ส่งออก! เครื่องจักรที่ยังทำงาน
ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยทำสถิติใหม่ๆ เป็นว่าเล่น ทำมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในหลายต่อหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่หลายๆ ฝ่ายได้แสดงความวิตกว่า การส่งออกปีนี้น่าจะอาการหนัก เพราะปัญหาน้ำมันแพง และปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลายๆ ประเทศตกต่ำ
แต่การส่งออกของไทยก็กลับมีการขยายตัวชนิดที่เรียกว่าสวนกระแสโลก
เดือนม.ค. เริ่มต้นเดือนแรกของปี ไทยส่งออกได้มูลค่า 13,959.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.3% เป็นการประเดิมเดือนแรกได้อย่างงดงาม โดยมีการนำเข้ามูลค่า 14,613.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.1% ขาดดุลการค้า 653.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนก.พ. ส่งออกได้มูลค่า 12,911 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,680 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.1% โดยไทยขาดดุลการค้า 688.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนมี.ค. ส่งออกได้มูลค่า 14,765 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% ทำตัวเลขส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์เดือนแรกของปีนี้ โดยการนำเข้ามีมูลค่า 14,605 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไทยกลับมาเกินดุลการค้า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนเม.ย. ส่งออกได้มูลค่า 13,765 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 15,572.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.4% ทำให้ไทยขาดดุลการค้า 1,808 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขเดือนล่าสุด ไทยส่งออกได้ มีมูลค่า 15,463.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.4% ถือเป็นตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งตั้งแต่ไทยมีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,168.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.7% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 1,294.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการกลับมาเกินดุลการค้าอีกครั้ง หลังจากขาดดุลในเดือนม.ค. ก.พ. และเกินดุลในเดือนมี.ค. และเดือนขาดดุลอีกครั้งในเดือนเม.ย.
เหตุผลที่ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ที่มีแนวโน้มราคาดีขึ้น ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา ขณะที่สินค้าในหมวดอาหาร ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
ขณะที่ ตลาดส่งออกใหม่ๆ ก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายการมุ่งสู่ตลาดใหม่แทนตลาดเก่าที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และใกล้จะประสบผลสำเร็จ เพราะสัดส่วนล่าสุดใกล้จะอยู่ที่ 50/50 แล้ว
ส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนบางเดือนทำให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไทยต้องนำเข้าน้ำมันในราคาที่แพงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และประเทศอื่นๆ ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกับไทยเหมือนกัน
แต่เมื่อไปพิจารณาถึงรายการสินค้านำเข้าอื่นๆ พบว่า ได้กระจุกตัวไปอยู่ที่กลุ่มสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสินค้าเหล่านี้ จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต ทั้งนี้ ยอมรับว่าในบางเดือน เช่น เดือนเม.ย. มีสินค้ารายการอื่นๆ ที่นำเข้าเพิ่มขึ้นมาก เช่น ทองคำ จริง
อย่างไรก็ตาม จากยอดรวมการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) ไทยสามารถส่งออกได้แล้วคิดเป็นมูลค่า 70,944.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.1% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 72.,639 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 34.2% ส่งผลให้ไทยยังขาดดุลการค้า 1,695 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ไทยส่งออกไปแล้ว 5 เดือน มีอัตราการขยายตัว 22.1% แต่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าทั้งปีไว้ว่าจะขยายตัว 12.5% คิดว่าทำได้อย่างแน่นอน ส่วนเป้าในการทำงาน 15% ที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ตั้งไว้ คิดว่าไม่น่าจะยาก และจะทำได้อย่างแน่นอน”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกกล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า จากการที่ได้หารือกับผู้ผลิต และผู้ส่งออกสินค้ารายการสำคัญๆ ได้รับคำตอบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าหลายๆ รายการจะมีการส่งออกขยายตัวได้เกินไปกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้เป้าหมายภาพรวมทั้งปีทำได้ตามเป้าแน่นอน ส่วนจะเกินไปกว่าเป้าหมายเท่าใดนั้น ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป
ทั้งนี้ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จะมีการประกาศตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. และตัวเลขในรอบครึ่งปีแรกของปี 2551 ซึ่งแนวโน้มตัวเลขจะออกมาแบบไหน จะทำลายสถิติอีกหรือไม่ คงได้รู้กันในเร็วๆ นี้ แต่สิ่งที่คนของกระทรวงพาณิชย์มั่นใจ ก็คือ ภาคการส่งออกจะเป็นกลจักรสำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ให้ขับเคลื่อนไปได้
ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้
ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกของไทยทำสถิติใหม่ๆ เป็นว่าเล่น ทำมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในหลายต่อหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่หลายๆ ฝ่ายได้แสดงความวิตกว่า การส่งออกปีนี้น่าจะอาการหนัก เพราะปัญหาน้ำมันแพง และปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลายๆ ประเทศตกต่ำ
แต่การส่งออกของไทยก็กลับมีการขยายตัวชนิดที่เรียกว่าสวนกระแสโลก
เดือนม.ค. เริ่มต้นเดือนแรกของปี ไทยส่งออกได้มูลค่า 13,959.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.3% เป็นการประเดิมเดือนแรกได้อย่างงดงาม โดยมีการนำเข้ามูลค่า 14,613.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.1% ขาดดุลการค้า 653.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนก.พ. ส่งออกได้มูลค่า 12,911 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 13,680 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.1% โดยไทยขาดดุลการค้า 688.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนมี.ค. ส่งออกได้มูลค่า 14,765 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% ทำตัวเลขส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์เดือนแรกของปีนี้ โดยการนำเข้ามีมูลค่า 14,605 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ไทยกลับมาเกินดุลการค้า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ
เดือนเม.ย. ส่งออกได้มูลค่า 13,765 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 15,572.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 44.4% ทำให้ไทยขาดดุลการค้า 1,808 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นตัวเลขเดือนล่าสุด ไทยส่งออกได้ มีมูลค่า 15,463.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.4% ถือเป็นตัวเลขการส่งออกที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งตั้งแต่ไทยมีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,168.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.7% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 1,294.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการกลับมาเกินดุลการค้าอีกครั้ง หลังจากขาดดุลในเดือนม.ค. ก.พ. และเกินดุลในเดือนมี.ค. และเดือนขาดดุลอีกครั้งในเดือนเม.ย.
เหตุผลที่ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยเป็นที่ต้องการในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ที่มีแนวโน้มราคาดีขึ้น ทั้งข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา ขณะที่สินค้าในหมวดอาหาร ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
ขณะที่ ตลาดส่งออกใหม่ๆ ก็มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายการมุ่งสู่ตลาดใหม่แทนตลาดเก่าที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และใกล้จะประสบผลสำเร็จ เพราะสัดส่วนล่าสุดใกล้จะอยู่ที่ 50/50 แล้ว
ส่วนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จนบางเดือนทำให้ไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นนั้น สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไทยต้องนำเข้าน้ำมันในราคาที่แพงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และประเทศอื่นๆ ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกับไทยเหมือนกัน
แต่เมื่อไปพิจารณาถึงรายการสินค้านำเข้าอื่นๆ พบว่า ได้กระจุกตัวไปอยู่ที่กลุ่มสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสินค้าเหล่านี้ จะมีผลต่อการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต ทั้งนี้ ยอมรับว่าในบางเดือน เช่น เดือนเม.ย. มีสินค้ารายการอื่นๆ ที่นำเข้าเพิ่มขึ้นมาก เช่น ทองคำ จริง
อย่างไรก็ตาม จากยอดรวมการส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) ไทยสามารถส่งออกได้แล้วคิดเป็นมูลค่า 70,944.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.1% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 72.,639 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 34.2% ส่งผลให้ไทยยังขาดดุลการค้า 1,695 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ไทยส่งออกไปแล้ว 5 เดือน มีอัตราการขยายตัว 22.1% แต่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าทั้งปีไว้ว่าจะขยายตัว 12.5% คิดว่าทำได้อย่างแน่นอน ส่วนเป้าในการทำงาน 15% ที่นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ตั้งไว้ คิดว่าไม่น่าจะยาก และจะทำได้อย่างแน่นอน”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกกล่าว
นายราเชนทร์กล่าวว่า จากการที่ได้หารือกับผู้ผลิต และผู้ส่งออกสินค้ารายการสำคัญๆ ได้รับคำตอบว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าหลายๆ รายการจะมีการส่งออกขยายตัวได้เกินไปกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้เป้าหมายภาพรวมทั้งปีทำได้ตามเป้าแน่นอน ส่วนจะเกินไปกว่าเป้าหมายเท่าใดนั้น ต้องคอยติดตามดูกันต่อไป
ทั้งนี้ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จะมีการประกาศตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยในเดือนมิ.ย. และตัวเลขในรอบครึ่งปีแรกของปี 2551 ซึ่งแนวโน้มตัวเลขจะออกมาแบบไหน จะทำลายสถิติอีกหรือไม่ คงได้รู้กันในเร็วๆ นี้ แต่สิ่งที่คนของกระทรวงพาณิชย์มั่นใจ ก็คือ ภาคการส่งออกจะเป็นกลจักรสำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ให้ขับเคลื่อนไปได้