สำนวนยึดทรัพย์ทักษิณ 7.6 หมื่นล้านบาท เสร็จสมบูรณ์ อัยการสูงสุดเห็นชอบฟ้องยึดอายัดตามที่ คตส.และ ป.ป.ช.เสนอ หลังอายัด 16 บัญชีโกง คาดส่งฟ้องศาลฎีกานักการเมือง 25 ส.ค.นี้ ขณะที่คดีที่ดินรัชดาไต่สวนพยานจำเลยนัดสุดท้าย "พิชิฎ ชื่นบาน" ถูกนำตัวจากเรือนจำ ให้การเป็นพยาน
วานนี้ (21 ส.ค.) ที่ห้องประชุม 100 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงข่าวความคืบหน้าการร่วมพิจารณาคดีทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ ผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด (ซีทีเอ็กซ์) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, โครงการจัดซื้อจัดจ้างระบบจ่ายไฟฟ้า และเครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, โครงการบ้านเอื้ออาทร และคดีอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ครอบครัว บุตร บริวาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ให้กับกองทุนเทมาเส็ก ว่าสำนวนคดีทั้ง 4 เรื่อง คณะทำงานร่วมระหว่าง อัยการ และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)สามารถทำความตกลงกันได้ทุกเรื่องแล้ว ซึ่งคดีอายัดบัญชีเงินฝาก พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวนั้น อยู่ระหว่างเสนอคำฟ้องให้ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาทำความเห็นชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เวลา 11.00 น.นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ได้เรียกประชุมคณะทำงานอัยการรับผิดชอบคดี คตส.ที่มี นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุดเป็น ประธานฯเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับคำฟ้องคดีอายัดเงิน 7.6 หมื่นล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมดังกล่าวอัยการสูงสุดได้เห็นชอบกับการให้ยื่นฟ้องคดีอายัดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านแล้ว แต่ได้พิจารณาให้มีการปรับถ้อยคำในคำฟ้องบางส่วน โดยคาดว่าอัยการจะนำคำฟ้องยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ภายในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้
สำหรับสำนวนคดีร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,000 ล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัวชินวัตร หลังจากที่คณะกรรมการร่วมอัยการ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ได้ประชุมหารือกันแล้ว ป.ป.ช.ยืนยันต้องการให้อัยการส่งสำนวนยึดทรัพย์ทั้ง 7.6 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ก่อนหน้าที่ ป.ป.ช.จะรับหน้าที่พิจารณาสำนวนนั้น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน และ คตส.มีความเห็นชี้มูลความผิด พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ 76,000 ล้านบาท ซึ่ง คตส.ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของบุคคลในตระกูลชินวัตร เป็นบัญชีเงินฝากธนาคาร 16 บัญชี จำนวน 69,000 ล้านบาท ไว้ และส่งสำนวนหลักฐานให้อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคดี ซึ่งครั้งแรกคณะทำงานอัยการที่ อัยการสูงสุดตั้งขึ้นให้พิจารณาสำนวนคดี คตส.นั้น เคยมีความเห็นว่า ควรจะร้องขอยึดทรัพย์ 69,000 ล้านบาทที่ถูกอายัด เงินที่เหลืออีกกว่าหมื่นล้านบาทนั้นยังไม่มีหลักฐานถึงแหล่งของเงินว่าอยู่ที่ใด ดังนั้นเมื่อ คตส.พ้นการทำหน้าที่ไปเมื่อ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ป.ป.ช.จึงได้เข้ามาทำหน้าที่แทน คตส. และมีการตั้งคณะกรรมการ่วมอัยการ-ป.ป.ช.ดังกล่าว
