เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 13 ม.ค. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย วานนี้ (13 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายงาน ราชดำเนินเสวนา ในหัวข้อ นโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ตอนหนึ่งว่า ความสำคัญของการปฏิรูปสื่อมีความสำคัญ 2 ประการ เพราะ 1.ในเชิงของสภาวะแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร และสื่อมีบทบาทในการหล่อหลอมและสร้างค่านิยมให้กับคนมากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มเยาวชน เพราะเป็นโลกของคนวัยเหล่านี้ หลายสิ่งเป็นค่านิยมที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมีอิทธิพล
2.สื่อมีบทบาทอย่างสำคัญในการนำสังคมกลับคืนสู่ความเป็นปกติให้มากที่สุด เพราะความขัดแย้งทางสังคมเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลประกาศตั้งแต่ต้น อย่างน้อยที่สุดการนำบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ตนเชื่อว่า บทบาทของสื่อมีความสำคัญมาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้สื่อ มีสิทธิเสรีภาพบนหลักการของความวิชาชีพและมืออาชีพในการสะท้อนข้อมูลข่าวสาร เสนอความเห็นมุมมองต่างๆ ต่อประชาชน การปฏิรูปสื่อต้องดูโครงสร้าง ถ้าไม่แก้โครงสร้าง ผู้ทำงานหรือผู้ปฏิบัติงานก็ประสบกับความยากลำบาก ในการทำงานให้ตรงไปตรงมาในการเสนอความคิดต่อสังคม
สิ่งที่คุกคามการทำงานของสื่อคืออำนาจรัฐและอำนาจทุน อำนาจรัฐเกิดจากความพยายามหรือความเชื่อว่าเมื่อยุคสมัยนี้เป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร ใครสามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารก็สามารถชนะในการต่อสู้ จึงเอาสื่อมาเป็นเครื่องมือ ทำให้เป็นปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะสื่อของรัฐ ส่วนอำนาจทุนในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาก็ไปอยู่ในที่เดียวกันกับอำนาจรัฐ ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น เกิดการกดดันผ่านทุน แม้สื่อจะมีความคิดเชิงอุดมคติ แต่สื่อสารมวลชนก็คือธุรกิจ หนีความจริงได้ยาก การใช้อำนาจทุนในการกดดันเกิดผลกระทบเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าไปแทรกแซงหรือบิดเบือน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการสำคัญๆ เราจะต้องมาดูทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน ในส่วนของอำนาจรัฐคือกฎหมายบางอย่างที่จะเอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนสิทธิเสรีภาพของสื่อต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ในฐานะที่เป็นคนเสนอกฎหมายเมื่อสิบสองสิบสามปีที่ผ่านมา ก็พบความจริงว่ากฎหมาย ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ วันที่มีการเสนอกฎหมายนั้นฝ่ายตรวจสอบไม่มีทาง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ ฝ่ายค้านทำงานต้องใช้วิธีการแนวทางอื่น ตนไม่เห็นว่า กฎหมายนี้ใช้ได้ จึงเป็นประเด็นที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
