พักนี้ ได้ยินคนพูดถึงเรื่องการออมกันมากมาย ขยายไปหลายวงการ นั่นเพราะการออมเป็นเรื่องจำเป็นของตนเองที่จะต้องจัดการเงินทองของตัวให้มีกินมีใช้ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ซึ่งในลักษณะของการออมเงินเพื่อตัวเองนั้น ย่อมจะขยายวงไปถึงครอบครัว และ สังคม สู่ประเทศชาติในที่สุด เท่ากับว่าเรามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาติที่เรารักยิ่งได้เป็นอีกทางหนึ่ง โดยเงินออมของเราจำนวนหนึ่งเมื่อรวมกับคนอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนล้านคน ย่อมทำให้จำนวนเงินออมโตมาก ๆ หมุนเวียนไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการภาคการผลิตต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น
ในทางกลับกัน เคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมคนทำงานหลายๆ คนที่มีรายได้ บางคนมีรายได้ไม่ใช่น้อย แต่กลับไม่มีเงินเหลือไว้สำหรับออมกันเลย หรือบางครอบครัวก็มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ นั่นเป็นเพราะอะไร คงต้องคิดตั้งคำถามเล่น ๆ และลองตอบกันดู เหตุผลหนึ่ง ที่คิดได้จากประสบการณ์นั่นคือ การไม่มีสิ่งที่จะมาควบคุมการใช้จ่ายเงินนั่นเอง ดังนั้นตัวเองก็จะไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้วเดือนหนึ่งนั้นที่เราควักเงินออกไปใช้จ่าย เราใช้เป็นค่าอะไรกัน จำเป็นหรือไม่ก็ไม่เคยรู้ รู้ตัวอีกทีก็เมื่อเงินเดือนเกือบจะหมดแล้ว ดังนั้น วิธีการแก้ไขง่ายๆ คือ จัดทำบัญชีการเงินของเราหรือของครอบครัวเราขึ้น เพื่อดูแลรายรับว่าเรา หรือ ทุกคนในครอบครัวนั้นมีรายรับจากช่องทางใดบ้าง รวมเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ นอกจากนี้ ต้องจัดทำรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อเราตั้งใจจดให้เป็นรายการบัญชีง่าย ๆ ขึ้นมาแล้วเราก็จะเห็นได้ว่า เราใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็น และไม่จำเป็นอย่างไร ซึ่งบัญชีรายรับและรายจ่ายที่เราจะทำนี้ควรประกอบด้วย
1. ตารางรายจ่ายประจำวัน ทำขึ้นเพื่อควบคุมการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในเดือน
2. ตารางรายรับและรายจ่ายรายเดือน ไว้ใช้วางแผนและตั้งงบประมาณสำหรับครอบครัวในระยะยาว เพื่อให้เรารู้ตัวว่า เรามีเงินเท่าไหร่ และ ใช้ได้เท่าไหร่ โดยต้องคิดให้ดีว่า เราต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้เสมอ ถึงจะได้ชื่อว่ามีเงินอย่างแท้จริง
3. ตารางสรุปค่าใช้จ่ายเฉพาะอย่าง เพื่อให้ทราบว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นที่งอกเพิ่มเติมออกมา
4. ตารางบันทึกการออม เป็นตารางที่ช่วยให้เรา และทั้งครอบครัวทราบถึงฐานะและความสามารถในการออมเงิน ว่าเรามีเงินออมเพียงพอหรือยัง
5. ตารางเครื่องใช้ประเภทถาวร ใช้ในการวางแผนว่า จะต้องซื้อของต่างๆ อีกเมื่อไร ซึ่งควรบอกถึงอายุการใช้งานของเครื่องใช้ต่างๆ เหล่านั้นด้วย รวมถึงบอกได้ว่า เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในแต่ละช่วงเป็นเงินเท่าไหร่ที่ต้องใช้
6. ตารางการผ่อนชำระ จะบอกให้เราทราบว่า ตอนนี้เป็นหนี้ใครอยู่เท่าไร ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงภาระการจ่ายเงินในอนาคต จะช่วยให้เราจัดงบประมาณได้สมดุลย์กันโดยไม่เกิดปัญหา
เมื่อเราสามารถจัดทำทั้ง 6 ตารางนี้เป็นที่เรียบร้อย หรืออาจจะปรับให้มีมากตารางหรือลดลงตามความเหมาะสมของตัวเราเองย่อมได้ ยังมีสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องหมั่นใส่ตัวเลข หรือทำการเขียน หรือบันทึกรายการต่าง ๆ เป็นประจำให้เป็นนิสัย เพื่อให้เราได้เห็นภาพรวมว่าเรามีเงินเท่าไหร่ และ ใช้จ่าย ออมและลงทุนเท่าไหร่ หรือเรายังไม่มีอะไร เพราะชอบใช้จ่าย เราก็จะนึกได้และเห็นได้จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ย้อนหลังไป พร้อม ๆ กับนึกโกรธตัวเองก็ได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่สามารถตัดออกได้ และไม่จำเป็นจริง ๆ ที่ต้องใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่ควร ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราเริ่มจะมีข้อมูลของเรา หรือ ครอบครัว เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจว่าเราจะมีเงินเหลือไว้เก็บออมได้อย่างไร
