นายเจะอามิง โตะตาหยง ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร และคณะ ได้ศึกษาดูงานเกี่ยวกับปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชาวโรฮิงยา ที่ จ.ระนอง โดยได้ประชุมรับฟังบรรยายสรุปข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของชาวโรฮิงยา และแนวทางแก้ไขร่วมกับนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการ จ.ระนอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยก 1 กองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ที่ห้องประชุมศาลากลาง จ.ระนอง
ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ปัญหาเรื่องโรฮิงยาเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และมีการตีข่าวไปทั่วโลก ทำให้ภาพพจน์ของประเทศเป็นที่สนใจ และหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะภาพข่าวที่ทางสำนักข่าวบีบีซีและซีเอ็นเอ็น ออกนำเผยแพร่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทางการไทยกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อพยพ ถือว่าประเทศไทยได้รับความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับคนที่รู้จักและประชาชนในพื้นที่ ก็มีความสบายใจขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลที่ตรงกันว่าไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ของไทยทำทารุณกรรมผู้อพยพ ซึ่งต้องชี้แจงให้เข้าใจต่อไป
ขณะที่หน่วยงานในพื้นที่ จ.ระนอง ต่างเห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงยา และไม่เห็นด้วยที่จะตั้งศูนย์อพยพในประเทศไทย ตามข้อเสนอของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทางออกคือต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นตอคือพม่า และบังกลาเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องร่วมกับสมาชิกประเทศอาเซียนและประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาดีขึ้น
จากนั้นคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้เดินทางไปเยี่ยมชาวโรฮิงยา 4 คน ที่บาดเจ็บ และยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลระนอง ตรวจเยี่ยมการควบคุมตัวผู้ต้องขังแทนค่าปรับจำนวน 62 คน ที่เรือนจำ จ.ระนอง ที่ครบกำหนดการรับโทษในวันนี้ ซึ่งต้องส่งตัวไปกักกันไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง เพื่อรอการส่งกลับ
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้ลงเรือตำรวจน้ำเดินทางไปยังเกาะทรายแดง เพื่อตรวจพื้นที่และข้อเท็จจริง เนื่องจากเกาะดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ถูกระบุว่า ทหารไทยใช้เป็นสถานที่ควบคุมตัว และกระทำทารุณชาวโรฮิงยาด้วย
ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ปัญหาเรื่องโรฮิงยาเป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ และมีการตีข่าวไปทั่วโลก ทำให้ภาพพจน์ของประเทศเป็นที่สนใจ และหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะภาพข่าวที่ทางสำนักข่าวบีบีซีและซีเอ็นเอ็น ออกนำเผยแพร่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทางการไทยกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อพยพ ถือว่าประเทศไทยได้รับความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับคนที่รู้จักและประชาชนในพื้นที่ ก็มีความสบายใจขึ้น เมื่อได้รับข้อมูลที่ตรงกันว่าไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่ของไทยทำทารุณกรรมผู้อพยพ ซึ่งต้องชี้แจงให้เข้าใจต่อไป
ขณะที่หน่วยงานในพื้นที่ จ.ระนอง ต่างเห็นว่ารัฐบาลควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงยา และไม่เห็นด้วยที่จะตั้งศูนย์อพยพในประเทศไทย ตามข้อเสนอของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทางออกคือต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นตอคือพม่า และบังกลาเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องร่วมกับสมาชิกประเทศอาเซียนและประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาดีขึ้น
จากนั้นคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้เดินทางไปเยี่ยมชาวโรฮิงยา 4 คน ที่บาดเจ็บ และยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลระนอง ตรวจเยี่ยมการควบคุมตัวผู้ต้องขังแทนค่าปรับจำนวน 62 คน ที่เรือนจำ จ.ระนอง ที่ครบกำหนดการรับโทษในวันนี้ ซึ่งต้องส่งตัวไปกักกันไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองระนอง เพื่อรอการส่งกลับ
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ได้ลงเรือตำรวจน้ำเดินทางไปยังเกาะทรายแดง เพื่อตรวจพื้นที่และข้อเท็จจริง เนื่องจากเกาะดังกล่าวเป็นสถานที่ที่ถูกระบุว่า ทหารไทยใช้เป็นสถานที่ควบคุมตัว และกระทำทารุณชาวโรฮิงยาด้วย