สถาบันวิจัยนครหลวงไทยหรือ SCRI มีมุมมองต่อ ดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือนพ.ย. 2551 กลับมาขาดดุลอีกครั้งอยู่ที่ระดับ -93.4 พันล้านเยน ชะลอตัวลงจากในเดือนที่แล้ว ที่เกินดุลไป 145.8 พันล้านเยน โดยมีปัจจัยสำคัญจากการที่ภาคการส่งออกหดตัวลงถึง -26.5% yoy มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 5.062 ล้านล้านเยน และยังเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องจากในเดือนที่แล้วเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ในขณะที่ภาคการนำเข้าเริ่มมีทิศทางชะลอตัวลงในอัตราเร่งตามภาคการส่งออก โดยหดตัวลง -13.7% yoy มีมูลค่าการค้าโดยรวมอยู่ที่ 5.155 ล้านล้านเยน จากระดับ -13.7% yoy ในเดือนก่อนหน้า
SCRI ประเมินสัญญาณการชะลอตัวของภาคการส่งออกของญี่ปุ่น บ่งบอกถึงภาพการค้าต่างประเทศโดยรวมมีโอกาสสูง ที่จะเป็นการชะลอตัวลงโดยตลอดในปี 2552 โดยทิศทางของภาคการค้าต่างประเทศโดยรวมของญี่ปุ่นในช่วงเดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการกลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้ง มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ภาคการส่งออกมีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน และมากกว่านั้นแล้วการชะลอตัวลงยังมุ่งเน้นไปที่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงและมีราคาแพง อย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รถยนต์ ฯลฯ ซึ่งจากการที่สินค้ากลุ่มนี้มีการชะลอตัวลงถึง-26.7% yoy ในเดือนที่ผ่านมา เท่ากับว่าภาคการส่งออกโดยรวมในเดือนพ.ย. 2551 ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงถึงผลกระทบจากการชะลอตัวไปไม่ได้
เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีสัดส่วนต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นโดยรวมแล้วกว่า 80% ซึ่ง SCRI ประเมินว่าปัจจัยหลักๆที่ส่งผลลบต่อทิศทางภาคการส่งออกของญี่ปุ่นยังคงมาจากอุปสงค์ในตลาดโลก ที่ยังคงมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ได้ชะลอในการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นติดต่อกันมาแล้วหลายเดือน และนอกจากนั้นแล้วยังคงจะต้องเผชิญกับแรงกดดันที่จะเพิ่มมากขึ้นอีก
จากภาคการส่งออกไปยังตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่ต่างๆ ที่เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินเยน ที่ส่งผลลบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าญี่ปุ่น ซึ่งได้ส่งผลให้โดยรวมแล้ว SCRI คาดว่าแนวโน้มภาคการส่งออกของญี่ปุ่นในปี 2552 มีโอกาสสูงที่จะชะลอตัวลงโดยตลอดทั้งปี ขณะที่ในด้านของภาคการนำเข้า แม้ว่า SCRI จะมองว่ามีโอกาสที่จะเริ่มมีการปรับชะลอตัวลงได้ต่อเนื่องในช่วงถัดไป ตามการชะลอตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
แต่อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ยังเชื่อว่าในด้านของภาคการนำเข้าโดยรวมแล้วจะยังคงจะเป็นแค่การค่อยๆชะลอตัวลงเท่านั้น เนื่องจากแนวโน้มในด้านการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารของญี่ปุ่นยังคงมีสัดส่วนที่สูง ซึ่งจะเป็นตัวรักษาระดับการนำเข้าให้คงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับในภาคการส่งออก ซึ่งทำให้โดยสรุปแล้วแนวโน้มของภาคการค้าต่างประเทศในช่วงตลอดปี 2552 ***SCRI คาดว่าจะเห็นดุลการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับในปี 2551 และอาจจะได้เห็นการขาดดุลการค้าติดลบต่อเนื่องได้หลายเดือน โดยเฉพาะในช่วง H1/52***
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้จากการประเมินตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักเศรษฐกิจชะลอตัว โดยนอกจากเดิมที่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ แต่ตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักผลประการบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง สำหรับตลาดเงินระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงต่อเนื่องจากการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายในหลายประเทศ
รัฐบาลทั่วโลกเริ่มประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีวงเงินที่ความชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติต่างๆมีวงเงินดังต่อไปนี้ สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 775,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยวงเงินประมาณ 310,000 นั้นจะเป็นการลดหย่อนภาษี เม็กซิโกประมาณ 5,800ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชิลีอยู่ที่ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ทางยุโรป อังกฤษ 29,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โปรตุเกส 2,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สเปน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ฝรั่งเศส 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สวีเดน 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อิตาลี 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮังการี 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เยอรมนี 69,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ 7,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ จีน 586,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯอินเดีย 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกาหลีใต้ 11,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออสเตรเลีย 7,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยคาดว่าอยู่ที่ 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดย SCRI ประเมินว่า ณ ขณะนี้ วงเงินทั่วโลกในการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 2.6 % ของ GDP โลกในปี 2552 (ใช้การประมาณ World GDP ของ IMF ในปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ 64.167 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเดินหน้าคือการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลังจากที่ปรับลงอย่างรุนแรงในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าที่จะปรับเพิ่มขึ้นรอบแรก (First Wave) ได้แก่ ราคาอาหารหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล กาแฟ เป็นต้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการก่อสร้าง เช่นน้ำมัน เหล็ก เหล็กกล้า ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าวน่าจะเห็นชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังนี้เป็นต้นไป
