ASTVผู้จัดการรายวัน - วัดใจรัฐบาล "อภิสิทธิ์" กล้าตัดสินใจผ่าทางตันลอยตัวแอลพีจีในจังหวัดที่ดีที่สุดหรือไม่ เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ไม่ต้องปรับขึ้นราคา แต่ราคายังจะลดลงกิโลละ 1 บาท ตามราคาตลาดโลกที่ลดลง
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาน้ำมัน โดยล่าสุดแอลพีจีตลาดโลกเคลื่อนไหวระดับ 330-340 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งระดับดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเพดานหน้าโรงกลั่นของไทยที่กำหนดไว้ไม่เกิน 320 เหรียญสหรัฐต่อตัน ดังนั้น หากรัฐบาลเลือกที่จะใช้นโยบายลอยตัวแอลพีจีในจังหวะนี้ จะมีโอกาสเห็นราคาแอลพีจีในไทยปรับลดลงประมาณ 1 บาทต่อกก.ทันที
"เป็นจังหวะที่ดีที่สุดที่จะใช้นโยบายลอยตัว เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ราคาแอลพีจีไม่ปรับขึ้น แต่ราคายังจะปรับลดลง ซึ่งช่วยให้ต้นทุนของผู้ใช้ลดลง ส่วนการลอยตัวนั้น อาจจะต้องมีเพดานกำหนดไว้ที่จะต้องมาคิดว่าควรจะเป็นเพดานสูงสุดไม่เกินเท่าใด เพราะเมื่อเวลาแอลพีจีปรับขึ้นราคา จะได้ไม่เดือดร้อนประชาชนจนเกินไป"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้กำหนดให้ขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทต่อกก. ด้วยการทยอยปรับขึ้นเดือนละ 2 บาทต่อกก.ที่เดิมคาดว่าจะมีผลในช่วงม.ค.2552 โดยการตัดสินใจนโยบายดังกล่าว เนื่องจากราคาแอลพีจีตลาดโลกได้ปรับขึ้นสูงเฉลี่ยถึง 800 เหรียญสหรัฐต่อตัน ประกอบกับการใช้ในประเทศสูงกว่าการผลิต ทำให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่นำเข้าต้องรับภาระส่วนต่างที่สูงกว่าราคาเพดานในประเทศเป็นเงินจนถึงสิ้นปีนี้คาดว่าจะประมาณ 1 หมื่นล้านบาท กพช.จึงต้องตัดสินใจปรับราคาเพื่อลดการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการลอยตัวแอลพีจีนั้น รัฐบาลควรทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะมีความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาแอลพีจีถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และไม่ยุติธรรมที่นำเงินจากผู้ใช้น้ำมันไปอุ้มผู้ใช้แอลพีจี โดยแต่เดิมนโยบายถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำและลดการตัดป่ามาทำฟืน แต่ขณะนี้ผู้ที่ใช้แอลพีจีไม่ได้เป็นผู้ยากจนแต่อย่างใด เพราะได้ขยายไปยังภาคธุรกิจ บริการทั้งร้านอาหารและโรงแรม ดังนั้น ที่ผ่านมาจึงเป็นการปล้นเงียบจากผู้ใช้น้ำมันแบบไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเลือกที่จะลอยตัว ภาระที่ ปตท.แบกรับไว้ราว 1 หมื่นล้านบาทก็คงจะต้องให้ปตท.รับไปก่อน คงไม่สามารถชดเชยได้ในระยะสั้น เพราะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่มีรายได้เกิดขึ้นใหม่ แต่ในทางกลับกัน จะช่วยชะลอการนำเข้าแอลพีจีได้ เนื่องจากได้รับปัจจัยเรื่องราคาที่ลดลงและปริมาณการใช้แอลพีจีที่ไม่ขยายตัว
