ASTV ผู้จัดการรายวัน – สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยคาดปีหน้าอัตราดอกเบี้ยจะลดลง 0.5 – 1% ส่งผลให้นักลงทุนสนใจลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นกู้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 3 ปี พร้อมเผยปริมาณการออกตราสรหนี้ในปีนี้ หากไม่รวมพันธบัตร ธปท.ลดลงจากปีก่อน 5% ส่วนพันธบัตร ธปท.ออกใหม่ 9.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 กว่าเท่าตัว เช่นเดียวกันหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกใหม่ 260,846 ล้านบาท เพิ่มใขึ้นกว่า 34% ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังออกลดลง
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 น่าจะปรับตัวลดงลงได้อีกประมาณ 0.5 – 1.00% และคาดว่าพันธบัตรรัฐบาลน่าจะได้รับควาามนิยมจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีนี้ ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชนจะไดัรับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นช่วงกลางปี หลังจากความตระหนกเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายลง และอัตราผลตอบแทนในเงินฝาก และพันธบัตรภาครัฐที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักลงทุนหันมาเลือกลงทุนในหุ้นกู้ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยนักลงทุนจะยังสนใจลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 3 ปีเช่นปี 2551
สำหรับปริมาณการออกตราสารหนี้ในปี 2551 หากไม่รวมปริมาณการออกใหม่ของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่ามีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่ลดลงจากปีก่อนประมาณ 5% แต่หากรวมพันธบัตร ธปท.เข้ามาด้วยจะส่งผลให้มูลค่าการออกรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากหรือเพิ่มขึ้นประมาณ 85% ทั้งนี้ พันธบัตร ธปท. ซึ่งมีปริมาณการออกถึง 9.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ออกทั้งสิ้น 4.21 ล้านล้านบาท ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังกลับมีปริมาณการออกตราสารหนี้ไม่ลดลง สำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนมีปริมาณการออกหุ้นกู้ใหม่สูงถึง 260,846 ล้านบาท หรือเพิมขึ้นกว่า 34% จากปีที่แล้ว
“ในปี 2551 ภาคเอกชนมีการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ค่อนข้างมาก หรือจะเรียกได้ว่ามากที่สุดตั้งแต่มีการออกหุ้นกู้มา โดยหุ้นกู้ใหม่ในปีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนจากกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งครองสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการออกหุ้นกู้ใหม่ทั้งปี” นายณัฐพล กล่าว
ส่วนการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยแบบซื้อขายขาด (Outright) ไม่นับรวมพันธบัตร ธปท.มีมูลค่าเท่ากับ 7,871.10 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากปี 2550 ที่มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 8,677.41 ล้านบาทต่อวัน หรือลดลงประมาณ 9% การซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงเน้นไปที่ตราสรหนี้ระยะสั้นอย่างพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถือว่าการซื้อขายในตลาดเงิน (Money Market) มากกว่าจะนับว่าเป็นอุปสงค์ที่แท้จริงในตราสารหนี้
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ถึงแม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีความผันผวนในช่วงปีนี้ แต่พันธบัตรก็ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน เห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน หรือคิดเป้นมูลค่าการซื้อขายทั้งปีประมาณ 1.18 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 4,813.02 ล้านบาท
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน มีปริมาณการซื้อสุทธิอยู่ที่ 64,612 ล้านบาท และในเดือนธันวาคมจากตัวเลขล่าสุด นักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อสุทธิเช่นเดียวกัน ดังนั้น คาดว่าจนถึงสิ้นปี นักลงทุนต่างประเทศจะมีมูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้สุทธิที่ 64,796 ล้านบาท และมีมูลค่าการถือครองตราสารหนี้อยุ่ที่ 76,361 ล้านบาท
