โบรกเกอร์เปิดศึกแย่งชิงคู่พันธมิตรเดือด แฉเหตุหลายคู่ยืดเยื้อไม่จบดีลหลังทั้ง 2 ฝ่ายหวังคุมอำนาจเต็มทั้งนโยบายและการบริหารจัดการโดยเฉพาะการเงิน จับตา 13 โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นมีภาษีดีกว่าบริษัทนอกตลาด เหตุนักลงทุนมั่นใจปฏิบัติตามกฎหมายได้ดีในระดับหนึ่ง ชี้พันธมิตรร่วมทุนต้องสายป่านยาว เพื่อรองรับสงครามราคาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคคต ฟันธงทุนตะวันออกกลางสุดแจ่ม เหตุเน้นลงทุนไม่ก้าวก่ายการบริหารงาน
หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการที่จะสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) รวมถึงการเปิดเสรีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มตัวในวันที่ 1 มกราคม 2555 ได้ก่อให้เกิดกระแสข่าวการจับคู่ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กกับบริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ รวมถึงการจับคู่ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติไทยกับบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติต่างชาติ
ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงแรกสำนักงาน ก.ล.ต.จะมีมติให้คงค่าคอมมิชชันขั้นต่ำในช่วง 3 ปีแรกตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2550 - 13 มกราคม 2553 และถัดมาตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2553 - 31 ธันวาคม 2554 ให้คิดค่าธรรมเนียมแบบเป็นขั้นบันได (sliding scale) คือ มีอัตราค่าธรรมเนียมแปรผันลดลง ตามปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ก.ล.ต.ให้คิดค่าคอมมิชชันไม่เกิน 60% ของอัตราการซื้อขายแบบปกติ
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้ปรับปรุงลักษณะของใบอนุญาตเพื่อให้สะดวกแก่การไปประกอบการในต่างประเทศด้วย โดยในอนาคตจะปรับใบอนุญาตทุกใบให้ทำธุรกิจได้ทุกประเภท (Full services) เว้นแต่รายที่ไม่ประสงค์จะประกอบธุรกิจทุกประเภทจะดำเนินธุรกิจแบบเฉพาะด้าน (Boutique services) ได้
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทหลักทรัพย์เงียบไปเกิดจากรายละเอียดและเงื่อนไขระหว่างคู่สัญญา หรือพันธมิตรทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากติดปัญหาสำคัญ คือ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการอำนาจในการบริหารอย่างเด็ดขาด และสามารถตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัทได้
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของการควบรวมกิจการในหลายๆ ครั้ง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวถือว่ามีผลค่อนข้างสำคัญต่อความคุ้มค่าในการเข้ามาลงทุน เพราะบล.หลายแห่งมีเงินสดหมุนเวียนค่อนข้างมากบางแห่งมีเงินสดมากหลายพันล้านบาท การได้เข้ามามีอำนาจในการบริหารเงินดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการต่อรองกันค่อนข้างมาก
“บางกรณีที่ไม่สามารถจบได้ เพราะกลุ่มทุนจากต่างประเทศต้องการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ และยังต้องการปรับเปลี่ยนทีมงานบริษัท บางรายต้องการให้มีการจ้างทีมวิเคราะห์จากต่างประเทศเข้ามา แล้วมีการจ่ายเงินเดือนในระดับที่สูงมากซึ่งนั้นก็เป็นช่องทางหนึ่งในการนำเงินออกไป ทำให้อาจถูกมองได้ว่าเป็นการถอนทุนคืน” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ที่ถือว่าในขณะนี้มีสิทธิที่จะได้เลือกและมีสิทธิในการเลือกพันธมิตร คือบริษัทที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งยังมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า พันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจประเด็นที่มักจะถูกนำมาพิจารณาเลือกคือ ทุนที่พร้อมจะนำมาลงทุนซึ่งจะสะท้อนถึงศักยภาพที่จะเตรียมไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการ แม้ว่าจะไม่รุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเนื่องจากในรอบนี้เป็นการค่อยๆ ลดค่าคอมมิชชัน แต่ในช่วงแรกอาจจะมีการปรับลดค่าคอมมิชชันจนอาจกระทบกับบริษัทที่ไม่มีทุนในการแข่งขันที่แข็งแรงมากนัก
ทั้งนี้ กลุ่มที่บริษัทหลักทรัพย์ไทยสนใจที่จะให้เข้ามาร่วมลงทุน คือ นักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศแทบตะวันออกกลางเนื่องจากถือว่าเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนที่พร้อมจะเข้ามาลงทุนค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันหากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน ก็จะยิ่งช่วยเสริมธุรกิจให้กับบริษัทได้
อนึ่ง มีบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 13 บริษัท ประกอบด้วย บล.แอ๊ดคินซัน หรือ ASL, บล.เอเชีย พลัส หรือ ASP, บล.บัวหลวง หรือ BLS, บล.บีฟิท หรือ BSEC, บล.พัฒนสิน หรือ CNS, บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย)) หรือ KEST, บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) หรือ KGI, บล.ภัทร หรือ PHATRA, บล.ซิกโก้ หรือ SSEC, บล.ไซรัส หรือ SYRUS, บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) UOBKH, บล.ยูไนเต็ด หรือ US และบล.ซีมิโก้ หรือ ZMICO ขณะที่มี 2 บริษัทที่ใช้โฮลดิ้งซึ่งถือหุ้นใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียน คือ บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ หรือ GBX และ บมจ.ทรีนีตี้ วัฒนา หรือ TNITY
หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการที่จะสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (คอมมิชชัน) รวมถึงการเปิดเสรีการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มตัวในวันที่ 1 มกราคม 2555 ได้ก่อให้เกิดกระแสข่าวการจับคู่ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ขนาดเล็กกับบริษัทหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ รวมถึงการจับคู่ระหว่างบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติไทยกับบริษัทหลักทรัพย์สัญชาติต่างชาติ
ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วงแรกสำนักงาน ก.ล.ต.จะมีมติให้คงค่าคอมมิชชันขั้นต่ำในช่วง 3 ปีแรกตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2550 - 13 มกราคม 2553 และถัดมาตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2553 - 31 ธันวาคม 2554 ให้คิดค่าธรรมเนียมแบบเป็นขั้นบันได (sliding scale) คือ มีอัตราค่าธรรมเนียมแปรผันลดลง ตามปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ก.ล.ต.ให้คิดค่าคอมมิชชันไม่เกิน 60% ของอัตราการซื้อขายแบบปกติ
นอกจากนี้ ก.ล.ต.ได้ปรับปรุงลักษณะของใบอนุญาตเพื่อให้สะดวกแก่การไปประกอบการในต่างประเทศด้วย โดยในอนาคตจะปรับใบอนุญาตทุกใบให้ทำธุรกิจได้ทุกประเภท (Full services) เว้นแต่รายที่ไม่ประสงค์จะประกอบธุรกิจทุกประเภทจะดำเนินธุรกิจแบบเฉพาะด้าน (Boutique services) ได้
แหล่งข่าวผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ข่าวการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทหลักทรัพย์เงียบไปเกิดจากรายละเอียดและเงื่อนไขระหว่างคู่สัญญา หรือพันธมิตรทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากติดปัญหาสำคัญ คือ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องการอำนาจในการบริหารอย่างเด็ดขาด และสามารถตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัทได้
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของการควบรวมกิจการในหลายๆ ครั้ง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวถือว่ามีผลค่อนข้างสำคัญต่อความคุ้มค่าในการเข้ามาลงทุน เพราะบล.หลายแห่งมีเงินสดหมุนเวียนค่อนข้างมากบางแห่งมีเงินสดมากหลายพันล้านบาท การได้เข้ามามีอำนาจในการบริหารเงินดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการต่อรองกันค่อนข้างมาก
“บางกรณีที่ไม่สามารถจบได้ เพราะกลุ่มทุนจากต่างประเทศต้องการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ และยังต้องการปรับเปลี่ยนทีมงานบริษัท บางรายต้องการให้มีการจ้างทีมวิเคราะห์จากต่างประเทศเข้ามา แล้วมีการจ่ายเงินเดือนในระดับที่สูงมากซึ่งนั้นก็เป็นช่องทางหนึ่งในการนำเงินออกไป ทำให้อาจถูกมองได้ว่าเป็นการถอนทุนคืน” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ที่ถือว่าในขณะนี้มีสิทธิที่จะได้เลือกและมีสิทธิในการเลือกพันธมิตร คือบริษัทที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งยังมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ฯ
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า พันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจประเด็นที่มักจะถูกนำมาพิจารณาเลือกคือ ทุนที่พร้อมจะนำมาลงทุนซึ่งจะสะท้อนถึงศักยภาพที่จะเตรียมไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการ แม้ว่าจะไม่รุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเนื่องจากในรอบนี้เป็นการค่อยๆ ลดค่าคอมมิชชัน แต่ในช่วงแรกอาจจะมีการปรับลดค่าคอมมิชชันจนอาจกระทบกับบริษัทที่ไม่มีทุนในการแข่งขันที่แข็งแรงมากนัก
ทั้งนี้ กลุ่มที่บริษัทหลักทรัพย์ไทยสนใจที่จะให้เข้ามาร่วมลงทุน คือ นักลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศแทบตะวันออกกลางเนื่องจากถือว่าเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนที่พร้อมจะเข้ามาลงทุนค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันหากเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน ก็จะยิ่งช่วยเสริมธุรกิจให้กับบริษัทได้
อนึ่ง มีบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 13 บริษัท ประกอบด้วย บล.แอ๊ดคินซัน หรือ ASL, บล.เอเชีย พลัส หรือ ASP, บล.บัวหลวง หรือ BLS, บล.บีฟิท หรือ BSEC, บล.พัฒนสิน หรือ CNS, บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย)) หรือ KEST, บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) หรือ KGI, บล.ภัทร หรือ PHATRA, บล.ซิกโก้ หรือ SSEC, บล.ไซรัส หรือ SYRUS, บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) UOBKH, บล.ยูไนเต็ด หรือ US และบล.ซีมิโก้ หรือ ZMICO ขณะที่มี 2 บริษัทที่ใช้โฮลดิ้งซึ่งถือหุ้นใหญ่ในบริษัทหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียน คือ บมจ.โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ หรือ GBX และ บมจ.ทรีนีตี้ วัฒนา หรือ TNITY