ASTVผู้จัดการรายวัน - ศาลฎีกานักการเมือง ยกคำร้อง "แม้ว" ขออนุญาตขยายเวลาคัดค้านยึดทรัพย์ 76,621 ล้านบาท อีก 30 วัน ศาลชี้ เคยให้เวลามาพอสมควรแล้ว นัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง 26 , 27 ,30 มีนาคม ปีหน้า อัยการจัดพยาน 100 ปาก ไต่สวนมัดแม้ว
วานนี้ (25 ธ.ค.) เวลา 11.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดี พร้อมองค์คณะ 9 คน นัดพร้อมคู่ความเพื่อกำหนดกระบวนพิจารณาในคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถือครองทรัพย์สิน ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นคำคัดค้านออกไปอีก 30 วัน หลังจากที่ศาลเคยมีคำอนุญาตให้ขยายเวลายื่นคำคัดค้านมาแล้ว ศาลพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่า ก่อนหน้านี้ศาลอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาขยายเวลายื่นคำให้การได้จนถึงวันที่ 20 ม.ค.2552 ส่วนบุคคลซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถือครองทรัพย์สินรายอื่น ให้ยื่นภายใน 3 ม.ค.2552 ซึ่งเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว ประกอบกับในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ นำพยานหลักฐานยื่นคัดค้านเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินแล้ว คำร้องของผู้ร้องยังไม่มีเหตุเพียงพอจึงให้ยกคำร้อง และให้นัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 26 , 27 และ 30 มี.ค. 2552 ในเวลา 10.00 น.โดยให้คู่ความยื่นบัญชีพยาน เสนอต่อศาลก่อนวันนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 7 วัน
ภายหลัง นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ผู้รับผิดชอบสำนวนคดี กล่าวว่า ในส่วนของโจทก์ เตรียมพยานบุคคลเสนอให้ศาลไต่สวนประมาณ 100 คน อย่างไรก็ดี ในส่วนที่มีบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ยื่นคำคัดค้านนั้น ขณะนี้อัยการยังไม่ได้รับสำเนาจากศาล จึงไม่ทราบรายละเอียดคำคัดค้านอย่างไรบ้าง
สำหรับ คำร้องที่ อสส.ยื่น คำร้องต่อศาลฎีกานักการเมืองให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดแจ้งว่า คตส.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบไต่สวนและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2544-มีนาคม 2548 ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ถือหุ้นแทนจำนวน 458,550,000 หุ้น น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 604,600,000 หุ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 20,000,000 หุ้น และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น โดยที่บริษัท ชินคอร์ป เป็นบริษัทได้รับสัมปทานกิจการโทรคมนาจากรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 ม.32, 33 และ 100 ซึ่งมีความผิดอาญา ม.119 และ 122
สำหรับบัญชีเงินฝาก 16 บัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวชินวัตรที่ถูกอายัดไว้ในชั้น คตส.มีดังนี้ ธ.กสิกรไทย 36 ล้านบาท, ธ.กรุงเทพ 18,156 ล้านบาท, ธ.กรุงศรีอยุธยา 2,125 ล้านบาท, ธ.ทหารไทย 10 ล้านบาท, ธ.ไทยพาณิชย์ 39,634 ล้านบาท, ธ.ธนชาต 1,476 ล้านบาท, ธ.นครหลวงไทย 1 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 500 ล้านบาท, ธ.ยูโอบี รัตนสิน 492 ล้านบาท, ธ.ออมสิน 15,748 ล้านบาท, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 200 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 10,000 ล้านบาท, บลจ.กสิกรไทย 208 ล้านบาท, บลจ.ไทยพาณิชย์ 2,237 ล้านบาท, บลจ.แอสเซทพลัส 172 ล้านบาท และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และที่ดิน 2,722 ล้านบาท
ท้ายคำร้องอัยการสูงสุดขอให้ศาลออกหมายเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ มาพิจารณาพิพากษายึดทรัพย์สิน เป็นเงินที่ได้มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,722,880932.05 บาท และเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว รวมเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 6,898,722,129 รวมเป็นที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากร่ำรวยผิดปกติและมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ.
