เอเอฟพี – วิกฤตการเงินโลกส่งผลกระทบอย่างแรงต่อการซื้อขายกิจการในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่ากิจกรรมดังกล่าวจะฝ่อลงต่อเนื่องในปีนี้ โดยที่หลายดีลที่อาจเกิดขึ้นจะเป็น ‘การควบรวมเพราะความจำเป็น’
บริษัทวิจัยดีลลอจิกเผยว่า การซื้อขายและควบรวมกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) ทั่วโลกลดลง 28% ในปี 2008 รวมเป็นมูลค่า 3.33 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากปีก่อนหน้ามีมูลค่าเอ็มแอนด์เอสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ตามรายงานระบุว่า กิจกรรมเอ็มแอนด์เอในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วซบลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 36% จากช่วงเดียวกันปี 2007 เหลือเพียง 651,000 ล้านดอลลาร์
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีดีลที่วางแผนไว้แต่ไปไม่ถึงดวงดาวรวมเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 923,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ดีลที่ถูกยกเลิกและมีมูลค่าสูงสุดคือการเสนอซื้อกิจการใหญ่ด้านเหมืองแร่ ริโอ ตินโตด้วยวงเงิน 147,800 ล้านดอลลาร์ของ บีเอชพี บิลลินตัน คู่แข่งที่มีฐานะเป็นยักษ์ใหญ่เหมืองแร่อันดับหนึ่งของโลก
ขณะเดียวกัน ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (พีดับเบิลยูซี) บริษัทสอบบัญชีและที่ปรึกษาชื่อดัง รายงานว่า การระดมทุนเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการซื้อกิจการ สืบเนื่องจากวิกฤตสินเชื่อโลก
พีดับเบิลยูซีเสริมว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่แล้ว จำนวนเอ็มแอนด์เอทั่วโลกอยู่ที่ 8,190 ดีล ลดลง 22% จากช่วงเดียวกันของปี 2007
เกร็ก ปีเตอร์สัน หุ้นส่วนของพีดับเบิลยูซี แจงว่าอุปสรรคคือการขาดแคลนเงินทุน แม้ผู้เสนอซื้อพยายามจ่ายเป็นหุ้นแทนเงินสด แต่มูลค่าหุ้นกลับร่วงลงอย่างรุนแรงส่งผลให้ไม่มีหุ้นในมือมากพอไปเทกโอเวอร์ ขณะที่บริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายในการเทกโอเวอร์ก็รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะอยากได้เงินสดมากกว่าหุ้น ทำให้แนวโน้มที่ดีลเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จลดต่ำลง
พีดับเบิลยูซีตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงต้นปีนี้การซื้อกิจการซึ่งเจรจากันอยู่มีเพียงไม่กี่ดีล และส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้บริษัทที่มีปัญหาอยู่รอดต่อไป
“บริษัทที่ประสบปัญหาจะมองหาผู้เล่นที่ใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่าเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่คลื่นการควบรวมกิจการเพราะความจำเป็น” โรเบิร์ต ฟิเล็ก หุ้นส่วนของพีดับเบิลยูซีสำทับ
แม้กระทั่งการทำดีลของธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอล ซึ่งบ่อยครั้งเป็นดีลเพื่ออัดฉีดบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีหวังจะรุ่งเรืองได้ในอนาคต โดยไม่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น เวลานี้ก็ยังได้รับผลกระทบ เนื่องจากนักลงทุนพากันล่าถอยหนีภาวะปั่นป่วนในตลาด
สมาคมธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอลแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอ็นวีซีเอ) ระบุว่า ในปี 2008 มีการซื้อขายและควบรวมกิจการ 260 รายการ ซึ่งถือเป็นปีแรกในรอบห้าปีที่มีการซื้อกิจการอันหนุนหลังโดยเวนเจอร์แคปิตอล ต่ำกว่า 300 รายการ