ขณะที่เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีความผันผวน โดยปรับตัวขึ้นและลงสลับกันไปตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรตามปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดูเหมือนจะไม่หยุดลงง่ายในช่วงเวลาอันใกล้นี้ โดยข้อมูลถึง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พบว่า อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงจากสิ้นปีที่แล้วทุกช่วงอายุ แบ่งเป็นอายุ 1 เดือนถึง 3 ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -88 ถึง -195 basis point อายุ 4 ถึง 7 ปี ลดลงช่วง -208 ถึง -222 basis point อายุ 8 ถึง 10 ปี ลดลง -230 ถึง -232 basis point อายุ 10 ปีขึ้นไป ลดลงมในช่วง -216 ถึง -230 basis point
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 น่าจะปรับตัวลดงลงได้อีกประมาณ 0.5 – 1.00% และคาดว่าพันธบัตรรัฐบาลน่าจะได้รับควาามนิยมจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีนี้ ขณะที่หุ้นกู้ภาคเอกชนจะไดัรับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นช่วงกลางปี หลังจากความตระหนกเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายลง และอัตราผลตอบแทนในเงินฝาก และพันธบัตรภาครัฐที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักลงทุนหันมาเลือกลงทุนในหุ้นกู้ซึ่งให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยนักลงทุนจะยังสนใจลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 - 3 ปีเช่นปี 2551
สำหรับปริมาณการออกตราสารหนี้ในปี 2551 หากไม่รวมปริมาณการออกใหม่ของพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่ามีปริมาณการออกตราสารหนี้ใหม่ลดลงจากปีก่อนประมาณ 5% แต่หากรวมพันธบัตร ธปท.เข้ามาด้วยจะส่งผลให้มูลค่าการออกรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากหรือเพิ่มขึ้นประมาณ 85% ทั้งนี้ พันธบัตร ธปท. ซึ่งมีปริมาณการออกถึง 9.54 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ออกทั้งสิ้น 4.21 ล้านล้านบาท ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังกลับมีปริมาณการออกตราสารหนี้ไม่ลดลง สำหรับหุ้นกู้ภาคเอกชนมีปริมาณการออกหุ้นกู้ใหม่สูงถึง 260,846 ล้านบาท หรือเพิมขึ้นกว่า 34% จากปีที่แล้ว
“ในปี 2551 ภาคเอกชนมีการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ค่อนข้างมาก หรือจะเรียกได้ว่ามากที่สุดตั้งแต่มีการออกหุ้นกู้มา โดยหุ้นกู้ใหม่ในปีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการระดมทุนจากกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งครองสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการออกหุ้นกู้ใหม่ทั้งปี” นายณัฐพล กล่าว
ส่วนการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยแบบซื้อขายขาด (Outright) ไม่นับรวมพันธบัตร ธปท.มีมูลค่าเท่ากับ 7,871.10 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากปี 2550 ที่มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 8,677.41 ล้านบาทต่อวัน หรือลดลงประมาณ 9% การซื้อขายส่วนใหญ่ยังคงเน้นไปที่ตราสรหนี้ระยะสั้นอย่างพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถือว่าการซื้อขายในตลาดเงิน (Money Market) มากกว่าจะนับว่าเป็นอุปสงค์ที่แท้จริงในตราสารหนี้
กรรมการผู้จัดการ ThaiBMA กล่าวว่า ถึงแม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีความผันผวนในช่วงปีนี้ แต่พันธบัตรก็ยังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน เห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน หรือคิดเป้นมูลค่าการซื้อขายทั้งปีประมาณ 1.18 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 4,813.02 ล้านบาท
สำหรับนักลงทุนต่างประเทศ ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤศจิกายน มีปริมาณการซื้อสุทธิอยู่ที่ 64,612 ล้านบาท และในเดือนธันวาคมจากตัวเลขล่าสุด นักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อสุทธิเช่นเดียวกัน ดังนั้น คาดว่าจนถึงสิ้นปี นักลงทุนต่างประเทศจะมีมูลค่าการซื้อขายตราสารหนี้สุทธิที่ 64,796 ล้านบาท และมีมูลค่าการถือครองตราสารหนี้อยุ่ที่ 76,361 ล้านบาท
ขณะที่เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยมีความผันผวน โดยปรับตัวขึ้นและลงสลับกันไปตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ผันแปรตามปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดูเหมือนจะไม่หยุดลงง่ายในช่วงเวลาอันใกล้นี้ โดยข้อมูลถึง ณ วันที่ 19 ธันวาคม พบว่า อัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงจากสิ้นปีที่แล้วทุกช่วงอายุ แบ่งเป็นอายุ 1 เดือนถึง 3 ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -88 ถึง -195 basis point อายุ 4 ถึง 7 ปี ลดลงช่วง -208 ถึง -222 basis point อายุ 8 ถึง 10 ปี ลดลง -230 ถึง -232 basis point อายุ 10 ปีขึ้นไป ลดลงมในช่วง -216 ถึง -230 basis point