ส่งออกเดือน มี.ค.ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่าเฉียด 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 14.4% เหตุข้าว มัน ยางพารา ผัก ผลไม้ และอาหาร ส่งออกพุ่งกระฉูด สินค้าอุตสาหกรรมก็เพิ่ม และพลิกกลับมาเกินดุลการค้า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังขาดดุลติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้า ส่วนดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม 3 เดือนแรกปีนี้ ยังคงต่ำต่อเนื่อง สวนทางกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บ่งชี้ปัจจัยต่างๆ ทั้งการเมือง น้ำมัน เศรษฐกิจโลกไม่กระเตื้องขึ้น ขณะที่ยอดขายมาม่าโต 7-8% ชี้ชัดคนไทยประหยัด แต่ยอดซื้อมอเตอร์ไซต์พุ่ง
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนมี.ค.มีมูลค่า 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% ซึ่งเป็นตัวเลขการส่งออกที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ไทยมีการส่งออกมา
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 14,604.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.68% โดยในเดือนนี้ไทยกลับมาเกินดุลการค้า 159.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ในช่วง 2 เดือนแรกขาดดุลการค้าติดต่อกัน
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนมี.ค.ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นเพราะสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตรส่วนใหญ่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและมูลค่า โดยมีการขยายตัวสูงถึง 32 % สินค้าที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว เพิ่มขึ้น 143.8% อาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้น 29.6% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป 1.6% ยางพารา เพิ่มขึ้น 23.9% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น 39.7% อาหาร เพิ่มขึ้น 17.5%
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 11.8% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเกิน 15% เช่น ยานยนต์ และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์และกระดาษ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 10-15% เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช และเครื่องมือแพทย์
สำหรับการนำเข้าในเดือนมี.ค.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 64.7% เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น 98.6% เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น สินค้าทุน เพิ่มขึ้น 24.5% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 30.1% สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น 29.6% สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้น 30.3%
นายศิริพล กล่าวว่า การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรกของปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่ารวม 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.8 % ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38 % ไทยขาดดุลการค้ารวม 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจากสถานการณ์การส่งออกจนถึงขณะนี้ มั่นใจว่าการส่งออกในภาพรวมของทั้งปีจะขยายตัวได้ตามเป้า 12.5% แน่นอน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ในเดือนมี.ค. การส่งออกไปยังตลาดหลักและตลาดใหม่เพิ่มขึ้น 6.3% และ 24.1% ตามลำดับ ตลาดหลักสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่มขึ้น 19.3% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ เพิ่มขึ้น 8.2% โดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งออกลดลงเป็นเดือนแรก โดยสหรัฐฯ ลดลง 2.2% สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องรับโทรทัศน์ ญี่ปุ่น ลดลง 1.5% สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ
ขณะที่ตลาดใหม่ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น แอฟริกา เพิ่มขึ้น 85.2% อินโดจีนและพม่า เพิ่มขึ้น 54.4% ฮ่องกง เพิ่มขึ้น 36.3% จีน เพิ่มขึ้น 24.4% ลาตินอเมริกา เพิ่มขึ้น 23.4% ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 17.7% และอินเดีย เพิ่มขึ้น 15.6%
อย่างไรก็ตาม กรมฯ มั่นใจว่า แนวโน้มการส่งออกจากนี้ไปจะยังคงขยายตัวได้เพิ่มขึ้น หลังจากที่ในช่วง 3 เดือนแรก มีการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเข้ามามาก โดยไตรมาสแรกขยายตัวสูงถึง 37.58/% ขณะที่ปีที่แล้วทั้งปีเพิ่มขึ้นแค่ 0.86% เท่านั้น เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตมีความมั่นใจ และขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกที่จะขยายตัวได้ดีขึ้นในระยะต่อไป
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ 3 เดือนแรกทรุดต่ำต่อเนื่อง
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปีนี้ พบว่า ค่าดัชนีฯเติบโตสวนทางกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสแรกปีนี้ ม.ค. อยู่ที่ระดับ 86.0 ก.พ. 83.0 และมี.ค. อยู่ระดับ 83.2 หรือใกล้เคียงกับก.พ.
