ASTVผู้จัดการรายวัน - มาร์คฝันมาตรการที่รัฐบาลวางไว้ทั้งระยะสั้น อัดฉีดงบประมาณกลางปีแสนล้านบาทที่รอลุ้นผ่านสภาฯวันนี้ (28ม.ค.) ระยะกลางและยาวที่เน้นไปที่โครงการเมกะโปรเจกต์ ทั้งระบบน้ำ รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าฯลฯ จะทำให้ไทยก้าวพ้นวิกฤติเศรษฐกิจได้สิ้นปีนี้ หากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ใน 1-2 ปี ด้านเอกชนหวังงบฯแสนล้านช่วยระดับหนึ่ง มองว่าเงินที่จะต้องอัดฉีดเพื่อพยุงศก.ให้รอดพ้นอาจต้องสูงถึง 3 แสนล้านบาท ขณะที่ขุนคลังเผยชงมาตรการฟื้นเศรษฐกิจระลอก 3 เข้า ครม.วันนี้ ลั่นทบทวนเงินกู้-ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้า ไม่เว้นสายสีม่วง เหตุราคาน้ำมันโลกลดต่ำ พร้อมดันเซาท์เทิร์นซีบอร์ด เข้า ครม. อ้าง"สมัคร" ตั้งเรื่องไว้แล้ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในงาน ”เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ ไทยแลนด์” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กรอ.) วานนี้ (27ม.ค.)ว่า รัฐบาลคาดหวังว่าหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปสามารถประคับประคองเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1-2 ได้ และภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ถดถอย หรือผันผวนมากไปกว่าปัจจุบันซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2 ปี ยังหวังว่าเศรษฐกิจไทยปลายปี 2552 จะมีโอกาสออกจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ โดยเอกชนเองคงจะต้องร่วมมือกับรัฐบาลในการก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน
"ไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยคงยังติดลบอยู่ เพราะกว่างบประมาณที่วางไว้กว่าแสนล้านบาทจะถึงมือประชาชนจริงๆ คงเป็นเดือนมี.ค.นี้ ซึ่งกรอบงบประมาณกลางปีประมาณ 1.1 แสนล้านบาท จะเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวันนี้ (28ม.ค.) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจน่าจะช่วยชะลอผลกระทบเศรษฐกิจไตรมาสแรกได้ระดับหนึ่งแต่หวังว่าจะมีผลในไตรมาส 2 ให้ดีขึ้นได้บ้าง" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ทั้งนี้ปัจจุบันไทยเผชิญปัญหา 3 ส่วนคือ 1. ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ต่างจากวิกฤติปี 40 ที่มีปัญหาการเงิน แต่วิกฤติครั้งนี้มีปัญหาเรื่องแรงซื้อทั่วโลกรวมถึงในประเทศตกต่ำทำให้ทั่วโลกรวมถึงไทยเผชิญกับการส่งออก การผลิตที่ติดลบ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
2. วิกฤติการเมืองที่ไทยเจอมาต่อเนื่อง 2-3 ปี 3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการแข่งขันของประเทศที่เริ่มสะสมและถูกมองข้ามเช่น แรงงานขาดแคลนไม่ตรงกับความต้องการ กฏระเบียบต่างๆ ฯลฯ ทั้ง 3 ปัจจัยรัฐบาลจะเร่งรัดแก้ไขเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินไปข้างหน้าซึ่งรัฐบาลทำหน้าที่มาเพียง 1 เดือนก็ถือว่าได้ดำเนินการมาได้ระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับงบประมาณกลางปีประมาณแสนล้านบาท ที่วางไว้จะเน้นการกระตุ้นแรงซื้อเพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดูแลเนื่องจากเห็นว่า การลงทุนที่เกี่ยวกับเมกะโปรเจกต์ต้องใช้เวลาแต่ปัญหาแรงซื้อของคนทั่วไป การว่างงาน และภาคผลิตจำเป็นต้องดูแลก่อนโดยรัฐบาลจะใส่เงินผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.