"การประชุมของกลุ่ม OPEC ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตในระดับที่อาจมากกว่าคาดการณ์ของตลาด และสูงกว่าในอดีต ซึ่งเชื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงกระตุ้นตลาดได้เพียงในระยะสั้น โดยตลาดจะยังคงรอดูอุปทานที่แท้จริงที่ออกสู่ตลาด"
หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผย ยอดขาดดุลการค้าประจำเดือนตุลาคม 2551 ปรับเพิ่มสูงขึ้นเกินคาดที่ 1.1% yoy ไปอยู่ที่ระดับ 5.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากยอดนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าการนำเข้าโดยรวมประมาณ 208.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.2% yoy ขณะที่ในภาคการส่งออกมีมูลค่า 151.726 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 5.3% yoy
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมินว่า แนวโน้มช่องว่างของการขยายตัวของภาคการส่งออกและการนำเข้าของสหรัฐฯเริ่มปรับตัวลดไปใกล้กันมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณถึงทิศทางการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นอีกครั้งในปี 2552 โดยหลังจากในช่วงที่ผ่านมา ทิศทางของภาคการส่งออกของสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีทิศทางการอ่อนค่าลงมาตลอดทั้งปี ส่งผลให้ดุลการค้าที่เคยขาดดุลในระดับสูง ได้ค่อยๆมีการลดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่อง และส่งผลทำให้เป็นปัจจัยบวกของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงต้นของปี 2551 ยามเมื่อปัจจัยเศรษฐกิจด้านอื่นได้รับผลกระทบจากปัญหา Subprime
อย่างไรก็ตามในสภาวะปัจจุบันที่กลับปรากฏว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินหลักหลายๆสกุล และประกอบกับภาพของเศรษฐกิจโดยรวมนอกสหรัฐฯมีการปรับตัวย่ำแย่ลงอย่างชัดเจนนั้น SCRI เชื่อว่าภาคการส่งออกของสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบโดยตรง และจะมีการชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วงถัดไป จนถึงอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่3ของปี2552 และประกอบกับการที่ SCRI มองว่าทิศทางของภาคการนำเข้า แม้ว่าจะไม่มีการขยายตัวในระดับสูงอย่างเช่นในช่วงต้นปี แต่คาดว่ามูลค่าโดยรวมของภาคการนำเข้า โดยเฉลี่ยแล้วจะยังคงเป็นการทรงตัวได้ต่อเนื่องในตลอดปี2552 เนื่องจากอาจจะมีการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าในประเทศที่มีราคาสูง จึงหันไปใช้สินค้านำเข้าที่มีราคาถูกทดแทน โดยเฉพาะสัญญาณการนำเข้าจากประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางทิศทางการชะลอตัวลงของภาคอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งในเดือนตุลาคม 2551 การนำเข้าจากประเทศจีนก็มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 34.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับเพิ่มจากในเดือนก.ย. 2551 ที่มีมูลค่าประมาณ 33.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่งผลทำให้โดยรวมแล้ว SCRI ประเมินภาพรวมของภาคการค้าต่างประเทศของสหรัฐฯในช่วงที่เหลือของปี ไปจนถึงปี 2552 จะมีการปรับชะลอตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯในปี 2552 มีการปรับชะลอตัวลงรุนแรงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นก็เป็นได้
ขณะเดียวกัน SCRI มีความเห็นว่า ตลาดทุนในขณะนี้สะท้อนสถานการณ์เฉพาะหน้ามากเกินไป ดังตัวอย่างเรื่องของการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 3 รายของสหรัฐฯ ได้แก่ จีเอ็ม ฟอร์ด และไครส์เลอร์ ซึ่งหากแผนช่วยเหลือมีแนวโน้มจะผ่าน ตลาดทุนจะสะท้อนในเชิงบวกแต่ถ้าแผนมีแนวโน้มไม่ผ่าน ตลาดก็จะสะท้อนในเชิงลบออกมา ซึ่งในเชิงปัจจัยพื้นฐานนั้น SCRI ประเมินว่า ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโอบามา ส่งสัญญาณชัดเจนมากในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรูปธรรมการของการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯนั้นจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปีหน้าพร้อมๆกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่ามูลค่าไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ในช่วงต้นปีหน้า SCRI ประเมินว่าตลาดจะตอบสนองในเชิงบวกต่อข่าวดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับ
ส่วนประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น SCRI มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ลง 1 % ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3% ต่ำสุดในรอบ 9 ปี นั้นสะท้อนถึงมุมมองของธนาคารกลางที่มองว่าเกาลีใต้จะเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระดับรุนแรงอันเป็นผลจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก โดยเกาหลีใต้นั้นบทบาทของการส่งออกสุทธิต่อการขยายตัวของ GDP โดยเฉลี่ย 3 ปี (2548-2550) นั้นอยู่สูงถึง 40 % ต่อปี ดังนั้น เกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอย่างรุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดย SCRI มีความเห็นในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเกาหลีใต้และประเมินว่าขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2540 เกาหลีใต้อยู่ในสถานะที่ดีกว่ามาก กล่าวคือ ในปี 2540 เกาหลีใต้มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ 4.1 % และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นที่ 33 % ในขณะที่ ปี 2550 เกาหลีใต้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ 6 % และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นที่ 1.31 เท่า ดังนั้น การที่เกาหลีใต้ซึ่งได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วด้วยวงเงินประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 % ต่อ GDP ผนวกกับการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงถึง 1 % นั้นและคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกจะมีส่วนช่วยลดทอนผลกระทบทางลบของการถดถอยเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ไม่ให้อยู่ในระดับที่รุนแรง
นอกจากนี้ในเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น SCRI ได้ประเมินว่าทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่จีนประกาศยอดนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงอีก 17.3% mom แต่อย่างไรก็ตาม ใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ประเด็นสำคัญ ที่อาจมีผลในการกระตุ้นราคาน้ำมัน ได้แก่ การประชุมของกลุ่ม OPEC ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตในระดับที่อาจมากกว่าคาดการณ์ของตลาด (1 – 2 ล้านบาร์เรล) และสูงกว่าในอดีต ซึ่งเชื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงกระตุ้นตลาดได้เพียงในระยะสั้น โดยตลาดจะยังคงรอดูอุปทานที่แท้จริงที่ออกสู่ตลาด หรือ ซึ่งจะต้องไปมุ่งเน้นที่การปฏิบัติตามข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตของประเทศสมาชิก OPEC
ที่มา: สถาบันวิจัยนครหลวงไทย
หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผย ยอดขาดดุลการค้าประจำเดือนตุลาคม 2551 ปรับเพิ่มสูงขึ้นเกินคาดที่ 1.1% yoy ไปอยู่ที่ระดับ 5.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากยอดนำเข้าสินค้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่าการนำเข้าโดยรวมประมาณ 208.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.2% yoy ขณะที่ในภาคการส่งออกมีมูลค่า 151.726 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 5.3% yoy
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) ประเมินว่า แนวโน้มช่องว่างของการขยายตัวของภาคการส่งออกและการนำเข้าของสหรัฐฯเริ่มปรับตัวลดไปใกล้กันมากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณถึงทิศทางการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นอีกครั้งในปี 2552 โดยหลังจากในช่วงที่ผ่านมา ทิศทางของภาคการส่งออกของสหรัฐฯ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่มีทิศทางการอ่อนค่าลงมาตลอดทั้งปี ส่งผลให้ดุลการค้าที่เคยขาดดุลในระดับสูง ได้ค่อยๆมีการลดการขาดดุลลงอย่างต่อเนื่อง และส่งผลทำให้เป็นปัจจัยบวกของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงต้นของปี 2551 ยามเมื่อปัจจัยเศรษฐกิจด้านอื่นได้รับผลกระทบจากปัญหา Subprime
อย่างไรก็ตามในสภาวะปัจจุบันที่กลับปรากฏว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเงินหลักหลายๆสกุล และประกอบกับภาพของเศรษฐกิจโดยรวมนอกสหรัฐฯมีการปรับตัวย่ำแย่ลงอย่างชัดเจนนั้น SCRI เชื่อว่าภาคการส่งออกของสหรัฐฯจะได้รับผลกระทบโดยตรง และจะมีการชะลอตัวลงต่อเนื่องในช่วงถัดไป จนถึงอย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่3ของปี2552 และประกอบกับการที่ SCRI มองว่าทิศทางของภาคการนำเข้า แม้ว่าจะไม่มีการขยายตัวในระดับสูงอย่างเช่นในช่วงต้นปี แต่คาดว่ามูลค่าโดยรวมของภาคการนำเข้า โดยเฉลี่ยแล้วจะยังคงเป็นการทรงตัวได้ต่อเนื่องในตลอดปี2552 เนื่องจากอาจจะมีการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าในประเทศที่มีราคาสูง จึงหันไปใช้สินค้านำเข้าที่มีราคาถูกทดแทน โดยเฉพาะสัญญาณการนำเข้าจากประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางทิศทางการชะลอตัวลงของภาคอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งในเดือนตุลาคม 2551 การนำเข้าจากประเทศจีนก็มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 34.