ท่ามกลางปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองของไทยและวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก “ผู้จัดการรายวัน” ได้สัมภาษณ์พิเศษ “วิลฟ์ แบล็คเบิร์น” อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต หรือ AACP ในฐานะผู้บริหารชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานเป็นหัวเรือใหญ่ของ AACP กว่า 4 ปี ถือว่ามีความผูกพันกับประเทศไทยมากพอสมควร
และในโอกาสที่ “วิลฟ์” ต้องไปรับตำแหน่งผู้บริหารกลุ่มอลิอันซ์ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ทิ้งทวนแสดงความเห็นต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเชื่อมั่นในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยโดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
Q : มองสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ของไทยในปัจจุบันอย่างไร ?
A : หากพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่ปะทุขึ้นในครั้งนี้คงพูดยากว่าไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบเลยสิ่งที่เกิดขึ้นลุกลามไปทั่วโลก แต่ถือว่าประเทศแถบเอเชียได้รับผลกระทบน้อยกว่าสหรัฐฯ และยุโรปมาก คิดว่าท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้หากประเทศในเอเชียใช้จังหวะที่ดีจะสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสที่จะเติบโตได้ท่ามกลางความถดถอยของภูมิภาคอื่น
ในขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นจากประสบการณ์ที่ทำงานมาหลายประเทศถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากโดยตัวของประเทศไทยเองยังมีเสน่ห์และสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติได้อีกเยอะ การมาทำงานถึง 4 ปีจะให้มองจากมุมมองคนนอกก็ยากขึ้นเพราะถือว่า 10% ของชีวิตอยู่ในประเทศไทยแล้ว คงไม่มีประเทศใดในโลกที่รัฐประหารเสร็จแล้วจะพาลูกไปไปถ่ายรูปที่รถถังได้เลย เชื่อว่าสุดท้ายการเมืองในไทยก็คงคลี่คลายไปในทางที่ดี
Q : แผนงานของ AACP ต้องปรับเปลี่ยนส่วนใดบ้างให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ?
A : แผนงานของเราก็น่าจะเดินหน้าตามปกติยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในเรื่องภาพรวมของตลาดการเติบโตของเบี้ยประกันเราอยู่ในอันดับ 2 เพราะมีช่องทางขายที่ดี สินค้าที่เหมาะสม บริการที่ดี พนักงานมีความสามารถและแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้นมากและจะพยายามพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่ดีอยู่แล้วให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
ซึ่งหากมองภาพรวมของเครืออลิอันซ์ทั่วโลกแล้วการปรับปรุงองค์กรของ AACP ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ความพึงพอใจของพนักงานต่อตัวบริษัทเราได้คะแนนสูงสุดในโลกจากบริษัทในเครืออลิอันซ์ทั้งหมด 100 บริษัทใน 180 ประเทศทั่วโลก
Q : ปัญหาเศรษฐกิจกระทบผลการดำเนินงานบ้างหรือไม่ ?
A : เท่าที่ดูตัวเลขอัตราการเติบโตของเบี้ยใหม่ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปลายปีเติบโตกว่าปีที่แล้วมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะใกล้สิ้นปีภาษี แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยความผันผวนทางเศรษฐกิจจะพบว่าคนจะยิ่งหาหลักประกันที่มั่นคงให้กับชีวิตมากขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจจึงทำให้อัตราการขายตัวของเบี้ยประกันของ AACP สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง
โดยสิ่งที่เราจะเน้นต่อไปคือการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและความยั่งยืนขององค์กรโดยจะเน้นการคิกค้นนวัตกรรมใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองช่องทางการขายที่หลากหลายเพื่อเสริมประสิทธิภาพการขายให้เติบโตมากขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่ทีมงานของเราสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก
Q : มองว่าการแข่งขันในอนาคตจะลำบากขึ้นไหม ?
