ช่วงอายุ 50 ปีนี้ เป็นช่วงที่หลายท่านในแวดวงการทำงานจะเกษียณอายุ นึกไปแล้วก็น่ายินดีที่จะได้พักผ่อนหลังจากได้ใช้ความรู้ความสามารถปฏิบัติภารกิจอย่างเต็มที่มาจนถึงวันนี้ สำหรับคนที่เดินทางมาถึงช่วงอายุ 50 ปี จะต้องเตรียมตัวแล้วว่าเรามาถึงโค้งสุดท้ายของชีวิตการทำงานแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่จะสร้างความสุขให้กับคนในวัยนี้ คือ การมีเงินออมที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีพหลังจากไม่ทำงานแล้ว
ดังนั้น เป้าหมายหลักของการออมเงินของคนวัยนี้ คงหนีไม่พ้นการเก็บเงินไว้ใช้ในยามที่ไม่ได้ทำงานแล้ว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่แตกต่างไปจากช่วงที่เรายังทำงานอยู่นั่นเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดสรรเงินออมที่เหมาะสมของคนในวัยนี้ ที่เหลือช่วงเวลาหารายได้อีกไม่นาน จึงต้องเก็บออมเงินและจัดสรรเงินไปลงทุนในสิ่งที่มี “ความเสี่ยงต่ำที่สุด” อีกทั้งให้ผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป นั่นคือ ส่วนหนึ่งควรเป็นเงินฝากธนาคารเพื่อเก็บไว้กินดอกเบี้ย อีกส่วนหนึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล โดยทั้งสองอย่างนี้ควรอยู่ที่ประมาณ 90% ของเงินออมทั้งหมด และส่วนสุดท้ายไม่เกิน 10%ของเงินที่ออมไว้ นำไปลงทุนในเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่นในหุ้นเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จะได้มีเงินเพียงพอตามเป้าหมายให้ตัวเราสบาย แต่ทั้งนี้ต้องคิดไว้เสมอว่า เงินที่จะเอาไปเสี่ยงนั้น หากจะสูญเสียไปจะไม่เกิดผลกระทบกับตนเองโดยทำให้ตัวเองลำบากหรือก่อเป็นหนี้สินในตอนอายุ 50 ซึ่งไม่ดีเลย
เมื่อเขียนมาถึงตอนนี้ ได้ยินผู้อ่านบอกมาว่า ได้อ่านของตอนที่แล้วพร้อมกับบอกว่าถ้าตอนที่อายุ 40 เก็บเงินและคิดลงทุนไว้ป่านนี้คงสบายกว่านี้แล้ว อยากจะบอกทุกคนเพื่อเป็นกำลังใจว่าไม่มีคำว่า “สายไป” เพียงแต่รู้แล้วพูดอย่างเดียว หรือพูดแล้วลงมือทำด้วย ประเด็นอยู่ตรงทำหรือไม่มากกว่า
แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ยิ่งแก่ขึ้น…ยิ่งต้องลดอะไร ๆ ลงไป โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในทุกจังหวะของชีวิต รักษาสุขภาพกายและใจ พร้อม ๆ กับ “สุขภาพเงิน” ด้วย และบางทีก็ต้องอย่ามั่นใจในตัวเองมากจนไปนัก
ดังนั้น เป้าหมายหลักของการออมเงินของคนวัยนี้ คงหนีไม่พ้นการเก็บเงินไว้ใช้ในยามที่ไม่ได้ทำงานแล้ว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีหรือไม่แตกต่างไปจากช่วงที่เรายังทำงานอยู่นั่นเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดสรรเงินออมที่เหมาะสมของคนในวัยนี้ ที่เหลือช่วงเวลาหารายได้อีกไม่นาน จึงต้องเก็บออมเงินและจัดสรรเงินไปลงทุนในสิ่งที่มี “ความเสี่ยงต่ำที่สุด” อีกทั้งให้ผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป นั่นคือ ส่วนหนึ่งควรเป็นเงินฝากธนาคารเพื่อเก็บไว้กินดอกเบี้ย อีกส่วนหนึ่งเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล โดยทั้งสองอย่างนี้ควรอยู่ที่ประมาณ 90% ของเงินออมทั้งหมด และส่วนสุดท้ายไม่เกิน 10%ของเงินที่ออมไว้ นำไปลงทุนในเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่นในหุ้นเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น จะได้มีเงินเพียงพอตามเป้าหมายให้ตัวเราสบาย แต่ทั้งนี้ต้องคิดไว้เสมอว่า เงินที่จะเอาไปเสี่ยงนั้น หากจะสูญเสียไปจะไม่เกิดผลกระทบกับตนเองโดยทำให้ตัวเองลำบากหรือก่อเป็นหนี้สินในตอนอายุ 50 ซึ่งไม่ดีเลย
เมื่อเขียนมาถึงตอนนี้ ได้ยินผู้อ่านบอกมาว่า ได้อ่านของตอนที่แล้วพร้อมกับบอกว่าถ้าตอนที่อายุ 40 เก็บเงินและคิดลงทุนไว้ป่านนี้คงสบายกว่านี้แล้ว อยากจะบอกทุกคนเพื่อเป็นกำลังใจว่าไม่มีคำว่า “สายไป” เพียงแต่รู้แล้วพูดอย่างเดียว หรือพูดแล้วลงมือทำด้วย ประเด็นอยู่ตรงทำหรือไม่มากกว่า
แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ ยิ่งแก่ขึ้น…ยิ่งต้องลดอะไร ๆ ลงไป โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในทุกจังหวะของชีวิต รักษาสุขภาพกายและใจ พร้อม ๆ กับ “สุขภาพเงิน” ด้วย และบางทีก็ต้องอย่ามั่นใจในตัวเองมากจนไปนัก