ส่งออกต.ค.วูบ ขยายตัวแค่ 5.2% ต่ำสุดในรอบ 75 เดือน โดยสินค้าเกษตรยังขยายตัวได้ดี แต่อุตสาหกรรมน่าเป็นห่วง ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ที่คาดว่าจะมีปัญหาก็ยังส่งออกได้เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดใหม่ๆ จับตาอาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน ยอดวูบ ส่วนยอดรวม 10 เดือนแรกโต 21.7% มั่นใจทั้งปีเข้าเป้า 15-20% แน่ แต่ปีหน้าน่าห่วง เหตุปัจจัยลบเพียบ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนต.ค.2551 มีมูลค่า 15,266 ล้านเหรียญสหรัฐ ใกล้เคียงกับ 2 เดือนที่ผ่านมา แต่อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 5.2% เนื่องจากฐานการส่งออกเดือนต.ค.2550 อยู่ในระดับที่สูงมาก แต่โดยภาพรวมถือว่าการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดี และเป็นไปตามที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,824.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.7% โดยขาดดุลการค้า 558.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัว 5.2% นั้น ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 75 เดือน โดยในเดือนก.ค.2545 เคยขยายตัวต่ำสุดที่ 4.7%
การส่งออกในเดือนต.ค. สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้น 19.3% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อาหาร น้ำตาลทราย ส่วนมันสำปะหลังส่งออกลดลง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวค่อนข้างต่ำโดยเพิ่มขึ้น 1.2% สินค้าที่ส่งออกเพิ่มสูงเกิน 20% เช่น วัสดุก่อสร้าง น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันดิบและเลนซ์ เพิ่มขึ้น 10-20% เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์เภสัช
ส่วนตลาดส่งออก ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 1.9% โดยตลาดที่คาดว่าจะมีปัญหา ก็ยังส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 7.8% สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 5.8% สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.4% แต่อาเซียน ลดลง 3.9% ตลาดใหม่ขยายตัว 8.9% เช่น อินเดีย เพิ่มขึ้น 40.5% แอฟริกา เพิ่มขึ้น 27.8% ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 22.9% ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 21.8% เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 10.5% ตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้น 9.5% ลาตินอเมริกา เพิ่มขึ้น 8.4% อินโดจีนและพม่า เพิ่มขึ้น 6.9% และจีน เพิ่มขึ้น 4.5%
อย่างไรก็ตาม รู้สึกแปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะในเดือนต.ค.นี้ มีหลายๆ ตลาดที่การส่งออกลดลง เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน ฮ่องกง ไต้หวัน และแคนาดา ซึ่งจะมีการตรวจสอบดู
ในด้านการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 21.7% นั้น เป็นการนำเข้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 25.6% สินค้าทุน เพิ่มขึ้น 5.8% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 34.7% สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น 15.3% ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้น 4.4%
นายราเชนทร์ กล่าวว่า สำหรับการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 151,192 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 21.7% ซึ่งหากการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือส่งออกได้ประมาณเดือนละ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้ 15.20% ทำได้แน่ ส่วนเป้าหมายการส่งออกปี 2552 ตัวเลขอย่างเป็นทางการจะประกาศได้ในเดือนธ.ค. เพราะระหว่างนี้ กรมฯ จะต้องหารือกับภาคเอกชนเพื่อสอบถามความชัดเจนอีกครั้ง แต่จะพยายามทำให้ได้ 10% ตามที่เคยประมาณการไว้
“ปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลงเหลือ 2.2% เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าก็มีปัญหา บางประเทศค่าเงินผันผวน ทำให้ชะลอการซื้อ การขาย ขณะเดียวกัน ก็ระมัดระวังกันมากขึ้น คนขายไม่กล้าส่งของก่อน คนซื้อไม่กล้าจ่ายเงินก่อน ทำให้เกิดการชะงัก แต่กรมฯ จะพยายามผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที่ โดยมีแผนรับมือไว้แล้ว ทั้งการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร มุ่งขยายตลาดที่ได้รับผลกระทบเศรษฐกิจน้อย ส่งเสริมธุรกิจบริการ ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ”นายราเชนทร์กล่าว
