วิกฤตลามส่งออก ตัวเลขพ.ย.ติดลบ 18.6% ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี 8 เดือน หลังเริ่มส่งสัญญาณร้ายมาตั้งแต่เดือนต.ค.ที่โตชะลอตัวลง “ศิริพล”มั่นใจยอดทั้งปีทำได้เกินเป้าขยายตัว 18% แน่นอน ส่วนปีหน้ายังหวังตัวเลขเป็นบวก 0-5% แม้ภาคเอกชนถอดใจไม่สู้ เตรียมอัดกิจกรรม พร้อมมาตรการช่วยผู้ส่งออกเต็มที่
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ย.2551 มีมูลค่า 11,870.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง 18.6% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ปี 8 เดือน นับจากเดือนมี.ค.2545 ที่ส่งออกลดลง 6.2% โดยการส่งออกที่ลดลงนั้น บางส่วนได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินทั้งสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ทำให้สินค้าบางรายการที่ส่งออกทางอากาศส่งออกไม่ได้ ซึ่งมูลค่าการส่งออกทางอากาศคิดเป็น 25-28% ของการส่งออกรวม
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนพ.ย.ที่ขยายตัวติดลบนี้ เป็นการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวติดลบสูงสุดในประวัติศาสตร์การส่งออกของไทย และได้เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่เดือนต.ค.2551 ที่การส่งออกขยายตัวได้เพียง 5.22% จากที่เดือนก่อนหน้านี้ทั้ง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) มีอัตราการขยายตัวในระดับตัวเลข 2 หลักมาโดยตลอด
สำหรับการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 166,236 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.7% ซึ่งมั่นใจว่า การส่งออกในเดือนธ.ค. หากส่งออกได้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะทำให้การส่งออกรวมทั้งปีขยายตัวได้ 18% ซึ่งเกินไปกว่าเป้าหมาย 12.5% และเป้าหมายทำงาน 15% ได้อย่างแน่นอน
ส่วนการนำเข้าในเดือนพ.ย. มีมูลค่า 13,073.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2% เป็นการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าเชื้อเพลิง แม้การนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่ราคาลดลง สินค้าทุน ขยายตัวในอัตราที่ลดลงตามภาวะการลงทุนที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม มีการนำเข้าทองคำปริมาณเพิ่มขึ้น 45.8 ตัน มูลค่า 1,088 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 375.2% และ 1,084.9% เพราะราคาทองคำในตลาดโลกถูกลง ขณะที่ยอดรวมการนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรก มีมูลค่า 167,398.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.9%
อย่างไรก็ตาม ในเดือนพ.ย.นี้ ไทยยังขาดดุลการค้า 1,202.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และขาดดุลการค้าในรอบ 11 เดือน มูลค่า 1,162 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์มองตัวเลขการขยายตัวในระดับบวก 0-5% เพราะผลการหารือกับภาคเอกชนต่างมองว่าการส่งออกจะติดลบเป็นตัวเลข 2 หลักต้นๆ และบางคนก็บอก 2 หลักปลายๆ แต่ก็เป็นเพียงแค่การประเมินในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 เท่านั้น ยังไม่ได้มองถึงไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งกระทรวงฯ มองว่าครึ่งปีหลังการส่งออกน่าจะดีขึ้น และทำให้การส่งออกกลับมาขยายตัวได้
“ตอนนี้กระทรวงฯ กำลังทำแผนที่จะรับมือภายใต้สมมตฐานต่างๆ ทั้งการส่งออกลบมาก จะแก้ยังไง ลบปานกลางจะแก้ยังไง ซึ่งหลักๆ คงเป็นการเพิ่มมาตรการสนับสนุนการส่งออกให้เข้มข้นขึ้น ทั้งแผนการบุกเจาะตลาด แผนการช่วยเหลือผู้ส่งออก เพราะไม่ว่าผู้ส่งออกจะคิดยังไง กระทรวงฯ ก็จะพยายามทำอย่างเต็มที่ คิดว่าส่งออกน่าจะดีขึ้นได้ และอยากขอฝากไปยังธนาคารพาณิชย์ ให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบตามปกติ อย่าดูแค่ว่าการส่งออกจะลดลง แล้วชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพราะจะยิ่งซ้ำเติมทำให้การส่งออกมีปัญหาได้”นายศิริพลกล่าว