ขณะที่ไตรมาสแรกปี 50 ม.ค.อยู่ที่ 83.6 ก.พ.อยู่ที่ 82.7 และมี.ค.86.8 เนื่องจากปีที่ผ่านมามีปัญหาการเมือง แต่ปีนี้เมื่อมีเลือกตั้งจึงทำให้ความเชื่อมั่นดีขึ้นมาก แต่หลังจากนั้นเริ่มไต่ระดับลดลงซึ่งมาจากสาเหตุสำคัญคือ มาตรการที่จะดูแลเศรษฐกิจยังออกมาไม่เต็มที่ ขณะที่น้ำมันยังแพง และค่าครองชีพประชาชนสูงต่อเนื่อง
สำหรับแรงซื้อส่วนของรากหญ้าโดยเฉพาะภาคเกษตรกร เริ่มฟื้นตัวจากราคาพืชผลทางการเกษตรดีประกอบกับเงินกระตุ้นศก. โดยดูจากยอดการขายรถจักรยานยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นช่วง มี.ค. 1.5 แสนคัน และเมื่อรวม 3 เดือนยอดขายอยู่ที่ 4.4 แสนคัน หรือโต 7% ส่วนยอดขายรถยนต์รวมในประเทศ มี.ค. 6.6 หมื่นคัน รวม 3 เดือนยอดขาย 1.6 แสนคันคาดว่าปีนี้จะมียอดขายได้รวม6.8-7 แ สนคันซึ่งขยายตัวกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งส่วนของรถยนต์เนื่องจากตลาดตอบรับพลังงานทดแทนอี 20 และพบว่ารถเล็กจะขายได้สูงขึ้นมาก
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า จากปัญหาน้ำมันที่แพงส่งผลให้คนไทยมีการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในส่วนของมาม่า มียอดขายไตรมาสแรกโต 7-8% แม้ว่าจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามราคาจะมีการทรงตัวโดยไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ โดยครึ่งปีหลังคงต้องดูราคาแป้งสาลีที่เป็นวัตถุดิบหลักที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ว่าจะขึ้นมากน้อยเพียงใด เพราะผู้ผลิตเองขณะนี้แม้จะขึ้นราคาไปแต่ก็ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งอยู่
"ปัญหาน้ำมันแพง ยังคงเป็นปัจจัยที่จะมีผลต่อการดำเนินกิจการอยู่ค่อนข้างมากในอีก 3 เดือนข้างหน้า รองลงมาเป็นปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ก็ยังกังวลว่า จะชะลอตัวมากน้อยเพียงใด ส่วนค่าแรงที่จะมีการปรับขึ้นนั้นทางคณะกรรมการไตรภาคีแต่ละจังหวัดก็กำลังดูอยู่เชื่อว่าการปรับขึ้นคงจะไม่เท่ากัน"นายสันติ กล่าว
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนมี.ค.มีมูลค่า 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% ซึ่งเป็นตัวเลขการส่งออกที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ไทยมีการส่งออกมา
ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 14,604.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.68% โดยในเดือนนี้ไทยกลับมาเกินดุลการค้า 159.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ในช่วง 2 เดือนแรกขาดดุลการค้าติดต่อกัน
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนมี.ค.ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นเพราะสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตรส่วนใหญ่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ทั้งปริมาณและมูลค่า โดยมีการขยายตัวสูงถึง 32 % สินค้าที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ข้าว เพิ่มขึ้น 143.8% อาหารทะเลกระป๋อง เพิ่มขึ้น 29.6% กุ้งแช่แข็งและแปรรูป 1.6% ยางพารา เพิ่มขึ้น 23.9% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น 39.7% อาหาร เพิ่มขึ้น 17.5%
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 11.8% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเกิน 15% เช่น ยานยนต์ และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์และกระดาษ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 10-15% เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช และเครื่องมือแพทย์
สำหรับการนำเข้าในเดือนมี.ค.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 64.7% เป็นการนำเข้าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น 98.6% เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น สินค้าทุน เพิ่มขึ้น 24.5% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 30.1% สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น 29.6% สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้น 30.3%
