วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554 นับเป็นปรากฏการณ์ “วันจันทร์สีดำ” หรือ “แบล็กมันเดย์” สัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน ที่เฮดจ์ฟันด์และกองทุนรวมทั้งหลายในโลก ได้พร้อมใจกันเทขายหุ้น ตราสารน้ำมัน เพื่อคืนหนี้ให้กับธนาคารในยุโรปและสหรัฐอเมริกาเอาไปเก็บเป็นเงินสดเอาไว้รองรับการสั่นคลอนและการเปลี่ยนแปลงวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปที่กำลังจะมาถึง
เพราะไม่มีใครสงสัยอีกต่อไปแล้วว่า กรีซ ไม่อยู่ในสถานภาพที่จะชำระหนี้ได้ เพราะปัญหาของกรีซนั้นมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ
ประการแรก เศรษฐกิจในประเทศกรีซ ใช้จ่ายเกินตัวไปมาก ปรนเปรอข้าราชการและประชาชนด้วยงบประมาณอันมหาศาล มีประชากรไม่มากเพียงแค่ 11 ล้านคน แต่รัฐบาลต้องกู้หนี้ยืมสินมหาศาล จนมีหนี้สาธารณะ 4.54 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 143% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ค่าจ้างในส่วนของภาครัฐสูงขึ้นในทางปฏิบัติถึง 2 เท่าในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีอัตราการว่างงานสูงถึง 16.30%
ประการที่สอง กรีซล้มเหลวในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันกรีซมีหนี้ต่างประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 5.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั่นหมายถึงว่ามีหนี้ต่างประเทศเป็น 77 เท่าของทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือกรีซขาดดุลการค้าทุกปี ส่งผลทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี โดยปีที่แล้วขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ซึ่งสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2.5 เท่า) นั่นหมายความว่าหากแก้ไขเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศไม่ได้ หรือทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไม่ได้ หรือไม่แยกตัวออกจากยูโร กรีซจะต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปีอีกปีละ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
หมายความว่าอย่าว่าแต่หนี้เก่าที่ยังจะคืนได้ยากเลย แม้แต่หนี้ใหม่ก็กำลังก่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่มีความชัดเจนว่าจะหยุดหนี้ได้อย่างไรจากสภาพที่เป็นอยู่
กรีซ ไม่สามารถที่จะกู้เงินเองได้โดยผ่านตลาดการเงินอีกต่อไป เพราะไม่มีใครให้กู้แล้ว และหากจะมีใครให้กู้ก็ต้องคิดดอกเบี้ยที่แพงมหาโหด จึงทำให้กรีซต้องขอรับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยได้เงินกู้ไปแล้ว 1.1 แสนล้านยูโร (1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ก็ยังไม่เพียงพอ และกำลังรอขอรับการช่วยเหลืออีก 1.09 แสนล้านยูโร (1.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งก็คงจะไม่พออีกอยู่ดี
ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะหากจะรีดภาษี ขายทรัพย์สิน ลดค่าใช้จ่ายโดยการลดข้าราชการลดเงินเดือนก็โดนแรงเสียดทานทางการเมืองสูงทำได้ถึงขีดจำกัดระดับหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเกิดการว่างงานกำลังซื้อย่อมลดลงเศรษฐกิจก็หดตัว ก็ยิ่งส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลง ในขณะที่ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เรื้อรังและแก้ไม่ได้เพราะใช้ค่าเงินยูโรที่ไม่ได้อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญที่จะช่วยกรีซในด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวของกรีซได้
การใส่เงินเพิ่มหนี้ให้กับกรีซ จึงเป็นเหมือนการผ่อนเวลาของปัญหาออกไปให้ยาวขึ้นเท่านั้น แต่คงต้องทำใจแล้วว่างานนี้ต้องมีการผิดนัดชำระหนี้หรือการลดหนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการเสนอให้มีการลดหนี้จากเงินกู้ของภาคเอกชน 20% - 50% ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ทันที เพราะด้านหนึ่งชาติอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้ต่างประเทศที่รอคิวอยู่ก็อยากเอาเยี่ยงอย่างบ้าง ในขณะที่ธนาคารที่ปล่อยกู้ก่อนหน้านี้ก็คงต้องเสียหายได้รับผลกระทบลุกลามไปด้วยจนต้องเป็นเหตุให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเรียกร้องให้มีการเพิ่มทุนธนาคารในยุโรปอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับปัญหาที่กำลังจะตามมา
