประชุมวางมาตรการแก้ปัญหาชาวโรฮิงยา ที่หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมเป็นประธาน มีผู้บัญชาการเหล่าทัพ หน่วยงานความมั่นคง และส่วนราขการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
หลังการประชุม นายวีรศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กล่าวว่า การพิจารณาเรื่องนี้ เป็นไปตามหลักกฎหมายของประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยยึดถือตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งทาง สมช. จะมีการประชุมกลุ่ม คณะทำงานเพื่อร่าง มาตรการที่จะใช้ในการปฏิบัติต่อชาวโรงฮิงยาต่อไป ซึ่งจะเป็นมาตรการที่โปร่งใส โดยจะแจ้งให้ประชาคมโลกได้รับทราบด้วย
นอกจากนี้ประเทศไทยจะหยิบยกประเด็นนี้ เข้าหารือในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (อาเซียนซัมมิท) ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ ที่หัวหินด้วย เพราะว่ามีประเทศในแถบนี้ 3-4 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน จึงต้องหารือว่าจะทำอย่างไร จากนั้นก็จะหารือกับทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ในการขนส่งคนกลับประเทศ ซึ่งหากคนที่หลบหนีเข้าประเทศผ่านกระบวนการของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)ในประเทศไทย ก็จะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศที่จะพาคนพวกนี้กลับสู่ประเทศต้นทางที่เขาออกมา
"รัฐบาลจะต้องเจรจากับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อระดมความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อไปให้การช่วยเหลือพวกโรฮิงยาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ให้เขาเลือกวิธีการเดินทางออกมาแบบนี้ ซึ่งวิธีนี้เป็นอันตรายกับตัวเขาเอง ส่วนมาตรการระยะยาวจะต้องประชุมกับประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปราบปรามการค้ามนุษย์ และเท่าที่ได้รับข้อมูลจากชาวโรงฮิงยา บอกว่าได้รับการช่วยเหลือ มีคนรับเข้าทำงาน ดังนั้นก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนกับประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยจะมีการจัดประชุมเร็วๆนี้" ปลัด กต. กล่าว
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงการที่ได้เดินทางไปพบชาวโรงฮิงยา 78 คนว่า ไม่ได้มีการจะไปจัดตั้งศูนย์อพยพแต่อย่างใด ทั้งนี้ยืนยันว่า เราจะถือหลักปฏิบัติตามกฎหมายของเรา และกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจของเราที่ต้องรักษาอธิปไตยของชาติ หากมีการลักลอบเข้ามาต้องจัดการตามกฎหมาย และเมื่อกฎหมายพิจารณาอย่างไรแล้ว ก็ต้องให้องค์กรที่เขามีหน้าที่นำคนกลับไปประเทศของเขา อย่างไรก็ตามขณะนี้ พวกเราก็มีชาวโรงฮิงยาที่ ตม.ดูแลทั้งหมด 80 คน และเท่าที่ประเมินยังมีโรฮิงยาอยู่ในประเทศไทย 2 หมื่นกว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแรงงานนอกกฎหมาย
ส่วนมาตรการสกัดกั้นไม่ให้กลับเข้ามาอีก ก็มีมาตรการอยู่แล้วโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนที่แม้เขาจะลักลอบเข้ามา เราก็ต้องให้น้ำดื่ม อาหาร และยารักษาโรค แต่ก็จะไม่ให้กลับเข้ามาในบ้านเราอีก แม้ว่าตอนนี้ต่างประเทศยังไม่เข้าใจเรา ก็ต้องชี้แจงต่อไป จนกว่าจะเข้าใจ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงอุปสรรคในการจัดการกับชาวโรงฮิงยาว่า การจัดการปัญหาค่อนข้างจำกัด เพราะUNHCR ต้องดูว่าคนที่เข้ามา อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ ทั้งที่จริงแล้วคนเหล่านี้เป็นคนหนีออกมาเพื่อหางาน ไม่ใช่ลี้ภัยเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจ
"แต่UNHCR ก็ยังให้ข่าวและนำแองเจลีน่า โจลี่ มาดูศูนย์อพยพพม่า ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่มีปัญหาเรื่องโรฮิงยาพอดี ดังนั้นเราจะต้องตักเตือน UNHCR ต่อไป โดยจะตักเตือนว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์" นายวีรศักดิ์กล่าว
**ผบ.ทร.หนักใจโรฮิงยาแห่เข้าไทย
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวถึงการดำเนินการต่อกลุ่มโรฮิงยาว่า กองทัพกำลังหาทางแก้ไขอยู่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศที่จะแก้ปัญหาระดับชาติ ซึ่งผลที่ออกมายังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ส่วนการตั้งศูนย์ผู้อพยพ คิดว่าจะเป็นภาระให้กับประเทศ คนเหล่านี้เราถือเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ส่วนการตั้งกรรมการสอบนั้น เป็นหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คิดว่าจะทำให้เร็วที่สุด
ส่วนข้อเสนอของกองทัพเรือ คงเป็นไปในแนวเดียวกัน คือ เขาคือผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย การดำเนินการต้องเป็นไปตามกฎหมายในประเทศ และระหว่างประเทศในพื้นฐานการมีมนุษยธรรม
เมื่อถามว่า หากเขาเข้ามา เราจะผลักดันออกไปหรือไม่ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า หากเขาอยู่ในฐานะต้องช่วยเหลือ ก็ต้องช่วย ตามหลักมนุษยธรรม หรืออยากเดินทางต่อไป เราก็จะสนับสนุนให้เขาเดินทางไปตามที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ เป็นเรื่องน่าหนักใจหากเขาเข้ามาในประเทศเรื่อยๆ คงต้องแก้ปัญหาต่อไป