นายศิริพล กล่าวว่า การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรกของปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่ารวม 41,715.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.8 % ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า42,898.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38 % ไทยขาดดุลการค้ารวม 1,182.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจากสถานการณ์การส่งออกจนถึงขณะนี้ มั่นใจว่าการส่งออกในภาพรวมของทั้งปีจะขยายตัวได้ตามเป้า 12.5% แน่นอน
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ในเดือนมี.ค. การส่งออกไปยังตลาดหลักและตลาดใหม่เพิ่มขึ้น 6.3% และ 24.1% ตามลำดับ ตลาดหลักสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาเซียน 5 ประเทศ เพิ่มขึ้น 19.3% สหภาพยุโรป 15 ประเทศ เพิ่มขึ้น 8.2% โดยสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่งออกลดลงเป็นเดือนแรก โดยสหรัฐฯ ลดลง 2.2% สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องรับโทรทัศน์ ญี่ปุ่น ลดลง 1.5% สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ
ขณะที่ตลาดใหม่ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น แอฟริกา เพิ่มขึ้น 85.2% อินโดจีนและพม่า เพิ่มขึ้น 54.4% ฮ่องกง เพิ่มขึ้น 36.3% จีน เพิ่มขึ้น 24.4% ลาตินอเมริกา เพิ่มขึ้น 23.4% ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 17.7% และอินเดีย เพิ่มขึ้น 15.6%
อย่างไรก็ตาม กรมฯ มั่นใจว่า แนวโน้มการส่งออกจากนี้ไปจะยังคงขยายตัวได้เพิ่มขึ้น หลังจากที่ในช่วง 3 เดือนแรก มีการนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปเข้ามามาก โดยไตรมาสแรกขยายตัวสูงถึง 37.58/% ขณะที่ปีที่แล้วทั้งปีเพิ่มขึ้นแค่ 0.86% เท่านั้น เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตมีความมั่นใจ และขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกที่จะขยายตัวได้ดีขึ้นในระยะต่อไป
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ 3 เดือนแรกทรุดต่ำต่อเนื่อง
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปีนี้ พบว่า ค่าดัชนีฯเติบโตสวนทางกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไตรมาสแรกปีนี้ ม.ค. อยู่ที่ระดับ 86.0 ก.พ. 83.0 และมี.ค. อยู่ระดับ 83.2 หรือใกล้เคียงกับก.พ.
ขณะที่ไตรมาสแรกปี 50 ม.ค.อยู่ที่ 83.6 ก.พ.อยู่ที่ 82.7 และมี.ค.86.8 เนื่องจากปีที่ผ่านมามีปัญหาการเมือง แต่ปีนี้เมื่อมีเลือกตั้งจึงทำให้ความเชื่อมั่นดีขึ้นมาก แต่หลังจากนั้นเริ่มไต่ระดับลดลงซึ่งมาจากสาเหตุสำคัญคือ มาตรการที่จะดูแลเศรษฐกิจยังออกมาไม่เต็มที่ ขณะที่น้ำมันยังแพง และค่าครองชีพประชาชนสูงต่อเนื่อง
สำหรับแรงซื้อส่วนของรากหญ้าโดยเฉพาะภาคเกษตรกร เริ่มฟื้นตัวจากราคาพืชผลทางการเกษตรดีประกอบกับเงินกระตุ้นศก. โดยดูจากยอดการขายรถจักรยานยนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นช่วง มี.ค. 1.5 แสนคัน และเมื่อรวม 3 เดือนยอดขายอยู่ที่ 4.4 แสนคัน หรือโต 7% ส่วนยอดขายรถยนต์รวมในประเทศ มี.ค. 6.6 หมื่นคัน รวม 3 เดือนยอดขาย 1.6 แสนคันคาดว่าปีนี้จะมียอดขายได้รวม6.8-7 แ สนคันซึ่งขยายตัวกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งส่วนของรถยนต์เนื่องจากตลาดตอบรับพลังงานทดแทนอี 20 และพบว่ารถเล็กจะขายได้สูงขึ้นมาก
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า จากปัญหาน้ำมันที่แพงส่งผลให้คนไทยมีการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น โดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในส่วนของมาม่า มียอดขายไตรมาสแรกโต 7-8% แม้ว่าจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตามราคาจะมีการทรงตัวโดยไม่เปลี่ยนแปลงในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ โดยครึ่งปีหลังคงต้องดูราคาแป้งสาลีที่เป็นวัตถุดิบหลักที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ว่าจะขึ้นมากน้อยเพียงใด เพราะผู้ผลิตเองขณะนี้แม้จะขึ้นราคาไปแต่ก็ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นส่วนหนึ่งอยู่
"ปัญหาน้ำมันแพง ยังคงเป็นปัจจัยที่จะมีผลต่อการดำเนินกิจการอยู่ค่อนข้างมากในอีก 3 เดือนข้างหน้า รองลงมาเป็นปัจจัยเศรษฐกิจโลกที่ก็ยังกังวลว่า จะชะลอตัวมากน้อยเพียงใด ส่วนค่าแรงที่จะมีการปรับขึ้นนั้นทางคณะกรรมการไตรภาคีแต่ละจังหวัดก็กำลังดูอยู่เชื่อว่าการปรับขึ้นคงจะไม่เท่ากัน"นายสันติ กล่าว