เพราะจริงๆ แล้วสถานภาพที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ว่างงานสูง หนี้สาธารณะสูงนั้น เกิดขึ้นไปทั่วยูโรโซน ทั้งไอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งหากเกิดวิกฤตที่กรีซนอกจากจะกระทบต่อเจ้าหนี้สำคัญอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษแล้ว ปัญหาจะเกิดลุกลามต่อระบบสถาบันการเงินในยุโรปอย่างแน่นอน และจะต้องมีผลกระทบลามไปทั่วโลกด้วย
และนี่คือปรากฏการณ์ที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องถูกธนาคารในยุโรปเรียกคืนหนี้มาอุดรูรั่วของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก
แต่เริ่มต้นสัปดาห์นี้มีปรากฏการณ์ “วันจันทร์สีดำครั้งที่ 2” ที่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่แล้วก็คือราคา “ทองคำ” สูงขึ้น สวนทางกับราคา “หุ้น” “น้ำมัน” และ “ค่าเงิน” ซึ่งแม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะสูงขึ้นกลับมาบ้างบางจังหวะในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (ตามลักษณะการช้อนซื้อกลับเข้ามาบางจังหวะ) แต่ก็แตกต่างจากทองคำที่สูงขึ้นในลักษณะที่มั่นคงมากกว่าอย่างชัดเจน
สัปดาห์ที่แล้วกองทุนเฮดจ์ฟันด์จะได้เทขายทองคำเหมือนกับ หุ้น เงินตรา และน้ำมันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2554 เป็นวันพิสูจน์ความแข็งแกร่งของราคาทองคำที่ไม่สามารถกดราคาลงให้ต่ำไปมากกว่านี้ได้ซึ่งต่างจากหุ้นและน้ำมัน กองทุนเฮดจ์ฟันด์เม็ดเงินอาจจะหดหายในช่วงเวลานี้เพราะต้องคืนให้ธนาคารในยุโรปเพื่อวิ่งหนีจากการล้มพังทลายลง แต่ก็ยังไม่วายกลับเงินที่เหลือเข้ามาซื้อตลาดทองคำอีกครั้ง
เหตุก็เพราะด้านหนึ่งในวงการตลาดทองคำต่างทราบกันดีว่าทองคำในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนมักจะต้องมีการปรับฐานใหญ่ราคาจะลดลงทุกปี และตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤษภาคมในทุกๆ ปีจะเริ่มมีความต้องการในการใช้ทองคำจริงตามฤดูกาล (โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย)
ตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลฉลองแต่งงานในอินเดีย ธันวาคมเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ทั่วโลก และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็เป็นช่วงตรุษจีน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทศกาลที่ชาวเอเชียมีความต้องการซื้อทองคำจริงทั้งสิ้น
ในขณะอีกด้านหนึ่งเมื่อราคาลดลงต่ำลงมามากกว่า 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ ธนาคารกลางหลายประเทศก็จะเริ่มเข้าซื้อทองคำเก็บเอาไว้เพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เป็นเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่จะต้องด้อยค่าอย่างแน่นอนในทุนสำรองระหว่างประเทศ
เพียงแต่ที่ราคาทองคำถูกทุบลงมาได้เพราะก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554 ราคาทองคำ “ขึ้นสูงเร็วเกินไป” (โดยเฉพาะเมื่อเทียบช่วงห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย moving average 14 วัน กับ 200 วัน) จนทำให้สบช่องโอกาสที่มีการเทขายทำกำไรได้และราคาลงมาใกล้ๆ กับ 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ก่อนจะเริ่มดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง
เพราะ “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์ที่แสดงความมั่งคั่งควบคู่มากับอารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย) ยิ่งไปกว่านั้นชาวเอเชียซึ่งถือว่าในเวลานี้ถือได้ว่าความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะสถานภาพการค้าระหว่างประเทศนั้น ได้ทั้งเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด มากด้วยการลงทุน เป็นภาคการผลิตที่สำคัญของโลก เอเชียทุกวันนี้จึงมีสถานภาพเป็น “เจ้าหนี้” ที่สำคัญของอเมริกาและยุโรป ดังนั้นเมื่อเงินยูโรและดอลลาร์ไร้ความน่าเชื่อถือและด้อยค่าลงทุกวัน ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประเทศต่างๆ จะต้องพิจารณาแปลงสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอย่างอื่นที่น่าไว้วางใจมากกว่าเงินและพันธบัตรสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่กำลังด้อยค่าลง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องหนีไม่พ้น “ทองคำ”
ทันทีที่ราคาทองคำลงเมื่อเดือนที่แล้ว จีน อินเดีย และตุรกี ซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ซื้อทองสำหรับเครื่องประดับได้ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางของรัสเซีย ธนาคารกลางของโบลิเวีย ธนาคารกลางของโคลัมเบีย ฯลฯ ต่างทยอยสะสมทองคำกันมากขึ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
อันที่จริงต้องถือว่า “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์อันสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นศัตรูอันสำคัญของยุโรปและอเมริกาด้วย เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านมา หากธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ซื้อทองคำกันมากๆ ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะขายพันธบัตรเพื่อกู้หนี้ของยุโรปและอเมริกาด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะยากขึ้นไปด้วย เพราะความจริงแล้วทั้งในยุโรปและอเมริกาต่างก็เป็นกลุ่มประเทศที่ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมหาศาลกันทุกปี ถึงอย่างไรธนาคารกลางในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรกู้หนี้เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่มีวันหยุด
อาจด้วยเหตุผลนี้ที่ในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจเทขายทองคำต่อเนื่องออกมาเป็นผลทำให้ราคาลดลง เป็นผลทำให้ทำลายบรรยากาศตลาดทองคำอยู่หลายปี ในขณะที่ธนาคารกลางในยุโรปและธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มและชี้นำให้ธนาคารกลางอื่นๆ ทำต้องลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ใน “ข้อตกลงทองคำของธนาคารกลาง” (Central Bank Gold Agreement) ที่ห้ามธนาคารกลางแต่ละประเทศขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศเกินกว่า 400 เมตริกตันต่อปี และห้ามขายเกิน 2,000 เมตริกตันในช่วง 5 ปี ทั้งนี้ถือเป็นการกำหนดมาตรการจำกัดไม่ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งมีทองคำจำนวนมาก) ขายทองคำในทุนสำรองให้กับชาติอื่นๆ (โดยน่าจะมีเป้าหมายเล็งไปที่ชาติในเอเชียที่มีเงินตราต่างประเทศมาก) มากเกินกำหนด อันเสมือนเป็นการบีบให้ชาติต่างๆ (โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย) ต้องกลับมาซื้อพันธบัตรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเอาไว้เป็นสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป จนอเมริกาและยุโรปหนี้สินท่วมท้นอยู่ในขณะนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์ในกรีซที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างหวาดผวาการลุกลามล้มกันเป็นโดมิโน ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องระมัดระวังความเสี่ยงในการถือครองพันธบัตรของธนาคารและรัฐบาลในยุโรปมากขึ้น ยิ่งมีข้อจำกัดการขายทองคำจากข้อตกลงทองคำของธนาคารกลางก็ยิ่งทำให้ยุโรปและอเมริกา (ซึ่งมีทองคำในทุนสำรองมากที่สุด) มีข้อจำกัดที่จะขายทองคำเพื่อเก็บมาเป็นเงินสดด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน หากถึงแม้ยุโรปและอเมริกานำทองคำออกมาขายในรอบนี้แล้วจะทำให้ราคาทองคำลดลงก็ตาม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเร่งทำให้ธนาคารกลางในชาติต่างๆ เทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อเข้าไปซื้อทองคำมากขึ้นแทนไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้ความต้องการพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงตามเป็นเงาตามตัว ซึ่งจะเป็นผลทำให้เป็นการบีบให้สหรัฐอเมริกาและยุโรปต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรอบใหม่ให้สูงขึ้น อันจะส่งผลกระทบทำให้เกิดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปชะลอตัวทางเศรษฐกิจหนักขึ้นไปอีก
