“พาณิชย์”หน้ามืดส่งออกธ.ค.ติดลบอีก 14.6% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 สินค้าสำคัญลดลงระเนระนาด ทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม ตลาดหลัก ตลาดใหม่ ก็ติดลบกระฉูด ส่งผลยอดรวมทั้งปีโต 15.6% จากที่ประเมินไว้ว่าจะโต 18% “ศิริพล”ระบุเพราะศุลกากรปรับตัวเลขใหม่ เลยทำให้ตัวเลขเพี้ยน ส่วนครึ่งแรกปีนี้ ส่งออกคงวูบยาว แต่จะดีขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง เผยหากได้งบช่วย ยังหวังโตเป็นบวก
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนธ.ค.มีมูลค่า 11,604.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.6% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 11,254.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.5% โดยในเดือนนี้ไทยเกินดุลการค้า 350.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการส่งออกทั้งปี 2551 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 177,841.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.6% การนำเข้ามีมูลค่ารวม 178,653.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.6% โดยทั้งปีไทยขาดดุลการค้า 811.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
“การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ 15.6% ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้เมื่อการแถลงข่าวส่งออกเดือนพ.ย. ที่คาดว่าทั้งปีจะโตได้ 18% เพราะกรมศุลกากรได้แก้ไขตัวเลขการส่งออกใหม่ โดยเดือนพ.ย.เดิมส่งออกติดลบ 18.59% เป็นติดลบ 20.47% เลยส่งผลกระทบทำให้ตัวเลขทั้งปีเมื่อรวมกับตัวเลขติดลบในเดือนธ.ค. ก็เลยโตไม่ถึง 18% แต่ก็ยังเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลกล่าวว่า ส่วนการส่งออกในปีนี้ กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้การส่งออกเป็นบวกให้ได้มากที่สุด เพราะผลจากการหารือกับภาคเอกชนล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ได้ประเมินกันว่าช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกจะขยายตัวติดลบ และจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งหากมีการใส่งบประมาณผลักดันการส่งออกเพิ่มเติม ก็จะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ แต่ในเมื่อไม่ได้เงินงบประมาณจากงบกลางปี ก็ต้องทำให้ดีที่สุดภายใต้งบประมาณเดิมที่มีอยู่
“สถานการณ์โลกเป็นแบบนี้ ครึ่งปีแรกคงลำบาก ถ้าส่งออกติดลบ จะพยายามทำให้ลบน้อยที่สุด ลบตัวเลขหลักเดียว และหวังว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น ยิ่งถ้าเราได้งบมาสนับสนุน ก็จะช่วยให้การส่งออกของปีนี้ขยายตัวได้ดีขึ้น”นายศิริพลกล่าว
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.จะชะลอตัวลง เพราะความต้องการของตลาดโลกลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนของหลายๆ ประเทศมีความผันผวน ทำให้เกิดการชะลอการสั่งซื้อ จึงส่งผลทำให้การส่งออกสินค้าไทยได้รับผลกระทบ โดยสินค้าหลายๆ รายการมียอดการส่งออกที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ในเดือนธ.ค. สินค้าเกษตรลดลง 16.1% สินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ส่วนน้ำตาลทราย กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป ยังคงส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกลดลง 13.9% สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลงมากกว่า 20% เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าที่ส่งออกลดลง 10-20% เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ และของเล่น
ทางด้านตลาดส่งออก ก็ลดลงต่อเนื่องทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลักลดลงสูงถึง 19.7% ได้แก่ อาเซียน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลง 25.9,19.3,16.3 และ 15.1 ตามลำดับ ส่วนตลาดใหม่ลดลง 8.9% เช่น จีน ลดลง 40.1% ไต้หวัน ลดลง 35.4% ยุโรปตะวันออก ลดลง 29.6% แอฟริกา ลดลง 18.6% ลาตินอเมริกา ลดลง 14.6% เกาหลีใต้ ลดลง 10.3% ตะวันออกกลาง ลดลง 9.2% อินโดจีนและพม่า ลดลง 7.5% และแคนาดา ลดลง 5.3%
เอกชนมองส่งออกไตรมาส1ยังติดลบ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนหรือกรอ. วานนี้(21ม.ค.) นายกฯได้มอบให้สศช.และธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินทิศทางเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่มองตรงกันว่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2552 ภาพรวมยังคงติดลบอีก โดยเฉพาะในเดือนม.ค. 52 ซึ่งจะเห็นชัดเจนกรณีของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คำสั่งซื้อในโซนเอเชีย ออสเตรเลีย ที่เป็นตลาดหลักของไทยออร์เดอร์ลดแล้ว 38%