การแทรกแซงราคาสินค้าภาคเกษตรซึ่งวงเงินนี้ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ 2. อุตสาหกรรมและการบริการ ที่จะเน้นดูแลการว่างงานที่จะมีโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อชะลอเลิกจ้าง 3. การช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยเช่น มาตรการ 2,000 บาท การช่วยเหลือผู้ชรา ฯลฯ
**แผนสำรองกู้เงินนอกยันไม่ถึงแสนล้าน
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ประมาทหากกลางปีนี้เศรษฐกิจโลกพลิกผันและเศรษฐกิจไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ รัฐบาลจึงมอบให้คลังไปพิจารณาเงินกู้จากต่างประเทศซึ่งยืนยันว่าไม่ถึงแสนล้านบาท เพื่อมาเสริมงบกลางปีนี้ โดยจะเป็นแผนสำรองไว้กรณีฉุกเฉินจริงๆ ส่วนระยะกลางและยาวจะเป็นในเรื่องของโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ เพราะต้องมีขั้นตอนการจัดจ้างทั้งระบบขนส่ง ระบบน้ำ ระบบรถไฟรางคู่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด ฯลฯ
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงมาตรการยกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและพ.ร.บ. ภาษีมรดกว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะรัฐบาลเนื่องจากยังเป็นขั้นตอนของการศึกษาความเหมาะสมยังไม่ได้ถึงขั้นตัดสินใจอย่างไร
**เอกชนลุ้นงบฯผ่านสภาฯวันนี้
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังไม่เพิ่มเท่าที่ควร และคำสั่งซื้อก็จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เพราะคู่ค้าเองก็ไม่มั่นใจเศรษฐกิจประเทศเช่นกัน ทำให้ภาพรวมขณะนี้การใช้กำลังผลิตเหลือ 50-60% เท่านั้น ซึ่งงบประมาณที่จะอัดเข้าสู่ระบบที่จะผ่านสภาฯวันนี้(28ม.ค.) จะต้องเร่งดำเนินการโดยเร็วเพื่อชะลอผลกระทบ และเห็นว่างบประมาณเพียงแสนกว่าล้านบาท คงจะไม่เพียงพอสำหรับการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ คงจะต้องมีมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติมอีกซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลได้เตรียมไว้แล้ว
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งบกลางปีที่คาดว่าน่าจะสามารถนำมาใช้ได้เดือนเมษายนนี้ รวมทั้งมาตรการลดหย่อนภาษีด้านต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ภาคเอกชนคงต้องติดตามและขอเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากมาตรการออกมาแล้วว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อว่าภาพรวมคงจะเรียกความเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่ง
**วงเงินพยุงศก.อาจสูงถึง3แสนล้าน
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ส.อ.ท.กล่าวว่า จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและหลายฝ่ายมองว่าอาจต้องใช้เวลา 1-2 ปีในการฟื้นตัวนั้น คาดว่าวงเงินที่รัฐบาลไทยต้องนำมาอัดฉีดผ่านระบบเศรษฐกิจต่างๆ ควรจะสูงถึงระดับ 3 แสนล้านบาท จึงจะรับมือได้ซึ่งระยะแรกงบกลางปีแสนล้านบาทที่จะออกมา จะดูแลได้ระดับหนึ่งเพราะว่ากว่าเม็ดเงินจะออกมาคงเป็นเดือนมี.ค.-เม.ย.