////ที่มา สถาบันวิจัยนครหลวงไทย
SCRI ประเมินสัญญาณการชะลอตัวของภาคการส่งออกของญี่ปุ่น บ่งบอกถึงภาพการค้าต่างประเทศโดยรวมมีโอกาสสูง ที่จะเป็นการชะลอตัวลงโดยตลอดในปี 2552 โดยทิศทางของภาคการค้าต่างประเทศโดยรวมของญี่ปุ่นในช่วงเดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการกลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้ง มีสาเหตุสำคัญมาจากการที่ภาคการส่งออกมีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน และมากกว่านั้นแล้วการชะลอตัวลงยังมุ่งเน้นไปที่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงและมีราคาแพง อย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รถยนต์ ฯลฯ ซึ่งจากการที่สินค้ากลุ่มนี้มีการชะลอตัวลงถึง-26.7% yoy ในเดือนที่ผ่านมา เท่ากับว่าภาคการส่งออกโดยรวมในเดือนพ.ย. 2551 ย่อมที่จะหลีกเลี่ยงถึงผลกระทบจากการชะลอตัวไปไม่ได้
เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีสัดส่วนต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นโดยรวมแล้วกว่า 80% ซึ่ง SCRI ประเมินว่าปัจจัยหลักๆที่ส่งผลลบต่อทิศทางภาคการส่งออกของญี่ปุ่นยังคงมาจากอุปสงค์ในตลาดโลก ที่ยังคงมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ได้ชะลอในการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นติดต่อกันมาแล้วหลายเดือน และนอกจากนั้นแล้วยังคงจะต้องเผชิญกับแรงกดดันที่จะเพิ่มมากขึ้นอีก
จากภาคการส่งออกไปยังตลาดเอเชียและตลาดเกิดใหม่ต่างๆ ที่เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวที่ชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินเยน ที่ส่งผลลบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าญี่ปุ่น ซึ่งได้ส่งผลให้โดยรวมแล้ว SCRI คาดว่าแนวโน้มภาคการส่งออกของญี่ปุ่นในปี 2552 มีโอกาสสูงที่จะชะลอตัวลงโดยตลอดทั้งปี ขณะที่ในด้านของภาคการนำเข้า แม้ว่า SCRI จะมองว่ามีโอกาสที่จะเริ่มมีการปรับชะลอตัวลงได้ต่อเนื่องในช่วงถัดไป ตามการชะลอตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก
แต่อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วสถาบันวิจัยนครหลวงไทย ยังเชื่อว่าในด้านของภาคการนำเข้าโดยรวมแล้วจะยังคงจะเป็นแค่การค่อยๆชะลอตัวลงเท่านั้น เนื่องจากแนวโน้มในด้านการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารของญี่ปุ่นยังคงมีสัดส่วนที่สูง ซึ่งจะเป็นตัวรักษาระดับการนำเข้าให้คงที่มากกว่าเมื่อเทียบกับในภาคการส่งออก ซึ่งทำให้โดยสรุปแล้วแนวโน้มของภาคการค้าต่างประเทศในช่วงตลอดปี 2552 ***SCRI คาดว่าจะเห็นดุลการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นชะลอตัวลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับในปี 2551 และอาจจะได้เห็นการขาดดุลการค้าติดลบต่อเนื่องได้หลายเดือน โดยเฉพาะในช่วง H1/52***
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลก
ทั้งนี้จากการประเมินตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักเศรษฐกิจชะลอตัว โดยนอกจากเดิมที่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ แต่ตลาดจะกลับมาให้น้ำหนักผลประการบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าในกลุ่มโภคภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวลดลง สำหรับตลาดเงินระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงต่อเนื่องจากการใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายในหลายประเทศ
รัฐบาลทั่วโลกเริ่มประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยมีวงเงินที่ความชัดเจนขึ้นตามลำดับ โดยวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติต่างๆมีวงเงินดังต่อไปนี้ สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 775,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยวงเงินประมาณ 310,000 นั้นจะเป็นการลดหย่อนภาษี เม็กซิโกประมาณ 5,800ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชิลีอยู่ที่ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ทางยุโรป อังกฤษ 29,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โปรตุเกส 2,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สเปน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ฝรั่งเศส 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สวีเดน 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อิตาลี 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฮังการี 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เยอรมนี 69,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ 7,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ จีน 586,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯอินเดีย 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกาหลีใต้ 11,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่น 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออสเตรเลีย 7,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยคาดว่าอยู่ที่ 3,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดย SCRI ประเมินว่า ณ ขณะนี้ วงเงินทั่วโลกในการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณ 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 2.6 % ของ GDP โลกในปี 2552 (ใช้การประมาณ World GDP ของ IMF ในปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ 64.167 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเดินหน้าคือการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลังจากที่ปรับลงอย่างรุนแรงในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าที่จะปรับเพิ่มขึ้นรอบแรก (First Wave) ได้แก่ ราคาอาหารหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว น้ำตาล กาแฟ เป็นต้น รวมทั้งราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการก่อสร้าง เช่นน้ำมัน เหล็ก เหล็กกล้า ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าดังกล่าวน่าจะเห็นชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังนี้เป็นต้นไป
////ที่มา สถาบันวิจัยนครหลวงไทย