สบน.รับดันพันธบัตรรัฐบาลซื้อขายตลาดรองเกิดยาก ชี้ปริมาณยังน้อยความต้องการซื้อขายไม่ตรงกัน เผยชะลอออกพันธบัตรอิงเงินเฟ้อ
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงนโยบายของนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมช.คลัง ที่ต้องการผลักดันให้มีการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองตราสารหนี้ว่า ในทางปฎิบัติคงเป็นไปได้ยากเพราะส่วนใหญ่ผู้ซื้อพันธบัตรต้องการลงทุนหรือถือในระยะยาว ไม่ได้ต้องการนำมาขายเปลี่ยนมือเหมือนการซื้อขายหุ้นที่มีการซื้อขายทุกวัน
นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยๆ หากจะทำให้ตลาดรองมีการซื้อขายต้องมีปริมาณพันธบัตรเข้าทำการซื้อขายมากพอ แม้ว่าจะมีพันธบัตรบางส่วนอยู่ในมือของสถาบันการเงินซึ่งหากต้องการจะขายจริงทั้งล็อตก็อาจไม่มีผู้ซื้อ
“จริงๆ ตลาดรองสำหรับการซื้อขายตราสารหนี้มีอยู่แล้วแต่ส่วนใหญ่พันธบัตรรัฐบาลมักไม่มีผู้นิยมนำมาขายหรือมีการเปลี่ยนมือแต่จะถือจนครบอายุเพื่อกินดอกเบี้ยมากกว่า อีกทั้งการจับคู่คนซื้อกับคนขายที่ตรงกันนั้นทำได้ยากไม่เหมือนซื้อขายหุ้น จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายอย่างที่รมช.คลังต้องการเห็น” นายจักรกฤศฎิ์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการออกพันธบัตรออมทรัพย์อิงผลตอบแทนจากอัตราเงินเฟ้อนั้น ยังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลจากหลายประเทศๆ ที่การออกพันธบัตรแล้ว โดยล่าสุดเห็นว่าประเทศอินโดนีเซียกำลังจะออกจากที่มีเพียง 2 ประเทศในเอเชียคือ เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีการออกพันธบัตรดังกล่าวแล้ว ในส่วนของไทยจึงต้องรอดูความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งและคงไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้เพราะต้องรอให้มีความพร้อมและมีข้อมูลตัดสินใจที่เพียงพอก่อน
โดยก่อนหน้านี้นายสุชาติ ได้มอบหมายให้สบน.ศึกษาแนวทางให้มีการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองได้เช่นเดียวกับตราสารเงินประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือพันธบัตรที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบอายุและให้มีการพัฒนาตลาดตราสารเงินของประเทศมากขึ้น
ซึ่งสิ่งที่ทำให้พันธบัตรออมทรัพย์ไม่สามารถซื้อขายในตลาดรองได้คือ ชื่อผู้ถือครองพันธบัตรที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้การโอนสิทธิการถือครองพันธบัตรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้พันธบัตรออมทรัพย์มีการฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงไม่สามารถซื้อขายได้ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้มีการโอนมาไว้ที่บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้สามารถซื้อขายได้
"หากพันธบัตรออมทรัพย์สามารถขายในตลาดรองได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตลาดตราสารหนี้เพราะจะทำให้มีสินค้าจำหน่ายมากขึ้นและทำให้ราคาหน้าตั๋วเพิ่มสูงขึ้นหากดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์และทำให้ผู้ถือได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือพันธบัตรที่มีความต้องการใช้เงินสามารถขายในตลาดรองได้ไม่ต้องรอให้พันธบัตรครบอายุไถ่ถอนจึงจะได้รับเงิน" นายสุชาติกล่าว
นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงนโยบายของนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รักษาการ รมช.คลัง ที่ต้องการผลักดันให้มีการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองตราสารหนี้ว่า ในทางปฎิบัติคงเป็นไปได้ยากเพราะส่วนใหญ่ผู้ซื้อพันธบัตรต้องการลงทุนหรือถือในระยะยาว ไม่ได้ต้องการนำมาขายเปลี่ยนมือเหมือนการซื้อขายหุ้นที่มีการซื้อขายทุกวัน
นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยๆ หากจะทำให้ตลาดรองมีการซื้อขายต้องมีปริมาณพันธบัตรเข้าทำการซื้อขายมากพอ แม้ว่าจะมีพันธบัตรบางส่วนอยู่ในมือของสถาบันการเงินซึ่งหากต้องการจะขายจริงทั้งล็อตก็อาจไม่มีผู้ซื้อ
“จริงๆ ตลาดรองสำหรับการซื้อขายตราสารหนี้มีอยู่แล้วแต่ส่วนใหญ่พันธบัตรรัฐบาลมักไม่มีผู้นิยมนำมาขายหรือมีการเปลี่ยนมือแต่จะถือจนครบอายุเพื่อกินดอกเบี้ยมากกว่า อีกทั้งการจับคู่คนซื้อกับคนขายที่ตรงกันนั้นทำได้ยากไม่เหมือนซื้อขายหุ้น จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายอย่างที่รมช.คลังต้องการเห็น” นายจักรกฤศฎิ์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าในการออกพันธบัตรออมทรัพย์อิงผลตอบแทนจากอัตราเงินเฟ้อนั้น ยังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลจากหลายประเทศๆ ที่การออกพันธบัตรแล้ว โดยล่าสุดเห็นว่าประเทศอินโดนีเซียกำลังจะออกจากที่มีเพียง 2 ประเทศในเอเชียคือ เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีการออกพันธบัตรดังกล่าวแล้ว ในส่วนของไทยจึงต้องรอดูความเหมาะสมอีกครั้งหนึ่งและคงไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้เพราะต้องรอให้มีความพร้อมและมีข้อมูลตัดสินใจที่เพียงพอก่อน
โดยก่อนหน้านี้นายสุชาติ ได้มอบหมายให้สบน.ศึกษาแนวทางให้มีการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองได้เช่นเดียวกับตราสารเงินประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือพันธบัตรที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบอายุและให้มีการพัฒนาตลาดตราสารเงินของประเทศมากขึ้น
ซึ่งสิ่งที่ทำให้พันธบัตรออมทรัพย์ไม่สามารถซื้อขายในตลาดรองได้คือ ชื่อผู้ถือครองพันธบัตรที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้การโอนสิทธิการถือครองพันธบัตรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้พันธบัตรออมทรัพย์มีการฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงไม่สามารถซื้อขายได้ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้มีการโอนมาไว้ที่บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้สามารถซื้อขายได้
"หากพันธบัตรออมทรัพย์สามารถขายในตลาดรองได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตลาดตราสารหนี้เพราะจะทำให้มีสินค้าจำหน่ายมากขึ้นและทำให้ราคาหน้าตั๋วเพิ่มสูงขึ้นหากดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์และทำให้ผู้ถือได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือพันธบัตรที่มีความต้องการใช้เงินสามารถขายในตลาดรองได้ไม่ต้องรอให้พันธบัตรครบอายุไถ่ถอนจึงจะได้รับเงิน" นายสุชาติกล่าว