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยในเดือนต.ค.2551 มีมูลค่า 15,266 ล้านเหรียญสหรัฐ ใกล้เคียงกับ 2 เดือนที่ผ่านมา แต่อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 5.2% เนื่องจากฐานการส่งออกเดือนต.ค.2550 อยู่ในระดับที่สูงมาก แต่โดยภาพรวมถือว่าการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดี และเป็นไปตามที่เคยคาดการณ์เอาไว้ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 15,824.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.7% โดยขาดดุลการค้า 558.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัว 5.2% นั้น ถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 75 เดือน โดยในเดือนก.ค.2545 เคยขยายตัวต่ำสุดที่ 4.7%
การส่งออกในเดือนต.ค. สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้น 19.3% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อาหาร น้ำตาลทราย ส่วนมันสำปะหลังส่งออกลดลง ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวค่อนข้างต่ำโดยเพิ่มขึ้น 1.2% สินค้าที่ส่งออกเพิ่มสูงเกิน 20% เช่น วัสดุก่อสร้าง น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันดิบและเลนซ์ เพิ่มขึ้น 10-20% เช่น ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก อาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์เภสัช
ส่วนตลาดส่งออก ตลาดหลักเพิ่มขึ้น 1.9% โดยตลาดที่คาดว่าจะมีปัญหา ก็ยังส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 7.8% สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 5.8% สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.4% แต่อาเซียน ลดลง 3.9% ตลาดใหม่ขยายตัว 8.9% เช่น อินเดีย เพิ่มขึ้น 40.5% แอฟริกา เพิ่มขึ้น 27.8% ยุโรปตะวันออก เพิ่มขึ้น 22.9% ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 21.8% เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 10.5% ตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้น 9.5% ลาตินอเมริกา เพิ่มขึ้น 8.4% อินโดจีนและพม่า เพิ่มขึ้น 6.9% และจีน เพิ่มขึ้น 4.5%
อย่างไรก็ตาม รู้สึกแปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะในเดือนต.ค.นี้ มีหลายๆ ตลาดที่การส่งออกลดลง เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน ฮ่องกง ไต้หวัน และแคนาดา ซึ่งจะมีการตรวจสอบดู
ในด้านการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น 21.7% นั้น เป็นการนำเข้าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 25.6% สินค้าทุน เพิ่มขึ้น 5.8% วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้น 34.7% สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้น 15.3% ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้น 4.4%
นายราเชนทร์ กล่าวว่า สำหรับการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2551 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 151,192 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 21.7% ซึ่งหากการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่เหลือส่งออกได้ประมาณเดือนละ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้ 15.20% ทำได้แน่ ส่วนเป้าหมายการส่งออกปี 2552 ตัวเลขอย่างเป็นทางการจะประกาศได้ในเดือนธ.ค. เพราะระหว่างนี้ กรมฯ จะต้องหารือกับภาคเอกชนเพื่อสอบถามความชัดเจนอีกครั้ง แต่จะพยายามทำให้ได้ 10% ตามที่เคยประมาณการไว้
“ปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวลดลงเหลือ 2.2% เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าก็มีปัญหา บางประเทศค่าเงินผันผวน ทำให้ชะลอการซื้อ การขาย ขณะเดียวกัน ก็ระมัดระวังกันมากขึ้น คนขายไม่กล้าส่งของก่อน คนซื้อไม่กล้าจ่ายเงินก่อน ทำให้เกิดการชะงัก แต่กรมฯ จะพยายามผลักดันการส่งออกอย่างเต็มที่ โดยมีแผนรับมือไว้แล้ว ทั้งการส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร มุ่งขยายตลาดที่ได้รับผลกระทบเศรษฐกิจน้อย ส่งเสริมธุรกิจบริการ ช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ ส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ”นายราเชนทร์กล่าว