การปฏิรูปสื่อให้เข้มแข็ง ดีกว่าต้องมาตรวจสอบบนกฎหมายที่คิดว่า เป็นนโยบายที่สำคัญที่ต้องผลักดันคือกฎหมายในแง่โครงสร้างสื่อของรัฐคือ กฎหมายว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์และองค์กรกำกับคือ กสทช.เพราะเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2542-2543 มีปัญหามาตั้งแต่ต้น เพราะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไปพันกับกิจการโทรคมนาคม มีความเห็นเป็นสองฝ่ายว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่สำหรับตนเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน วันข้างหน้ามีความยากมากว่าจะดูเป็นสองเรื่อง ได้อย่างไร เช่น บริการข้อความสั้นที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปเรื่องยาวๆ ให้สั้น เวลาอ่านแล้วรู้สึกตกใจและอันตรายมาก
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า องค์กรกำกับเกิดได้ยาก จะเอาองค์กรไหนมากำกับ ช่วงที่เป็นฝ่ายค้านตนก็ไม่เห็นด้วยกับกระทรวงไอซีที เพราะไม่มีหลักประกัน จึงต้องหาความพอดี ที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ้าได้เร็วเราก็ได้กรรมการไม่ดี ถ้าจะได้คนดี มาเป็นกรรมการก็มีการร้องเรียนกันไปมา จึงได้มอบโจทย์ให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปหาความพอดีและอิสระ อย่าทำให้เรื่องยุ่งยากหรือเกิดการร้องเรียนจนไม่มีกรรมการทำงานได้
ประการถัดมาก็มีความเป็นห่วงเรื่องหลักประกันของสื่อบางประเภท เช่น สื่อชุมชนหรือสื่อเชิงสาธารณะ ที่ผ่านมากฎหมายของรัฐบาลก่อนไม่ได้กำหนดสัดส่วนเอาไว้ จึงควรจะมีสัดส่วน เพื่อเป็นหลักประกันในการกระจายสื่อ บางเวลาต้องมีสาระสำหรับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อของใคร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับสื่อของรัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลง เดิมเราคิดว่า ถ้าให้ไอทีวีเดิมเป็นทีวีเสรีแล้วเปลี่ยนช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์เป็นทีวีสาธารณะ ช่อง 11 จึงอยู่ในฐานะที่ต้องมาคิดกันว่าจะมีรูปแบบใด แต่ความจริงอยากเป็นรูปแบบ สาธารณะ อย่างไรก็ตาม พื้นที่สำหรับราชการหรือรัฐต้องมีเพื่อการชี้แจง แต่ไม่ใช่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง แม้เส้นแบ่งอาจจะยาก แต่โดยสำนึกแล้ว สามารถแบ่งได้ การทำงานคือการอธิบายชี้แจงถึงมาตรการที่ได้ผลักดันออกไปว่า ทำด้วยอะไร ใช้เหตุผลอะไร ใช้เพื่อทำลายคู่แข่งในทางการเมืองไม่ได้ ส่วนเวลาสำหรับ ฝ่ายค้านก็ควรมี แม้จะเป็นการเมืองมาก เพราะฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบ แต่อยากให้เป็นเชิงแลกเปลี่ยนในมุมมองของนโยบาย ไม่ใช่ตอบโต้กันทางการเมือง เพราะสามารถใช้พื้นที่การนำเสนอข่าวได้ทุกวันอยู่แล้ว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากเห็นกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ แต่พบว่า กฎหมายเช่นนี้มักจะถูกแปลงสารไปกฎหมายควบคุมสื่อ และอยากทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ อะไรที่คุ้มครองคนทำงานที่ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา เมื่อเจออำนาจรัฐอำนาจทุนรัฐจะดูแลคุ้มครองเขาได้อย่างไร ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญเพื่อให้สื่อมีหลักประกันที่ดีมากขึ้นในการเป็นอิสระ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต
ถ้าคุยอย่างเดียวไม่มีข่าวก็น่าเป็นห่วง เพราะมีการชี้นำตั้งแต่คำพูดไปจนถึง สีหน้าที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่อยากให้รัฐเข้าไปยุ่ง องค์กรวิชาชีพควรเอาปัญหานี้มาพูดคุยกัน ความพอดีและมาตรฐานควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ทุกอย่าง เป็นไปด้วยดี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในสภาวะความขัดแย้งอย่างนี้ ตนเคารพ การทำหน้าที่ของสื่อ แต่เวลาและสถานการณ์ที่ไม่ปกติมีความขัดแย้งสูง ต้องช่วยกันคิดกันทำว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยไม่บิดเบือนความจริง ทำอย่างไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนที่มีวาระในเชิงการเมือง ซึ่งสื่อรู้ดีกว่าตน ถ้าสื่อเสนอข่าวแต่คนกัดหมา คนกัดหมาก็จะเป็นเรื่องปกติ หมากัดคนไม่มี การช่วงชิงพื้นที่สื่อคือยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการทำให้ผิดปกติมากที่สุด ถ้าสื่อเสนอแต่ความไม่ปกติ นับวันสังคมก็จะเสพแต่ความไม่ปกติของสังคม ประวัติการทำงาน 17 ปี ตนไม่เคยคุกคามสื่อ อาจจะตอบโต้เวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ใช้น้อยมาก จะพยายามรักษาแนวทางนี้ไว้ การถูกตำหนิวิจารณ์ต้องมีแน่นอน เพราะเข้าใจดีว่าโลกมีความสลับซ้อน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บททดสอบสำคัญคือตัวร่างกฎหมายกิจการวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องรีบผลักดันออกมา ก็ไม่ยากนัก เพราะแม้จะเห็นตรงกัน เช่น การปรับปรุงกฎหมายของกระทรวงไอซีทีที่เคยมีผู้เสนอไว้ แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มาทำ ก็พบว่ามีช่องว่างอยู่ระหว่างสื่อ องค์กรเอกชน หรือภาคประชาสังคม ซึ่งเขายังอยากจะได้อะไรมากกว่านั้น ในขณะที่พรรคมองว่าการกระโดดไปตรงนั้นอาจนำไปสู่การสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา แต่ตนขอใช้คำว่าอย่าให้ความต้องการสิ่งที่สมบูรณ์ มาทำให้เรา ไม่ได้สิ่งที่ดี เพราะที่ผ่านมามีลักษณะอย่างนั้นอยู่คือการได้สิ่งที่ดีแต่ไม่สมบูรณ์ คือ พอได้สิ่งที่สมบูรณ์ก็ยื้อกันไปมา สิ่งที่ดีจึงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นคิดว่าถ้ามีอะไรที่รับกันได้แล้วเดินไปข้างหน้าได้พอสมควร ก็ขอให้รับตรงนั้นไว้ก่อนแล้ววันข้างหน้าก็เดินกันต่อ
2.สื่อมีบทบาทอย่างสำคัญในการนำสังคมกลับคืนสู่ความเป็นปกติให้มากที่สุด เพราะความขัดแย้งทางสังคมเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลประกาศตั้งแต่ต้น อย่างน้อยที่สุดการนำบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ตนเชื่อว่า บทบาทของสื่อมีความสำคัญมาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้สื่อ มีสิทธิเสรีภาพบนหลักการของความวิชาชีพและมืออาชีพในการสะท้อนข้อมูลข่าวสาร เสนอความเห็นมุมมองต่างๆ ต่อประชาชน การปฏิรูปสื่อต้องดูโครงสร้าง ถ้าไม่แก้โครงสร้าง ผู้ทำงานหรือผู้ปฏิบัติงานก็ประสบกับความยากลำบาก ในการทำงานให้ตรงไปตรงมาในการเสนอความคิดต่อสังคม
สิ่งที่คุกคามการทำงานของสื่อคืออำนาจรัฐและอำนาจทุน อำนาจรัฐเกิดจากความพยายามหรือความเชื่อว่าเมื่อยุคสมัยนี้เป็นสงครามข้อมูลข่าวสาร ใครสามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารก็สามารถชนะในการต่อสู้ จึงเอาสื่อมาเป็นเครื่องมือ ทำให้เป็นปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะสื่อของรัฐ ส่วนอำนาจทุนในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาก็ไปอยู่ในที่เดียวกันกับอำนาจรัฐ ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น