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับเพิ่มจากในเดือนก.ย. 2551 ที่มีมูลค่าประมาณ 33.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ส่งผลทำให้โดยรวมแล้ว SCRI ประเมินภาพรวมของภาคการค้าต่างประเทศของสหรัฐฯในช่วงที่เหลือของปี ไปจนถึงปี 2552 จะมีการปรับชะลอตัวลงต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯในปี 2552 มีการปรับชะลอตัวลงรุนแรงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ในเบื้องต้นก็เป็นได้
ขณะเดียวกัน SCRI มีความเห็นว่า ตลาดทุนในขณะนี้สะท้อนสถานการณ์เฉพาะหน้ามากเกินไป ดังตัวอย่างเรื่องของการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 3 รายของสหรัฐฯ ได้แก่ จีเอ็ม ฟอร์ด และไครส์เลอร์ ซึ่งหากแผนช่วยเหลือมีแนวโน้มจะผ่าน ตลาดทุนจะสะท้อนในเชิงบวกแต่ถ้าแผนมีแนวโน้มไม่ผ่าน ตลาดก็จะสะท้อนในเชิงลบออกมา ซึ่งในเชิงปัจจัยพื้นฐานนั้น SCRI ประเมินว่า ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโอบามา ส่งสัญญาณชัดเจนมากในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯ จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรูปธรรมการของการช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐฯนั้นจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปีหน้าพร้อมๆกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่ามูลค่าไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ในช่วงต้นปีหน้า SCRI ประเมินว่าตลาดจะตอบสนองในเชิงบวกต่อข่าวดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับ
ส่วนประเทศในเอเชียอย่างเกาหลีใต้ ที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงนั้น SCRI มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเกาหลีใต้ลง 1 % ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 3% ต่ำสุดในรอบ 9 ปี นั้นสะท้อนถึงมุมมองของธนาคารกลางที่มองว่าเกาลีใต้จะเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในระดับรุนแรงอันเป็นผลจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก โดยเกาหลีใต้นั้นบทบาทของการส่งออกสุทธิต่อการขยายตัวของ GDP โดยเฉลี่ย 3 ปี (2548-2550) นั้นอยู่สูงถึง 40 % ต่อปี ดังนั้น เกาหลีใต้มีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงอย่างรุนแรงเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย
โดย SCRI มีความเห็นในเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเกาหลีใต้และประเมินว่าขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2540 เกาหลีใต้อยู่ในสถานะที่ดีกว่ามาก กล่าวคือ ในปี 2540 เกาหลีใต้มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ 4.1 % และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นที่ 33 % ในขณะที่ ปี 2550 เกาหลีใต้มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ที่ 6 % และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้สินต่างประเทศระยะสั้นที่ 1.31 เท่า ดังนั้น การที่เกาหลีใต้ซึ่งได้ประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วด้วยวงเงินประมาณ 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1 % ต่อ GDP ผนวกกับการลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงถึง 1 % นั้นและคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกจะมีส่วนช่วยลดทอนผลกระทบทางลบของการถดถอยเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ไม่ให้อยู่ในระดับที่รุนแรง
นอกจากนี้ในเรื่องของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น SCRI ได้ประเมินว่าทิศทางราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงมีแนวโน้มถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่จีนประกาศยอดนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงอีก 17.3% mom แต่อย่างไรก็ตาม ใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า ประเด็นสำคัญ ที่อาจมีผลในการกระตุ้นราคาน้ำมัน ได้แก่ การประชุมของกลุ่ม OPEC ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตในระดับที่อาจมากกว่าคาดการณ์ของตลาด (1 – 2 ล้านบาร์เรล) และสูงกว่าในอดีต ซึ่งเชื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงกระตุ้นตลาดได้เพียงในระยะสั้น โดยตลาดจะยังคงรอดูอุปทานที่แท้จริงที่ออกสู่ตลาด หรือ ซึ่งจะต้องไปมุ่งเน้นที่การปฏิบัติตามข้อตกลงในการลดกำลังการผลิตของประเทศสมาชิก OPEC
ที่มา: สถาบันวิจัยนครหลวงไทย