"เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับประเทศในสหภาพยุโรปได้ส่งผลให้ค่าของเงินยุโรปตกลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ประเทศต่างๆเกิดความไม่แน่นอนใจกับเสถียรภาพของค่าเงินยูโร ตลอดจนเสถียรภาพของตลาดหุ้นและพันธบัตรของบางประเทศก็มีความไม่แน่นอนใจมีการนำสิ่งต่างๆเหล่านี้ออกมาขายทิ้งเป็นจำนวนมาก"
ในระยะนี้ หลายคนคงได้รับข้อมูลข่าวสารในแต่ละวันแทบจะไม่ซ้ำกันเลย โดยอาจจะทำให้หลายฝ่ายมีความวิตกกังวลในการตัดสินใจลงทุนว่าควรจะลงทุนอย่างไรดี เพื่อให้ได้รับความเสี่ยงน้อยที่สุดและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนนั้นควรที่จะติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจรอบๆตัวว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วงนี้
โดยวันนี้ พิชญา พิสุทธิกุล เลขาธิการสมาคมค้าทองคำ ที่นอกจากจะมีมุมมองในเรื่องทองคำมาให้เราติดตามกันอย่างต่อเนื่องแล้ว วันนี้ยังมีมุมมองความคิดเห็นต่อเรื่องเศรษฐกิจโลก และปัจจัยต่างที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง
“พิชญา” กล่าวว่า ในที่สุดกระเเสของวิกฤตเศรษฐกิจของหนี้สินของประเทศในสหภาพยุโรปก็มีความร้อนแรงขึ้น โดยหนี้สินของแต่ละประเทศไม่ได้มีตัวเลขที่ลดลง แค่กลับมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศยังไม่ได้แก้ไขในภาพรวมจองเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น ยังมีภาระหนี้สินของประเทศอยู่มาก ในส่วนของตัวเลขขาดดุลการค้าก็เพิ่มขึ้น เพราะว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่นและการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างล้างผลาญ ในภาครัฐตลอดจนเอกชนเองก็มีการทุจริตหลีกเลี่ยงการเสียภาษีรายได้ให้แก่ภาครัฐ จนทำให้ตัวเลขขาดดุลการค้าสูงขึ้นเป็นหนี้สินให้แก่ประเทศต่างๆมากจขึ้น และไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้สินได้เมื่อครบกำหนดได้จนต้องมีการเลื่อนการชำระเงินออกไป เช่นเดียวกับดูไบ กรีซ สเปน และโปรตุเกศ ก็ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้สินได้เมื่อถึงเวลาการครบกำหนดการจ่ายเงินคืน จนทำให้เกิดความหวั่นกลัวในเสถียรภาพการชำระเงินของประเทศต่างๆในสหภาพยุโรป เพราะแม้แต่ประเทศที่เป็นอันดับต้นๆของสหภาพยุโรป ก็ประสบกับปัญหาขาดดุลการค้าที่เพิ่มสูงขึ้น จากการที่สินค้าส่งออกไม่ได้มีจำนวนมากอย่างที่คาดหวังเอาไว้
จากภาวะการค้าที่ตกต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมก็ไม่ได้ดีขึ้นเลย ตลอดระยะเวลา 1- 2ปีที่ผ่านมา จนทำให้เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี มีตัวเลขขาดดุลการค้าที่สูงขึ้น และยังมีประเทศที่เกิดใหม่ในซีกยุโรปโลกตะวันออกที่เพิ่งแยกตัวออกมาจากรัสเซีย ก็ประสบปัญหาในการชำระหนี้สิน จนต้องมีการขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ ในการขอยืมเงินเพื่อชำระหนี้กับนำเงินมาใช้จ่ายบริหารประเทศ
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับประเทศในสหภาพยุโรปได้ส่งผลให้ค่าของเงินยุโรปตกลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ประเทศต่างๆเกิดความไม่แน่นอนใจกับเสถียรภาพของค่าเงินยูโร ตลอดจนเสถียรภาพของตลาดหุ้นและพันธบัตรของบางประเทศก็มีความไม่แน่นอนใจมีการนำสิ่งต่างๆเหล่านี้ออกมาขายทิ้งเป็นจำนวนมาก เพราะนักลงทุนเกิดความกังวลใจกลัวว่าจะเกิดการล้มสลายทางเศรษฐกิจแก่สหภาพยุโรป ซึ่งจะนำมาถึงภาวะการทางเศรษฐกิจที่จะตกต่ำตลอดทั่วโลกได้
ขณะเดียวกันไม่ใช่เฉพาะยุโรปเท่านั้นที่ประสบกับปัญหาต่างๆ ด้านสหรัฐอเมริกาเองก็ประสบกับปัญหาคนว่างงานที่ไม่ได้มีการปรับตัวลดลงจากเดิมเท่าใด ถึงแม้ว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตัวเลขจำนวนคนว่างงานจะปรับลดลงไปบ้างก็ตาม แต่ทว่าเป็นตัวเลขที่ไม่แน่นอน โดยคนที่ว่างงานหรือตกงานนั้นจะไปขอความช่วยเหลือจากภาครัฐขอเงินช่วยเหลือแก่คนตกงานจึงทำให้ตัวเลขที่เสดงออกมานั้นน้อยลง อีกทั้งการเข้าไปทำงานเบบชั่วคราวหรือมีการเข้าไปทำงานในรูปแบบของการทดลองงานไม่ได้รับเข้าทำประจำ ที่อาจจะไม่ได้เข้าไปขอความช่วยเหลือจากทางภาครัฐจึงทำให้ตัวเลขคนว่างงานลดลง 0.25% แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้นั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดีมากนัก เพราะว่าเมื่อมามองถึงภาพรวมการส่งออกของทางสหรัฐอเมริกายังไม่ได้มีตัวเลขที่น่ายินดีเท่าใดนัก
"พิชญา"บอกว่า โดยทางสหรัฐอเมริกาพยายามที่จะให้ภาคเอกผลิตสินค้าเพื่อเป็นการส่งออกเพิ่มมากขึ้น และพยายามสนับสนุนให้คนในสหรัฐอเมริกาบริโภคหรือซื้อสินค้าที่ผลิตขึ้นเองภายในประเทศมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อที่จะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นตลอดไป** จนสามารถที่จะเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมหรือแม้แต่เกษตรกรรม และส่งผลให้ตลาดต้องการที่จะใช้แรงงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งจะลดภาระของจำนวนคนว่างงานให้น้อยลงไปให้เหลือเพียงแค่ 5-7 % ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐมีการสนับสนุนทุกวิถีทางในการที่จะให้มีการสร้างงานเพิ่มขึ้น โดยทางภาครัฐเองก็ได้ขยายงานทางด้านสาธารณูปโภคให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะได้มีการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น ตัวเลขคนว่างงานก็จะลดลงด้วย
ขณะที่ ทางประเทศญี่ปุ่นเองหลังจากที่ประสบปัญหาคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจไม่ได้ดีขึ้น ตัวเลขของคนตกงานกลับเพิ่มจำนวนขึ้น แม้แต่สายการบินขนาดใหญ่ของเอเชียก็ยังประสบกับปัญหาขาดทุนเป็นหนี้สินจำนวนมหาศาลจนต้องขอประกาศล้มละลายและลดจำนวนพนักงานลงหรือทั้งลดจำนวนเงินในการให้โบนัสของพนักงาน จนถึงกลางเดือนมกราคม 2553 บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ก็ประสบกับปัญหาคุณภาพของรถยนต์ที่ผลิตออกมานั้นมีปัญหาในด้านของความปลอดภัย ทำให้บริษัทแม่จำเป็นต้องเรียกรถที่จำหน่ายออกไปแล้วทั่วโลกจำนวน 10 ล้านคัน นำกลับเข้ามาตรวจสอบสภาพและเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางชี้นใหม่ ซึ่งมียอดส่งออกไปจำหน่วยยังสหรัฐอเมริกามากที่สุด
"จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นนั้นได้ทำให้คนญี่ปุ่นคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นกลเกมส์ของทางการเมืองที่ทางสหรัฐต้องการที่จะทำลายชื่อเสียงของบริษัทรถยนต์ แค่ความเป็นจริงแล้วเกิดขึ้นกับกลสยประเทศต่างๆทั่วโลก หรือแม้แต่ประเทศญี่ปุ่นเองก็มีการเรียกรถยนต์กลับมาเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่"พิชญา กล่าว
โดยสาเหตุที่แท้จริงนั้น เกิดจากระบบการตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนที่จะออกจำหน่วยในตลาดนั้นไม่ได้มีความละเอียดและการผลิตไม่ได้มีมาตรฐานที่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากความโลภที่เห็นว่ารถยนต์ที่กำลังผลิตอยู่นั้นกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมากจึงทำให้บริษัทจำเป็นต้องเร่งการผลิตเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ขาดมาตรฐานการผลิต และไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพของรถยนต์ที่ทำออกมาเพียงแต่ต้องการเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น อีกทั้งต้องการลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีการย้ายโรงงานไปยังประเทศที่มีต้นทุนทางการผลิตต่ำ ค่าจ้างแรงงานถูก โดยบริษัทเหล่านี้นั้นต้องการที่จะลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากความไม่ได้มาตรฐานของผลผลิตของตน และคำนึงถึงผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยของผู้บริโภค
และไม่ใช่มีเพียงแต่รถยนต์ยี่ห้อเดียวเท่านั้นที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น แต่ทว่ายังมีอีก 2ยี่ห้อที่มีการเรียกรถยนต์ของจนเองคืนมาซ่อมชิ้นส่วนที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ขับขี่ได้ ซึ่งคาดว่าความเสียหายครั้งนี้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านเหรียญ ด้านญี่ปุ่นเองนั้นภาครัฐก็เกิดปัญหาในด้านจของยอดการส่งออกมีตัวเลขที่ลดลงจนอาจจะทำให้ขาดดุลการค้าเกิดขึ้นได้