เกิดการกดดันผ่านทุน แม้สื่อจะมีความคิดเชิงอุดมคติ แต่สื่อสารมวลชนก็คือธุรกิจ หนีความจริงได้ยาก การใช้อำนาจทุนในการกดดันเกิดผลกระทบเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าไปแทรกแซงหรือบิดเบือน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการสำคัญๆ เราจะต้องมาดูทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน ในส่วนของอำนาจรัฐคือกฎหมายบางอย่างที่จะเอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนสิทธิเสรีภาพของสื่อต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ในฐานะที่เป็นคนเสนอกฎหมายเมื่อสิบสองสิบสามปีที่ผ่านมา ก็พบความจริงว่ากฎหมาย ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ วันที่มีการเสนอกฎหมายนั้นฝ่ายตรวจสอบไม่มีทาง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ ฝ่ายค้านทำงานต้องใช้วิธีการแนวทางอื่น ตนไม่เห็นว่า กฎหมายนี้ใช้ได้ จึงเป็นประเด็นที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข
การปฏิรูปสื่อให้เข้มแข็ง ดีกว่าต้องมาตรวจสอบบนกฎหมายที่คิดว่า เป็นนโยบายที่สำคัญที่ต้องผลักดันคือกฎหมายในแง่โครงสร้างสื่อของรัฐคือ กฎหมายว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์และองค์กรกำกับคือ กสทช.เพราะเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2542-2543 มีปัญหามาตั้งแต่ต้น เพราะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไปพันกับกิจการโทรคมนาคม มีความเห็นเป็นสองฝ่ายว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่สำหรับตนเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน วันข้างหน้ามีความยากมากว่าจะดูเป็นสองเรื่อง ได้อย่างไร เช่น บริการข้อความสั้นที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปเรื่องยาวๆ ให้สั้น เวลาอ่านแล้วรู้สึกตกใจและอันตรายมาก
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า องค์กรกำกับเกิดได้ยาก จะเอาองค์กรไหนมากำกับ ช่วงที่เป็นฝ่ายค้านตนก็ไม่เห็นด้วยกับกระทรวงไอซีที เพราะไม่มีหลักประกัน จึงต้องหาความพอดี ที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ้าได้เร็วเราก็ได้กรรมการไม่ดี ถ้าจะได้คนดี มาเป็นกรรมการก็มีการร้องเรียนกันไปมา จึงได้มอบโจทย์ให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปหาความพอดีและอิสระ อย่าทำให้เรื่องยุ่งยากหรือเกิดการร้องเรียนจนไม่มีกรรมการทำงานได้
ประการถัดมาก็มีความเป็นห่วงเรื่องหลักประกันของสื่อบางประเภท เช่น สื่อชุมชนหรือสื่อเชิงสาธารณะ ที่ผ่านมากฎหมายของรัฐบาลก่อนไม่ได้กำหนดสัดส่วนเอาไว้ จึงควรจะมีสัดส่วน เพื่อเป็นหลักประกันในการกระจายสื่อ บางเวลาต้องมีสาระสำหรับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อของใคร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับสื่อของรัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลง เดิมเราคิดว่า ถ้าให้ไอทีวีเดิมเป็นทีวีเสรีแล้วเปลี่ยนช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์เป็นทีวีสาธารณะ ช่อง 11 จึงอยู่ในฐานะที่ต้องมาคิดกันว่าจะมีรูปแบบใด แต่ความจริงอยากเป็นรูปแบบ สาธารณะ อย่างไรก็ตาม พื้นที่สำหรับราชการหรือรัฐต้องมีเพื่อการชี้แจง แต่ไม่ใช่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง แม้เส้นแบ่งอาจจะยาก แต่โดยสำนึกแล้ว