คลังรับลูกแบงก์พาณิชย์รับมือสภาพคล่องตึง เข้มงวดต่างชาติยื่นขออนุญาตออกบาทบอนด์ เรตติ้งต่ำกว่า AAA ออกยากขึ้น ปรับรอบเวลาดำเนินการจาก 6 เดือนเหลือ 3 เดือน ระบุปี 52 กู้เงินเอดีบี 1 พันล้านบาทสร้างเมกะโปรเจกต์ ขณะที่บิ๊กเอดีบีเผยวิกฤติสถาบันการเงินสหรัฐไม่กระทบไทยโดยตรง พร้อมควักกระเป๋าช่วยเหลือหากเกิดปัญหาสภาพคล่อง
หลังสมาคมธนาคารไทยเสนอกระทรวงการคลังทบทวนการออกบาทบอนด์ของต่างชาติในไทย เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อสภาพคล่องในประเทศหลังวิกฤตการเงินสหรัฐลุกลามเมื่อต้นสัปดาห์ ปรากฏว่าวานนี้ (2 ต.ค.) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังโดย สบน.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขที่หน่วยงานหรือองค์กรจากต่างชาติขออนุญาตออกพันธบัตรสกุลเงินบาทหรือบาทบอนด์ โดยจะพิจาณาให้องค์กรที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AAA สามารถออกบาทบอนด์ได้ง่ายกว่าหน่วยงานที่มีอันดับเครดิตน้อยกว่า โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปรับลดรอบเวลาการอนุญาตให้ออกบาทบอนด์จากเดิมที่ให้ไว้ 6 เดือนเหลือเพียง 3 เดือนเท่านั้นเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารจัดการปริมาณการออกพันธบัตรให้สอดคล้องกับปริมาณสภาพคล่องในประเทศที่มีอยู่ในระบบได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
“สถาบันการเงินหรือหน่วยงานจากต่างประเทศที่มีการจัดอันดับเรตติ้งในระดับAAAจะสามารถอกบาทบอนด์ได้ประมาณ 50% ของปริมาณการออกบาทบอนด์ทั้งหมดส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะมีการพิจารณาที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งสถาบันการเงินที่มีเครดิตเรตติ้งสูงก็จะสามารถออกบาทบอนด์ได้ง่ายขึ้น" นายพงษ์ภาณุกล่าว
สาเหตุที่กระทรวงการคลังต้องพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การออกบาทบอนด์นั้นเนื่องจากวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะสภาพคล่องในระบบที่ประเทศไทยจต้องหามาตรการออกมาดูแลเรื่องนี้เพราะสภาพคล่องในประเทศไทยก็เริ่มประสบปัญหาตึงตัวแล้วเช่นกัน ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็ได้มีการอนุมัติให้ต่างชาติออกบาทบอนด์ได้โดยดูจากโควตาที่เหลือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศว่าออกพันธบัตรไปแล้วจำนวนเท่าไรเมื่อมีปริมาณพันธบัตรเหลือก็จะอนุญาตให้ต่างชาติออกบาทบอนได้
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 มีสถาบันการเงินและองค์กรต่างชาติยื่นขออนุญาตออกบาทบอนจำนวนทั้งสิ้น 42 แห่ง วงเงินประมาณ 2.8 แสนล้านบาท มีการอนุมัติไปแล้วทั้งสิ้น 15 แห่ง วงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีการออกจริงไปแล้วเพียง 7 พันล้านบาทเท่านั้น ส่วนวงเงินที่เหลือ 4 หมื่นกว่าล้านบาทนั้นกระทรวงการคลังจะเข้าไปเจรจากับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้ชะลอแผนการออกพันธบัตรออกไปก่อนหรือระงับการออกพันธบัตรเพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารสภาพคล่องที่เหลือในประเทศได้
“สถาบันการเงิน 15 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ออกบาทบอนด์ 5 หมื่นล้านบาทนั้นมีเพียง 7 แห่งที่สามารถดำเนินการไปแล้วและมีเครดิตเรตติ้งที่ AAA เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) ธนาคารโลก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ(ไอเอฟซี) ส่วนที่เหลืออีก 8 แห่งที่เครดิตเรตติ้งต่ำกว่า AAA มี 2 แห่งที่พร้อมจะออกบาทบอนด์ส่วนที่เหลือ 6 แห่งต้องขอความร่วมมือให้ชะลอการออกไปก่อน”
นายพงษ์ภาณุกล่าวต่อว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังมีแผนกูเงินจากเอดีบีวงเงินประมาณ 500 – 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งระบบขนส่งมวลชน ระบบราง การจัดการระบบน้ำและด้านสาธารณสุข ซึ่งวงเงินดังกล่าวอยู่ในแผนการบริหารหนี้ภาครัฐและเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการเร่งด่วน 3 เดือนของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐ
นายฌอง-ปิแอร์ เอ เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี กล่าวว่า เอดีบียังไม่มีแผนการออกบาทบอนด์ในช่วงนี้ ซึ่งการออกบาทบอนด์ของเอดีบี มีวัตถุประสงค์ต้องการช่วยพัฒนาตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้เท่านั้น และไม่ต้องการให้การออกบอนด์ของเอดีบีทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง โดยเอดีบีจะหารือกับคลังและสถาบันการเงินในไทยก่อนการออกบาทบอนด์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับสภาพคล่องของไทย
จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐที่เกิดขึ้น ยังไม่มีประเทศใดในภูมิภาคเอเชียที่ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากเอดีบี ทำให้เห็นว่าผลกระทบทางตรงนั้นยังไม่มี ส่วนปัญหาทางอ้อมจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในเอเชียน้อยลง ทำให้สภาพคล่องในเอเชียตึงตัวนั้น สถาบันการเงินก็ต้องระมัดระวังการให้สินเชื่อเนื่องจากต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินสูงขึ้น ซึ่งเอดีบีมีความพร้อมในการช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียหากมีปัญหาด้านการเงินเกิดขึ้น .