ส่วนกรณีที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีแนวคิดที่จะเปิดสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อเปิดตลาดส่งออกนั้น เป็นแนวคิดที่ดี และกระทรวงฯ ก็ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ติดปัญหาที่กำลังคน และงบประมาณ แต่หากจะมีการผลักดันให้เพิ่มขึ้น ก็จะเน้นไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น อินเดีย จีน แอฟริกา ตะวันออกลาง รัสเซียและ CIS เพราะเป็นตลาดที่มีอนาคต
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ยอดการส่งออกที่ลดลง 18.6% เหตุผลหลักๆ เป็นเรื่องเศรษฐกิจนอกประเทศ จากการที่ตลาดส่งออกขยายตัวลดลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ได้มีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจมาโดยตลอด ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกก็ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก เช่น เหล็ก เม็ดพลาสติก รวมถึงสินค้าเกษตร และยังมีปัญหาการปิดสนามบิน ที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลง โดยปกติการส่งออกทางอากาศมีมูลค่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ในเดือนพ.ย.ลดลงเหลือ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนเท่านั้น
สำหรับการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ย. ส่วนใหญ่ลดลง โดยสินค้าเกษตรลดลง 13.5% เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้าอาหาร เช่น อาหารทะเล กุ้ง ไก่ และน้ำตาลทราย ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 18.8% โดยยอดการส่งออกลดลงเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ยาง เลนส์ เครื่องสำอาง อาหารสัตว์เลี้ยง ของเล่น ยานยนต์และส่วนประกอบ ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ทางด้านตลาดส่งออก ลดลงทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลัก คือ อาเซียน สหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลดลง 30.6% 16.7% 14.5% และ 8.4% ตามลำดับ ตลาดใหม่ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง เช่น ฮ่องกง ลดลง 34.7% ไต้หวัน ลดลง 32.6% ออสเตรเลีย ลดลง 19.3% แอฟริกา ลดลง 24.7%จีน ลดลง 36.3% ยกเว้นอินเดีย ยุโรปตะวันออก และตะวันออกลาง ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 35.2% 2.6% และ 0.7% ตามลำดับ
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ย.2551 มีมูลค่า 11,870.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง 18.6% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 ปี 8 เดือน นับจากเดือนมี.ค.2545 ที่ส่งออกลดลง 6.2% โดยการส่งออกที่ลดลงนั้น บางส่วนได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินทั้งสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ทำให้สินค้าบางรายการที่ส่งออกทางอากาศส่งออกไม่ได้ ซึ่งมูลค่าการส่งออกทางอากาศคิดเป็น 25-28% ของการส่งออกรวม
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนพ.ย.ที่ขยายตัวติดลบนี้ เป็นการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวติดลบสูงสุดในประวัติศาสตร์การส่งออกของไทย และได้เริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนมาตั้งแต่เดือนต.ค.2551 ที่การส่งออกขยายตัวได้เพียง 5.22% จากที่เดือนก่อนหน้านี้ทั้ง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) มีอัตราการขยายตัวในระดับตัวเลข 2 หลักมาโดยตลอด
สำหรับการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 166,236 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.7% ซึ่งมั่นใจว่า การส่งออกในเดือนธ.ค. หากส่งออกได้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะทำให้การส่งออกรวมทั้งปีขยายตัวได้ 18% ซึ่งเกินไปกว่าเป้าหมาย 12.5% และเป้าหมายทำงาน 15% ได้อย่างแน่นอน
