นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความขัดแย้งภายในพรรคในการตั้งครม.กรณีนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง ระบุว่านายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯได้เข้ารับตำแหน่ง เพราะจ่ายเงิน 80 ล้านบาทว่า ปัญหาจบแล้ว และไม่ต้องให้นายวีระชัย ไปทำความเข้าใจกับนายนิพิฏฐ์ เพราะเป็นเรื่องของพรรคพรรคไปเชิญนายวีระชัย มาเป็นรัฐมนตรี เรื่องนี้เป็นเรื่องของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งตนที่จะชี้แจงกับสมาชิกพรรค และได้ทยอยชี้แจง ไปแล้ว คิดว่าภายใน1-2วันนี้ก็น่าจะดีขึ้น
นาง สดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่านายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บริจาคเงิน จำนวน 80 ล้านบาทให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ ว่า จากการตรวจสอบ ของทางด้านกิจการพรรคการเมือง เกี่ยวกับยอดเงินบริจาค ให้กับพรรคการเมืองตั้งแต่เดือนม.ค.2551ถึงวันที่ 14 ธ.ค.2551 พบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีผู้บริจาคทั้งสิ้น 170,849,876.50 บาท เฉพาะเดือน พ.ย.ที่พรรคประชาธิปัตย์มีการจัดงานระดมทุน มียอดบริจาคทั้งสิ้น 120 ล้านบาทเศษ และจากากรตรวจสอบไม่พบว่านายวีระชัย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องบริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 80 ล้านบาท ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้การบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล ไม่สามารถบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบา ต่อ 1 ปีได้ เพราะกฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 59 ระบุไว้ชัดเจน หากมีการบริจาคเกินจะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง ตามมาตรา 114 มีโทษจำคุก 3 ปี ทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาคโดยเฉพาะหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค และมีโทษปรับสามเท่าของยอดเงินบริจาค
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากนายวีระชัยไม่บริจาคเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเป็นบริษัท ที่เกี่ยวข้อง นางสดศรี กล่าวว่า จากการตรวจสอบที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีบริษัทหรือนิติบุคคลบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้น มีการกล่าวหา ว่าให้เงินเพื่อซื้อตำแหน่ง ผู้ที่กล่าวหาหากมีพยานหลักฐานก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กกต. เพื่อให้ตรวจสอบ เพราะจากกระแสข่าว กกต.ไม่มีอำนาจที่จะไปดำเนินการ ตรวจสอบ โดยที่ไม่มีการร้องเรียน
ส่วนบริษัทที่บริจาคเงิน 10 ล้านบาท สามารถตรวจสอบเชื่อมโยงถึงบริษัทในเครือได้หรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า กกต.สามารถตรวจสอบการบริจาคเงินของ บริษัทอย่างละเอียดและลงลึกได้ โดยเฉพาะบริษัทในเครือ หากตรวจสอบเราจะตรวจสอบความเชื่อมโยง ความเกี่ยวพันธ์ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันโดยเฉพาะเรื่องของ ผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ ว่ามีความผูกพันธ์หรือเชื่อมโยงกันหรือไม่ เพราะหากพบว่า มีความเกี่ยวพันธ์กันก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมายถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กกต.จะส่งเรื่องหลักฐานทางบัญชีการบริจาคเงินไปให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการฟอกเงินหรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบว่า มีการบริจาคแบบแอบแฝงกัน จะถือว่าเป็นความผิด