สำหรับ บัญชีเงินฝาก 16 บัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวชินวัตร ที่ถูกอายัดไว้ในชั้น คตส.มีดังนี้ ธ.กสิกรไทย 36 ล้านบาท, ธ.กรุงเทพ 18,156 ล้านบาท, ธ.กรุงศรีอยุธยา 2,125 ล้านบาท, ธ.ทหารไทย 10 ล้านบาท, ธ.ไทยพาณิชย์ 39,634 ล้านบาท, ธ.ธนชาต 1,476 ล้านบาท, ธ.นครหลวงไทย 1 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 500 ล้านบาท, ธ.ยูโอบี รัตนสิน 492 ล้านบาท, ธ.ออมสิน 15,748 ล้านบาท, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 200 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 10,000 ล้านบาท, บลจ.กสิกรไทย 208 ล้านบาท, บลจ.ไทยพาณิชย์ 2,237 ล้านบาท, บลจ.แอสเซทพลัส 172 ล้านบาท และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และที่ดิน 2,722 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับการยื่นฟ้องคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถือว่าเป็นคดีที่ 4 แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ถูกฟ้องมาแล้ว 3 คดี
ประกอบด้วยคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ตกเป็นจำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 โดยวันนี้ 22 ส.ค.ศาลได้หมายเรียกตัว นายพิชิฏ ชื่นบาน อดีตทนายความจำเลย ผู้ต้องขังในคดีละเมิดอำนาจศาลกรณีนำถุงเงิน 2 ล้านบาท พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกาฯ ให้มาเบิกความเป็นพยานจำเลยตามบัญชีพยานเดิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ธุรการได้นำหมายเรียกดังกล่าวไปส่งมอบให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพื่อนำตัวนายพิชิฏมาศาลเพื่อมาไต่สวนพยาน ในเวลา 09.30 น.
คดีที่ 2 เมื่อวันที่ 30 ก.ค.51 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งรับฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ปล่อยกู้พม่า 4,000 ล้าน เอื้อประโยชน์บริษัทชินคอร์ป โดยศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก 16 ก.ย.51
คดีที่ 3 การแปลงสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ที่อัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ก.ค.และศาลฎีกาฯนัดฟังคำสั่งจะรับฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
สำหรับคดีหวยบนดิน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่ารอดหวุดหวิด แต่ ครม.รัฐบาลทักษิณ ถูกฟ้องเป็นจำเลยยกชุด โดยศาลนัดพิจารณาครั้งแรก 26 ก.ย.นี้ 10.00 น.
วานนี้ (21 ส.ค.) ที่ห้องประชุม 100 ปี สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงข่าวความคืบหน้าการร่วมพิจารณาคดีทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ ผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด (ซีทีเอ็กซ์) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, โครงการจัดซื้อจัดจ้างระบบจ่ายไฟฟ้า และเครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, โครงการบ้านเอื้ออาทร และคดีอายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ครอบครัว บุตร บริวาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ให้กับกองทุนเทมาเส็ก ว่าสำนวนคดีทั้ง 4 เรื่อง คณะทำงานร่วมระหว่าง อัยการ และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)สามารถทำความตกลงกันได้ทุกเรื่องแล้ว ซึ่งคดีอายัดบัญชีเงินฝาก พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวนั้น อยู่ระหว่างเสนอคำฟ้องให้ นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด พิจารณาทำความเห็นชอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เวลา 11.00 น.นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ได้เรียกประชุมคณะทำงานอัยการรับผิดชอบคดี คตส.ที่มี นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุดเป็น ประธานฯเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับคำฟ้องคดีอายัดเงิน 7.6 หมื่นล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว
รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมดังกล่าวอัยการสูงสุดได้เห็นชอบกับการให้ยื่นฟ้องคดีอายัดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านแล้ว แต่ได้พิจารณาให้มีการปรับถ้อยคำในคำฟ้องบางส่วน โดยคาดว่าอัยการจะนำคำฟ้องยื่นต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ภายในวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.นี้
