จากประมาณการของบริษัทที่ปรึกษา CSM Worldwide คาดว่าทั่วโลกจะมีกำลังการผลิตเพื่อประกอบรถยนต์ 90 ล้านคันต่อปี แต่ในปี 2551 มีการประกอบรถยนต์เพียงแค่ 66 ล้านคัน และมีแนวโน้มลดลงอีกในปี 2552
สำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา โดยตลาดรถยนต์สหรัฐฯ ได้หดตัวลงอย่างมากจาก 16.1 ล้านคัน ในปี 2550 เหลือ 13.5 ล้านคัน ในปี 2551 และคาดว่าจะลดลงอีกเหลือเพียงแค่ 11.5 ล้านคัน ในปี 2552 ทั้งนี้ บริษัทรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ 3 บริษัท คือ GM ฟอร์ด และไครสเลอร์ ซึ่งมีฉายาว่า Big Three ประสบปัญหาเรื้อรังมายาวนาน วิกฤตการณ์ทางการเศรษฐกิจครั้งนี้จึงเป็นการซ้ำเติมให้บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัท GM และไครสเลอร์ ซึ่งอยู่ในฐานะใกล้ล้มละลาย และผู้ถือหุ้นติดลบ ด้านบริษัทฟอร์ดก็มีสถานการณ์ไม่ค่อยดีนักเช่นเดียวกัน
เพื่อเป็นการช่วยเหลือโดยทางอ้อม เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้อนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่บริษัทรถยนต์ทั้ง 3 แห่ง คือ GM ฟอร์ดและไครสเลอร์ เป็นวงเงินรวมกัน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 900,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงโรงงาน รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แม้จะได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบการลงทุนเพื่อปรับปรุงโรงงานแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ทางการเงินยังไม่สู้ดีนัก ดังนั้น บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ และบริษัทไครสเลอร์ จึงขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในรูปสินเชื่อฉุกเฉินด้วย โดยผู้บริหารของบริษัท GM ถึงกับขู่ว่าจะยื่นขอรับความคุ้มครองจากกฎหมายล้มละลาย หากรัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธจะเข้ามาช่วยอุ้มกิจการให้รอดพ้นภาวะวิกฤต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างกว้างขวาง
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยประธานาธิบดีบุชได้แสดงปาฐกถาที่สถาบัน American Enterprise Institute เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ให้ทัศนะว่าการปล่อยให้บริษัท GM และไครสเลอร์ล้มละลาย จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจนับว่าอ่อนแอเกินไปที่จะปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทล้มละลายอย่างไม่เป็นระเบียบ (Disorderly Bankruptcy) และเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือในรูปสินเชื่อฉุกเฉินแก่บริษัท GM และบริษัทไครสเลอร์เป็นเงินรวมกันถึง 630,000 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาสินเชื่อ 3 ปี
ประเด็นสำคัญของความช่วยเหลือข้างต้น คือ การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 2 ค่าย ว่าจะต้องนำเสนอแผนการที่จะปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจกลับมามีผลกำไรอีกครั้งหนึ่งภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2552 โดยแผนจะต้องมีความน่าเชื่อถือเพียงพอว่ามีความเป็นไปได้ในทางการเงิน มิฉะนั้น ทั้ง 2 บริษัทจะต้องจ่ายคืนสินเชื่อทั้งหมดแก่รัฐบาล
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญบางคนกลับเห็นว่าสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ย่ำแย่เกินกว่าที่จะเยียวยาได้ เป็นต้นว่า นายพอล ครุกแมน อาจารย์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2551 เห็นว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ อาจจะสูญหายไปในที่สุด พร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนของรัฐบาลที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ว่าไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน แต่เป็นเพียงแค่ผลพวงของความไม่เต็มใจที่จะยอมรับถึงความล้มเหลวของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งหนึ่งเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น ความช่วยเหลือข้างต้นนับว่าเป็นเม็ดเงินที่น้อยมาก และเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาเพื่อให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 2 แห่ง สามารถอยู่รอดออกไปอีกเพียงไม่กี่เดือน เปรียบเสมือนกับการต่อลมหายใจเท่านั้น รวมถึงเป็นการผลักปัญหาของบริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ต่อไปให้รัฐบาลชุดใหม่ของนายบารัก โอบามา ต้องนำไปตัดสินใจในขั้นต่อไป
ด้านนายโอบามา ได้ให้ทัศนะหลายครั้งภายหลังชนะการเลือกตั้งและก่อนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ โดยเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 ว่าไม่สามารถปล่อยให้อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ประสบปัญหา ล้มหายไปต่อหน้าต่อตาได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยให้ความช่วยเหลืออย่างไม่ลืมหูลืมตาเหมือนกับเขียนเช็คไม่ใส่จำนวนเงินมอบให้แก่ผู้บริหารของบริษัทรถยนต์ เนื่องจากเงินที่นำมาช่วยเหลือเป็นภาษีอากรของประชาชน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือจะต้องสามารถทำให้บริษัทรถยนต์สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากสหรัฐฯ แล้ว สถานการณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยกรณีของเยอรมนี ยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2551 ลดต่ำลงเหลือ 3.1 ล้านคัน และคาดว่าจะลดลงอีกในปี 2552 สำหรับบริษัท BMW ได้ปลดพนักงาน 8,000 คน ในปี 2551 ส่วน Volkswagen ได้ประกาศปลดพนักงาน Contract Worker เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 นอกจากนี้ ผู้บริหารของบริษัทไดม์เลอร์ซึ่งผลิตรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ ยังได้เจรจากับตัวแทนของพนักงานในการลดเวลาทำงานลงเหลือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะลดการจ่ายเงินเดือนลงในสัดส่วนเดียวกับการลดระยะเวลาทำงาน
สำหรับบริษัท BMW ไดม์เลอร์ และบริษัทปอร์เช่ ได้ยินยอมให้พนักงานจัดตั้งระบบที่เรียกว่าบัญชีเวลาที่ยืดหยุ่น (Flex-Time Accounts) โดยเมื่อพนักงานทำงานเกินเวลาสูงสุดที่กำหนด คือ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถนำเวลาที่เกินไปเก็บสะสมในบัญชีได้ และเมื่อทำงานในช่วงใดต่ำกว่าเวลาที่กำหนด ก็สามารถนำเวลาที่เก็บสะสมไว้ในบัญชีมารวมกับเวลาทำงานจริงเพื่อให้มีรายได้ในช่วงที่ทำงานน้อยเป็นเงินเพิ่มขึ้น เป็นต้นว่า บริษัท BMW อนุญาตให้พนักงานเก็บสะสมระยะเวลาทำงานได้ 300 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับว่าแม้พนักงานที่ไม่มีงานทำ 2 เดือน ยังคงสามารถได้รับค่าจ้างแรงงานตามปกติและไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกปลดออกจากงาน
สำหรับบริษัทโอเปิลซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท GM ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้ชาวยุโรปลังเลที่จะซื้อรถยนต์โอเปิล ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ลังเลที่จะส่งชิ้นส่วนให้ เนื่องจากเกรงว่าส่งไปแล้ว จะไม่ได้รับการชำระเงิน ดังนั้น ผู้บริหารของบริษัทโอเปิลจึงได้เรียกร้อง เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมนีเกี่ยวกับการค้ำประกันสินเชื่อในวงเงินมากกว่า 50,000 ล้านบาท สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินหากบริษัทแม่ล้มละลาย และได้พบปะเจรจากับนาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน 2551
ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหราชอาณาจักรก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยบริษัท Jaguar Land Rover ซึ่งเป็นกิจการที่บริษัทตาต้าแห่งอินเดียซื้อจากบริษัทฟอร์ดเป็นเงิน 80,000 ล้านบาท เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ได้ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นเงิน 50,000 ล้านบาท โดยบริษัทแห่งนี้จ้างงาน 15,000 คน และมีผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนจ้างงานอีก 60,000 คน แต่รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังไม่ตัดสินใจว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือไม่
