กนง.เล็งทบทวนตัวเลขดุลการค้าใหม่ จากเดิมคาดทั้งปี 51 ไทยจะเกินดุลการค้า 2,000 ล้านเหรียญ แต่หลังตัวเลขจริงดุลการค้าช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้กลับขาดดุลเกือบ 2,000 ล้านเหรียญ จากราคาน้ำมันเป็นปัจจัยหลัก จับตาเงินปันผลบริษัทต่างชาติตกงวดส่งกลับ ซ้ำเติมยอดดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้น
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำลังอยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขดุลการค้าใหม่ เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นในการประชุมของ กนง.ในครั้งถัดไป คือ วันที่ 28 กรกฎาคม นี้ ซึ่งเป็นรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม โดยจากเดิม กนง.ได้ประมาณการณ์ไว้ในปี 2551 ไทยจะเกินดุลการค้า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ต่างกับที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศของดุลการค้าของไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของปีนี้กลับขาดดุลประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการที่ไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาก โดยเฉพาะน้ำมันและทองคำ
“ในช่วงเดือน เม.ย.ที่มีการขาดดุลการค้ามาก ส่วนหนึ่งเกิดจากราคาน้ำมันสูง ทำให้มีมูลค่านำเข้าน้ำมันสูง แต่ในด้านบริการยังดีอยู่เห็นได้จากผลตอบแทนที่ได้รับจากการนำเงินสำรองทางการระหว่างประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนที่ชดเชยภาคการท่องเที่ยวที่มีการชะลอตัวบ้างจากปัจจัยภายในประเทศ แต่ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่าตัวเลขในเดือน เม.ย.นี้จะมีเงินตกงวดที่บริษัทที่ทำธุรกิจในไทยต้องนำเงินส่งผลตอบแทนหรือเงินปันผลไปให้บริษัทแม่ในต่างประเทศมากหรือน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะสร้างความกดดันให้ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น” นางอมรา กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ปัจจัยหลักเกิดจากการนำเข้าของไทยเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่การขาดดุลการค้าในปีนี้ เป็นไปตามการประมาณการของ ธปท.อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปริมาณการนำเข้าน้ำมันนั้น ยังไม่เห็นการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ประกอบกับจากนโยบายลดการใช้พลังงานของกระทรวงการคลังจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันได้
ต่อข้อถามที่ว่า การนำเข้าที่สูงขึ้นในเดือนนี้ เกิดขึ้นจากนำเข้าทองคำมากขึ้น เพื่อรองรับการเก็งกำไร ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การเก็งกำไรนั้น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกตลาด ทั้งตลาดทองคำ ตลาดค้าข้าว หรือตลาดน้ำมัน หากนักลงทุนพบช่องทางในการเก็งกำไรได้ ก็เข้ามาเก็งกำไรทั้งนั้น แต่ในขณะนี้ เท่าที่มองยังไม่ได้เห็นการเก็งกำไรทองคำของประเทศไทยในภาพรวมที่มากจนผิดปกติ
สำหรับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือนเมษายนได้ระบุว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประมาณการว่าไทยจะมีมูลค่าการส่งออกในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 13.5-16.5% ขณะที่ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 3.5-6.5% ส่วนมูลค่าการนำเข้าก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 22.5-25.5% และมีปริมาณการนำเข้าขยายตัว 7-10% ส่งผลให้ดุลการค้าสมดุลหรือขาดดุลไม่เกิน 2,000 ล้านเหรียญ จากเดิมคาดว่าเกินดุล 2,500-4,500 ล้านเหรียญ และเมื่อเทียบกับทั้งปี 2550 มีการเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 12,000 ล้านเหรียญ