สำหรับสำนวนคดีร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,000 ล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นของแผ่นดิน เนื่องจากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ให้กับธุรกิจของครอบครัวชินวัตร หลังจากที่คณะกรรมการร่วมอัยการ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ได้ประชุมหารือกันแล้ว ป.ป.ช.ยืนยันต้องการให้อัยการส่งสำนวนยึดทรัพย์ทั้ง 7.6 หมื่นล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ก่อนหน้าที่ ป.ป.ช.จะรับหน้าที่พิจารณาสำนวนนั้น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐาน และ คตส.มีความเห็นชี้มูลความผิด พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ 76,000 ล้านบาท ซึ่ง คตส.ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของบุคคลในตระกูลชินวัตร เป็นบัญชีเงินฝากธนาคาร 16 บัญชี จำนวน 69,000 ล้านบาท ไว้ และส่งสำนวนหลักฐานให้อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งคดี ซึ่งครั้งแรกคณะทำงานอัยการที่ อัยการสูงสุดตั้งขึ้นให้พิจารณาสำนวนคดี คตส.นั้น เคยมีความเห็นว่า ควรจะร้องขอยึดทรัพย์ 69,000 ล้านบาทที่ถูกอายัด เงินที่เหลืออีกกว่าหมื่นล้านบาทนั้นยังไม่มีหลักฐานถึงแหล่งของเงินว่าอยู่ที่ใด ดังนั้นเมื่อ คตส.พ้นการทำหน้าที่ไปเมื่อ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ป.ป.ช.จึงได้เข้ามาทำหน้าที่แทน คตส. และมีการตั้งคณะกรรมการ่วมอัยการ-ป.ป.ช.ดังกล่าว
สำหรับ บัญชีเงินฝาก 16 บัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวชินวัตร ที่ถูกอายัดไว้ในชั้น คตส.มีดังนี้ ธ.กสิกรไทย 36 ล้านบาท, ธ.กรุงเทพ 18,156 ล้านบาท, ธ.กรุงศรีอยุธยา 2,125 ล้านบาท, ธ.ทหารไทย 10 ล้านบาท, ธ.ไทยพาณิชย์ 39,634 ล้านบาท, ธ.ธนชาต 1,476 ล้านบาท, ธ.นครหลวงไทย 1 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 500 ล้านบาท, ธ.ยูโอบี รัตนสิน 492 ล้านบาท, ธ.ออมสิน 15,748 ล้านบาท, ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 200 ล้านบาท, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 10,000 ล้านบาท, บลจ.กสิกรไทย 208 ล้านบาท, บลจ.ไทยพาณิชย์ 2,237 ล้านบาท, บลจ.แอสเซทพลัส 172 ล้านบาท และศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และที่ดิน 2,722 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับการยื่นฟ้องคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถือว่าเป็นคดีที่ 4 แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ถูกฟ้องมาแล้ว 3 คดี
ประกอบด้วยคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน ตกเป็นจำเลยคดีทุจริตซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 โดยวันนี้ 22 ส.ค.ศาลได้หมายเรียกตัว นายพิชิฏ ชื่นบาน อดีตทนายความจำเลย ผู้ต้องขังในคดีละเมิดอำนาจศาลกรณีนำถุงเงิน 2 ล้านบาท พยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ธุรการศาลฎีกาฯ ให้มาเบิกความเป็นพยานจำเลยตามบัญชีพยานเดิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ธุรการได้นำหมายเรียกดังกล่าวไปส่งมอบให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพื่อนำตัวนายพิชิฏมาศาลเพื่อมาไต่สวนพยาน ในเวลา 09.30 น.
คดีที่ 2 เมื่อวันที่ 30 ก.ค.51 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งรับฟ้องคดี พ.ต.ท.ทักษิณ และพวก ปล่อยกู้พม่า 4,000 ล้าน เอื้อประโยชน์บริษัทชินคอร์ป โดยศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก 16 ก.ย.51
คดีที่ 3 การแปลงสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ที่อัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 11 ก.ค.และศาลฎีกาฯนัดฟังคำสั่งจะรับฟ้องหรือไม่ ในวันที่ 3 ก.ย.นี้ เวลา 10.00 น.
สำหรับคดีหวยบนดิน พ.ต.ท.ทักษิณ ถือว่ารอดหวุดหวิด แต่ ครม.รัฐบาลทักษิณ ถูกฟ้องเป็นจำเลยยกชุด โดยศาลนัดพิจารณาครั้งแรก 26 ก.ย.นี้ 10.00 น.