ASTVผู้จัดการรายวัน- กอน.ถก 46 โรงงานน้ำตาล ร่วมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร แก้ปัญหาลักลอบนำน้ำตาลประเทศเพื่อนบ้านกลับมาขายในไทยฟันส่วนต่างราคา
นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับตัวแทน 46 โรงงานน้ำตาลทราย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการลักลอบนำน้ำตาลทรายส่งออก (โควตา ค.) ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำกลับเข้ามาขายในไทย เนื่องจากราคาในประเทศจูงใจ เพราะราคาสูงกว่า 5-7 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.) โดยได้มีการจับกุมการกระทำความผิดเข้มงวดขึ้น ซึ่งตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันสามารถจับกุมการลักลอบน้ำตาลได้ 5,000 กระสอบหรือคิดเป็นสัดส่วน 0.02%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือว่ายังเป็นปกติไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) แต่อย่างใด โดยมีน้ำตาลค้างกระดานเพียง 8 แสนตัน ซึ่งถือเป็นอัตราปกติ แม้ว่าเศรษฐกิจชะลอ แต่การบริโภคน้ำตาลไม่ได้ลดลง
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามในระยะยาว ได้มีการปิดด่านที่มีปริมาณน้ำตาลเข้าออกมากผิดปกติไปแล้ว 10 ด่าน อาทิ เชียงราย 3 ด่าน หนองคาย 2 ด่าน นครพนม อรัญประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกำชับให้โรงงานเข้มงวดดูแลตัวแทนการค้าและส่งออก (เทรดเดอร์เฟิร์ม) หากพบปัญหาก็ควรจะดำเนินคดีและขึ้นบัญชีดำ (แบล็คลิสต์) ทันที และกำลังพิจารณาจัดงบเพิ่มเติมในการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่จับกุม
“ยอมรับว่าราคาในประเทศที่สูงกว่าจูงใจ การพิจารณาราคาในประเทศให้เหมาะสมคงจะอยู่ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่จะมาดูแลอีกขั้น แต่ที่ประชุมเราไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเวลาน้ำตาลแพงน้ำตาลโควตาก.ก็จะไหลออกไปขายต่างประเทศ เวลาน้ำตาลในไทยแพงกว่าก็จะไหลเข้ามา”นายประเสริฐกล่าว
นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับตัวแทน 46 โรงงานน้ำตาลทราย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมศุลกากร เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการลักลอบนำน้ำตาลทรายส่งออก (โควตา ค.) ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำกลับเข้ามาขายในไทย เนื่องจากราคาในประเทศจูงใจ เพราะราคาสูงกว่า 5-7 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.) โดยได้มีการจับกุมการกระทำความผิดเข้มงวดขึ้น ซึ่งตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันสามารถจับกุมการลักลอบน้ำตาลได้ 5,000 กระสอบหรือคิดเป็นสัดส่วน 0.02%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถือว่ายังเป็นปกติไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศ (โควตา ก.) แต่อย่างใด โดยมีน้ำตาลค้างกระดานเพียง 8 แสนตัน ซึ่งถือเป็นอัตราปกติ แม้ว่าเศรษฐกิจชะลอ แต่การบริโภคน้ำตาลไม่ได้ลดลง
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามในระยะยาว ได้มีการปิดด่านที่มีปริมาณน้ำตาลเข้าออกมากผิดปกติไปแล้ว 10 ด่าน อาทิ เชียงราย 3 ด่าน หนองคาย 2 ด่าน นครพนม อรัญประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังกำชับให้โรงงานเข้มงวดดูแลตัวแทนการค้าและส่งออก (เทรดเดอร์เฟิร์ม) หากพบปัญหาก็ควรจะดำเนินคดีและขึ้นบัญชีดำ (แบล็คลิสต์) ทันที และกำลังพิจารณาจัดงบเพิ่มเติมในการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่จับกุม
“ยอมรับว่าราคาในประเทศที่สูงกว่าจูงใจ การพิจารณาราคาในประเทศให้เหมาะสมคงจะอยู่ที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่จะมาดูแลอีกขั้น แต่ที่ประชุมเราไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเวลาน้ำตาลแพงน้ำตาลโควตาก.ก็จะไหลออกไปขายต่างประเทศ เวลาน้ำตาลในไทยแพงกว่าก็จะไหลเข้ามา”นายประเสริฐกล่าว