ผู้จัดการรายวัน - ศาลฎีกานักการเมืองรับฟ้องยึดทรัพย์ทักษิณ 7.6 หมื่นล้าน นัดพร้อมกำหนดกระบวนพิจารณาคดี 25 ธ.ค.นี้ พร้อมสั่งปิดประกาศคำร้อง – ลงโฆษณาหนังสือพิมพ์รายวัน 3 วันติดต่อกัน ส่งหมายแจ้งแม้ว – ผู้มีชื่อครอบครองทรัพย์สินยื่นคัดค้านภายใน 30 วัน อธิบดีอัยการคดีพิเศษชี้คดีแพ่งแม้ทักษิณไม่อยู่ คดีไม่ชะงัก
วานนี้ (16 ต.ค.) เวลา 14.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยศาลพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (4)และคำร้องถูกต้องชอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 23 จึงมีคำสั่งให้ประทับรับคำร้องไว้พิจารณาพิพากษา โดยให้ส่งสำเนาคำร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาและให้ผู้ที่มีชื่อครอบครองทรัพย์สินตามคำร้องทราบ พร้อมทั้งให้ปิดประกาศคำร้องไว้ที่ศาลฎีกาฯ- ศาลจังหวัดที่บุคคลที่มีชื่อครอบครองทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ และให้ลงประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
โดยศาลนัดพร้อมในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เพื่อกำหนดกระบวนพิจารณาต่อไป และให้แจ้งหมายนัดให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ หากไม่มีผู้รับหมายโดยชอบให้ปิดหมาย และถ้าจะมีผู้ยื่นคัดค้านทรัพย์สินให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศคำร้อง หากยื่นไม่ทันภายในกำหนดให้ยื่นคัดค้านได้อีกก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาแต่จะต้องระบุตุผลที่ยื่นล่าช้าด้วย
สำหรับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ไม่มีผู้ใดรับมอบอำนาจมาร่วมฟังการพิจารณาคดีแต่อย่างใด คงมีฝ่ายอัยการโจทก์เท่านั้นที่เดินทางมาฟังคำสั่ง โดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นเรื่องคดีแพ่ง ที่ไม่มีโทษอาญาที่ต้องมีตัวจำเลยมาศาล ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาศาลก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาต้องหยุดชะงักลง แต่อย่างไรก็ดีต้องรอฟังกระบวนพิจารณาคดีที่ศาลจะมีคำสั่งอีกครั้งในนัดพร้อมที่ 25 ธ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อลงมติเลือกผู้พิพากษาระดับไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา 1 คน เพื่อเป็นองค์คณะฯ คดียึดทรัพย์ เนื่องจากนายศิริชัย จิระบุญศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หนึ่งในองค์คณะ ฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะต้องรักษาอาการป่วย โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีมติเลือกนายพงศ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นผู้พิพากษาองค์คณะแทน
สำหรับคดีคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดแจ้งว่า คตส.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบไต่สวนและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2544-มีนาคม 2548 ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ถือหุ้นแทนจำนวน 458,550,000 หุ้น น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 604,600,000 หุ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 20,000,000 หุ้น และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น โดยที่บริษัท ชินคอร์ป เป็นบริษัทได้รับสัมปทานกิจการโทรคมนาคมจากรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 ม.32, 33 และ 100 ซึ่งมีความผิดอาญา ม.119 และ 122
และในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ สั่งการ มอบนโยบาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐภายใต้บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกล่าวหากระทำการที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.เป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ที่เป็นผลให้บริษัท ชินคอร์ป ซึ่งประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมสามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละ 50 โดย พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 โดยปรากฏว่าในวันที่ 23 มกราคม 2549 ก็ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯจำนวน จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้, น.ส.พินทองทา บุตรชาย และบุตรสาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว และนายบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทน ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,722,880932.05 บาท ซึ่งตั้งแต่ 2546 – 2548 บริษัท ชินคอร์ปฯ ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าวรวมเป็นเงินจำนวน ทั้งหมด 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาฯ ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 ม.80
***สมชายลั่นมาจากศาลไม่แตะคดี
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะคืนพาสปอร์ตแดงกับทางการไทยเองว่าให้ไปถามกระทรวงการต่างประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยคุยกับตนเลย เรื่องอย่างนี้ท่านจะไม่คุยกับตนและไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาคุย ท่านก็รู้ ไม่เคยคุยเรื่องนี้ก็แล้วกัน ให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอน จะไม่ก้าวก่ายกระบวนการและขั้นตอน รวมถึงเรื่องอายัดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน ไม่ยุ่ง ไม่ก้าวก่ายกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ไม่แตะต้องเป็นอันขาด
"ผมเคยพูดชัดเจน ตั้งแต่วันที่รับพระบรมราชโองการก็บอกว่าผมจะปฏิบัติตามกฎหมายและยึดถือกระบวนการยุติธรรม ผมมาจากศาลนะ มาจากคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ฉะนั้นเรื่องนี้ผมเคารพ" นายสมชายกล่าว
วานนี้ (16 ต.ค.) เวลา 14.00 น.ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะรวม 9 คน ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 14 / 2551 ที่นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
โดยศาลพิจารณาคำร้องแล้วเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (4)และคำร้องถูกต้องชอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 23 จึงมีคำสั่งให้ประทับรับคำร้องไว้พิจารณาพิพากษา โดยให้ส่งสำเนาคำร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหาและให้ผู้ที่มีชื่อครอบครองทรัพย์สินตามคำร้องทราบ พร้อมทั้งให้ปิดประกาศคำร้องไว้ที่ศาลฎีกาฯ- ศาลจังหวัดที่บุคคลที่มีชื่อครอบครองทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ และให้ลงประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