หลังสมาคมธนาคารไทยเสนอกระทรวงการคลังทบทวนการออกบาทบอนด์ของต่างชาติในไทย เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อสภาพคล่องในประเทศหลังวิกฤตการเงินสหรัฐลุกลามเมื่อต้นสัปดาห์ ปรากฏว่าวานนี้ (2 ต.ค.) นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังโดย สบน.อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อปรับปรุงเงื่อนไขที่หน่วยงานหรือองค์กรจากต่างชาติขออนุญาตออกพันธบัตรสกุลเงินบาทหรือบาทบอนด์ โดยจะพิจาณาให้องค์กรที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ AAA สามารถออกบาทบอนด์ได้ง่ายกว่าหน่วยงานที่มีอันดับเครดิตน้อยกว่า โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาปรับลดรอบเวลาการอนุญาตให้ออกบาทบอนด์จากเดิมที่ให้ไว้ 6 เดือนเหลือเพียง 3 เดือนเท่านั้นเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารจัดการปริมาณการออกพันธบัตรให้สอดคล้องกับปริมาณสภาพคล่องในประเทศที่มีอยู่ในระบบได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
“สถาบันการเงินหรือหน่วยงานจากต่างประเทศที่มีการจัดอันดับเรตติ้งในระดับAAAจะสามารถอกบาทบอนด์ได้ประมาณ 50% ของปริมาณการออกบาทบอนด์ทั้งหมดส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจะมีการพิจารณาที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งสถาบันการเงินที่มีเครดิตเรตติ้งสูงก็จะสามารถออกบาทบอนด์ได้ง่ายขึ้น" นายพงษ์ภาณุกล่าว
สาเหตุที่กระทรวงการคลังต้องพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การออกบาทบอนด์นั้นเนื่องจากวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะสภาพคล่องในระบบที่ประเทศไทยจต้องหามาตรการออกมาดูแลเรื่องนี้เพราะสภาพคล่องในประเทศไทยก็เริ่มประสบปัญหาตึงตัวแล้วเช่นกัน ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็ได้มีการอนุมัติให้ต่างชาติออกบาทบอนด์ได้โดยดูจากโควตาที่เหลือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศว่าออกพันธบัตรไปแล้วจำนวนเท่าไรเมื่อมีปริมาณพันธบัตรเหลือก็จะอนุญาตให้ต่างชาติออกบาทบอนได้
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 มีสถาบันการเงินและองค์กรต่างชาติยื่นขออนุญาตออกบาทบอนจำนวนทั้งสิ้น 42 แห่ง วงเงินประมาณ 2.8 แสนล้านบาท มีการอนุมัติไปแล้วทั้งสิ้น 15 แห่ง วงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีการออกจริงไปแล้วเพียง 7 พันล้านบาทเท่านั้น ส่วนวงเงินที่เหลือ 4 หมื่นกว่าล้านบาทนั้นกระทรวงการคลังจะเข้าไปเจรจากับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้ชะลอแผนการออกพันธบัตรออกไปก่อนหรือระงับการออกพันธบัตรเพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารสภาพคล่องที่เหลือในประเทศได้
“สถาบันการเงิน 15 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้ออกบาทบอนด์ 5 หมื่นล้านบาทนั้นมีเพียง 7 แห่งที่สามารถดำเนินการไปแล้วและมีเครดิตเรตติ้งที่ AAA เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี) ธนาคารโลก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ(ไอเอฟซี) ส่วนที่เหลืออีก 8 แห่งที่เครดิตเรตติ้งต่ำกว่า AAA มี 2 แห่งที่พร้อมจะออกบาทบอนด์ส่วนที่เหลือ 6 แห่งต้องขอความร่วมมือให้ชะลอการออกไปก่อน”
นายพงษ์ภาณุกล่าวต่อว่า สำหรับในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงการคลังมีแผนกูเงินจากเอดีบีวงเงินประมาณ 500 – 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งระบบขนส่งมวลชน ระบบราง การจัดการระบบน้ำและด้านสาธารณสุข ซึ่งวงเงินดังกล่าวอยู่ในแผนการบริหารหนี้ภาครัฐและเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการเร่งด่วน 3 เดือนของรัฐบาลที่ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เกิดวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐ
นายฌอง-ปิแอร์ เอ เวอร์บีสท์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนประเทศไทย ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี กล่าวว่า เอดีบียังไม่มีแผนการออกบาทบอนด์ในช่วงนี้ ซึ่งการออกบาทบอนด์ของเอดีบี มีวัตถุประสงค์ต้องการช่วยพัฒนาตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้เท่านั้น และไม่ต้องการให้การออกบอนด์ของเอดีบีทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง โดยเอดีบีจะหารือกับคลังและสถาบันการเงินในไทยก่อนการออกบาทบอนด์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับสภาพคล่องของไทย
จากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐที่เกิดขึ้น ยังไม่มีประเทศใดในภูมิภาคเอเชียที่ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากเอดีบี ทำให้เห็นว่าผลกระทบทางตรงนั้นยังไม่มี ส่วนปัญหาทางอ้อมจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในเอเชียน้อยลง ทำให้สภาพคล่องในเอเชียตึงตัวนั้น สถาบันการเงินก็ต้องระมัดระวังการให้สินเชื่อเนื่องจากต้นทุนทางการเงินของสถาบันการเงินสูงขึ้น ซึ่งเอดีบีมีความพร้อมในการช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียหากมีปัญหาด้านการเงินเกิดขึ้น .