เมื่อเวลานี้ไม่มีธนาคารกลางชาติไหนขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศออกมาอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจึงย่อมเข้าซื้อในตลาดทองคำโดยตรง และเป็นเหตุทำให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นต่อไป (แม้จะมีความผันผวนในระยะสั้นก็ตาม)
“เฮดจ์ฟันด์” อาจจะโจมตีทุบหุ้นและตราสารน้ำมันทั่วโลกเพื่อให้คนมาสนใจพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปมากขึ้นได้ แต่การทุบราคาทองคำโดยมีธนาคารกลางทั่วโลกที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมหาศาลทยอยรับซื้อมาสะสมในสถานการณ์วิกฤตของโลกเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเฮดจ์ฟันด์ในยามนี้
ทำให้หวนนึกถึง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้เทศน์กำชับหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ว่าให้แปลงเงินบริจาคทั้งหมดให้เป็น “ทองคำ” เก็บเอาไว้ในคลังหลวงให้เป็นสมบัติของชาติที่มั่นคงต่อไป ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ว่า
“ทองคำเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดเพื่อเป็นหลักสมบัติประกันชาติไทยของเรา เมื่อมีทองคำมากแล้ว การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมใช้อีกก็ยังได้อีก ตามปริมาณของทองคำที่มีมากน้อยในคลัง นี่ยังมีส่วนได้อีกนะ เราจึงต้อเสาะแสวงหาทองคำมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเลย ให้เป็นอันดับหนึ่ง เรียกว่าทองคำนี้เป็นสมบัติคงคลังว่างั้นเถอะ ให้เหลืองอร่ามอยู่ในคลังหลวงของเราแล้วสง่างามองอาจกล้าหาญ ถ้ามีทองคำอยู่ในคลัง ถ้าไม่มีนี้ไม่องอาจนะ ล่อแหลมต่ออันตรายได้ง่ายๆ ถ้ามีทองคำคงคลังแล้วก็แน่นหนามั่นคง”
เพราะไม่มีใครสงสัยอีกต่อไปแล้วว่า กรีซ ไม่อยู่ในสถานภาพที่จะชำระหนี้ได้ เพราะปัญหาของกรีซนั้นมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการคือ
ประการแรก เศรษฐกิจในประเทศกรีซ ใช้จ่ายเกินตัวไปมาก ปรนเปรอข้าราชการและประชาชนด้วยงบประมาณอันมหาศาล มีประชากรไม่มากเพียงแค่ 11 ล้านคน แต่รัฐบาลต้องกู้หนี้ยืมสินมหาศาล จนมีหนี้สาธารณะ 4.54 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 143% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ค่าจ้างในส่วนของภาครัฐสูงขึ้นในทางปฏิบัติถึง 2 เท่าในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีอัตราการว่างงานสูงถึง 16.30%
ประการที่สอง กรีซล้มเหลวในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันกรีซมีหนี้ต่างประเทศทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนรวมทั้งสิ้น 5.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ นั่นหมายถึงว่ามีหนี้ต่างประเทศเป็น 77 เท่าของทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือกรีซขาดดุลการค้าทุกปี ส่งผลทำให้เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปี โดยปีที่แล้วขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถึง 17,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (ซึ่งสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศถึง 2.5 เท่า) นั่นหมายความว่าหากแก้ไขเรื่องการค้าขายระหว่างประเทศไม่ได้ หรือทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไม่ได้ หรือไม่แยกตัวออกจากยูโร กรีซจะต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทุกปีอีกปีละ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
หมายความว่าอย่าว่าแต่หนี้เก่าที่ยังจะคืนได้ยากเลย แม้แต่หนี้ใหม่ก็กำลังก่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่มีความชัดเจนว่าจะหยุดหนี้ได้อย่างไรจากสภาพที่เป็นอยู่