A : สำหรับ AACP แล้วการแข่งขันต่อไปไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่คนที่จะลำบากในอนาคตคือผู้เล่นรายเล็กในตลาด เพราะบริษัทเล็กๆ เหล่านี้จะมีงบประมาณในการทดลองตลาดหรือดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมงานได้น้อยกว่าบริษัทใหญ่ๆ เชื่อว่าในที่สุดแล้วบริษัทประกัน 24 แห่งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันจะเหลืออยู่เพียงไม่กี่รายและมีเพียง 5 รายใหญ่ที่ทำกำไรได้จำนวนมหาศาล
ในขณะที่การกำกับดูแลจากทางภาครัฐในเรื่องของเกณฑ์ทางการเงิน การดำรงเงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงต่างๆ จะสร้างแรงกดดันให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับบริษัทขนาดเล็กที่มีเงินทุนน้อยซึ่งท้ายที่สุดทำให้มองว่าอนาคตบริษัทเล็กๆ เหล่านี้จะทยอยหายไปจากตลาดอาจมาจากการเลิกกิจการหรือการควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด
Q : สุดท้ายอยากเห็นบรรยากาศของประเทศไทยเป็นอย่างไร ?
A : ตั้งแต่ที่ผมเข้ามาทำงาน 4 ปีที่แล้วคนไทยมองโลกในแง่ดีทำอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความสนุกมีความสุข และย้อนหลังไป 18 ปีที่แล้วมาฮันนี่มูนกับภรรยาบรรยากาศในไทยคนก็ยังยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศทุกอย่างดีอย่างไรปัจจุบันก็ดีอย่างนั้นโดยเฉพาะในแง่ผู้คนยอมรับว่าเป็นประเทศที่คนอัธยาศัยดีมาก จึงเป็นจุดที่น่าจะทำให้ชาวต่างชาติอยากเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและลงทุนทำธุรกิจในไทย
และเมื่อศึกษาประวัตศาสตร์ย้อนหลังไปนับร้อยปีคนไทยไม่เปลี่ยนความคิดมีใจกว้างเปิดรับความคิดเห็นและการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้อนรับขับสู้แขกบ้านแขกเมือง ชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ชอบการติดต่อค้าขาย สิ่งต่างๆ ที่กล่าวถึงเหล่านี้ล้วนฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมไทยแล้ว ถึงแม้สถานการณ์ในปัจจุบันการเมืองมีความขัดแย้งไร้เสถียรภาพแต่ก็คงไม่สามารถทำลายบรรยากาศที่ดีโดยรวมของประเทศไทยเหล่านี้ได้
และในโอกาสที่ “วิลฟ์” ต้องไปรับตำแหน่งผู้บริหารกลุ่มอลิอันซ์ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ทิ้งทวนแสดงความเห็นต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเชื่อมั่นในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยโดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
Q : มองสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ของไทยในปัจจุบันอย่างไร ?
A : หากพูดถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่ปะทุขึ้นในครั้งนี้คงพูดยากว่าไม่มีใครไม่ได้รับผลกระทบเลยสิ่งที่เกิดขึ้นลุกลามไปทั่วโลก แต่ถือว่าประเทศแถบเอเชียได้รับผลกระทบน้อยกว่าสหรัฐฯ และยุโรปมาก คิดว่าท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้หากประเทศในเอเชียใช้จังหวะที่ดีจะสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสที่จะเติบโตได้ท่ามกลางความถดถอยของภูมิภาคอื่น
ในขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นนั้นจากประสบการณ์ที่ทำงานมาหลายประเทศถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามากโดยตัวของประเทศไทยเองยังมีเสน่ห์และสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติได้อีกเยอะ การมาทำงานถึง 4 ปีจะให้มองจากมุมมองคนนอกก็ยากขึ้นเพราะถือว่า 10% ของชีวิตอยู่ในประเทศไทยแล้ว คงไม่มีประเทศใดในโลกที่รัฐประหารเสร็จแล้วจะพาลูกไปไปถ่ายรูปที่รถถังได้เลย เชื่อว่าสุดท้ายการเมืองในไทยก็คงคลี่คลายไปในทางที่ดี
Q : แผนงานของ AACP ต้องปรับเปลี่ยนส่วนใดบ้างให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ?