วานนี้ (25 ธ.ค.) เวลา 11.30 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนคดี พร้อมองค์คณะ 9 คน นัดพร้อมคู่ความเพื่อกำหนดกระบวนพิจารณาในคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถือครองทรัพย์สิน ได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลายื่นคำคัดค้านออกไปอีก 30 วัน หลังจากที่ศาลเคยมีคำอนุญาตให้ขยายเวลายื่นคำคัดค้านมาแล้ว ศาลพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่า ก่อนหน้านี้ศาลอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาขยายเวลายื่นคำให้การได้จนถึงวันที่ 20 ม.ค.2552 ส่วนบุคคลซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถือครองทรัพย์สินรายอื่น ให้ยื่นภายใน 3 ม.ค.2552 ซึ่งเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว ประกอบกับในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาและบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ นำพยานหลักฐานยื่นคัดค้านเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินแล้ว คำร้องของผู้ร้องยังไม่มีเหตุเพียงพอจึงให้ยกคำร้อง และให้นัดพร้อมคู่ความเพื่อตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 26 , 27 และ 30 มี.ค. 2552 ในเวลา 10.00 น.โดยให้คู่ความยื่นบัญชีพยาน เสนอต่อศาลก่อนวันนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไม่น้อยกว่า 7 วัน
ภายหลัง นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ผู้รับผิดชอบสำนวนคดี กล่าวว่า ในส่วนของโจทก์ เตรียมพยานบุคคลเสนอให้ศาลไต่สวนประมาณ 100 คน อย่างไรก็ดี ในส่วนที่มีบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน ยื่นคำคัดค้านนั้น ขณะนี้อัยการยังไม่ได้รับสำเนาจากศาล จึงไม่ทราบรายละเอียดคำคัดค้านอย่างไรบ้าง
สำหรับ คำร้องที่ อสส.ยื่น คำร้องต่อศาลฎีกานักการเมืองให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดแจ้งว่า คตส.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบไต่สวนและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2544-มีนาคม 2548 ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ถือหุ้นแทนจำนวน 458,550,000 หุ้น น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 604,600,000 หุ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 20,000,000 หุ้น และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น โดยที่บริษัท ชินคอร์ป เป็นบริษัทได้รับสัมปทานกิจการโทรคมนาจากรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 ม.32, 33 และ 100 ซึ่งมีความผิดอาญา ม.119 และ 122
สำหรับบัญชีเงินฝาก 16 บัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวชินวัตรที่ถูกอายัดไว้ในชั้น คตส.มีดังนี้ ธ.กสิกรไทย 36 ล้านบาท, ธ.กรุงเทพ 18,156 ล้านบาท, ธ.กรุงศรีอยุธยา 2,125 ล้านบาท, ธ.ทหารไทย 10 ล้านบาท, ธ.ไทยพาณิชย์ 39,634 ล้านบาท, ธ.ธนชาต 1,476 ล้านบาท, ธ.นครหลวงไทย 1 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 500 ล้านบาท, ธ.ยูโอบี รัตนสิน 492 ล้านบาท, ธ.ออมสิน 15,748 ล้านบาท, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 200 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 10,000 ล้านบาท, บลจ.กสิกรไทย 208 ล้านบาท, บลจ.ไทยพาณิชย์ 2,237 ล้านบาท, บลจ.แอสเซทพลัส 172 ล้านบาท และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และที่ดิน 2,722 ล้านบาท
ท้ายคำร้องอัยการสูงสุดขอให้ศาลออกหมายเรียก พ.ต.ท.ทักษิณ มาพิจารณาพิพากษายึดทรัพย์สิน เป็นเงินที่ได้มาจากการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯ จำนวน 1,419,490,150 หุ้น ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,722,880932.05 บาท และเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าว รวมเป็นจำนวนเงินทั้งหมด 6,898,722,129 รวมเป็นที่ได้รับเนื่องจากหุ้นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผลให้ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากร่ำรวยผิดปกติและมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ.