ASTV ผู้จัดการรายวัน – ก.ล.ต.ยันเดินหน้าเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์-คอมมิชชัน เหตุตลาดหุ้นทั่วโลกเปิดเสรีแล้ว “ธีระชัย” ชี้ทางรอดโบรกเกอร์ควบรวมกิจการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายสร้างแข็งแกร่ง ด้าน “ปกรณ์” ลั่น บล.ต้องหาพันธมิตรต่างชาติจากตลาดหุ้นไทยต้องพึงแรงซื้อต่างชาติ ขณะที่วอลุ่มเฉลี่ยหดเหลือวันละ 8 พันล้านบาท ส่งผลโบรกเกอร์ขาดทุนเพียบ ส่วน “ก้องเกียรติ” แนะบล.เน้นพัฒนาสินค้าใหม่หลากหลายดีกว่าควบรวมจากไม่เกิดประโยชน์
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “ทางออกธุรกิจหลักทรัพย์ ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ” ซึ่งจัดโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นไปเหมือนกันทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ยังคงยืนยันดำเนินการตามแผนเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชัน) ซึ่งจะสอดคล้องกับทั่วโลก
“เป็นเรื่องยากที่เราจะสร้างกำแพงไม่ให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจตลาดทุน ช่วงนี้จึงถือเป็นจังหวะที่บล.จะต้องปรับตัว แม้จะไม่มีการกำหนดขั้นตอนการเปิดเสรีฯ ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงนั้น บล.จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการทำธุรกิจใหม่ โดยจากงบการเงินของบล. พบ บล. จำนวน 18 แห่งที่มีประสบปัญหาขาดทุนจากการที่พึ่งพารายได้ค่าคอมมิชชันเป็นหลัก รายได้อื่นๆ น้อย และมีสัดส่วนรายจ่ายพนักงานต่อรายได้สูง รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงไม่ดี”
สำหรับแนวทางปรับตัวของบริษัทหลักทรัพย์นั้น บล.จะต้องมีการควบรวมกิจการ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีบล.หลายแห่งเริ่มมีแนวคิดที่จะมีการควบรวมกิจการกัน หากบล.แห่งใดมีปัญหา อุปสรรคในเรื่องการควบรวมกิจการสามารถที่จะเสนอมาที่ก.ล.ต.เพื่อให้มีการแก้ไขเพื่อที่จะเอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
นายธีระชัย กล่าวว่า จากสภาวะปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนได้ส่งผลต่อการดำเนินงานของก.ล.ต. เช่นกัน ทำให้ก.ล.ต.จะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องจ่ายใช้จ่าย ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และพัฒนาพนักงานให้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.พร้อมสนับสนุนให้มีสินค้าใหม่เกิดขึ้น จากปัจจุบันบจ.ยังมีสัดส่วนการระดมทุนผ่านตลาดทุนน้อย โดยมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อผู้บริโภค (คอนซูเมอร์โลน) เพียง 15% เทียบกับต่างประเทศที่มีการปล่อยคอนซูเมอร์โลนสูงถึง 70-80% เพราะบจ.นั้นจะหันไประดมทุนตลาดทุนจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวสูงขึ้น
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นใจบล.ในเรื่องการทำธุรกิจที่ลำบากขึ้น จากมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเฉลี่ยเหลือแค่ 8 พันล้านบาทต่อวันเท่านั้น เทียบกับปีก่อนสูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาทต่อวัน ส่งผลให้มีบล.ที่ผลการดำเนินงานงานกำไรสุทธิเพียง 7 แห่งเท่านั้น
“ช่วงนี้บริษัทหลักทรัพย์จะต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ความแข็งแกร่งและสามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้ ซึ่ง บล.ต้องมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจด้วยการเพิ่มช่องทางการหารายได้อื่นๆ เพราะไม่สามารถจะพึ่งพารายได้จากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียวได้ โดยส่วนตัวมองวิกฤตในครั้งนี้กว่าตลาดหุ้นจะมีการฟื้นตัวได้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง”
ทั้งนี้ การแข่งขันของบล.จากนี้ไปจะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทำให้บล.ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้จำเป็นที่จะต้องมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ เพราะตลาดทุนไทยยังมีความจำเป็นที่จะพึ่งพาแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อรองรับในช่วงที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและทำให้ตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างประเทศก็จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเสรีฯ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่หากเปิดเสรีฯ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้นั้นจะทำให้บล.ขนาดเล็กดำเนินธุรกิจได้ลำบาก เพราะหากมีการควบรวมกันระหว่างบริษัทขนาดเล็กด้วยกันไม่มีความต่างกันจะไม่เกิดประโยชน์
“ผมมองแทนที่บล.จะมีการควบรวมกิจการกัน ควรหันไปรับพนักงานที่มีความรู้ในเรื่องสินค้าใหม่เข้ามาพัฒนาการให้บริการที่หลากหลายเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และบล.จะต้องมีการลดต้นทุน โดยการควบรวมสาขา ปิดสาขา จ้างพนักงานภายนอก รวมถึงจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน ถึงจะอยู่รอดได้”