การบริจาคเงินให้พรรคการเมืองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี บุคคล บริษัทหรือนิติบุคคลแต่ละบริษัทไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ที่พ่อ แม่ ลูก แยกไปตั้งบริษัทหากตรวจสอบพบว่ามีความเชื่อมโยงมีสายสัมพันธ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ และเข้าข่ายมีความผิด หากแยกกันบริจาคก็ต้องไม่เกิน 10 ล้านต่อปี เพราะถือเป็นการบริจาคซ้ำซ้อน นางสดศรี กล่าว และว่า ทั้งนี้ หากมีการบริจาคเงิน พรรคการเมืองต้องทำบัญชีผู้บริจาคเงินแจ้งต่อ กกต.ภายใน 7 วัน
นางสดศรี กล่าวด้วยว่าในการประชุม กกต.ได้พิจารณากรณี นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส. พรรคเพื่อไทยได้ร้องให้ กกต. ตรวจสอบการเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ของอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า ที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการชุดที่ 13 ไปสืบสวนสอบวนข้อเท็จจริงว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อ มาตรา 98 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ที่ระบุการห้ามกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบหรือไม่ โดยให้ระยะเวลาในการพิจารณา 15 วัน ทั้งนี้คณะอนุกรรมการ สามารถประเด็นสอบสวนได้เช่น ตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ซึ่งเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตามวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ กกต. ไม่ได้ตีกรอบชัดเจนว่า จะต้องสอบในประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น
ส่วนกกต. เคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับการกระทำของ กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกเพิกถอนสิทธิในประเด็นที่ว่าสามารถเข้ามาช่วยหาเสียงได้หรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า ในครั้งนั้นมีการหารือเข้ามา ของพรรคเพื่อแผ่นดิน และเราก็ได้ตอบข้อหารือ ว่าไม่สมควรทำเช่นใดบ้าง และการที่เข้ามาร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นความผิด หรือไม่ต้องดูข้อกฎหมายเสียก่อน
อย่างไรก็ตามในมาตรา 97 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ก็ได้ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบเข้ามาจัดตั้งหรือมีส่วน ในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ อย่างเช่นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ได้ถูกยุบไปแล้วได้ไปมีส่วนจัดตั้งพรรคเพื่อไทยหรือไม่ หากมีทำก็ถือว่าผิดชัดเจน ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นการกระทำในหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรคหรือไม่นั้นต้องดูกฎหมายและข้อบังคับพรรคเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย รวมถึงจะต้องสอบปากคำกรรมการบริหารพรรคที่ให้ อดีต111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลด้วย
นางสดศรี กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ร้องว่า ส.ส. ของพรรคที่ถูกยุบและยังไม่ได้เข้าสังกัดพรรคการเมืองใหม่จะไม่สามารถลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ว่า ส่วนตัวมองว่า สามารถที่จะทำได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดว่าหากพรรคถูกยุบ ส.ส.ต้องหาพรรคสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน แต่ช่วงนั้นส.ส.ก็ยังคงมีเอกสิทธิ ยังคงสถานะ ส.ส. จึงมีสิทธิ ที่จะลงคะแนนเลือกนายกฯ เพราะการเลือกนายกฯเป็นการลงคะแนนของ ส.ส. ไม่ใช่การลงคะแนนของพรรคการเมือง ส่วนกรณีที่มีการร้องเข้ามา เชื่อว่า คงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกกต.ที่จะวินิจฉัย ซึ่งหากผู้ใดเห็นเป็นข้อขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม 29 คนนั้น นางสดศรี กล่าวว่า การตรวจสอบเป็นหน้าที่ของ ผอ.กต.เขต โดยหลังจากปิดรับสมัครวันที่ 26 ธ.ค. ผอ.กต.เขตจะส่งข้อมูลมาให้ กกต. กลางตรวจสอบกับฐานข้อมูลสมาชิกพรรคที่ กกต. กลาง โดยจะสามารถตรวจสอบทั้งหมดภายในวันเดียว ซึ่งขณะนี้ กกต. มีฐานข้อมูลสมาชิกจนถึงวันที่ 14 ธ.ค. ซึ่งหากพรรคใดปลอมแปลงก็ถือว่า มีความผิดตามกฎหมายอาญาและอาจถึงขั้นยุบพรรคได้ นอกจากนี้หากผู้สมัครคนใด ไม่ถูกประกาศให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งก็สามารถร้องต่อศาลฎีกาได้ให้วินิจฉัยได้
