วานนี้ (3 ก.พ.) เวลา 10.00 น. กลุ่มพลังมวลชนจังหวัดระนอง ในนามของ กองกำลังประชาชนชายแดนไทย-พม่า กว่า 1,000 คน นำโดยนายสุชีพ พัฒน์ทอง รวมตัวกันบริเวณสวนสุขภาพเทศบาลเมืองระนอง อ.เมือง จ.ระนอง เพื่อต่อต้าน แนวคิดการจัดตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงยา ที่ จ.ระนอง ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR โดยมีการปราศรัยโจมตี UNHCRที่พยายามผลักดันให้มีการตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงยา ที่ จ.ระนอง พร้อมกับเขียนข้อความต่าง ๆ บนป้ายผ้าที่ไม่เห็นด้วย
จากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน ได้ขึ้นรถยนต์แล้วเคลื่อนขบวนไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง หลังจากทราบว่า มีเจ้าหน้าที่ของ UNHCR และนายอิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ที่กำลังเยี่ยมชาวโรฮิงยา ที่ถูกกักตัวอยู่ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านการตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงยา โดยนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง รับอาสาเป็นผู้ประสานงานให้ จากนั้นนายทรงสิทธิ์ จารุปราณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ของ UNHCR ได้ออกมารับจดหมายจากตัวแทนผู้ชุมนุมด้วยตัวเอง
นายสุชีพ พัฒน์ทอง กล่าวว่า พวกตนทั้งหมดได้ประกาศเจตนารมย์ว่า จะไม่ยอม ให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่า เชื้อสายโรฮิงยา เข้ามาในพื้นที่อีกเป็นอันขาด และจะไม่ยอมให้มีการจัดตั้งศูนย์รับผู้หลบหนีเข้าเมืองในพื้นที่ จ.ระนอง โดยเด็ดขาด หากกลุ่ม องค์กร หรือประเทศใดที่ต้องการรับผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้ไปดูแล พวกตนพร้อมจะอำนวยความสะดวกให้ ขอให้ UNHCR ไปแก้ปัญหาที่ประเทศต้นทาง คือ พม่า ไม่ใช่ผลักภาระมาให้ประเทศไทย และะหาก UNHCR ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่และพร้อมรวมพลัง เพื่อแสดงเจตนารมย์ให้รัฐบาลไทย และนานนาประเทศได้รับทราบ
โดยเย็นวานนี้ (3 ก.พ.) ผู้ชุมนุมได้ไปยื่นจดหมายเปิดผนึก ให้เจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย บังกาเทศ และพม่า ที่ท่าอากาศยานระนอง ก่อนที่คณะเจ้าหน้าที่ทูต จะเดินทางไปเยี่ยมชาวโรฮิงยา ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง และโรงพยาบาลระนอง
นายสุชีพ กล่าวต่อด้วยว่า เป็นเวลา 5 ปีแล้ว ที่ชาวระนองต้องต้อนรับผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่าเชื้อสายโรฮิงยา และมีจำนวนเพิ่มทวีมากขึ้นทุกปี พวกเรากองกำลังประชาชนชายแดนไทย-พม่าจำเป็นต้องต้อนรับผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้ ที่มีสภาพอดอยากหิวโหย แต่ด้วยน้ำใจของเจ้าบ้านที่ดีตลอดมา โดยการให้อาหาร ให้ที่พักพิงชั่วคราว จนกว่า จะมีสภาพที่ดี และมีความแข็งแรงแล้วอำนวยความสะดวกในการเดินทางต่อไป
สำหรับปัญหาที่พวกเราประสบ คือ ต้องสูญเสียทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพยากรในการดูแลคนกลุ่มนี้ มีการลักเล็กขโมยน้อยในพื้นที่ ตลอดเวลาที่ผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้เข้ามาเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมในพื้นที่และไม่อยากเป็นแพะรับบาปของกลุ่มประเทศตะวันตก ที่ประณามการกระทำของพวกเราทั้ง ๆ ที่เป็นผู้แก้ปัญหา และรับเคราะห์กรรมตลอดมา
ด้านนายทรงสิทธิ์ จารุปราณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ของ UNHCR กล่าวว่าเพียงสั้น ๆ ว่า ตนไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่จะนำจดหมายไปหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน
ส่วนนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขอให้พี่น้องประชาชนไม่ต้องกังวล ทางจังหวัดจะตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ชาวระนองเป็นหลัก
จากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 100 คน ได้ขึ้นรถยนต์แล้วเคลื่อนขบวนไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง หลังจากทราบว่า มีเจ้าหน้าที่ของ UNHCR และนายอิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ที่กำลังเยี่ยมชาวโรฮิงยา ที่ถูกกักตัวอยู่ เพื่อยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านการตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงยา โดยนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง รับอาสาเป็นผู้ประสานงานให้ จากนั้นนายทรงสิทธิ์ จารุปราณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ของ UNHCR ได้ออกมารับจดหมายจากตัวแทนผู้ชุมนุมด้วยตัวเอง
นายสุชีพ พัฒน์ทอง กล่าวว่า พวกตนทั้งหมดได้ประกาศเจตนารมย์ว่า จะไม่ยอม ให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่า เชื้อสายโรฮิงยา เข้ามาในพื้นที่อีกเป็นอันขาด และจะไม่ยอมให้มีการจัดตั้งศูนย์รับผู้หลบหนีเข้าเมืองในพื้นที่ จ.ระนอง โดยเด็ดขาด หากกลุ่ม องค์กร หรือประเทศใดที่ต้องการรับผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้ไปดูแล พวกตนพร้อมจะอำนวยความสะดวกให้ ขอให้ UNHCR ไปแก้ปัญหาที่ประเทศต้นทาง คือ พม่า ไม่ใช่ผลักภาระมาให้ประเทศไทย และะหาก UNHCR ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่และพร้อมรวมพลัง เพื่อแสดงเจตนารมย์ให้รัฐบาลไทย และนานนาประเทศได้รับทราบ
โดยเย็นวานนี้ (3 ก.พ.) ผู้ชุมนุมได้ไปยื่นจดหมายเปิดผนึก ให้เจ้าหน้าที่ สถานเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย บังกาเทศ และพม่า ที่ท่าอากาศยานระนอง ก่อนที่คณะเจ้าหน้าที่ทูต จะเดินทางไปเยี่ยมชาวโรฮิงยา ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง และโรงพยาบาลระนอง
นายสุชีพ กล่าวต่อด้วยว่า เป็นเวลา 5 ปีแล้ว ที่ชาวระนองต้องต้อนรับผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวพม่าเชื้อสายโรฮิงยา และมีจำนวนเพิ่มทวีมากขึ้นทุกปี พวกเรากองกำลังประชาชนชายแดนไทย-พม่าจำเป็นต้องต้อนรับผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้ ที่มีสภาพอดอยากหิวโหย แต่ด้วยน้ำใจของเจ้าบ้านที่ดีตลอดมา โดยการให้อาหาร ให้ที่พักพิงชั่วคราว จนกว่า จะมีสภาพที่ดี และมีความแข็งแรงแล้วอำนวยความสะดวกในการเดินทางต่อไป
สำหรับปัญหาที่พวกเราประสบ คือ ต้องสูญเสียทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพยากรในการดูแลคนกลุ่มนี้ มีการลักเล็กขโมยน้อยในพื้นที่ ตลอดเวลาที่ผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มนี้เข้ามาเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมในพื้นที่และไม่อยากเป็นแพะรับบาปของกลุ่มประเทศตะวันตก ที่ประณามการกระทำของพวกเราทั้ง ๆ ที่เป็นผู้แก้ปัญหา และรับเคราะห์กรรมตลอดมา
ด้านนายทรงสิทธิ์ จารุปราณ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย ของ UNHCR กล่าวว่าเพียงสั้น ๆ ว่า ตนไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่จะนำจดหมายไปหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อน
ส่วนนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขอให้พี่น้องประชาชนไม่ต้องกังวล ทางจังหวัดจะตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ชาวระนองเป็นหลัก