ผู้จัดการรายวัน – "สุชาติ ธาดาธำรงเวช" ไอเดียบรรเจิดเตรียมผลักดันพันธบัตรออมทรัพย์ขายในตลาดรองเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ออมเงิน หาช่องแก้ไขสิทธิการถือครองเพื่อให้ซื้อขายผ่านศูนย์ฝากหลักทรัพย์ได้ พร้อมขยายช่องทางขายพันธบัตรผ่าน ธ.ก.ส. – ออมสิน หวังเพิ่มการออมในระบบฐานรากมากขึ้น
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ศึกษาแนวทางให้มีการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองได้เช่นเดียวกับตราสารเงินประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือพันธบัตรที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบอายุและให้มีการพัฒนาตลาดตราสารเงินของประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้พันธบัตรออมทรัพย์ไม่สามารถซื้อขายในตลาดรองได้คือ ชื่อผู้ถือครองพันธบัตรที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้การโอนสิทธิการถือครองพันธบัตรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้พันธบัตรออมทรัพย์มีการฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงไม่สามารถซื้อขายได้ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้มีการโอนมาไว้ที่บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้สามารถซื้อขายได้
"หากพันธบัตรออมทรัพย์สามารถขายในตลาดรองได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตลาดตราสารหนี้เพราะจะทำให้มีสินค้าจำหน่ายมากขึ้นและทำให้ราคาหน้าตั๋วเพิ่มสูงขึ้นหากดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์และทำให้ผู้ถือได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือพันธบัตรที่มีความต้องการใช้เงินสามารถขายในตลาดรองได้ไม่ต้องรอให้พันธบัตรครบอายุไถ่ถอนจึงจะได้รับเงิน" นายสุชาติกล่าว
รมช.คลังกล่าวว่า ขณะเดียวกันเพื่อให้การขายพันธบัตรออมทรัพย์เข้าถึงมือรายย่อยมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะประชาชน และเกษตรกรระดับฐานรากหลังจากในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้จำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย โดยจะให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินซึ่งสามารถเข้าถึงประชาชนในระดับฐานรากได้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไปคาดว่าจะมีการระดมทุนภายในประเทศผ่านทางพันธบัตรออมทรัพย์มากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐหรือเมกะโปรเจกต์ ทั้งทางด้านระบบขนส่งมวลชน ระบบรางและโครงข่ายคมนาคมอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องพิจารณารูปแบบในการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อให้ถึงมือรายย่อยที่ต้องการออมให้มากที่สุด
"การให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้ขายน่าจะเป็นการให้ประโยชน์กับประชาชนมากกว่าการขายผ่านแบงก์พาณิชย์ที่ต้องคิดถึงผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่กระทรวงการคลังก็ต้องดูต้นทุนของแบงก์รัฐที่เป็นผู้จัดจำหน่ายไม่ให้เขาลำบากมากนักจะต้องคุยรายละเอียดในส่วนนี้ให้ชัดเจนก่อน เพราะจากนี้ไปรัฐบาลต้องกู้เงินภายในประเทศมากขึ้นเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานจึงมีความจำเป็ฯต้องให้ธ.ก.ส.และออมสินเข้ามาจัดการในส่วนนี้เพื่อให้พันธบัตรออมทรัพย์เข้าถึงมือรายย่อยที่อยู่ต่างจังหวัดได้มากกว่าในปัจจุบัน" รมช.คลังกล่าว
นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ศึกษาแนวทางให้มีการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ในตลาดรองได้เช่นเดียวกับตราสารเงินประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือพันธบัตรที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนที่พันธบัตรจะครบอายุและให้มีการพัฒนาตลาดตราสารเงินของประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้พันธบัตรออมทรัพย์ไม่สามารถซื้อขายในตลาดรองได้คือ ชื่อผู้ถือครองพันธบัตรที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อให้การโอนสิทธิการถือครองพันธบัตรได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้พันธบัตรออมทรัพย์มีการฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จึงไม่สามารถซื้อขายได้ดังนั้นจึงต้องแก้ไขให้มีการโอนมาไว้ที่บริษัท ศูนย์ฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้สามารถซื้อขายได้
"หากพันธบัตรออมทรัพย์สามารถขายในตลาดรองได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตลาดตราสารหนี้เพราะจะทำให้มีสินค้าจำหน่ายมากขึ้นและทำให้ราคาหน้าตั๋วเพิ่มสูงขึ้นหากดอกเบี้ยในตลาดต่ำกว่าดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์และทำให้ผู้ถือได้กำไรจากส่วนต่างของราคาหน้าตั๋ว อีกทั้งยังทำให้ผู้ถือพันธบัตรที่มีความต้องการใช้เงินสามารถขายในตลาดรองได้ไม่ต้องรอให้พันธบัตรครบอายุไถ่ถอนจึงจะได้รับเงิน" นายสุชาติกล่าว
รมช.คลังกล่าวว่า ขณะเดียวกันเพื่อให้การขายพันธบัตรออมทรัพย์เข้าถึงมือรายย่อยมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะประชาชน และเกษตรกรระดับฐานรากหลังจากในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้จำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย โดยจะให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินซึ่งสามารถเข้าถึงประชาชนในระดับฐานรากได้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 เป็นต้นไปคาดว่าจะมีการระดมทุนภายในประเทศผ่านทางพันธบัตรออมทรัพย์มากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อนำไปก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐหรือเมกะโปรเจกต์ ทั้งทางด้านระบบขนส่งมวลชน ระบบรางและโครงข่ายคมนาคมอื่นๆ ซึ่งกระทรวงการคลังต้องพิจารณารูปแบบในการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อให้ถึงมือรายย่อยที่ต้องการออมให้มากที่สุด
"การให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้ขายน่าจะเป็นการให้ประโยชน์กับประชาชนมากกว่าการขายผ่านแบงก์พาณิชย์ที่ต้องคิดถึงผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่กระทรวงการคลังก็ต้องดูต้นทุนของแบงก์รัฐที่เป็นผู้จัดจำหน่ายไม่ให้เขาลำบากมากนักจะต้องคุยรายละเอียดในส่วนนี้ให้ชัดเจนก่อน เพราะจากนี้ไปรัฐบาลต้องกู้เงินภายในประเทศมากขึ้นเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานจึงมีความจำเป็ฯต้องให้ธ.ก.ส.และออมสินเข้ามาจัดการในส่วนนี้เพื่อให้พันธบัตรออมทรัพย์เข้าถึงมือรายย่อยที่อยู่ต่างจังหวัดได้มากกว่าในปัจจุบัน" รมช.คลังกล่าว