ทำให้มีการปรับประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดใหม่เป็นเกินดุล 4,000-7,000 ล้านเหรียญ จากเดิมเกินดุล 4,500-7,500 ล้านเหรียญ และในปีหน้าเชื่อว่าจะมีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงวัตถุดิบ หลังจากการลงทุนฟื้นตัวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2,000 ล้านเหรียญหรือเกินดุลไม่เกิน 1,000 ล้านเหรียญ
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำลังอยู่ระหว่างทบทวนตัวเลขดุลการค้าใหม่ เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นในการประชุมของ กนง.ในครั้งถัดไป คือ วันที่ 28 กรกฎาคม นี้ ซึ่งเป็นรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม โดยจากเดิม กนง.ได้ประมาณการณ์ไว้ในปี 2551 ไทยจะเกินดุลการค้า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ต่างกับที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศของดุลการค้าของไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของปีนี้กลับขาดดุลประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการที่ไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาก โดยเฉพาะน้ำมันและทองคำ
“ในช่วงเดือน เม.ย.ที่มีการขาดดุลการค้ามาก ส่วนหนึ่งเกิดจากราคาน้ำมันสูง ทำให้มีมูลค่านำเข้าน้ำมันสูง แต่ในด้านบริการยังดีอยู่เห็นได้จากผลตอบแทนที่ได้รับจากการนำเงินสำรองทางการระหว่างประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนที่ชดเชยภาคการท่องเที่ยวที่มีการชะลอตัวบ้างจากปัจจัยภายในประเทศ แต่ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่าตัวเลขในเดือน เม.ย.นี้จะมีเงินตกงวดที่บริษัทที่ทำธุรกิจในไทยต้องนำเงินส่งผลตอบแทนหรือเงินปันผลไปให้บริษัทแม่ในต่างประเทศมากหรือน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะสร้างความกดดันให้ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น” นางอมรา กล่าว
โดยก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ปัจจัยหลักเกิดจากการนำเข้าของไทยเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่การขาดดุลการค้าในปีนี้ เป็นไปตามการประมาณการของ ธปท.อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปริมาณการนำเข้าน้ำมันนั้น ยังไม่เห็นการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ประกอบกับจากนโยบายลดการใช้พลังงานของกระทรวงการคลังจะช่วยให้ลดปริมาณการใช้น้ำมันได้
ต่อข้อถามที่ว่า การนำเข้าที่สูงขึ้นในเดือนนี้ เกิดขึ้นจากนำเข้าทองคำมากขึ้น เพื่อรองรับการเก็งกำไร ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า การเก็งกำไรนั้น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกตลาด ทั้งตลาดทองคำ ตลาดค้าข้าว หรือตลาดน้ำมัน หากนักลงทุนพบช่องทางในการเก็งกำไรได้ ก็เข้ามาเก็งกำไรทั้งนั้น แต่ในขณะนี้ เท่าที่มองยังไม่ได้เห็นการเก็งกำไรทองคำของประเทศไทยในภาพรวมที่มากจนผิดปกติ
สำหรับในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุดเดือนเมษายนได้ระบุว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประมาณการว่าไทยจะมีมูลค่าการส่งออกในปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 13.5-16.5% ขณะที่ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 3.5-6.5% ส่วนมูลค่าการนำเข้าก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 22.5-25.5% และมีปริมาณการนำเข้าขยายตัว 7-10% ส่งผลให้ดุลการค้าสมดุลหรือขาดดุลไม่เกิน 2,000 ล้านเหรียญ จากเดิมคาดว่าเกินดุล 2,500-4,500 ล้านเหรียญ และเมื่อเทียบกับทั้งปี 2550 มีการเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 12,000 ล้านเหรียญ
ทำให้มีการปรับประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดใหม่เป็นเกินดุล 4,000-7,000 ล้านเหรียญ จากเดิมเกินดุล 4,500-7,500 ล้านเหรียญ และในปีหน้าเชื่อว่าจะมีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงวัตถุดิบ หลังจากการลงทุนฟื้นตัวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2,000 ล้านเหรียญหรือเกินดุลไม่เกิน 1,000 ล้านเหรียญ