"งบประมาณที่ออก สิ่งสำคัญคือจะต้องปฏิบัติจริง เพราะอดีตก็เคยเกิดปัญหานี้แล้วมีงบแต่ไม่มีการนำออกมาใช้ได้จริง ซึ่งเราหวังว่าจะไม่เกิดกับรัฐบาลชุดนี้ ส่วนมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลต้องเร่งคือโครงการเมกะโปรเจกต์ เพราะต้องใช้เวลาการจัดซื้อจัดจ้างและก่อสร้าง การปฏิบัติต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ต่อเนื่องกับมาตรการระยะสั้น และที่สำคัญคือทำอย่างไรให้มีการใช้และซื้ออุปกรณ์และจัดซื้อจัดจ้างเหล่านี้ใช้สินค้าไทย" นายสมมาตกล่าว
**ขุนคลังชงมาตรการฟื้นเศรษฐกิจระลอก 3
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาเพิ่มเติมอีกวันนี้ (28 ม.ค.) หลังจากช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ระลอก รมว.คลังระบุว่า จากสถานกาณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมากจนมีผลเป็นนัยยะสำคัญต่อต้นทุนการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า รวมกับราคาค่าวัสดุก่อสร้างก็ปรับลดลง อีกทั้งอัตราการจ้างงานในปัจจุบันก็ต่ำ
รมว.คลังระบุว่า รัฐบาลจะปรับมูลค่าการลงทุนของแต่ละโครงการรถไฟฟ้า ส่วนจะปรับลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ ยังไม่สามารถตอบได้ในตอนนี้ ต้องหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริงก่อน อย่างไรก็ตาม ได้หารือกับนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคมแล้วทั้งหมด อีกทั้งปัญหานี้ก็เป็นการเสนอมาจากกระทรวงคมนาคมเองที่ต้องการเดินหน้ารถไฟฟ้าภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง
"ต้องไปดูว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดจากก่อนหน้าขึ้นสูงถึง 140 กว่าเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีผลทำให้ต้นทุนลดต่ำลงมากเท่าไร หรือจะปรับลดลงมา 10% เท่ากับก่อนหน้าที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ก็ต้องคิดกัน โดยจะพิจารณารวมไปถึงโครงการที่ผ่านประมูลไปแล้วโดยเฉพาะในส่วนของสายสีม่วงด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะปรับลดได้หรือไม่ ต้องดูแง่กฎหมาย" นายกรณ์กล่าว และว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับลดมูลค่าโครงการ เพราะหากจะประหยัดเม็ดเงินลงทุนลงได้โครงการละ 5-10% ก็จะสามารถนำเม็ดเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์แก่ประชาชนด้านอื่นได้ต่อไป
สำหรับแหล่งเงินกู้เพื่อใช้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้านั้น จากการหารือกับสถาบันการเงินญี่ปุ่น ได้ยืนยันกับพวกเขาไปแล้วว่า แม้จะเป็นรัฐบาลใหม่แต่ก็พร้อมจะสานต่อเงินกู้ที่ได้เจรจามาก่อนหน้า เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีแดง ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องแหล่งเงินจะได้หารือกับรมว.คมนาคม เพื่อหาข้อสรุปต่อไป
**ลั่นสานต่อเซาเทร์นซีบอร์ด
ยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลชุดนี้ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วว่าจะต้องเดินหน้าเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ คือโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ด เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแห่งที่ 2 ต่อจากอีสเทิร์น ซีบอร์ด โดยจะเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้เข้าด้วยกัน ถือเป็นการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลาง และยาว จากที่ก่อนหน้ารัฐบาลได้กระตุ้นระยะสั้นมาแล้ว โดยที่ผ่านมาในครม. ชุดที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้คณะทำงานไปศึกษารายละเอียดโครงการ และขณะนี้ผลการศึกษาแล้วเสร็จทั้งหมดรอเพียงเสนอต่อ ครม.อนุมัติก็สามารถดำเนินการได้ทันที
**ยันแจก 2 พันต่อหัวถูกทาง
นายกรณ์ ยืนยันด้วยว่า มาตรการกระตุ้นระยะสั้น โดยเฉพาะการแจกเงิน 2 พันบาท แก่กลุ่มผู้มีรายได้ไม่ถึง 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน รัฐบาลได้ผ่านการศึกษามาอย่างดีและเห็นว่าเหมาะสมที่จะทำเพราะคนกลุ่มนี้เมื่อได้รับเงินจะจ่ายคืนกลับมาในรูปของการบริโภคสินค้าเร็วที่สุด เท่ากับกระตุ้นการผลิตในส่วนของผู้ประกอบการไปในตัว ซึ่งที่จะแจกเพิ่มสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้นก็มีเงินพร้อมอยู่แล้ว เป็นงบกลางปีที่กันไว้จำนวน 4 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเตรียมไว้หากมีกลุ่มบุคคลใดที่ขาดตกบกพร่อง โดยสามารถพิจารณาเพิ่มเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการของสภาฯ
นอกจากนี้ ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ราว 1 สัปดาห์จะมีการประชุม รมว.คลังอาเซียน+3 ซึ่งแต่ละประเทศจะนำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่จะมีความแตกต่างกัน และร่วมกันพิจารณาว่ายังมีประเด็นปัญหาในเรื่องใดที่ยังมีความห่วงกังวลกัน
**ห่วงสเปรดซ้ำเติมผู้ประกอบการ
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงปัญหาต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก (สเปรด) ว่า เป็นเรื่องที่ต้องหาทางช่วยให้ลูกค้าอยู่รอด ขณะเดียวกัน สเปรดจะทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งทุน สร้างการแข่งขันระหว่างแหล่งทุน และขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าใหม่ เพราะหากตลาดทุนและธนาคารพาณิชย์ขาดคู่แข่งจะทำให้สินค้าไม่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะเข้าไปแทรกแซงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก แต่ที่พูดออกไปในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นพูดเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
**KTBเผยรัฐไม่แทรกแซงสเปรด
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) กล่าวถึงประเด็นส่วนต่างดอกเบี้ยว่าในส่วนธนาคารกรุงไทย ที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยเข้ามาแทรกแซงให้ธนาคารกรุงไทยปรับลดสเปรด ส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในเดือนมกราคมยังไม่มีการขยายตัว เนื่องจากมีลูกค้าเข้ามาขอกู้ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ลูกค้าจึงรอดูสถานการณ์ก่อนที่จะขยายการลงทุน อย่างไรก็ตามหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก็ยังไม่มีการเติบโตขึ้นเช่นกัน
ณ สิ้นเดือน ธ.ค.51 ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทยมียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.30 เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.51
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทยยังกล่าวถึงความคืบหน้าการร่วมกับธนาคารเฉพาะกิจในโครงการ Product Champion Package เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้า ว่า จะได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้ ก่อนจะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาสัปดาห์หน้า ระหว่างนี้แต่ละธนาคารไปพิจารณารูปแบบความช่วยเหลือภาคธุรกิจแต่ละกลุ่ม พร้อมวงเงิน ในส่วนธนาคารกรุงไทยมีทั้งแคมเปญที่ดูแลทั้งลูกค้าเงินกู้และเงินฝาก
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมธนาคารรัฐและธนาคารเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.).
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาในงาน ”เชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ ไทยแลนด์” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กรอ.) วานนี้ (27ม.ค.)ว่า รัฐบาลคาดหวังว่าหากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปสามารถประคับประคองเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1-2 ได้ และภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ถดถอย หรือผันผวนมากไปกว่าปัจจุบันซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าต้องใช้เวลาฟื้นตัว 2 ปี ยังหวังว่าเศรษฐกิจไทยปลายปี 2552 จะมีโอกาสออกจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ โดยเอกชนเองคงจะต้องร่วมมือกับรัฐบาลในการก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน
"ไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยคงยังติดลบอยู่ เพราะกว่างบประมาณที่วางไว้กว่าแสนล้านบาทจะถึงมือประชาชนจริงๆ คงเป็นเดือนมี.ค.นี้ ซึ่งกรอบงบประมาณกลางปีประมาณ 1.1 แสนล้านบาท จะเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาวันนี้ (28ม.ค.) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจน่าจะช่วยชะลอผลกระทบเศรษฐกิจไตรมาสแรกได้ระดับหนึ่งแต่หวังว่าจะมีผลในไตรมาส 2 ให้ดีขึ้นได้บ้าง" นายกรัฐมนตรีกล่าว