กรีซ ไม่สามารถที่จะกู้เงินเองได้โดยผ่านตลาดการเงินอีกต่อไป เพราะไม่มีใครให้กู้แล้ว และหากจะมีใครให้กู้ก็ต้องคิดดอกเบี้ยที่แพงมหาโหด จึงทำให้กรีซต้องขอรับการช่วยเหลือจากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยได้เงินกู้ไปแล้ว 1.1 แสนล้านยูโร (1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ก็ยังไม่เพียงพอ และกำลังรอขอรับการช่วยเหลืออีก 1.09 แสนล้านยูโร (1.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งก็คงจะไม่พออีกอยู่ดี
ที่แก้ปัญหาไม่ได้เพราะหากจะรีดภาษี ขายทรัพย์สิน ลดค่าใช้จ่ายโดยการลดข้าราชการลดเงินเดือนก็โดนแรงเสียดทานทางการเมืองสูงทำได้ถึงขีดจำกัดระดับหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเกิดการว่างงานกำลังซื้อย่อมลดลงเศรษฐกิจก็หดตัว ก็ยิ่งส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลง ในขณะที่ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เรื้อรังและแก้ไม่ได้เพราะใช้ค่าเงินยูโรที่ไม่ได้อ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญที่จะช่วยกรีซในด้านการค้าระหว่างประเทศและการท่องเที่ยวของกรีซได้
การใส่เงินเพิ่มหนี้ให้กับกรีซ จึงเป็นเหมือนการผ่อนเวลาของปัญหาออกไปให้ยาวขึ้นเท่านั้น แต่คงต้องทำใจแล้วว่างานนี้ต้องมีการผิดนัดชำระหนี้หรือการลดหนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ช่วงเวลาที่ผ่านมาเริ่มมีการเสนอให้มีการลดหนี้จากเงินกู้ของภาคเอกชน 20% - 50% ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ทันที เพราะด้านหนึ่งชาติอื่นๆ ที่มีปัญหาหนี้ต่างประเทศที่รอคิวอยู่ก็อยากเอาเยี่ยงอย่างบ้าง ในขณะที่ธนาคารที่ปล่อยกู้ก่อนหน้านี้ก็คงต้องเสียหายได้รับผลกระทบลุกลามไปด้วยจนต้องเป็นเหตุให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเรียกร้องให้มีการเพิ่มทุนธนาคารในยุโรปอย่างรวดเร็วไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อรองรับปัญหาที่กำลังจะตามมา
เพราะจริงๆ แล้วสถานภาพที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ว่างงานสูง หนี้สาธารณะสูงนั้น เกิดขึ้นไปทั่วยูโรโซน ทั้งไอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน โปแลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ฯลฯ ซึ่งหากเกิดวิกฤตที่กรีซนอกจากจะกระทบต่อเจ้าหนี้สำคัญอย่าง ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษแล้ว ปัญหาจะเกิดลุกลามต่อระบบสถาบันการเงินในยุโรปอย่างแน่นอน และจะต้องมีผลกระทบลามไปทั่วโลกด้วย
และนี่คือปรากฏการณ์ที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต้องถูกธนาคารในยุโรปเรียกคืนหนี้มาอุดรูรั่วของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรายแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งของโลก
แต่เริ่มต้นสัปดาห์นี้มีปรากฏการณ์ “วันจันทร์สีดำครั้งที่ 2” ที่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่แล้วก็คือราคา “ทองคำ” สูงขึ้น สวนทางกับราคา “หุ้น” “น้ำมัน” และ “ค่าเงิน” ซึ่งแม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะสูงขึ้นกลับมาบ้างบางจังหวะในวันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (ตามลักษณะการช้อนซื้อกลับเข้ามาบางจังหวะ) แต่ก็แตกต่างจากทองคำที่สูงขึ้นในลักษณะที่มั่นคงมากกว่าอย่างชัดเจน
สัปดาห์ที่แล้วกองทุนเฮดจ์ฟันด์จะได้เทขายทองคำเหมือนกับ หุ้น เงินตรา และน้ำมันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2554 เป็นวันพิสูจน์ความแข็งแกร่งของราคาทองคำที่ไม่สามารถกดราคาลงให้ต่ำไปมากกว่านี้ได้ซึ่งต่างจากหุ้นและน้ำมัน กองทุนเฮดจ์ฟันด์เม็ดเงินอาจจะหดหายในช่วงเวลานี้เพราะต้องคืนให้ธนาคารในยุโรปเพื่อวิ่งหนีจากการล้มพังทลายลง แต่ก็ยังไม่วายกลับเงินที่เหลือเข้ามาซื้อตลาดทองคำอีกครั้ง