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานคณะที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแยกราคาแอลพีจี 2 ราคา เพราะหากนำวิธีดังกล่าวมาใช้จะต้องนำไปคำนวณอิงกับราคาก๊าซในตลาดโลก ซึ่งขณะนี้ลดลงมามาก ตัวเลขขึ้นราคา 6 บาท/ก.ก.คงใช้ไม่ได้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางราคาน้ำมัน โดยล่าสุดแอลพีจีตลาดโลกเคลื่อนไหวระดับ 330-340 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งระดับดังกล่าวถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเพดานหน้าโรงกลั่นของไทยที่กำหนดไว้ไม่เกิน 320 เหรียญสหรัฐต่อตัน ดังนั้น หากรัฐบาลเลือกที่จะใช้นโยบายลอยตัวแอลพีจีในจังหวะนี้ จะมีโอกาสเห็นราคาแอลพีจีในไทยปรับลดลงประมาณ 1 บาทต่อกก.ทันที
"เป็นจังหวะที่ดีที่สุดที่จะใช้นโยบายลอยตัว เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ราคาแอลพีจีไม่ปรับขึ้น แต่ราคายังจะปรับลดลง ซึ่งช่วยให้ต้นทุนของผู้ใช้ลดลง ส่วนการลอยตัวนั้น อาจจะต้องมีเพดานกำหนดไว้ที่จะต้องมาคิดว่าควรจะเป็นเพดานสูงสุดไม่เกินเท่าใด เพราะเมื่อเวลาแอลพีจีปรับขึ้นราคา จะได้ไม่เดือดร้อนประชาชนจนเกินไป"แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภายใต้การบริหารของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ได้กำหนดให้ขึ้นราคาแอลพีจี 6 บาทต่อกก. ด้วยการทยอยปรับขึ้นเดือนละ 2 บาทต่อกก.ที่เดิมคาดว่าจะมีผลในช่วงม.ค.2552 โดยการตัดสินใจนโยบายดังกล่าว เนื่องจากราคาแอลพีจีตลาดโลกได้ปรับขึ้นสูงเฉลี่ยถึง 800 เหรียญสหรัฐต่อตัน ประกอบกับการใช้ในประเทศสูงกว่าการผลิต ทำให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่นำเข้าต้องรับภาระส่วนต่างที่สูงกว่าราคาเพดานในประเทศเป็นเงินจนถึงสิ้นปีนี้คาดว่าจะประมาณ 1 หมื่นล้านบาท กพช.จึงต้องตัดสินใจปรับราคาเพื่อลดการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในการลอยตัวแอลพีจีนั้น รัฐบาลควรทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะมีความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาแอลพีจีถูกอุดหนุนโดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และไม่ยุติธรรมที่นำเงินจากผู้ใช้น้ำมันไปอุ้มผู้ใช้แอลพีจี โดยแต่เดิมนโยบายถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำและลดการตัดป่ามาทำฟืน แต่ขณะนี้ผู้ที่ใช้แอลพีจีไม่ได้เป็นผู้ยากจนแต่อย่างใด เพราะได้ขยายไปยังภาคธุรกิจ บริการทั้งร้านอาหารและโรงแรม ดังนั้น ที่ผ่านมาจึงเป็นการปล้นเงียบจากผู้ใช้น้ำมันแบบไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเลือกที่จะลอยตัว ภาระที่ ปตท.แบกรับไว้ราว 1 หมื่นล้านบาทก็คงจะต้องให้ปตท.รับไปก่อน คงไม่สามารถชดเชยได้ในระยะสั้น เพราะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่มีรายได้เกิดขึ้นใหม่ แต่ในทางกลับกัน จะช่วยชะลอการนำเข้าแอลพีจีได้ เนื่องจากได้รับปัจจัยเรื่องราคาที่ลดลงและปริมาณการใช้แอลพีจีที่ไม่ขยายตัว
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานคณะที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการแยกราคาแอลพีจี 2 ราคา เพราะหากนำวิธีดังกล่าวมาใช้จะต้องนำไปคำนวณอิงกับราคาก๊าซในตลาดโลก ซึ่งขณะนี้ลดลงมามาก ตัวเลขขึ้นราคา 6 บาท/ก.ก.คงใช้ไม่ได้