หลังการประชุม นายวีรศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กล่าวว่า การพิจารณาเรื่องนี้ เป็นไปตามหลักกฎหมายของประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยยึดถือตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งทาง สมช. จะมีการประชุมกลุ่ม คณะทำงานเพื่อร่าง มาตรการที่จะใช้ในการปฏิบัติต่อชาวโรงฮิงยาต่อไป ซึ่งจะเป็นมาตรการที่โปร่งใส โดยจะแจ้งให้ประชาคมโลกได้รับทราบด้วย
นอกจากนี้ประเทศไทยจะหยิบยกประเด็นนี้ เข้าหารือในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (อาเซียนซัมมิท) ที่จะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ ที่หัวหินด้วย เพราะว่ามีประเทศในแถบนี้ 3-4 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน จึงต้องหารือว่าจะทำอย่างไร จากนั้นก็จะหารือกับทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) และองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ในการขนส่งคนกลับประเทศ ซึ่งหากคนที่หลบหนีเข้าประเทศผ่านกระบวนการของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)ในประเทศไทย ก็จะให้เป็นหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศที่จะพาคนพวกนี้กลับสู่ประเทศต้นทางที่เขาออกมา
"รัฐบาลจะต้องเจรจากับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อระดมความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อไปให้การช่วยเหลือพวกโรฮิงยาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ให้เขาเลือกวิธีการเดินทางออกมาแบบนี้ ซึ่งวิธีนี้เป็นอันตรายกับตัวเขาเอง ส่วนมาตรการระยะยาวจะต้องประชุมกับประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการปราบปรามการค้ามนุษย์ และเท่าที่ได้รับข้อมูลจากชาวโรงฮิงยา บอกว่าได้รับการช่วยเหลือ มีคนรับเข้าทำงาน ดังนั้นก็ต้องมีการแลกเปลี่ยนกับประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยจะมีการจัดประชุมเร็วๆนี้" ปลัด กต. กล่าว
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงการที่ได้เดินทางไปพบชาวโรงฮิงยา 78 คนว่า ไม่ได้มีการจะไปจัดตั้งศูนย์อพยพแต่อย่างใด ทั้งนี้ยืนยันว่า เราจะถือหลักปฏิบัติตามกฎหมายของเรา และกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจของเราที่ต้องรักษาอธิปไตยของชาติ หากมีการลักลอบเข้ามาต้องจัดการตามกฎหมาย และเมื่อกฎหมายพิจารณาอย่างไรแล้ว ก็ต้องให้องค์กรที่เขามีหน้าที่นำคนกลับไปประเทศของเขา อย่างไรก็ตามขณะนี้ พวกเราก็มีชาวโรงฮิงยาที่ ตม.ดูแลทั้งหมด 80 คน และเท่าที่ประเมินยังมีโรฮิงยาอยู่ในประเทศไทย 2 หมื่นกว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแรงงานนอกกฎหมาย
ส่วนมาตรการสกัดกั้นไม่ให้กลับเข้ามาอีก ก็มีมาตรการอยู่แล้วโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนที่แม้เขาจะลักลอบเข้ามา เราก็ต้องให้น้ำดื่ม อาหาร และยารักษาโรค แต่ก็จะไม่ให้กลับเข้ามาในบ้านเราอีก แม้ว่าตอนนี้ต่างประเทศยังไม่เข้าใจเรา ก็ต้องชี้แจงต่อไป จนกว่าจะเข้าใจ
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงอุปสรรคในการจัดการกับชาวโรงฮิงยาว่า การจัดการปัญหาค่อนข้างจำกัด เพราะUNHCR ต้องดูว่าคนที่เข้ามา อยู่ในสภาพที่เป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ ทั้งที่จริงแล้วคนเหล่านี้เป็นคนหนีออกมาเพื่อหางาน ไม่ใช่ลี้ภัยเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจ
"แต่UNHCR ก็ยังให้ข่าวและนำแองเจลีน่า โจลี่ มาดูศูนย์อพยพพม่า ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่มีปัญหาเรื่องโรฮิงยาพอดี ดังนั้นเราจะต้องตักเตือน UNHCR ต่อไป โดยจะตักเตือนว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์" นายวีรศักดิ์กล่าว
**ผบ.ทร.หนักใจโรฮิงยาแห่เข้าไทย
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวถึงการดำเนินการต่อกลุ่มโรฮิงยาว่า กองทัพกำลังหาทางแก้ไขอยู่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศที่จะแก้ปัญหาระดับชาติ ซึ่งผลที่ออกมายังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ส่วนการตั้งศูนย์ผู้อพยพ คิดว่าจะเป็นภาระให้กับประเทศ คนเหล่านี้เราถือเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ส่วนการตั้งกรรมการสอบนั้น เป็นหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คิดว่าจะทำให้เร็วที่สุด
ส่วนข้อเสนอของกองทัพเรือ คงเป็นไปในแนวเดียวกัน คือ เขาคือผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย การดำเนินการต้องเป็นไปตามกฎหมายในประเทศ และระหว่างประเทศในพื้นฐานการมีมนุษยธรรม
เมื่อถามว่า หากเขาเข้ามา เราจะผลักดันออกไปหรือไม่ พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า หากเขาอยู่ในฐานะต้องช่วยเหลือ ก็ต้องช่วย ตามหลักมนุษยธรรม หรืออยากเดินทางต่อไป เราก็จะสนับสนุนให้เขาเดินทางไปตามที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ เป็นเรื่องน่าหนักใจหากเขาเข้ามาในประเทศเรื่อยๆ คงต้องแก้ปัญหาต่อไป