เหตุก็เพราะด้านหนึ่งในวงการตลาดทองคำต่างทราบกันดีว่าทองคำในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายนมักจะต้องมีการปรับฐานใหญ่ราคาจะลดลงทุกปี และตุลาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤษภาคมในทุกๆ ปีจะเริ่มมีความต้องการในการใช้ทองคำจริงตามฤดูกาล (โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย)
ตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลฉลองแต่งงานในอินเดีย ธันวาคมเป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ทั่วโลก และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็เป็นช่วงตรุษจีน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทศกาลที่ชาวเอเชียมีความต้องการซื้อทองคำจริงทั้งสิ้น
ในขณะอีกด้านหนึ่งเมื่อราคาลดลงต่ำลงมามากกว่า 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ ธนาคารกลางหลายประเทศก็จะเริ่มเข้าซื้อทองคำเก็บเอาไว้เพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เป็นเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่จะต้องด้อยค่าอย่างแน่นอนในทุนสำรองระหว่างประเทศ
เพียงแต่ที่ราคาทองคำถูกทุบลงมาได้เพราะก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2554 ราคาทองคำ “ขึ้นสูงเร็วเกินไป” (โดยเฉพาะเมื่อเทียบช่วงห่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ย moving average 14 วัน กับ 200 วัน) จนทำให้สบช่องโอกาสที่มีการเทขายทำกำไรได้และราคาลงมาใกล้ๆ กับ 1,600 เหรียญต่อทรอยออนซ์ก่อนจะเริ่มดีดตัวกลับขึ้นมาอีกครั้ง
เพราะ “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์ที่แสดงความมั่งคั่งควบคู่มากับอารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย (โดยเฉพาะจีนและอินเดีย) ยิ่งไปกว่านั้นชาวเอเชียซึ่งถือว่าในเวลานี้ถือได้ว่าความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะสถานภาพการค้าระหว่างประเทศนั้น ได้ทั้งเกินดุลการค้า เกินดุลบัญชีเดินสะพัด มากด้วยการลงทุน เป็นภาคการผลิตที่สำคัญของโลก เอเชียทุกวันนี้จึงมีสถานภาพเป็น “เจ้าหนี้” ที่สำคัญของอเมริกาและยุโรป ดังนั้นเมื่อเงินยูโรและดอลลาร์ไร้ความน่าเชื่อถือและด้อยค่าลงทุกวัน ก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประเทศต่างๆ จะต้องพิจารณาแปลงสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นอย่างอื่นที่น่าไว้วางใจมากกว่าเงินและพันธบัตรสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐที่กำลังด้อยค่าลง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องหนีไม่พ้น “ทองคำ”
ทันทีที่ราคาทองคำลงเมื่อเดือนที่แล้ว จีน อินเดีย และตุรกี ซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ซื้อทองสำหรับเครื่องประดับได้ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางของรัสเซีย ธนาคารกลางของโบลิเวีย ธนาคารกลางของโคลัมเบีย ฯลฯ ต่างทยอยสะสมทองคำกันมากขึ้นในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
อันที่จริงต้องถือว่า “ทองคำ” เป็นสินทรัพย์อันสำคัญในทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกแล้ว แต่ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นศัตรูอันสำคัญของยุโรปและอเมริกาด้วย เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านมา หากธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ซื้อทองคำกันมากๆ ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะขายพันธบัตรเพื่อกู้หนี้ของยุโรปและอเมริกาด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะยากขึ้นไปด้วย เพราะความจริงแล้วทั้งในยุโรปและอเมริกาต่างก็เป็นกลุ่มประเทศที่ขาดดุลการค้าและขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมหาศาลกันทุกปี ถึงอย่างไรธนาคารกลางในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังมีความจำเป็นต้องออกพันธบัตรกู้หนี้เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่มีวันหยุด
