สร้างความอุ่นอก อุ่นใจได้มิใช่น้อยในช่วงนี้ สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใครจะรู้ได้ว่ามันจะกลับขึ้นอีกครั้งเมื่อไร ทั้งนี้การที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ย่อมส่งผลดีต่อการลงทุนในภาคต่าง โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิต และค่าขนส่ง
แต่ไฉน เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเช่นนี้ การบริการสาธารณชนอย่าสงรถประจำทาง กลับลดราคาค่าตั๋วโดยสารลงไม่มาก หรือแถบจะไม่มีการปรับลดลงมากเลย โดยเฉพาะบางคันเห็นประกาศติดที่ตัวรถว่าใช้ก๊าซเอ็นจีวี แต่ราคายังคงโก่งเป็นราคาเดียวกับรถใช้น้ำมันดีเซล
จากข้อมูลล่าสุดวานนี้ (13พ.ย.) พบว่า แม้ราคาน้ำมันของไทยยังไม่มีข่าวดี ประกาศปรับลดลงอีก แต่ราคาน้ำมันดิบไลท์ สวีท ของสหรัฐ ร่วงลงไปอีก 3.17 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 56.16 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันเบรนท์ของอังกฤษ ดิ่งลงมาถึง 3.34 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดตลาดที่ 52. 37 ดอลลารร์สหรัฐบาร์เรล โดยราคาในช่วงการซื้อขายเมื่อคืนวันที่12พ.ย. น้ำมันดิบสหรัฐ หล่นลงไปถึง 55.83 ดอลลาร์สหรัฐ และน้ำมันดิบเบรนท์หล่นลงไปอยู่ที่ 52.37 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม และมกราคม 2550
มีการคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันยังจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สำนักงานข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันน่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ในปีหน้า ด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปก เตรียมจะประชุมกันอีกรอบในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศแอลจีเรีย ในขณะที่ลิเบีย หนึ่งในสมาชิกโอเปกเรียกร้องให้ทางกลุ่มปรับลดปริมาณการผลิตลงอีกเพื่อช่วยพยุงราคาน้ำมันที่กำลังตกต่ำอยู่ในขณะนี้
แต่มีมุมมองที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวลง นั่นคือ บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ที่ให้ความเห็นไว้การวิเคราะห์งบการเงินไตรมาส3 และงวด 9 เดือนล่าสุดไว้อย่างน่าฟังว่า สำหรับภาพรวมในด้านราคาน้ำมันตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่140.77 ดอลลาร์สหรัฐ (สรอ.)ต่อบาร์เรล ในวันที่ 4 ก.ค. 2551 (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ) จากนั้นราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งสิ้นสุดไตรมาส 3 ราคาน้ำมันดิบดูไบมีราคาปิดที่ 87.66 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าราคาปิดสิ้นไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 136.30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านโรงกลั่นน้ำมันทั้งในและต่างประเทศได้รับผลกระทบด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
สาเหตุที่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากความกังวลต่อปัญหาด้านตลาดการเงินและอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มขยายวงกว้างไปสู่ยุโรปและทั่วโลก กอปรกับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลานานเริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกให้ชะลอตัวลง นอกจากนั้นตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันของสหรัฐอเมริกาที่ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่
แม้ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นธุรกิจโรงกลั่นจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่บริษัทฯต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อน้ำมันดิบในราคาที่สูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางลดลงธุรกิจโรงกลั่นก็จะมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน แต่บริษัทฯก็จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำมันดิบที่ต่ำลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการบริหารปริมาณสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและคงที่เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
โดยผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ที่ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบ (OPEC) ในวันที่ 24 ต.ค. 2551 มีมติลดกำลังการผลิตลง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อพยุงราคาน้ำมัน โดยมีเพดานการผลิตอยู่ที่ระดับ 27.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป และมีการคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยภายหลังเกิดปัญหาวิกฤตการเงินจะส่งผลให้อุปสงค์การใช้น้ำมันของโลกลดลงประมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการตัดสินใจลดกำลังการผลิตในครั้งนี้ของ OPEC จึงไม่เอื้อประโยชน์ต่อระดับราคาน้ำมันเท่าใดนัก
โดย ณ ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่ม OPEC อาจพิจารณาปรับลดอัตราการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมที่จะมีขึ้น รวมทั้งอุปสงค์น้ำมันที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันสามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