เอ็นวีซีเอแจงว่าเมื่อปีที่แล้ว มีการทำไอพีโอ (การนำเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น) ชนิดที่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอล เพียงแค่ 6 รายเท่านั้น รวมเป็นมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ เทียบกับการทำไอพีโอ 86 ราย มูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2007
เอมิลี เมนเดลล์ รองประธานเอ็นวีซีเอชี้ว่า ตลาดไอพีโอปิดตัวลงในทางเป็นจริงตั้งแต่ในไตรมาสสองปีที่แล้ว โดยตลาดซื้อขายกิจการได้รับผลกระทบจากตลาดหุ้นโดยรวม และเราเริ่มมองเห็นปัญหากันในไตรมาสถัดมา
“เราหวังว่าตลาดจะเปิดอีกครั้งในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตลาดต้องการเสถียรภาพ และนักลงทุนต้องการฟื้นความเชื่อมั่น นี่จะเป็นปีของการพยายามเพื่ออยู่รอดและผู้ที่อยู่รอดจะมีอนาคตสดใสขึ้นมาก”
สำหรับการทำดีลของกิจการกองทุนเพื่อการลงทุนภาคเอกชน (ไพรเวทอิควิตี้ ฟันด์) ซึ่งมักจะอาศัยการระดมเงินกู้มาใช้ซื้อหาควบรวมกิจการนั้น ก็ต้องเผชิญปัญหาหนักหน่วงยิ่ง
จากข้อมูลของดีลลอจิก ดีลประเภทนี้ลดลงถึง 71% ในปีที่ผ่านมา รวมมูลค่า 658,000 ล้านดอลลาร์ และไม่มีดีลใดที่มีมูลค่าเกิน 5,000 ล้านดอลลาร์ ไตรมาสส่งท้ายปียิ่งเลวร้ายโดยมีจำนวนดีลดิ่งฮวบถึง 84%
ดีลของพวกไพรเวตอิควิตี้ฟันด์ที่ถูกยกเลิก มีมูลค่ารวมถึง 132,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการซื้อกิจการบีซีอี เอนเตอร์ไพรซ์ของแคนาดาที่มีมูลค่า 48,500 ล้านดอลลาร์ และถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ช่องว่างบางส่วนถูกอุดโดยกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่สนับสนุนดีลในปีที่ผ่านมาเป็นตัวเงินถึง 56,700 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าปี 2007 เล็กน้อย ดีลใหญ่ที่สุดคือการลงทุนในซิตี้กรุ๊ปวงเงิน 12,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเงินจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์และคูเวต
พีดับเบิลยูซีเชื่อว่า กิจกรรมเอ็มแอนด์เอจะยังไม่ฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอัตราว่างงานยังพุ่งสูงขึ้นและการทำธุรกรรมทางธุรกิจยังคงซบเซาลง
บริษัทวิจัยดีลลอจิกเผยว่า การซื้อขายและควบรวมกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) ทั่วโลกลดลง 28% ในปี 2008 รวมเป็นมูลค่า 3.33 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากปีก่อนหน้ามีมูลค่าเอ็มแอนด์เอสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ตามรายงานระบุว่า กิจกรรมเอ็มแอนด์เอในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วซบลงมากที่สุด โดยลดลงถึง 36% จากช่วงเดียวกันปี 2007 เหลือเพียง 651,000 ล้านดอลลาร์
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีดีลที่วางแผนไว้แต่ไปไม่ถึงดวงดาวรวมเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 923,000 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา ดีลที่ถูกยกเลิกและมีมูลค่าสูงสุดคือการเสนอซื้อกิจการใหญ่ด้านเหมืองแร่ ริโอ ตินโตด้วยวงเงิน 147,800 ล้านดอลลาร์ของ บีเอชพี บิลลินตัน คู่แข่งที่มีฐานะเป็นยักษ์ใหญ่เหมืองแร่อันดับหนึ่งของโลก
ขณะเดียวกัน ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (พีดับเบิลยูซี) บริษัทสอบบัญชีและที่ปรึกษาชื่อดัง รายงานว่า การระดมทุนเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการซื้อกิจการ สืบเนื่องจากวิกฤตสินเชื่อโลก
พีดับเบิลยูซีเสริมว่า ในช่วง 11 เดือนแรกของปีที่แล้ว จำนวนเอ็มแอนด์เอทั่วโลกอยู่ที่ 8,190 ดีล ลดลง 22% จากช่วงเดียวกันของปี 2007
เกร็ก ปีเตอร์สัน หุ้นส่วนของพีดับเบิลยูซี แจงว่าอุปสรรคคือการขาดแคลนเงินทุน แม้ผู้เสนอซื้อพยายามจ่ายเป็นหุ้นแทนเงินสด แต่มูลค่าหุ้นกลับร่วงลงอย่างรุนแรงส่งผลให้ไม่มีหุ้นในมือมากพอไปเทกโอเวอร์ ขณะที่บริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายในการเทกโอเวอร์ก็รู้สึกไม่มั่นใจ เพราะอยากได้เงินสดมากกว่าหุ้น ทำให้แนวโน้มที่ดีลเหล่านั้นจะประสบความสำเร็จลดต่ำลง
พีดับเบิลยูซีตั้งข้อสังเกตว่า ช่วงต้นปีนี้การซื้อกิจการซึ่งเจรจากันอยู่มีเพียงไม่กี่ดีล และส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้บริษัทที่มีปัญหาอยู่รอดต่อไป
“บริษัทที่ประสบปัญหาจะมองหาผู้เล่นที่ใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่าเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่คลื่นการควบรวมกิจการเพราะความจำเป็น” โรเบิร์ต ฟิเล็ก หุ้นส่วนของพีดับเบิลยูซีสำทับ
แม้กระทั่งการทำดีลของธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอล ซึ่งบ่อยครั้งเป็นดีลเพื่ออัดฉีดบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีหวังจะรุ่งเรืองได้ในอนาคต โดยไม่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินเพื่อแก้ปัญหาระยะสั้น เวลานี้ก็ยังได้รับผลกระทบ เนื่องจากนักลงทุนพากันล่าถอยหนีภาวะปั่นป่วนในตลาด
สมาคมธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอลแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอ็นวีซีเอ) ระบุว่า ในปี 2008 มีการซื้อขายและควบรวมกิจการ 260 รายการ ซึ่งถือเป็นปีแรกในรอบห้าปีที่มีการซื้อกิจการอันหนุนหลังโดยเวนเจอร์แคปิตอล ต่ำกว่า 300 รายการ
เอ็นวีซีเอแจงว่าเมื่อปีที่แล้ว มีการทำไอพีโอ (การนำเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น) ชนิดที่ได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจเวนเจอร์แคปิตอล เพียงแค่ 6 รายเท่านั้น รวมเป็นมูลค่า 470 ล้านดอลลาร์ เทียบกับการทำไอพีโอ 86 ราย มูลค่ากว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2007
เอมิลี เมนเดลล์ รองประธานเอ็นวีซีเอชี้ว่า ตลาดไอพีโอปิดตัวลงในทางเป็นจริงตั้งแต่ในไตรมาสสองปีที่แล้ว โดยตลาดซื้อขายกิจการได้รับผลกระทบจากตลาดหุ้นโดยรวม และเราเริ่มมองเห็นปัญหากันในไตรมาสถัดมา
“เราหวังว่าตลาดจะเปิดอีกครั้งในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตลาดต้องการเสถียรภาพ และนักลงทุนต้องการฟื้นความเชื่อมั่น นี่จะเป็นปีของการพยายามเพื่ออยู่รอดและผู้ที่อยู่รอดจะมีอนาคตสดใสขึ้นมาก”
สำหรับการทำดีลของกิจการกองทุนเพื่อการลงทุนภาคเอกชน (ไพรเวทอิควิตี้ ฟันด์) ซึ่งมักจะอาศัยการระดมเงินกู้มาใช้ซื้อหาควบรวมกิจการนั้น ก็ต้องเผชิญปัญหาหนักหน่วงยิ่ง
จากข้อมูลของดีลลอจิก ดีลประเภทนี้ลดลงถึง 71% ในปีที่ผ่านมา รวมมูลค่า 658,000 ล้านดอลลาร์ และไม่มีดีลใดที่มีมูลค่าเกิน 5,000 ล้านดอลลาร์ ไตรมาสส่งท้ายปียิ่งเลวร้ายโดยมีจำนวนดีลดิ่งฮวบถึง 84%
ดีลของพวกไพรเวตอิควิตี้ฟันด์ที่ถูกยกเลิก มีมูลค่ารวมถึง 132,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการซื้อกิจการบีซีอี เอนเตอร์ไพรซ์ของแคนาดาที่มีมูลค่า 48,500 ล้านดอลลาร์ และถูกยกเลิกไปเมื่อเดือนที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ช่องว่างบางส่วนถูกอุดโดยกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ที่สนับสนุนดีลในปีที่ผ่านมาเป็นตัวเงินถึง 56,700 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าปี 2007 เล็กน้อย ดีลใหญ่ที่สุดคือการลงทุนในซิตี้กรุ๊ปวงเงิน 12,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเงินจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์และคูเวต
พีดับเบิลยูซีเชื่อว่า กิจกรรมเอ็มแอนด์เอจะยังไม่ฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอัตราว่างงานยังพุ่งสูงขึ้นและการทำธุรกรรมทางธุรกิจยังคงซบเซาลง