อาจด้วยเหตุผลนี้ที่ในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจเทขายทองคำต่อเนื่องออกมาเป็นผลทำให้ราคาลดลง เป็นผลทำให้ทำลายบรรยากาศตลาดทองคำอยู่หลายปี ในขณะที่ธนาคารกลางในยุโรปและธนาคารกลางในสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มและชี้นำให้ธนาคารกลางอื่นๆ ทำต้องลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ใน “ข้อตกลงทองคำของธนาคารกลาง” (Central Bank Gold Agreement) ที่ห้ามธนาคารกลางแต่ละประเทศขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศเกินกว่า 400 เมตริกตันต่อปี และห้ามขายเกิน 2,000 เมตริกตันในช่วง 5 ปี ทั้งนี้ถือเป็นการกำหนดมาตรการจำกัดไม่ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งมีทองคำจำนวนมาก) ขายทองคำในทุนสำรองให้กับชาติอื่นๆ (โดยน่าจะมีเป้าหมายเล็งไปที่ชาติในเอเชียที่มีเงินตราต่างประเทศมาก) มากเกินกำหนด อันเสมือนเป็นการบีบให้ชาติต่างๆ (โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย) ต้องกลับมาซื้อพันธบัตรในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเอาไว้เป็นสินทรัพย์ในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป จนอเมริกาและยุโรปหนี้สินท่วมท้นอยู่ในขณะนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปรากฏการณ์ในกรีซที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างหวาดผวาการลุกลามล้มกันเป็นโดมิโน ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องระมัดระวังความเสี่ยงในการถือครองพันธบัตรของธนาคารและรัฐบาลในยุโรปมากขึ้น ยิ่งมีข้อจำกัดการขายทองคำจากข้อตกลงทองคำของธนาคารกลางก็ยิ่งทำให้ยุโรปและอเมริกา (ซึ่งมีทองคำในทุนสำรองมากที่สุด) มีข้อจำกัดที่จะขายทองคำเพื่อเก็บมาเป็นเงินสดด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน หากถึงแม้ยุโรปและอเมริกานำทองคำออกมาขายในรอบนี้แล้วจะทำให้ราคาทองคำลดลงก็ตาม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเร่งทำให้ธนาคารกลางในชาติต่างๆ เทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปเพื่อเข้าไปซื้อทองคำมากขึ้นแทนไปด้วย ก็จะยิ่งทำให้ความต้องการพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปลดลงตามเป็นเงาตามตัว ซึ่งจะเป็นผลทำให้เป็นการบีบให้สหรัฐอเมริกาและยุโรปต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรอบใหม่ให้สูงขึ้น อันจะส่งผลกระทบทำให้เกิดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปชะลอตัวทางเศรษฐกิจหนักขึ้นไปอีก
เมื่อเวลานี้ไม่มีธนาคารกลางชาติไหนขายทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศออกมาอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศจึงย่อมเข้าซื้อในตลาดทองคำโดยตรง และเป็นเหตุทำให้ราคาทองคำเพิ่มขึ้นต่อไป (แม้จะมีความผันผวนในระยะสั้นก็ตาม)
“เฮดจ์ฟันด์” อาจจะโจมตีทุบหุ้นและตราสารน้ำมันทั่วโลกเพื่อให้คนมาสนใจพันธบัตรสหรัฐอเมริกาและยุโรปมากขึ้นได้ แต่การทุบราคาทองคำโดยมีธนาคารกลางทั่วโลกที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมหาศาลทยอยรับซื้อมาสะสมในสถานการณ์วิกฤตของโลกเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเฮดจ์ฟันด์ในยามนี้
ทำให้หวนนึกถึง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่ได้เทศน์กำชับหลายครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ว่าให้แปลงเงินบริจาคทั้งหมดให้เป็น “ทองคำ” เก็บเอาไว้ในคลังหลวงให้เป็นสมบัติของชาติที่มั่นคงต่อไป ได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ว่า
“ทองคำเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดเพื่อเป็นหลักสมบัติประกันชาติไทยของเรา เมื่อมีทองคำมากแล้ว การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติมใช้อีกก็ยังได้อีก ตามปริมาณของทองคำที่มีมากน้อยในคลัง นี่ยังมีส่วนได้อีกนะ เราจึงต้อเสาะแสวงหาทองคำมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งเลย ให้เป็นอันดับหนึ่ง เรียกว่าทองคำนี้เป็นสมบัติคงคลังว่างั้นเถอะ ให้เหลืองอร่ามอยู่ในคลังหลวงของเราแล้วสง่างามองอาจกล้าหาญ ถ้ามีทองคำอยู่ในคลัง ถ้าไม่มีนี้ไม่องอาจนะ ล่อแหลมต่ออันตรายได้ง่ายๆ ถ้ามีทองคำคงคลังแล้วก็แน่นหนามั่นคง”