“นายกฯได้รับข้อเสนอเอกชนที่เสนอครั้งนี้ไปเป็นระยะสั้นทั้งหมดไว้ด้วยการมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและบางอย่างให้นำกลับมาหารือในครั้งต่อไป”นายสันติกล่าว
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนธ.ค.มีมูลค่า 11,604.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.6% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 11,254.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.5% โดยในเดือนนี้ไทยเกินดุลการค้า 350.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการส่งออกทั้งปี 2551 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 177,841.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.6% การนำเข้ามีมูลค่ารวม 178,653.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.6% โดยทั้งปีไทยขาดดุลการค้า 811.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
“การส่งออกทั้งปีขยายตัวได้ 15.6% ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้เมื่อการแถลงข่าวส่งออกเดือนพ.ย. ที่คาดว่าทั้งปีจะโตได้ 18% เพราะกรมศุลกากรได้แก้ไขตัวเลขการส่งออกใหม่ โดยเดือนพ.ย.เดิมส่งออกติดลบ 18.59% เป็นติดลบ 20.47% เลยส่งผลกระทบทำให้ตัวเลขทั้งปีเมื่อรวมกับตัวเลขติดลบในเดือนธ.ค. ก็เลยโตไม่ถึง 18% แต่ก็ยังเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลกล่าวว่า ส่วนการส่งออกในปีนี้ กระทรวงพาณิชย์จะพยายามผลักดันให้การส่งออกเป็นบวกให้ได้มากที่สุด เพราะผลจากการหารือกับภาคเอกชนล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ได้ประเมินกันว่าช่วงครึ่งปีแรก การส่งออกจะขยายตัวติดลบ และจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งหากมีการใส่งบประมาณผลักดันการส่งออกเพิ่มเติม ก็จะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ แต่ในเมื่อไม่ได้เงินงบประมาณจากงบกลางปี ก็ต้องทำให้ดีที่สุดภายใต้งบประมาณเดิมที่มีอยู่
“สถานการณ์โลกเป็นแบบนี้ ครึ่งปีแรกคงลำบาก ถ้าส่งออกติดลบ จะพยายามทำให้ลบน้อยที่สุด ลบตัวเลขหลักเดียว และหวังว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้น ยิ่งถ้าเราได้งบมาสนับสนุน ก็จะช่วยให้การส่งออกของปีนี้ขยายตัวได้ดีขึ้น”นายศิริพลกล่าว
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกในเดือนธ.ค.จะชะลอตัวลง เพราะความต้องการของตลาดโลกลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนของหลายๆ ประเทศมีความผันผวน ทำให้เกิดการชะลอการสั่งซื้อ จึงส่งผลทำให้การส่งออกสินค้าไทยได้รับผลกระทบ โดยสินค้าหลายๆ รายการมียอดการส่งออกที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้ ในเดือนธ.ค. สินค้าเกษตรลดลง 16.1% สินค้าสำคัญที่ลดลง เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ส่วนน้ำตาลทราย กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ไก่แช่แข็งและแปรรูป ยังคงส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกลดลง 13.9% สินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลงมากกว่า 20% เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง สินค้าที่ส่งออกลดลง 10-20% เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ และของเล่น
ทางด้านตลาดส่งออก ก็ลดลงต่อเนื่องทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลักลดลงสูงถึง 19.7% ได้แก่ อาเซียน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ลดลง 25.9,19.3,16.3 และ 15.1 ตามลำดับ ส่วนตลาดใหม่ลดลง 8.9% เช่น จีน ลดลง 40.1% ไต้หวัน ลดลง 35.4% ยุโรปตะวันออก ลดลง 29.6% แอฟริกา ลดลง 18.6% ลาตินอเมริกา ลดลง 14.6% เกาหลีใต้ ลดลง 10.3% ตะวันออกกลาง ลดลง 9.2% อินโดจีนและพม่า ลดลง 7.5% และแคนาดา ลดลง 5.3%
เอกชนมองส่งออกไตรมาส1ยังติดลบ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับนายกรัฐมนตรีในเวทีคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชนหรือกรอ. วานนี้(21ม.ค.) นายกฯได้มอบให้สศช.และธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินทิศทางเศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่มองตรงกันว่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2552 ภาพรวมยังคงติดลบอีก โดยเฉพาะในเดือนม.ค. 52 ซึ่งจะเห็นชัดเจนกรณีของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คำสั่งซื้อในโซนเอเชีย ออสเตรเลีย ที่เป็นตลาดหลักของไทยออร์เดอร์ลดแล้ว 38%
“นายกฯได้รับข้อเสนอเอกชนที่เสนอครั้งนี้ไปเป็นระยะสั้นทั้งหมดไว้ด้วยการมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการและบางอย่างให้นำกลับมาหารือในครั้งต่อไป”นายสันติกล่าว