ทั้งนี้ หากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทขนาดเล็กที่มีแชร์ 2% ด้วยกัน หลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มากนัก เพราะมีลักษณะการทำธุรกิจคล้ายๆ กัน และม่สามารถสนับสนุนการดำเนินธุรกิจได้
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “ทางออกธุรกิจหลักทรัพย์ ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ” ซึ่งจัดโดยสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดำเนินธุรกิจได้ยากขึ้น ซึ่งเป็นไปเหมือนกันทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ยังคงยืนยันดำเนินการตามแผนเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ (ค่าคอมมิชชัน) ซึ่งจะสอดคล้องกับทั่วโลก
“เป็นเรื่องยากที่เราจะสร้างกำแพงไม่ให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจตลาดทุน ช่วงนี้จึงถือเป็นจังหวะที่บล.จะต้องปรับตัว แม้จะไม่มีการกำหนดขั้นตอนการเปิดเสรีฯ ขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรงนั้น บล.จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการทำธุรกิจใหม่ โดยจากงบการเงินของบล. พบ บล. จำนวน 18 แห่งที่มีประสบปัญหาขาดทุนจากการที่พึ่งพารายได้ค่าคอมมิชชันเป็นหลัก รายได้อื่นๆ น้อย และมีสัดส่วนรายจ่ายพนักงานต่อรายได้สูง รวมถึงมีการบริหารความเสี่ยงไม่ดี”
สำหรับแนวทางปรับตัวของบริษัทหลักทรัพย์นั้น บล.จะต้องมีการควบรวมกิจการ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีบล.หลายแห่งเริ่มมีแนวคิดที่จะมีการควบรวมกิจการกัน หากบล.แห่งใดมีปัญหา อุปสรรคในเรื่องการควบรวมกิจการสามารถที่จะเสนอมาที่ก.ล.ต.เพื่อให้มีการแก้ไขเพื่อที่จะเอื้อให้เกิดการควบรวมกิจการเกิดขึ้น
นายธีระชัย กล่าวว่า จากสภาวะปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุนได้ส่งผลต่อการดำเนินงานของก.ล.ต. เช่นกัน ทำให้ก.ล.ต.จะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องจ่ายใช้จ่าย ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ และพัฒนาพนักงานให้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ก.ล.ต.พร้อมสนับสนุนให้มีสินค้าใหม่เกิดขึ้น จากปัจจุบันบจ.ยังมีสัดส่วนการระดมทุนผ่านตลาดทุนน้อย โดยมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อผู้บริโภค (คอนซูเมอร์โลน) เพียง 15% เทียบกับต่างประเทศที่มีการปล่อยคอนซูเมอร์โลนสูงถึง 70-80% เพราะบจ.นั้นจะหันไประดมทุนตลาดทุนจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวสูงขึ้น
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นใจบล.ในเรื่องการทำธุรกิจที่ลำบากขึ้น จากมูลค่าการซื้อขายตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเฉลี่ยเหลือแค่ 8 พันล้านบาทต่อวันเท่านั้น เทียบกับปีก่อนสูงถึง 1.6 หมื่นล้านบาทต่อวัน ส่งผลให้มีบล.ที่ผลการดำเนินงานงานกำไรสุทธิเพียง 7 แห่งเท่านั้น
“ช่วงนี้บริษัทหลักทรัพย์จะต้องมีการปรับตัว เพื่อให้ความแข็งแกร่งและสามารถดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดได้ ซึ่ง บล.ต้องมีการปรับแผนการดำเนินธุรกิจด้วยการเพิ่มช่องทางการหารายได้อื่นๆ เพราะไม่สามารถจะพึ่งพารายได้จากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์เพียงอย่างเดียวได้ โดยส่วนตัวมองวิกฤตในครั้งนี้กว่าตลาดหุ้นจะมีการฟื้นตัวได้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง”
ทั้งนี้ การแข่งขันของบล.จากนี้ไปจะมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น ทำให้บล.ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้จำเป็นที่จะต้องมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ เพราะตลาดทุนไทยยังมีความจำเป็นที่จะพึ่งพาแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อรองรับในช่วงที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวและทำให้ตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างประเทศก็จะเข้ามาลงทุนมากขึ้น
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดเสรีฯ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่หากเปิดเสรีฯ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้นั้นจะทำให้บล.ขนาดเล็กดำเนินธุรกิจได้ลำบาก เพราะหากมีการควบรวมกันระหว่างบริษัทขนาดเล็กด้วยกันไม่มีความต่างกันจะไม่เกิดประโยชน์
“ผมมองแทนที่บล.จะมีการควบรวมกิจการกัน ควรหันไปรับพนักงานที่มีความรู้ในเรื่องสินค้าใหม่เข้ามาพัฒนาการให้บริการที่หลากหลายเพิ่มทางเลือกในการลงทุน และบล.จะต้องมีการลดต้นทุน โดยการควบรวมสาขา ปิดสาขา จ้างพนักงานภายนอก รวมถึงจะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน ถึงจะอยู่รอดได้”
ทั้งนี้ หากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทขนาดเล็กที่มีแชร์ 2% ด้วยกัน หลังจากดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วคงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์มากนัก เพราะมีลักษณะการทำธุรกิจคล้ายๆ กัน และม่สามารถสนับสนุนการดำเนินธุรกิจได้