กก.ด้านกิจการพรรคการเมือง ชง 2 แนวทางให้ กกต.พิจารณากรณียุบ “มัชฌิมาฯ” หรือไม่ ชี้หากความผิดครบองค์ประกอบแล้วไม่ส่งอาจกลายเป็นบรรทัดฐาน แถมอาจเท่ากับเป็นการดุลยพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ
นายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกรณี กกต.ขอความเห็นเกี่ยวกับการที่ กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กกต.จะต้องมีการพิจารณาสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วยหรือไม่ โดยมีการดูรัฐธรรมนูญกฎหมายเลือกตั้งและกฎหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะมาตรา 94 รวมทั้งดูว่าการกระทำผิดอยู่ในระดับไหน และความผิดดังกล่าวมีแรงสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการก็มีความเห็นเป็น 2 แนวทางว่ากฎหมายเปิดช่องให้ กกต.สามารถยื่นเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ แต่ถ้าไม่มีการส่งเรื่องไปให้ศาล กกต.ก็ต้องอธิบายถึงเหตุผล ซึ่งไม่ได้มีการก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าสำนวนที่ทางเจ้าหน้าที่สืบสวนได้มีการเสนอมานั้น เป็นความผิดถึงขั้นที่ กกต.สามารถเสนอยุบพรรคได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกรรมการเห็นว่าเป็นเรื่องของ กกต.ที่จะให้ดุลพินิจ โดยจากนี้ทางรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองในฐานะเลขานุการก็จะนำเสนอต่อ กกต.
“คณะกรรมการก็ดูตามข้อกฎหมาย แต่การกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่นำไปสู่การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะโยงไปถึงว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่จนเป็นเหตุต้องยุบพรรค เป็นเรื่องที่ กกต.จะต้องให้ดุลยพินิจ เราเพียงแต่บอกว่าตามช่องทางของกฎหมายแล้วเปิดช่องให้ กกต.เสนอได้ หากการกระทำนั้นๆ ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการทำลายและล้มล้างระบอบประชาธิปไตยตามที่มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองบัญญัติไว้ แต่เราไม่ได้มีการชี้ว่าการกระทำที่นำมาสู่การเพิกถอนสิทธิถือเป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะตรงนั้นเท่ากับเป็นการก้าวล่วงดุลยพินิจของ กกต.ที่ กกต.ต้องพิจารณาจากหลักฐานตามสำนวน”
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีการเสนอความเห็นเฉพาะด้านกฎหมาย 2 ทาง คือ การดำเนินการให้ยุบพรรค หรือพิจารณาไม่ดำเนินการว่าจะส่งผลอะไรตามมา แต่ไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดว่ากรณีที่เกิดขึ้นสมควรยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าควรจะเป็นดุลพินิจของ กกต. เอง เพราะมีข้อมูลของฝ่ายสืบสวนสอบสวนประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้ ในการประชุมกรรมการที่เป็นนักกฎหมายมหาชนคนหนึ่งได้เสนอว่า หากพิจารณาตามองค์ประกอบทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญจะพบว่า กฎหมายกำหนดให้ กกต.ต้องดำเนินการเมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง 2.มีกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดเกี่ยวข้อง และ 3.กกต.เห็นว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งอันอาจส่งผลต่อความสุจริตในการเลือกตั้งครั้งนั้น ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับนายสุนทรก็ต้องถือว่าครบองค์ประกอบที่ กกต.จะต้องยื่นต่ออัยการสูงสุดเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเข้าข่ายตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง
“แต่หาก กกต.จะไม่ส่งก็ต้องมีคำอธิบายเหตุผลที่จะไม่ส่ง ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงว่าในกรณีที่เกิดขึ้นเข้าข่ายส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งโดยรวมหรือไม่ โดยหากเห็นว่าไม่ส่งผลก็อาจจะพิจารณาไม่ส่งก็ได้ เช่นเดียวกับกรณีการทำผิดระเบียบ กกต.อื่นๆ เช่น ขนาดของแผ่นป้าย ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีร้ายแรงจนต้องยุบพรรคทุกกรณี เนื่องจากไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อการเลือกตั้งแต่อย่างใด” กรรมการนักกฎหมายรายหนึ่งกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสรุปว่าควรจะส่งความเห็นว่าควรจะเสนอทางออกทั้ง 2 แนวทางให้ กกต.ประกอบการพิจารณา โดยมีการย้ำไปว่าหาก กกต.ตัดสินใจที่จะไม่ส่ง จะต้องคำนึงว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานว่าต่อไปการทุจริตการเลือกตั้งทุกกรณีที่เกี่ยวพันกับกรรมการบริหารพรรค กกต.จะต้องใช้ดุลพินิจเองว่ามีความร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นการใช้ดุลพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดข้อครหาหากผลออกมาทางใดทางหนึ่ง
นายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกรณี กกต.ขอความเห็นเกี่ยวกับการที่ กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กกต.จะต้องมีการพิจารณาสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตยด้วยหรือไม่ โดยมีการดูรัฐธรรมนูญกฎหมายเลือกตั้งและกฎหมายพรรคการเมืองโดยเฉพาะมาตรา 94 รวมทั้งดูว่าการกระทำผิดอยู่ในระดับไหน และความผิดดังกล่าวมีแรงสั่นสะเทือนเป็นอย่างไร ซึ่งคณะกรรมการก็มีความเห็นเป็น 2 แนวทางว่ากฎหมายเปิดช่องให้ กกต.สามารถยื่นเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคได้ แต่ถ้าไม่มีการส่งเรื่องไปให้ศาล กกต.ก็ต้องอธิบายถึงเหตุผล ซึ่งไม่ได้มีการก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าสำนวนที่ทางเจ้าหน้าที่สืบสวนได้มีการเสนอมานั้น เป็นความผิดถึงขั้นที่ กกต.สามารถเสนอยุบพรรคได้หรือไม่ เพราะเรื่องดังกล่าวกรรมการเห็นว่าเป็นเรื่องของ กกต.ที่จะให้ดุลพินิจ โดยจากนี้ทางรองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองในฐานะเลขานุการก็จะนำเสนอต่อ กกต.