ส่วนรัฐบาลสวีเดนประกาศเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ว่าตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือ 120,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบริษัทวอลโว่ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทฟอร์ด และบริษัทซาบ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท GM เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับให้ความช่วยเหลือทางด้านสินเชื่อ เงินกู้แบบฉุกเฉิน และทุนวิจัยสำหรับเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของสวีเดน เนื่องจาก 2 บริษัท มีการจ้างงานชาวสวีเดนเป็นคนงานและพนักงานรวมกันมากกว่า 20,000 คน ซึ่งปัจจุบันกำลังตกอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการตกงาน รวมทั้งมีข่าวว่าบริษัทฟอร์ดต้องการขายกิจการรถยนต์วอลโว่ โดยติดต่อเจรจาขายให้แก่บริษัทไดม์เลอร์และบริษัท BMW แต่ไม่ได้รับความสนใจซื้อกิจการแต่อย่างใด
ขณะที่รัฐบาลแคนาดาและมลรัฐออนตาริโอประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2551 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศในรูปสินเชื่อฉุกเฉินเป็นเงินรวมกัน 120,000 ล้านบาท เพื่อให้โอกาสแก่บริษัทเหล่านี้ได้ปรับโครงสร้างการดำเนินงาน โดยมีเงื่อนไข เป็นต้นว่า จำกัดเงินเดือนของผู้บริหาร และบริษัทรถยนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือ คือ บริษัท GM Canada และบริษัทไครสเลอร์แคนาดา จะต้องนำเงินที่ได้รับไปชำระหนี้ที่ติดค้างแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมถึงต้องให้วอแรนต์แก่รัฐบาลในการซื้อหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
ขณะที่ญี่ปุ่น ซึ่งเดิมเคยมียอดขายรถยนต์สูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 7.78 ล้านคัน ในปี 2533 และในระยะหลังลดลงตามลำดับเหลือ 5.35 ล้านคัน สำหรับในปี 2551 ลดลงเหลือ 5.08 ล้านคัน นับว่าต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการพยากรณ์ว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2552 จะลดลงอีกเหลือ 4.86 ล้านคัน ทั้งนี้ นับถึงปลายเดือนธันวาคม 2551 บริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ของญี่ปุ่น ได้ประกาศปรับลดจำนวนพนักงานไปแล้ว 14,000 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพนักงานที่เคยพำนักอยู่ในหอพักของบริษัท นอกจากจะตกงานแล้ว ยังสูญเสียที่พักอาศัยอีกด้วย
จากการที่บริษัทรถยนต์หลายแห่งได้รับผลกระทบ เป็นต้นว่า บริษัทโตโยต้าคาดว่าจะขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจรถยนต์เป็นครั้งแรกในปีงบการเงิน 2551 (เมษายน 2551 – มีนาคม 2552) แต่บริษัทยังคงมีกำไรสุทธิเล็กน้อย เนื่องจากมีผลกำไรจากธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ สำหรับนายคาร์ลอส กอล์น ผู้บริหารของบริษัทเรโนลต์และนิสสัน ถึงกับได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเร่งด่วน
ประเทศเกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยบริษัทรถยนต์จำนวนมากต้องปิดโรงงาน รวมถึงไม่เพิ่มเงินเดือนผู้บริหาร โดยเฉพาะบริษัทซังยองซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์เล็กที่สุดของเกาหลีใต้ ได้รับผลกระทบมากที่สุด สถานการณ์อยู่ในขั้นโคม่า เนื่องจากยอดจำหน่ายในเกาหลีใต้ลดลงมากถึงร้อยละ 34.5 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 ทำให้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ได้ และต้องขอรับความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนจากรัฐบาลเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถยนต์ได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2552 อาจจะมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลกครั้งใหญ่ เนื่องจากบริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ประสบกับการขาดทุน จนส่งผลต่อฐานะทางการเงินของบริษัท อาจต้องเลิกกิจการหรือถูกซื้อกิจการโดยบริษัทอื่นที่มีฐานะทางการเงินดีกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
สำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา โดยตลาดรถยนต์สหรัฐฯ ได้หดตัวลงอย่างมากจาก 16.1 ล้านคัน ในปี 2550 เหลือ 13.5 ล้านคัน ในปี 2551 และคาดว่าจะลดลงอีกเหลือเพียงแค่ 11.5 ล้านคัน ในปี 2552 ทั้งนี้ บริษัทรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯ 3 บริษัท คือ GM ฟอร์ด และไครสเลอร์ ซึ่งมีฉายาว่า Big Three ประสบปัญหาเรื้อรังมายาวนาน วิกฤตการณ์ทางการเศรษฐกิจครั้งนี้จึงเป็นการซ้ำเติมให้บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัท GM และไครสเลอร์ ซึ่งอยู่ในฐานะใกล้ล้มละลาย และผู้ถือหุ้นติดลบ ด้านบริษัทฟอร์ดก็มีสถานการณ์ไม่ค่อยดีนักเช่นเดียวกัน
เพื่อเป็นการช่วยเหลือโดยทางอ้อม เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้อนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่บริษัทรถยนต์ทั้ง 3 แห่ง คือ GM ฟอร์ดและไครสเลอร์ เป็นวงเงินรวมกัน 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 900,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงโรงงาน รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แม้จะได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบการลงทุนเพื่อปรับปรุงโรงงานแล้วก็ตาม แต่สถานการณ์ทางการเงินยังไม่สู้ดีนัก ดังนั้น บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ และบริษัทไครสเลอร์ จึงขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติมในรูปสินเชื่อฉุกเฉินด้วย โดยผู้บริหารของบริษัท GM ถึงกับขู่ว่าจะยื่นขอรับความคุ้มครองจากกฎหมายล้มละลาย หากรัฐบาลสหรัฐฯ ปฏิเสธจะเข้ามาช่วยอุ้มกิจการให้รอดพ้นภาวะวิกฤต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างกว้างขวาง
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยประธานาธิบดีบุชได้แสดงปาฐกถาที่สถาบัน American Enterprise Institute เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ให้ทัศนะว่าการปล่อยให้บริษัท GM และไครสเลอร์ล้มละลาย จะส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจนับว่าอ่อนแอเกินไปที่จะปล่อยให้ทั้ง 2 บริษัทล้มละลายอย่างไม่เป็นระเบียบ (Disorderly Bankruptcy) และเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2551 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ความช่วยเหลือในรูปสินเชื่อฉุกเฉินแก่บริษัท GM และบริษัทไครสเลอร์เป็นเงินรวมกันถึง 630,000 ล้านเหรียญสหรัฐระยะเวลาสินเชื่อ 3 ปี
ประเด็นสำคัญของความช่วยเหลือข้างต้น คือ การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 2 ค่าย ว่าจะต้องนำเสนอแผนการที่จะปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินการ เพื่อให้ธุรกิจกลับมามีผลกำไรอีกครั้งหนึ่งภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2552 โดยแผนจะต้องมีความน่าเชื่อถือเพียงพอว่ามีความเป็นไปได้ในทางการเงิน มิฉะนั้น ทั้ง 2 บริษัทจะต้องจ่ายคืนสินเชื่อทั้งหมดแก่รัฐบาล
ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญบางคนกลับเห็นว่าสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ย่ำแย่เกินกว่าที่จะเยียวยาได้ เป็นต้นว่า นายพอล ครุกแมน อาจารย์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2551 เห็นว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐฯ อาจจะสูญหายไปในที่สุด พร้อมกับวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนของรัฐบาลที่จะให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ว่าไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน แต่เป็นเพียงแค่ผลพวงของความไม่เต็มใจที่จะยอมรับถึงความล้มเหลวของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งหนึ่งเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น ความช่วยเหลือข้างต้นนับว่าเป็นเม็ดเงินที่น้อยมาก และเป็นเพียงแค่การซื้อเวลาเพื่อให้บริษัทรถยนต์ทั้ง 2 แห่ง สามารถอยู่รอดออกไปอีกเพียงไม่กี่เดือน เปรียบเสมือนกับการต่อลมหายใจเท่านั้น รวมถึงเป็นการผลักปัญหาของบริษัทรถยนต์สหรัฐฯ ต่อไปให้รัฐบาลชุดใหม่ของนายบารัก โอบามา ต้องนำไปตัดสินใจในขั้นต่อไป