ทั้งนี้ปัจจุบันไทยเผชิญปัญหา 3 ส่วนคือ 1. ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ต่างจากวิกฤติปี 40 ที่มีปัญหาการเงิน แต่วิกฤติครั้งนี้มีปัญหาเรื่องแรงซื้อทั่วโลกรวมถึงในประเทศตกต่ำทำให้ทั่วโลกรวมถึงไทยเผชิญกับการส่งออก การผลิตที่ติดลบ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
2. วิกฤติการเมืองที่ไทยเจอมาต่อเนื่อง 2-3 ปี 3. ปัญหาและอุปสรรคต่อการแข่งขันของประเทศที่เริ่มสะสมและถูกมองข้ามเช่น แรงงานขาดแคลนไม่ตรงกับความต้องการ กฏระเบียบต่างๆ ฯลฯ ทั้ง 3 ปัจจัยรัฐบาลจะเร่งรัดแก้ไขเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินไปข้างหน้าซึ่งรัฐบาลทำหน้าที่มาเพียง 1 เดือนก็ถือว่าได้ดำเนินการมาได้ระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับงบประมาณกลางปีประมาณแสนล้านบาท ที่วางไว้จะเน้นการกระตุ้นแรงซื้อเพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดูแลเนื่องจากเห็นว่า การลงทุนที่เกี่ยวกับเมกะโปรเจกต์ต้องใช้เวลาแต่ปัญหาแรงซื้อของคนทั่วไป การว่างงาน และภาคผลิตจำเป็นต้องดูแลก่อนโดยรัฐบาลจะใส่เงินผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.การแทรกแซงราคาสินค้าภาคเกษตรซึ่งวงเงินนี้ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ 2. อุตสาหกรรมและการบริการ ที่จะเน้นดูแลการว่างงานที่จะมีโครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อชะลอเลิกจ้าง 3. การช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยเช่น มาตรการ 2,000 บาท การช่วยเหลือผู้ชรา ฯลฯ
**แผนสำรองกู้เงินนอกยันไม่ถึงแสนล้าน
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ประมาทหากกลางปีนี้เศรษฐกิจโลกพลิกผันและเศรษฐกิจไทยไม่อาจฟื้นตัวได้ รัฐบาลจึงมอบให้คลังไปพิจารณาเงินกู้จากต่างประเทศซึ่งยืนยันว่าไม่ถึงแสนล้านบาท เพื่อมาเสริมงบกลางปีนี้ โดยจะเป็นแผนสำรองไว้กรณีฉุกเฉินจริงๆ ส่วนระยะกลางและยาวจะเป็นในเรื่องของโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ เพราะต้องมีขั้นตอนการจัดจ้างทั้งระบบขนส่ง ระบบน้ำ ระบบรถไฟรางคู่ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาท์เทิร์นซีบอร์ด ฯลฯ
นายอภิสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึงมาตรการยกร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและพ.ร.บ. ภาษีมรดกว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะรัฐบาลเนื่องจากยังเป็นขั้นตอนของการศึกษาความเหมาะสมยังไม่ได้ถึงขั้นตัดสินใจอย่างไร
**เอกชนลุ้นงบฯผ่านสภาฯวันนี้
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังไม่เพิ่มเท่าที่ควร และคำสั่งซื้อก็จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เพราะคู่ค้าเองก็ไม่มั่นใจเศรษฐกิจประเทศเช่นกัน ทำให้ภาพรวมขณะนี้การใช้กำลังผลิตเหลือ 50-60% เท่านั้น ซึ่งงบประมาณที่จะอัดเข้าสู่ระบบที่จะผ่านสภาฯวันนี้(28ม.ค.) จะต้องเร่งดำเนินการโดยเร็วเพื่อชะลอผลกระทบ และเห็นว่างบประมาณเพียงแสนกว่าล้านบาท คงจะไม่เพียงพอสำหรับการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ คงจะต้องมีมาตรการอัดฉีดเพิ่มเติมอีกซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลได้เตรียมไว้แล้ว
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งบกลางปีที่คาดว่าน่าจะสามารถนำมาใช้ได้เดือนเมษายนนี้ รวมทั้งมาตรการลดหย่อนภาษีด้านต่าง ๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ภาคเอกชนคงต้องติดตามและขอเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากมาตรการออกมาแล้วว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อว่าภาพรวมคงจะเรียกความเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่ง
**วงเงินพยุงศก.อาจสูงถึง3แสนล้าน
นายสมมาต ขุนเศรษฐ รองเลขาธิการสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ส.อ.ท.กล่าวว่า จากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและหลายฝ่ายมองว่าอาจต้องใช้เวลา 1-2 ปีในการฟื้นตัวนั้น คาดว่าวงเงินที่รัฐบาลไทยต้องนำมาอัดฉีดผ่านระบบเศรษฐกิจต่างๆ ควรจะสูงถึงระดับ 3 แสนล้านบาท จึงจะรับมือได้ซึ่งระยะแรกงบกลางปีแสนล้านบาทที่จะออกมา จะดูแลได้ระดับหนึ่งเพราะว่ากว่าเม็ดเงินจะออกมาคงเป็นเดือนมี.ค.-เม.ย.