สามารถแบ่งได้ การทำงานคือการอธิบายชี้แจงถึงมาตรการที่ได้ผลักดันออกไปว่า ทำด้วยอะไร ใช้เหตุผลอะไร ใช้เพื่อทำลายคู่แข่งในทางการเมืองไม่ได้ ส่วนเวลาสำหรับ ฝ่ายค้านก็ควรมี แม้จะเป็นการเมืองมาก เพราะฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบ แต่อยากให้เป็นเชิงแลกเปลี่ยนในมุมมองของนโยบาย ไม่ใช่ตอบโต้กันทางการเมือง เพราะสามารถใช้พื้นที่การนำเสนอข่าวได้ทุกวันอยู่แล้ว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากเห็นกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ แต่พบว่า กฎหมายเช่นนี้มักจะถูกแปลงสารไปกฎหมายควบคุมสื่อ และอยากทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ อะไรที่คุ้มครองคนทำงานที่ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา เมื่อเจออำนาจรัฐอำนาจทุนรัฐจะดูแลคุ้มครองเขาได้อย่างไร ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญเพื่อให้สื่อมีหลักประกันที่ดีมากขึ้นในการเป็นอิสระ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต
ถ้าคุยอย่างเดียวไม่มีข่าวก็น่าเป็นห่วง เพราะมีการชี้นำตั้งแต่คำพูดไปจนถึง สีหน้าที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่อยากให้รัฐเข้าไปยุ่ง องค์กรวิชาชีพควรเอาปัญหานี้มาพูดคุยกัน ความพอดีและมาตรฐานควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ทุกอย่าง เป็นไปด้วยดี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในสภาวะความขัดแย้งอย่างนี้ ตนเคารพ การทำหน้าที่ของสื่อ แต่เวลาและสถานการณ์ที่ไม่ปกติมีความขัดแย้งสูง ต้องช่วยกันคิดกันทำว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยไม่บิดเบือนความจริง ทำอย่างไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนที่มีวาระในเชิงการเมือง ซึ่งสื่อรู้ดีกว่าตน ถ้าสื่อเสนอข่าวแต่คนกัดหมา คนกัดหมาก็จะเป็นเรื่องปกติ หมากัดคนไม่มี การช่วงชิงพื้นที่สื่อคือยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการทำให้ผิดปกติมากที่สุด ถ้าสื่อเสนอแต่ความไม่ปกติ นับวันสังคมก็จะเสพแต่ความไม่ปกติของสังคม ประวัติการทำงาน 17 ปี ตนไม่เคยคุกคามสื่อ อาจจะตอบโต้เวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ใช้น้อยมาก จะพยายามรักษาแนวทางนี้ไว้ การถูกตำหนิวิจารณ์ต้องมีแน่นอน เพราะเข้าใจดีว่าโลกมีความสลับซ้อน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า บททดสอบสำคัญคือตัวร่างกฎหมายกิจการวิทยุโทรทัศน์ที่จะต้องรีบผลักดันออกมา ก็ไม่ยากนัก เพราะแม้จะเห็นตรงกัน เช่น การปรับปรุงกฎหมายของกระทรวงไอซีทีที่เคยมีผู้เสนอไว้ แต่เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มาทำ ก็พบว่ามีช่องว่างอยู่ระหว่างสื่อ องค์กรเอกชน หรือภาคประชาสังคม ซึ่งเขายังอยากจะได้อะไรมากกว่านั้น ในขณะที่พรรคมองว่าการกระโดดไปตรงนั้นอาจนำไปสู่การสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา แต่ตนขอใช้คำว่าอย่าให้ความต้องการสิ่งที่สมบูรณ์ มาทำให้เรา ไม่ได้สิ่งที่ดี เพราะที่ผ่านมามีลักษณะอย่างนั้นอยู่คือการได้สิ่งที่ดีแต่ไม่สมบูรณ์ คือ พอได้สิ่งที่สมบูรณ์ก็ยื้อกันไปมา สิ่งที่ดีจึงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นคิดว่าถ้ามีอะไรที่รับกันได้แล้วเดินไปข้างหน้าได้พอสมควร ก็ขอให้รับตรงนั้นไว้ก่อนแล้ววันข้างหน้าก็เดินกันต่อ