ด้านนายโอบามา ได้ให้ทัศนะหลายครั้งภายหลังชนะการเลือกตั้งและก่อนเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ โดยเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2551 ว่าไม่สามารถปล่อยให้อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ประสบปัญหา ล้มหายไปต่อหน้าต่อตาได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยให้ความช่วยเหลืออย่างไม่ลืมหูลืมตาเหมือนกับเขียนเช็คไม่ใส่จำนวนเงินมอบให้แก่ผู้บริหารของบริษัทรถยนต์ เนื่องจากเงินที่นำมาช่วยเหลือเป็นภาษีอากรของประชาชน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือจะต้องสามารถทำให้บริษัทรถยนต์สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากสหรัฐฯ แล้ว สถานการณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในภูมิภาคอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยกรณีของเยอรมนี ยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2551 ลดต่ำลงเหลือ 3.1 ล้านคัน และคาดว่าจะลดลงอีกในปี 2552 สำหรับบริษัท BMW ได้ปลดพนักงาน 8,000 คน ในปี 2551 ส่วน Volkswagen ได้ประกาศปลดพนักงาน Contract Worker เป็นสัดส่วนร้อยละ 20 นอกจากนี้ ผู้บริหารของบริษัทไดม์เลอร์ซึ่งผลิตรถยนต์เมอร์เซเดสเบนซ์ ยังได้เจรจากับตัวแทนของพนักงานในการลดเวลาทำงานลงเหลือ 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะลดการจ่ายเงินเดือนลงในสัดส่วนเดียวกับการลดระยะเวลาทำงาน
สำหรับบริษัท BMW ไดม์เลอร์ และบริษัทปอร์เช่ ได้ยินยอมให้พนักงานจัดตั้งระบบที่เรียกว่าบัญชีเวลาที่ยืดหยุ่น (Flex-Time Accounts) โดยเมื่อพนักงานทำงานเกินเวลาสูงสุดที่กำหนด คือ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สามารถนำเวลาที่เกินไปเก็บสะสมในบัญชีได้ และเมื่อทำงานในช่วงใดต่ำกว่าเวลาที่กำหนด ก็สามารถนำเวลาที่เก็บสะสมไว้ในบัญชีมารวมกับเวลาทำงานจริงเพื่อให้มีรายได้ในช่วงที่ทำงานน้อยเป็นเงินเพิ่มขึ้น เป็นต้นว่า บริษัท BMW อนุญาตให้พนักงานเก็บสะสมระยะเวลาทำงานได้ 300 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับว่าแม้พนักงานที่ไม่มีงานทำ 2 เดือน ยังคงสามารถได้รับค่าจ้างแรงงานตามปกติและไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกปลดออกจากงาน
สำหรับบริษัทโอเปิลซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท GM ได้รับผลกระทบอย่างมาก ทำให้ชาวยุโรปลังเลที่จะซื้อรถยนต์โอเปิล ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ลังเลที่จะส่งชิ้นส่วนให้ เนื่องจากเกรงว่าส่งไปแล้ว จะไม่ได้รับการชำระเงิน ดังนั้น ผู้บริหารของบริษัทโอเปิลจึงได้เรียกร้อง เพื่อขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมนีเกี่ยวกับการค้ำประกันสินเชื่อในวงเงินมากกว่า 50,000 ล้านบาท สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินหากบริษัทแม่ล้มละลาย และได้พบปะเจรจากับนาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน 2551
ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหราชอาณาจักรก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน โดยบริษัท Jaguar Land Rover ซึ่งเป็นกิจการที่บริษัทตาต้าแห่งอินเดียซื้อจากบริษัทฟอร์ดเป็นเงิน 80,000 ล้านบาท เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ได้ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรเป็นเงิน 50,000 ล้านบาท โดยบริษัทแห่งนี้จ้างงาน 15,000 คน และมีผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนจ้างงานอีก 60,000 คน แต่รัฐบาลสหราชอาณาจักรยังไม่ตัดสินใจว่าจะให้ความช่วยเหลือหรือไม่