"งบประมาณที่ออก สิ่งสำคัญคือจะต้องปฏิบัติจริง เพราะอดีตก็เคยเกิดปัญหานี้แล้วมีงบแต่ไม่มีการนำออกมาใช้ได้จริง ซึ่งเราหวังว่าจะไม่เกิดกับรัฐบาลชุดนี้ ส่วนมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลต้องเร่งคือโครงการเมกะโปรเจกต์ เพราะต้องใช้เวลาการจัดซื้อจัดจ้างและก่อสร้าง การปฏิบัติต้องอาศัยเวลาเพื่อให้ต่อเนื่องกับมาตรการระยะสั้น และที่สำคัญคือทำอย่างไรให้มีการใช้และซื้ออุปกรณ์และจัดซื้อจัดจ้างเหล่านี้ใช้สินค้าไทย" นายสมมาตกล่าว
**ขุนคลังชงมาตรการฟื้นเศรษฐกิจระลอก 3
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาเพิ่มเติมอีกวันนี้ (28 ม.ค.) หลังจากช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ระลอก รมว.คลังระบุว่า จากสถานกาณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมากจนมีผลเป็นนัยยะสำคัญต่อต้นทุนการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า รวมกับราคาค่าวัสดุก่อสร้างก็ปรับลดลง อีกทั้งอัตราการจ้างงานในปัจจุบันก็ต่ำ
รมว.คลังระบุว่า รัฐบาลจะปรับมูลค่าการลงทุนของแต่ละโครงการรถไฟฟ้า ส่วนจะปรับลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ ยังไม่สามารถตอบได้ในตอนนี้ ต้องหารือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสะท้อนราคาต้นทุนที่แท้จริงก่อน อย่างไรก็ตาม ได้หารือกับนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคมแล้วทั้งหมด อีกทั้งปัญหานี้ก็เป็นการเสนอมาจากกระทรวงคมนาคมเองที่ต้องการเดินหน้ารถไฟฟ้าภายใต้ต้นทุนที่ต่ำลง
"ต้องไปดูว่าราคาน้ำมันที่ปรับลดจากก่อนหน้าขึ้นสูงถึง 140 กว่าเหรียญดอลลาร์สหรัฐ มีผลทำให้ต้นทุนลดต่ำลงมากเท่าไร หรือจะปรับลดลงมา 10% เท่ากับก่อนหน้าที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่ ก็ต้องคิดกัน โดยจะพิจารณารวมไปถึงโครงการที่ผ่านประมูลไปแล้วโดยเฉพาะในส่วนของสายสีม่วงด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะปรับลดได้หรือไม่ ต้องดูแง่กฎหมาย" นายกรณ์กล่าว และว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องปรับลดมูลค่าโครงการ เพราะหากจะประหยัดเม็ดเงินลงทุนลงได้โครงการละ 5-10% ก็จะสามารถนำเม็ดเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์แก่ประชาชนด้านอื่นได้ต่อไป
สำหรับแหล่งเงินกู้เพื่อใช้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้านั้น จากการหารือกับสถาบันการเงินญี่ปุ่น ได้ยืนยันกับพวกเขาไปแล้วว่า แม้จะเป็นรัฐบาลใหม่แต่ก็พร้อมจะสานต่อเงินกู้ที่ได้เจรจามาก่อนหน้า เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีแดง ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องแหล่งเงินจะได้หารือกับรมว.คมนาคม เพื่อหาข้อสรุปต่อไป
**ลั่นสานต่อเซาเทร์นซีบอร์ด
ยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลชุดนี้ได้แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎรไปแล้วว่าจะต้องเดินหน้าเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศ คือโครงการเซาเทิร์น ซีบอร์ด เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแห่งที่ 2 ต่อจากอีสเทิร์น ซีบอร์ด โดยจะเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้เข้าด้วยกัน ถือเป็นการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลาง และยาว จากที่ก่อนหน้ารัฐบาลได้กระตุ้นระยะสั้นมาแล้ว โดยที่ผ่านมาในครม. ชุดที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้คณะทำงานไปศึกษารายละเอียดโครงการ และขณะนี้ผลการศึกษาแล้วเสร็จทั้งหมดรอเพียงเสนอต่อ ครม.อนุมัติก็สามารถดำเนินการได้ทันที