“คณะกรรมการก็ดูตามข้อกฎหมาย แต่การกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่นำไปสู่การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะโยงไปถึงว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่จนเป็นเหตุต้องยุบพรรค เป็นเรื่องที่ กกต.จะต้องให้ดุลยพินิจ เราเพียงแต่บอกว่าตามช่องทางของกฎหมายแล้วเปิดช่องให้ กกต.เสนอได้ หากการกระทำนั้นๆ ปรากฏหลักฐานว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการทำลายและล้มล้างระบอบประชาธิปไตยตามที่มาตรา 94 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองบัญญัติไว้ แต่เราไม่ได้มีการชี้ว่าการกระทำที่นำมาสู่การเพิกถอนสิทธิถือเป็นการทำลายประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะตรงนั้นเท่ากับเป็นการก้าวล่วงดุลยพินิจของ กกต.ที่ กกต.ต้องพิจารณาจากหลักฐานตามสำนวน”
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมมีการเสนอความเห็นเฉพาะด้านกฎหมาย 2 ทาง คือ การดำเนินการให้ยุบพรรค หรือพิจารณาไม่ดำเนินการว่าจะส่งผลอะไรตามมา แต่ไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดว่ากรณีที่เกิดขึ้นสมควรยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่าควรจะเป็นดุลพินิจของ กกต. เอง เพราะมีข้อมูลของฝ่ายสืบสวนสอบสวนประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้ ในการประชุมกรรมการที่เป็นนักกฎหมายมหาชนคนหนึ่งได้เสนอว่า หากพิจารณาตามองค์ประกอบทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญจะพบว่า กฎหมายกำหนดให้ กกต.ต้องดำเนินการเมื่อครบองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1.มีเรื่องปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง 2.มีกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดเกี่ยวข้อง และ 3.กกต.เห็นว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งอันอาจส่งผลต่อความสุจริตในการเลือกตั้งครั้งนั้น ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับนายสุนทรก็ต้องถือว่าครบองค์ประกอบที่ กกต.จะต้องยื่นต่ออัยการสูงสุดเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าเข้าข่ายตามมาตรา 95 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง
“แต่หาก กกต.จะไม่ส่งก็ต้องมีคำอธิบายเหตุผลที่จะไม่ส่ง ซึ่งอาจจะต้องชี้แจงว่าในกรณีที่เกิดขึ้นเข้าข่ายส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งโดยรวมหรือไม่ โดยหากเห็นว่าไม่ส่งผลก็อาจจะพิจารณาไม่ส่งก็ได้ เช่นเดียวกับกรณีการทำผิดระเบียบ กกต.อื่นๆ เช่น ขนาดของแผ่นป้าย ก็ต้องถือว่าไม่ใช่กรณีร้ายแรงจนต้องยุบพรรคทุกกรณี เนื่องจากไม่ได้ส่งผลร้ายแรงต่อการเลือกตั้งแต่อย่างใด” กรรมการนักกฎหมายรายหนึ่งกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมีข้อสรุปว่าควรจะส่งความเห็นว่าควรจะเสนอทางออกทั้ง 2 แนวทางให้ กกต.ประกอบการพิจารณา โดยมีการย้ำไปว่าหาก กกต.ตัดสินใจที่จะไม่ส่ง จะต้องคำนึงว่าจะกลายเป็นบรรทัดฐานว่าต่อไปการทุจริตการเลือกตั้งทุกกรณีที่เกี่ยวพันกับกรรมการบริหารพรรค กกต.จะต้องใช้ดุลพินิจเองว่ามีความร้ายแรงถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นการใช้ดุลพินิจแทนศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดข้อครหาหากผลออกมาทางใดทางหนึ่ง