อย่าลืมว่าเงินทองเป็นเรื่องของเรา
ในทางกลับกัน เคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมคนทำงานหลายๆ คนที่มีรายได้ บางคนมีรายได้ไม่ใช่น้อย แต่กลับไม่มีเงินเหลือไว้สำหรับออมกันเลย หรือบางครอบครัวก็มีค่าใช้จ่ายที่มากกว่ารายได้ นั่นเป็นเพราะอะไร คงต้องคิดตั้งคำถามเล่น ๆ และลองตอบกันดู เหตุผลหนึ่ง ที่คิดได้จากประสบการณ์นั่นคือ การไม่มีสิ่งที่จะมาควบคุมการใช้จ่ายเงินนั่นเอง ดังนั้นตัวเองก็จะไม่เคยรู้ว่าจริง ๆ แล้วเดือนหนึ่งนั้นที่เราควักเงินออกไปใช้จ่าย เราใช้เป็นค่าอะไรกัน จำเป็นหรือไม่ก็ไม่เคยรู้ รู้ตัวอีกทีก็เมื่อเงินเดือนเกือบจะหมดแล้ว ดังนั้น วิธีการแก้ไขง่ายๆ คือ จัดทำบัญชีการเงินของเราหรือของครอบครัวเราขึ้น เพื่อดูแลรายรับว่าเรา หรือ ทุกคนในครอบครัวนั้นมีรายรับจากช่องทางใดบ้าง รวมเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ นอกจากนี้ ต้องจัดทำรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อเราตั้งใจจดให้เป็นรายการบัญชีง่าย ๆ ขึ้นมาแล้วเราก็จะเห็นได้ว่า เราใช้เงินไปกับสิ่งที่จำเป็น และไม่จำเป็นอย่างไร ซึ่งบัญชีรายรับและรายจ่ายที่เราจะทำนี้ควรประกอบด้วย
1. ตารางรายจ่ายประจำวัน ทำขึ้นเพื่อควบคุมการใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในเดือน
2. ตารางรายรับและรายจ่ายรายเดือน ไว้ใช้วางแผนและตั้งงบประมาณสำหรับครอบครัวในระยะยาว เพื่อให้เรารู้ตัวว่า เรามีเงินเท่าไหร่ และ ใช้ได้เท่าไหร่ โดยต้องคิดให้ดีว่า เราต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้เสมอ ถึงจะได้ชื่อว่ามีเงินอย่างแท้จริง
3. ตารางสรุปค่าใช้จ่ายเฉพาะอย่าง เพื่อให้ทราบว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นที่งอกเพิ่มเติมออกมา
4. ตารางบันทึกการออม เป็นตารางที่ช่วยให้เรา และทั้งครอบครัวทราบถึงฐานะและความสามารถในการออมเงิน ว่าเรามีเงินออมเพียงพอหรือยัง
5. ตารางเครื่องใช้ประเภทถาวร ใช้ในการวางแผนว่า จะต้องซื้อของต่างๆ อีกเมื่อไร ซึ่งควรบอกถึงอายุการใช้งานของเครื่องใช้ต่างๆ เหล่านั้นด้วย รวมถึงบอกได้ว่า เราจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในแต่ละช่วงเป็นเงินเท่าไหร่ที่ต้องใช้
6. ตารางการผ่อนชำระ จะบอกให้เราทราบว่า ตอนนี้เป็นหนี้ใครอยู่เท่าไร ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงภาระการจ่ายเงินในอนาคต จะช่วยให้เราจัดงบประมาณได้สมดุลย์กันโดยไม่เกิดปัญหา
เมื่อเราสามารถจัดทำทั้ง 6 ตารางนี้เป็นที่เรียบร้อย หรืออาจจะปรับให้มีมากตารางหรือลดลงตามความเหมาะสมของตัวเราเองย่อมได้ ยังมีสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องหมั่นใส่ตัวเลข หรือทำการเขียน หรือบันทึกรายการต่าง ๆ เป็นประจำให้เป็นนิสัย เพื่อให้เราได้เห็นภาพรวมว่าเรามีเงินเท่าไหร่ และ ใช้จ่าย ออมและลงทุนเท่าไหร่ หรือเรายังไม่มีอะไร เพราะชอบใช้จ่าย เราก็จะนึกได้และเห็นได้จากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ย้อนหลังไป พร้อม ๆ กับนึกโกรธตัวเองก็ได้ว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่สามารถตัดออกได้ และไม่จำเป็นจริง ๆ ที่ต้องใช้เงินไปกับสิ่งที่ไม่ควร ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราเริ่มจะมีข้อมูลของเรา หรือ ครอบครัว เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจว่าเราจะมีเงินเหลือไว้เก็บออมได้อย่างไร
อย่าลืมว่าเงินทองเป็นเรื่องของเรา