ส่วนภาพรวมด้านการผลิตและการจำหน่าย ในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้เฉลี่ย 74.3 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากเป็นช่วง Low Season แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 71.3 พันบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการส่งออกน้ำมันเตาประเภทกำมะถันต่ำเพิ่มสูงขึ้น เพราะบริษัทฯสามารถผลิตน้ำมันเตาได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีกว่าน้ำมันเตาทั่วไป ปัจจุบันน้ำมันเตาที่บริษัทฯผลิตได้เกือบทั้งหมดจะทำการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯมีปริมาณการส่งออกรวมทั้งสิ้น 430 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีก่อนที่อยู่ที่ 309 ล้านลิตร
สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงไตรมาส 3 นี้ บริษัทฯมียอดจำหน่ายลดลง 1.2%เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม - สิงหาคม 2551อยู่ในอันดับ 4 ที่ 14.0% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.6%
นี่คือมุมมองของผู้กลั่นและค้าน้ำมันที่น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นอุปสงค์ความต้องการน้ำมันของประชากรชาวโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก รวมถึงเห็นผลและโอกาสที่จะทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวกลับขึ้นไปในอนาคต
ส่วนในต่างประเทศนั้น นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนกันยายนของสหรัฐจะปรับตัวลดลงแตะระดับ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากเดือนสิงหาคมที่ระดับ 5.91 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงจะช่วยให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงด้วย
โดย นายไมเคิล เกรกอรี หัวหน้านักวิเคราะห์จาก BMO Capital Markets กล่าวว่าความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ และโทรทัศน์จากต่างประเทศ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากวิกฤตการณ์สินเชื่อทั่วโลกส่งผลให้ผู้บริโภคและภาคเอกชนของอเมริกันระมัดระวังการใช้จ่าย จึงทำให้ยอดขาดดุลการค้ามีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นที่ทรุดตัวลงกำลังฉุดรั้งยอดส่งออกของสหรัฐให้ลดลงด้วย
จากภาพรวมที่นำเสนอจะพบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันทั่วโลก จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับราคาขาย แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะไว้ใจได้เสมอ เพราะหากคุณพลังเผลอ วันหนึ่งวันใดมันอาจกลับมาหลอกหลอนอีกได้ ส่วนการลงทุนผ่านธุรกิจน้ำมัน ทั้งการถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน และการถือหน่วยลงทุน ENGY ไม่ว่าช่วงนี้จะเป็นอย่างไร ก็อย่าวิตกกังวลมากเกินไปนัก เพราะหากเงินนั้นสามารถปล่อยไว้ในระยะยาวได้ เชื่อว่าการรีเทิร์นกลับก็จะเกิดขึ้นในเวลานานนี้
แต่ไฉน เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลดลงเช่นนี้ การบริการสาธารณชนอย่าสงรถประจำทาง กลับลดราคาค่าตั๋วโดยสารลงไม่มาก หรือแถบจะไม่มีการปรับลดลงมากเลย โดยเฉพาะบางคันเห็นประกาศติดที่ตัวรถว่าใช้ก๊าซเอ็นจีวี แต่ราคายังคงโก่งเป็นราคาเดียวกับรถใช้น้ำมันดีเซล
จากข้อมูลล่าสุดวานนี้ (13พ.ย.) พบว่า แม้ราคาน้ำมันของไทยยังไม่มีข่าวดี ประกาศปรับลดลงอีก แต่ราคาน้ำมันดิบไลท์ สวีท ของสหรัฐ ร่วงลงไปอีก 3.17 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดที่ 56.16 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันเบรนท์ของอังกฤษ ดิ่งลงมาถึง 3.34 ดอลลาร์สหรัฐ ปิดตลาดที่ 52. 37 ดอลลารร์สหรัฐบาร์เรล โดยราคาในช่วงการซื้อขายเมื่อคืนวันที่12พ.ย. น้ำมันดิบสหรัฐ หล่นลงไปถึง 55.83 ดอลลาร์สหรัฐ และน้ำมันดิบเบรนท์หล่นลงไปอยู่ที่ 52.37 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม และมกราคม 2550
มีการคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันยังจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สำนักงานข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันน่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ในปีหน้า ด้านกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปก เตรียมจะประชุมกันอีกรอบในวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ ที่ประเทศแอลจีเรีย ในขณะที่ลิเบีย หนึ่งในสมาชิกโอเปกเรียกร้องให้ทางกลุ่มปรับลดปริมาณการผลิตลงอีกเพื่อช่วยพยุงราคาน้ำมันที่กำลังตกต่ำอยู่ในขณะนี้
แต่มีมุมมองที่น่าสนใจอีกมุมหนึ่ง ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวลง นั่นคือ บมจ.บางจากปิโตรเลียม (BCP) ที่ให้ความเห็นไว้การวิเคราะห์งบการเงินไตรมาส3 และงวด 9 เดือนล่าสุดไว้อย่างน่าฟังว่า สำหรับภาพรวมในด้านราคาน้ำมันตั้งแต่ช่วงต้นปี 2551 ราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดที่140.77 ดอลลาร์สหรัฐ (สรอ.)ต่อบาร์เรล ในวันที่ 4 ก.ค. 2551 (อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ) จากนั้นราคาน้ำมันได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งสิ้นสุดไตรมาส 3 ราคาน้ำมันดิบดูไบมีราคาปิดที่ 87.66 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าราคาปิดสิ้นไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 136.30 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจด้านโรงกลั่นน้ำมันทั้งในและต่างประเทศได้รับผลกระทบด้านลบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน
สาเหตุที่สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วนั้น มาจากความกังวลต่อปัญหาด้านตลาดการเงินและอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มขยายวงกว้างไปสู่ยุโรปและทั่วโลก กอปรกับราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงมาเป็นเวลานานเริ่มส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกให้ชะลอตัวลง นอกจากนั้นตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันของสหรัฐอเมริกาที่ยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่
แม้ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นธุรกิจโรงกลั่นจะมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่บริษัทฯต้องนำกำไรดังกล่าวไปซื้อน้ำมันดิบในราคาที่สูงขึ้น ในทางกลับกันเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวในทิศทางลดลงธุรกิจโรงกลั่นก็จะมีผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน แต่บริษัทฯก็จะมีค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำมันดิบที่ต่ำลงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามบริษัทฯได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการบริหารปริมาณสินค้าคงเหลือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและคงที่เพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
โดยผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้ที่ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบ (OPEC) ในวันที่ 24 ต.ค. 2551 มีมติลดกำลังการผลิตลง 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อพยุงราคาน้ำมัน โดยมีเพดานการผลิตอยู่ที่ระดับ 27.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นไป และมีการคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอยภายหลังเกิดปัญหาวิกฤตการเงินจะส่งผลให้อุปสงค์การใช้น้ำมันของโลกลดลงประมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นการตัดสินใจลดกำลังการผลิตในครั้งนี้ของ OPEC จึงไม่เอื้อประโยชน์ต่อระดับราคาน้ำมันเท่าใดนัก
โดย ณ ปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความเป็นไปได้ว่ากลุ่ม OPEC อาจพิจารณาปรับลดอัตราการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมที่จะมีขึ้น รวมทั้งอุปสงค์น้ำมันที่อาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันสามารถปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
ส่วนภาพรวมด้านการผลิตและการจำหน่าย ในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯ สามารถกลั่นน้ำมันได้เฉลี่ย 74.3 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ 83.6 พันบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากเป็นช่วง Low Season แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ 71.3 พันบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการส่งออกน้ำมันเตาประเภทกำมะถันต่ำเพิ่มสูงขึ้น เพราะบริษัทฯสามารถผลิตน้ำมันเตาได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่ดีกว่าน้ำมันเตาทั่วไป ปัจจุบันน้ำมันเตาที่บริษัทฯผลิตได้เกือบทั้งหมดจะทำการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยในไตรมาส 3 ปี 2551 บริษัทฯมีปริมาณการส่งออกรวมทั้งสิ้น 430 ล้านลิตร เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปีก่อนที่อยู่ที่ 309 ล้านลิตร
สำหรับการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการน้ำมันในช่วงไตรมาส 3 นี้ บริษัทฯมียอดจำหน่ายลดลง 1.2%เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีส่วนแบ่งการตลาดผ่านสถานีบริการเฉลี่ยเดือนมกราคม - สิงหาคม 2551อยู่ในอันดับ 4 ที่ 14.0% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.6%
นี่คือมุมมองของผู้กลั่นและค้าน้ำมันที่น่าสนใจ เพราะแสดงให้เห็นอุปสงค์ความต้องการน้ำมันของประชากรชาวโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างมาก รวมถึงเห็นผลและโอกาสที่จะทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวกลับขึ้นไปในอนาคต
ส่วนในต่างประเทศนั้น นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนกันยายนของสหรัฐจะปรับตัวลดลงแตะระดับ 5.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากเดือนสิงหาคมที่ระดับ 5.91 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงจะช่วยให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าลดลงด้วย
โดย นายไมเคิล เกรกอรี หัวหน้านักวิเคราะห์จาก BMO Capital Markets กล่าวว่าความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบ รถยนต์ และโทรทัศน์จากต่างประเทศ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื่องจากวิกฤตการณ์สินเชื่อทั่วโลกส่งผลให้ผู้บริโภคและภาคเอกชนของอเมริกันระมัดระวังการใช้จ่าย จึงทำให้ยอดขาดดุลการค้ามีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในยุโรปและญี่ปุ่นที่ทรุดตัวลงกำลังฉุดรั้งยอดส่งออกของสหรัฐให้ลดลงด้วย
จากภาพรวมที่นำเสนอจะพบว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันทั่วโลก จะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับราคาขาย แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะไว้ใจได้เสมอ เพราะหากคุณพลังเผลอ วันหนึ่งวันใดมันอาจกลับมาหลอกหลอนอีกได้ ส่วนการลงทุนผ่านธุรกิจน้ำมัน ทั้งการถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน และการถือหน่วยลงทุน ENGY ไม่ว่าช่วงนี้จะเป็นอย่างไร ก็อย่าวิตกกังวลมากเกินไปนัก เพราะหากเงินนั้นสามารถปล่อยไว้ในระยะยาวได้ เชื่อว่าการรีเทิร์นกลับก็จะเกิดขึ้นในเวลานานนี้