ส่วนการนำเข้าในเดือนพ.ย. มีมูลค่า 13,073.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2% เป็นการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าเชื้อเพลิง แม้การนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่ราคาลดลง สินค้าทุน ขยายตัวในอัตราที่ลดลงตามภาวะการลงทุนที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม มีการนำเข้าทองคำปริมาณเพิ่มขึ้น 45.8 ตัน มูลค่า 1,088 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 375.2% และ 1,084.9% เพราะราคาทองคำในตลาดโลกถูกลง ขณะที่ยอดรวมการนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรก มีมูลค่า 167,398.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.9%
อย่างไรก็ตาม ในเดือนพ.ย.นี้ ไทยยังขาดดุลการค้า 1,202.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และขาดดุลการค้าในรอบ 11 เดือน มูลค่า 1,162 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 กระทรวงพาณิชย์มองตัวเลขการขยายตัวในระดับบวก 0-5% เพราะผลการหารือกับภาคเอกชนต่างมองว่าการส่งออกจะติดลบเป็นตัวเลข 2 หลักต้นๆ และบางคนก็บอก 2 หลักปลายๆ แต่ก็เป็นเพียงแค่การประเมินในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 เท่านั้น ยังไม่ได้มองถึงไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งกระทรวงฯ มองว่าครึ่งปีหลังการส่งออกน่าจะดีขึ้น และทำให้การส่งออกกลับมาขยายตัวได้
“ตอนนี้กระทรวงฯ กำลังทำแผนที่จะรับมือภายใต้สมมตฐานต่างๆ ทั้งการส่งออกลบมาก จะแก้ยังไง ลบปานกลางจะแก้ยังไง ซึ่งหลักๆ คงเป็นการเพิ่มมาตรการสนับสนุนการส่งออกให้เข้มข้นขึ้น ทั้งแผนการบุกเจาะตลาด แผนการช่วยเหลือผู้ส่งออก เพราะไม่ว่าผู้ส่งออกจะคิดยังไง กระทรวงฯ ก็จะพยายามทำอย่างเต็มที่ คิดว่าส่งออกน่าจะดีขึ้นได้ และอยากขอฝากไปยังธนาคารพาณิชย์ ให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบตามปกติ อย่าดูแค่ว่าการส่งออกจะลดลง แล้วชะลอการปล่อยสินเชื่อ เพราะจะยิ่งซ้ำเติมทำให้การส่งออกมีปัญหาได้”นายศิริพลกล่าว
ส่วนกรณีที่นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีแนวคิดที่จะเปิดสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อเปิดตลาดส่งออกนั้น เป็นแนวคิดที่ดี และกระทรวงฯ ก็ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ติดปัญหาที่กำลังคน และงบประมาณ แต่หากจะมีการผลักดันให้เพิ่มขึ้น ก็จะเน้นไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น อินเดีย จีน แอฟริกา ตะวันออกลาง รัสเซียและ CIS เพราะเป็นตลาดที่มีอนาคต
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ยอดการส่งออกที่ลดลง 18.6% เหตุผลหลักๆ เป็นเรื่องเศรษฐกิจนอกประเทศ จากการที่ตลาดส่งออกขยายตัวลดลง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ได้มีการปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจมาโดยตลอด ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกก็ลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก เช่น เหล็ก เม็ดพลาสติก รวมถึงสินค้าเกษตร และยังมีปัญหาการปิดสนามบิน ที่ทำให้ตัวเลขการส่งออกลดลง โดยปกติการส่งออกทางอากาศมีมูลค่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ในเดือนพ.ย.ลดลงเหลือ 2.7 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนเท่านั้น
สำหรับการส่งออกสินค้าไทยในเดือนพ.ย. ส่วนใหญ่ลดลง โดยสินค้าเกษตรลดลง 13.5% เช่น ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้าอาหาร เช่น อาหารทะเล กุ้ง ไก่ และน้ำตาลทราย ส่งออกได้เพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ลดลง 18.8% โดยยอดการส่งออกลดลงเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ยาง เลนส์ เครื่องสำอาง อาหารสัตว์เลี้ยง ของเล่น ยานยนต์และส่วนประกอบ ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น
ทางด้านตลาดส่งออก ลดลงทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลัก คือ อาเซียน สหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ลดลง 30.6% 16.7% 14.5% และ 8.4% ตามลำดับ ตลาดใหม่ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง เช่น ฮ่องกง ลดลง 34.7% ไต้หวัน ลดลง 32.6% ออสเตรเลีย ลดลง 19.3% แอฟริกา ลดลง 24.7%จีน ลดลง 36.3% ยกเว้นอินเดีย ยุโรปตะวันออก และตะวันออกลาง ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น 35.2% 2.6% และ 0.7% ตามลำดับ