โดยศาลนัดพร้อมในวันที่ 25 ธ.ค.นี้ เวลา 10.00 น. เพื่อกำหนดกระบวนพิจารณาต่อไป และให้แจ้งหมายนัดให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ หากไม่มีผู้รับหมายโดยชอบให้ปิดหมาย และถ้าจะมีผู้ยื่นคัดค้านทรัพย์สินให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายใน 30 วันนับแต่วันที่ปิดประกาศคำร้อง หากยื่นไม่ทันภายในกำหนดให้ยื่นคัดค้านได้อีกก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาแต่จะต้องระบุตุผลที่ยื่นล่าช้าด้วย
สำหรับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา ไม่มีผู้ใดรับมอบอำนาจมาร่วมฟังการพิจารณาคดีแต่อย่างใด คงมีฝ่ายอัยการโจทก์เท่านั้นที่เดินทางมาฟังคำสั่ง โดยนายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบคดี กล่าวว่า เนื่องจากคดีนี้เป็นเรื่องคดีแพ่ง ที่ไม่มีโทษอาญาที่ต้องมีตัวจำเลยมาศาล ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีตัว พ.ต.ท.ทักษิณ มาศาลก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาต้องหยุดชะงักลง แต่อย่างไรก็ดีต้องรอฟังกระบวนพิจารณาคดีที่ศาลจะมีคำสั่งอีกครั้งในนัดพร้อมที่ 25 ธ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อลงมติเลือกผู้พิพากษาระดับไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา 1 คน เพื่อเป็นองค์คณะฯ คดียึดทรัพย์ เนื่องจากนายศิริชัย จิระบุญศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา หนึ่งในองค์คณะ ฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะต้องรักษาอาการป่วย โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีมติเลือกนายพงศ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นผู้พิพากษาองค์คณะแทน
สำหรับคดีคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีหนังสือถึงอัยการสูงสุดแจ้งว่า คตส.ได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบไต่สวนและมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกกล่าวหา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2544-มีนาคม 2548 ได้ปกปิดการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส (คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย ถือหุ้นแทนจำนวน 458,550,000 หุ้น น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 604,600,000 หุ้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว ถือหุ้นแทนจำนวน 20,000,000 หุ้น และนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทนจำนวน 336,340,150 หุ้น โดยที่บริษัท ชินคอร์ป เป็นบริษัทได้รับสัมปทานกิจการโทรคมนาคมจากรัฐ ซึ่งเป็นการฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ.2542 ม.32, 33 และ 100 ซึ่งมีความผิดอาญา ม.119 และ 122
และในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ สั่งการ มอบนโยบาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐภายใต้บังคับบัญชา หรือกำกับดูแลของผู้ถูกล่าวหากระทำการที่เป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัทในเครือเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ ในระหว่างที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาลในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เสนอกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.เป็น พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ที่เป็นผลให้บริษัท ชินคอร์ป ซึ่งประกอบธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมสามารถมีผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลต่างด้าวได้ไม่เกินร้อยละ 50 โดย พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2549 โดยปรากฏว่าในวันที่ 23 มกราคม 2549 ก็ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปฯจำนวน จำนวน 1,149,490,150 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 48 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยที่ผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรส เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่ใช้ชื่อ นายพานทองแท้, น.ส.พินทองทา บุตรชาย และบุตรสาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว และนายบรรณพจน์ พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน ถือหุ้นแทน ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ โดยมีบริษัท ซีดาร์โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัท แอสแพนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าว เป็นผู้ซื้อ เป็นจำนวนเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว รวม 69,722,880932.05 บาท ซึ่งตั้งแต่ 2546 – 2548 บริษัท ชินคอร์ปฯ ได้จ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำนวนดังกล่าวรวมเป็นเงินจำนวน ทั้งหมด 6,898,722,129 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นดังกล่าวทั้งหมดจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติ จึงส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาฯ ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,621,603,061.05 บาท ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. พ.ศ. 2542 ม.80
***สมชายลั่นมาจากศาลไม่แตะคดี
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าที่มีข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะคืนพาสปอร์ตแดงกับทางการไทยเองว่าให้ไปถามกระทรวงการต่างประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เคยคุยกับตนเลย เรื่องอย่างนี้ท่านจะไม่คุยกับตนและไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาคุย ท่านก็รู้ ไม่เคยคุยเรื่องนี้ก็แล้วกัน ให้เป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอน จะไม่ก้าวก่ายกระบวนการและขั้นตอน รวมถึงเรื่องอายัดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน ไม่ยุ่ง ไม่ก้าวก่ายกระบวนการ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ไม่แตะต้องเป็นอันขาด
"ผมเคยพูดชัดเจน ตั้งแต่วันที่รับพระบรมราชโองการก็บอกว่าผมจะปฏิบัติตามกฎหมายและยึดถือกระบวนการยุติธรรม ผมมาจากศาลนะ มาจากคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ฉะนั้นเรื่องนี้ผมเคารพ" นายสมชายกล่าว