นาง สดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่านายวีระชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บริจาคเงิน จำนวน 80 ล้านบาทให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ ว่า จากการตรวจสอบ ของทางด้านกิจการพรรคการเมือง เกี่ยวกับยอดเงินบริจาค ให้กับพรรคการเมืองตั้งแต่เดือนม.ค.2551ถึงวันที่ 14 ธ.ค.2551 พบว่าพรรคประชาธิปัตย์มีผู้บริจาคทั้งสิ้น 170,849,876.50 บาท เฉพาะเดือน พ.ย.ที่พรรคประชาธิปัตย์มีการจัดงานระดมทุน มียอดบริจาคทั้งสิ้น 120 ล้านบาทเศษ และจากากรตรวจสอบไม่พบว่านายวีระชัย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องบริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 80 ล้านบาท ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้การบริจาคเงินให้กับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล ไม่สามารถบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบา ต่อ 1 ปีได้ เพราะกฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 59 ระบุไว้ชัดเจน หากมีการบริจาคเกินจะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายพรรคการเมือง ตามมาตรา 114 มีโทษจำคุก 3 ปี ทั้งผู้บริจาคและผู้รับบริจาคโดยเฉพาะหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค และมีโทษปรับสามเท่าของยอดเงินบริจาค
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากนายวีระชัยไม่บริจาคเป็นไปได้หรือไม่ที่จะเป็นบริษัท ที่เกี่ยวข้อง นางสดศรี กล่าวว่า จากการตรวจสอบที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมา ไม่พบว่ามีบริษัทหรือนิติบุคคลบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบาท เพราะฉะนั้น มีการกล่าวหา ว่าให้เงินเพื่อซื้อตำแหน่ง ผู้ที่กล่าวหาหากมีพยานหลักฐานก็สามารถมาร้องเรียนต่อ กกต. เพื่อให้ตรวจสอบ เพราะจากกระแสข่าว กกต.ไม่มีอำนาจที่จะไปดำเนินการ ตรวจสอบ โดยที่ไม่มีการร้องเรียน
ส่วนบริษัทที่บริจาคเงิน 10 ล้านบาท สามารถตรวจสอบเชื่อมโยงถึงบริษัทในเครือได้หรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า กกต.สามารถตรวจสอบการบริจาคเงินของ บริษัทอย่างละเอียดและลงลึกได้ โดยเฉพาะบริษัทในเครือ หากตรวจสอบเราจะตรวจสอบความเชื่อมโยง ความเกี่ยวพันธ์ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันโดยเฉพาะเรื่องของ ผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ ว่ามีความผูกพันธ์หรือเชื่อมโยงกันหรือไม่ เพราะหากพบว่า มีความเกี่ยวพันธ์กันก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมายถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม กกต.จะส่งเรื่องหลักฐานทางบัญชีการบริจาคเงินไปให้ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการฟอกเงินหรือไม่ ซึ่งหากตรวจพบว่า มีการบริจาคแบบแอบแฝงกัน จะถือว่าเป็นความผิด
การบริจาคเงินให้พรรคการเมืองต้องไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อปี บุคคล บริษัทหรือนิติบุคคลแต่ละบริษัทไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ที่พ่อ แม่ ลูก แยกไปตั้งบริษัทหากตรวจสอบพบว่ามีความเชื่อมโยงมีสายสัมพันธ์ ก็สามารถตรวจสอบได้ และเข้าข่ายมีความผิด หากแยกกันบริจาคก็ต้องไม่เกิน 10 ล้านต่อปี เพราะถือเป็นการบริจาคซ้ำซ้อน นางสดศรี กล่าว และว่า ทั้งนี้ หากมีการบริจาคเงิน พรรคการเมืองต้องทำบัญชีผู้บริจาคเงินแจ้งต่อ กกต.ภายใน 7 วัน
นางสดศรี กล่าวด้วยว่าในการประชุม กกต.ได้พิจารณากรณี นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส. พรรคเพื่อไทยได้ร้องให้ กกต. ตรวจสอบการเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาล ของอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งว่า ที่ประชุมมีมติให้คณะอนุกรรมการชุดที่ 13 ไปสืบสวนสอบวนข้อเท็จจริงว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อ มาตรา 98 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ที่ระบุการห้ามกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบหรือไม่ โดยให้ระยะเวลาในการพิจารณา 15 วัน ทั้งนี้คณะอนุกรรมการ สามารถประเด็นสอบสวนได้เช่น ตาม มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ซึ่งเกี่ยวกับการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตามวิถีทางที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะ กกต. ไม่ได้ตีกรอบชัดเจนว่า จะต้องสอบในประเด็นใดประเด็นหนึ่งเท่านั้น
ส่วนกกต. เคยตอบข้อหารือเกี่ยวกับการกระทำของ กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกเพิกถอนสิทธิในประเด็นที่ว่าสามารถเข้ามาช่วยหาเสียงได้หรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า ในครั้งนั้นมีการหารือเข้ามา ของพรรคเพื่อแผ่นดิน และเราก็ได้ตอบข้อหารือ ว่าไม่สมควรทำเช่นใดบ้าง และการที่เข้ามาร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นความผิด หรือไม่ต้องดูข้อกฎหมายเสียก่อน
อย่างไรก็ตามในมาตรา 97 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง ก็ได้ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบเข้ามาจัดตั้งหรือมีส่วน ในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ อย่างเช่นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ได้ถูกยุบไปแล้วได้ไปมีส่วนจัดตั้งพรรคเพื่อไทยหรือไม่ หากมีทำก็ถือว่าผิดชัดเจน ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นการกระทำในหน้าที่ของกรรมการบริหารพรรคหรือไม่นั้นต้องดูกฎหมายและข้อบังคับพรรคเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย รวมถึงจะต้องสอบปากคำกรรมการบริหารพรรคที่ให้ อดีต111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลด้วย
นางสดศรี กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ร้องว่า ส.ส. ของพรรคที่ถูกยุบและยังไม่ได้เข้าสังกัดพรรคการเมืองใหม่จะไม่สามารถลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ว่า ส่วนตัวมองว่า สามารถที่จะทำได้เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดว่าหากพรรคถูกยุบ ส.ส.ต้องหาพรรคสังกัดใหม่ภายใน 60 วัน แต่ช่วงนั้นส.ส.ก็ยังคงมีเอกสิทธิ ยังคงสถานะ ส.ส. จึงมีสิทธิ ที่จะลงคะแนนเลือกนายกฯ เพราะการเลือกนายกฯเป็นการลงคะแนนของ ส.ส. ไม่ใช่การลงคะแนนของพรรคการเมือง ส่วนกรณีที่มีการร้องเข้ามา เชื่อว่า คงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของกกต.ที่จะวินิจฉัย ซึ่งหากผู้ใดเห็นเป็นข้อขัดแย้งตามรัฐธรรมนูญก็สามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้
ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม 29 คนนั้น นางสดศรี กล่าวว่า การตรวจสอบเป็นหน้าที่ของ ผอ.กต.เขต โดยหลังจากปิดรับสมัครวันที่ 26 ธ.ค. ผอ.กต.เขตจะส่งข้อมูลมาให้ กกต. กลางตรวจสอบกับฐานข้อมูลสมาชิกพรรคที่ กกต. กลาง โดยจะสามารถตรวจสอบทั้งหมดภายในวันเดียว ซึ่งขณะนี้ กกต. มีฐานข้อมูลสมาชิกจนถึงวันที่ 14 ธ.ค. ซึ่งหากพรรคใดปลอมแปลงก็ถือว่า มีความผิดตามกฎหมายอาญาและอาจถึงขั้นยุบพรรคได้ นอกจากนี้หากผู้สมัครคนใด ไม่ถูกประกาศให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งก็สามารถร้องต่อศาลฎีกาได้ให้วินิจฉัยได้