**ยันแจก 2 พันต่อหัวถูกทาง
นายกรณ์ ยืนยันด้วยว่า มาตรการกระตุ้นระยะสั้น โดยเฉพาะการแจกเงิน 2 พันบาท แก่กลุ่มผู้มีรายได้ไม่ถึง 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน รัฐบาลได้ผ่านการศึกษามาอย่างดีและเห็นว่าเหมาะสมที่จะทำเพราะคนกลุ่มนี้เมื่อได้รับเงินจะจ่ายคืนกลับมาในรูปของการบริโภคสินค้าเร็วที่สุด เท่ากับกระตุ้นการผลิตในส่วนของผู้ประกอบการไปในตัว ซึ่งที่จะแจกเพิ่มสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและข้าราชการส่วนท้องถิ่นนั้นก็มีเงินพร้อมอยู่แล้ว เป็นงบกลางปีที่กันไว้จำนวน 4 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลเตรียมไว้หากมีกลุ่มบุคคลใดที่ขาดตกบกพร่อง โดยสามารถพิจารณาเพิ่มเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการของสภาฯ
นอกจากนี้ ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ราว 1 สัปดาห์จะมีการประชุม รมว.คลังอาเซียน+3 ซึ่งแต่ละประเทศจะนำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่จะมีความแตกต่างกัน และร่วมกันพิจารณาว่ายังมีประเด็นปัญหาในเรื่องใดที่ยังมีความห่วงกังวลกัน
**ห่วงสเปรดซ้ำเติมผู้ประกอบการ
นายกรณ์ ยังกล่าวถึงปัญหาต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก (สเปรด) ว่า เป็นเรื่องที่ต้องหาทางช่วยให้ลูกค้าอยู่รอด ขณะเดียวกัน สเปรดจะทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งทุน สร้างการแข่งขันระหว่างแหล่งทุน และขีดความสามารถในการพัฒนาสินค้าใหม่ เพราะหากตลาดทุนและธนาคารพาณิชย์ขาดคู่แข่งจะทำให้สินค้าไม่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะเข้าไปแทรกแซงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก แต่ที่พูดออกไปในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นพูดเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
**KTBเผยรัฐไม่แทรกแซงสเปรด
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) กล่าวถึงประเด็นส่วนต่างดอกเบี้ยว่าในส่วนธนาคารกรุงไทย ที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยเข้ามาแทรกแซงให้ธนาคารกรุงไทยปรับลดสเปรด ส่วนการปล่อยสินเชื่อของธนาคารในเดือนมกราคมยังไม่มีการขยายตัว เนื่องจากมีลูกค้าเข้ามาขอกู้ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ลูกค้าจึงรอดูสถานการณ์ก่อนที่จะขยายการลงทุน อย่างไรก็ตามหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก็ยังไม่มีการเติบโตขึ้นเช่นกัน
ณ สิ้นเดือน ธ.ค.51 ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงไทยมียอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.30 เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.51
กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทยยังกล่าวถึงความคืบหน้าการร่วมกับธนาคารเฉพาะกิจในโครงการ Product Champion Package เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้า ว่า จะได้ข้อสรุปในสัปดาห์นี้ ก่อนจะเสนอให้ รมว.คลังพิจารณาสัปดาห์หน้า ระหว่างนี้แต่ละธนาคารไปพิจารณารูปแบบความช่วยเหลือภาคธุรกิจแต่ละกลุ่ม พร้อมวงเงิน ในส่วนธนาคารกรุงไทยมีทั้งแคมเปญที่ดูแลทั้งลูกค้าเงินกู้และเงินฝาก
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมธนาคารรัฐและธนาคารเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน เอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.).