A : แผนงานของเราก็น่าจะเดินหน้าตามปกติยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักในเรื่องภาพรวมของตลาดการเติบโตของเบี้ยประกันเราอยู่ในอันดับ 2 เพราะมีช่องทางขายที่ดี สินค้าที่เหมาะสม บริการที่ดี พนักงานมีความสามารถและแบรนด์ที่แข็งแกร่งขึ้นมากและจะพยายามพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่ดีอยู่แล้วให้ดีมากยิ่งขึ้น โดยการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน
ซึ่งหากมองภาพรวมของเครืออลิอันซ์ทั่วโลกแล้วการปรับปรุงองค์กรของ AACP ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง ความพึงพอใจของพนักงานต่อตัวบริษัทเราได้คะแนนสูงสุดในโลกจากบริษัทในเครืออลิอันซ์ทั้งหมด 100 บริษัทใน 180 ประเทศทั่วโลก
Q : ปัญหาเศรษฐกิจกระทบผลการดำเนินงานบ้างหรือไม่ ?
A : เท่าที่ดูตัวเลขอัตราการเติบโตของเบี้ยใหม่ในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปลายปีเติบโตกว่าปีที่แล้วมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะใกล้สิ้นปีภาษี แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยความผันผวนทางเศรษฐกิจจะพบว่าคนจะยิ่งหาหลักประกันที่มั่นคงให้กับชีวิตมากขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจจึงทำให้อัตราการขายตัวของเบี้ยประกันของ AACP สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง
โดยสิ่งที่เราจะเน้นต่อไปคือการให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและความยั่งยืนขององค์กรโดยจะเน้นการคิกค้นนวัตกรรมใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองช่องทางการขายที่หลากหลายเพื่อเสริมประสิทธิภาพการขายให้เติบโตมากขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในวิสัยที่ทีมงานของเราสามารถทำได้โดยไม่ยากนัก
Q : มองว่าการแข่งขันในอนาคตจะลำบากขึ้นไหม ?
A : สำหรับ AACP แล้วการแข่งขันต่อไปไม่น่าจะเป็นเรื่องใหญ่คนที่จะลำบากในอนาคตคือผู้เล่นรายเล็กในตลาด เพราะบริษัทเล็กๆ เหล่านี้จะมีงบประมาณในการทดลองตลาดหรือดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมงานได้น้อยกว่าบริษัทใหญ่ๆ เชื่อว่าในที่สุดแล้วบริษัทประกัน 24 แห่งที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันจะเหลืออยู่เพียงไม่กี่รายและมีเพียง 5 รายใหญ่ที่ทำกำไรได้จำนวนมหาศาล
ในขณะที่การกำกับดูแลจากทางภาครัฐในเรื่องของเกณฑ์ทางการเงิน การดำรงเงินกองทุนและการบริหารความเสี่ยงต่างๆ จะสร้างแรงกดดันให้ผู้ถือหุ้นตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับบริษัทขนาดเล็กที่มีเงินทุนน้อยซึ่งท้ายที่สุดทำให้มองว่าอนาคตบริษัทเล็กๆ เหล่านี้จะทยอยหายไปจากตลาดอาจมาจากการเลิกกิจการหรือการควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด
Q : สุดท้ายอยากเห็นบรรยากาศของประเทศไทยเป็นอย่างไร ?
A : ตั้งแต่ที่ผมเข้ามาทำงาน 4 ปีที่แล้วคนไทยมองโลกในแง่ดีทำอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความสนุกมีความสุข และย้อนหลังไป 18 ปีที่แล้วมาฮันนี่มูนกับภรรยาบรรยากาศในไทยคนก็ยังยิ้มแย้มแจ่มใส บรรยากาศทุกอย่างดีอย่างไรปัจจุบันก็ดีอย่างนั้นโดยเฉพาะในแง่ผู้คนยอมรับว่าเป็นประเทศที่คนอัธยาศัยดีมาก จึงเป็นจุดที่น่าจะทำให้ชาวต่างชาติอยากเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและลงทุนทำธุรกิจในไทย
และเมื่อศึกษาประวัตศาสตร์ย้อนหลังไปนับร้อยปีคนไทยไม่เปลี่ยนความคิดมีใจกว้างเปิดรับความคิดเห็นและการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้อนรับขับสู้แขกบ้านแขกเมือง ชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ชอบการติดต่อค้าขาย สิ่งต่างๆ ที่กล่าวถึงเหล่านี้ล้วนฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมไทยแล้ว ถึงแม้สถานการณ์ในปัจจุบันการเมืองมีความขัดแย้งไร้เสถียรภาพแต่ก็คงไม่สามารถทำลายบรรยากาศที่ดีโดยรวมของประเทศไทยเหล่านี้ได้