ส่วนรัฐบาลสวีเดนประกาศเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 ว่าตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือ 120,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบริษัทวอลโว่ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทฟอร์ด และบริษัทซาบ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท GM เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับให้ความช่วยเหลือทางด้านสินเชื่อ เงินกู้แบบฉุกเฉิน และทุนวิจัยสำหรับเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ของสวีเดน เนื่องจาก 2 บริษัท มีการจ้างงานชาวสวีเดนเป็นคนงานและพนักงานรวมกันมากกว่า 20,000 คน ซึ่งปัจจุบันกำลังตกอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการตกงาน รวมทั้งมีข่าวว่าบริษัทฟอร์ดต้องการขายกิจการรถยนต์วอลโว่ โดยติดต่อเจรจาขายให้แก่บริษัทไดม์เลอร์และบริษัท BMW แต่ไม่ได้รับความสนใจซื้อกิจการแต่อย่างใด
ขณะที่รัฐบาลแคนาดาและมลรัฐออนตาริโอประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2551 เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศในรูปสินเชื่อฉุกเฉินเป็นเงินรวมกัน 120,000 ล้านบาท เพื่อให้โอกาสแก่บริษัทเหล่านี้ได้ปรับโครงสร้างการดำเนินงาน โดยมีเงื่อนไข เป็นต้นว่า จำกัดเงินเดือนของผู้บริหาร และบริษัทรถยนต์ที่ได้รับความช่วยเหลือ คือ บริษัท GM Canada และบริษัทไครสเลอร์แคนาดา จะต้องนำเงินที่ได้รับไปชำระหนี้ที่ติดค้างแก่ผู้ผลิตชิ้นส่วน รวมถึงต้องให้วอแรนต์แก่รัฐบาลในการซื้อหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียง
ขณะที่ญี่ปุ่น ซึ่งเดิมเคยมียอดขายรถยนต์สูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 7.78 ล้านคัน ในปี 2533 และในระยะหลังลดลงตามลำดับเหลือ 5.35 ล้านคัน สำหรับในปี 2551 ลดลงเหลือ 5.08 ล้านคัน นับว่าต่ำที่สุดในรอบ 28 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการพยากรณ์ว่าปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2552 จะลดลงอีกเหลือ 4.86 ล้านคัน ทั้งนี้ นับถึงปลายเดือนธันวาคม 2551 บริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ของญี่ปุ่น ได้ประกาศปรับลดจำนวนพนักงานไปแล้ว 14,000 คน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพนักงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพนักงานที่เคยพำนักอยู่ในหอพักของบริษัท นอกจากจะตกงานแล้ว ยังสูญเสียที่พักอาศัยอีกด้วย
จากการที่บริษัทรถยนต์หลายแห่งได้รับผลกระทบ เป็นต้นว่า บริษัทโตโยต้าคาดว่าจะขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจรถยนต์เป็นครั้งแรกในปีงบการเงิน 2551 (เมษายน 2551 – มีนาคม 2552) แต่บริษัทยังคงมีกำไรสุทธิเล็กน้อย เนื่องจากมีผลกำไรจากธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ สำหรับนายคาร์ลอส กอล์น ผู้บริหารของบริษัทเรโนลต์และนิสสัน ถึงกับได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเร่งด่วน
ประเทศเกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยบริษัทรถยนต์จำนวนมากต้องปิดโรงงาน รวมถึงไม่เพิ่มเงินเดือนผู้บริหาร โดยเฉพาะบริษัทซังยองซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์เล็กที่สุดของเกาหลีใต้ ได้รับผลกระทบมากที่สุด สถานการณ์อยู่ในขั้นโคม่า เนื่องจากยอดจำหน่ายในเกาหลีใต้ลดลงมากถึงร้อยละ 34.5 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 ทำให้ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ได้ และต้องขอรับความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนจากรัฐบาลเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรถยนต์ได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2552 อาจจะมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลกครั้งใหญ่ เนื่องจากบริษัทรถยนต์ส่วนใหญ่ประสบกับการขาดทุน จนส่งผลต่อฐานะทางการเงินของบริษัท อาจต้องเลิกกิจการหรือถูกซื้อกิจการโดยบริษัทอื่นที่มีฐานะทางการเงินดีกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th