บล.นครหลวงไทย มั่นใจตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัว ก่อนจะปรับตัวแตะระดับสูงสุดได้ที่ 530 จุดในช่วงครึ่งปีแรก เหตุนักลงทุนคาดหวังต่อนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ บวกกับการเร่งแก้วิกฤตสหรัฐฯ หลัง “บารัค โอบามา” เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ พร้อมเตือนให้ระวังเฮดจ์ฟันจ์เทขายรอบใหม่ ส่วนวานนี้ ตลาดหุ้นไทยยังเดินหน้าบวกตามตลาดหุ้นต่างประเทศ
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (18 ธ.ค.) ปรับตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน แม้ดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จากได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงรวมถึงแรงขายทำกำไรของนักลงทุนจากที่ผ่านมาหุ้นขึ้นติดต่อกัน7 วัน โดยมีแรงสนับสนุนจากเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์
โดยระหว่างวันดัชนีแตะระดับต่ำสุดที่ 446.02 จุด และสูงสุดที่ 455.38 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 451.72 จุด เพิ่มขึ้น 5.78 จุด หรือเพิ่มขึ้น 1.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 13,627.10 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 186.14 ล้านบาท นักลงทุสถาบันซื้อสุทธิ 199.52 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 13.38 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2552 และจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี เนื่องจากทิศทางการเมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และนโยบายการดำเนินงานของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐที่จะเข้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดปรากฏการณ์หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงในเดือนมกราคม (January effect)
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีหน้าคาดว่าจะปรับตัวสูงสุดอยู่ที่ระดับ 530 จุด ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ ซึ่งจะมีเม็ดเงินลงทุนจากตลาดตราสารหนี้ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น จากผลตอบแทนต่ำ แต่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จากมีแรงขายนักลงทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) จะมีแรงขายหุ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยอีกรอบจากขณะนี้เฮดจ์ฟันด์ได้มีการเจรจากับผู้ถือหน่วยลงทุนว่าหากยังไม่ขายช่วงนี้ให้ถือหน่วยอีกสักระยะจะมีการลดค่าธรรมเนียมในการขาย (ค่าฟรี) ให้หากมีการขายหุ้นปีหน้า
สำหรับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะชะลอตัวลงอาจจะมีกลับเข้ามาซื้อสุทธิบ้าง แต่จะยังไม่กลับเข้ามาซื้อสุทธิมากนัก จากที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเงินทำให้สภาพคล่องทางการเงินปีหน้าไม่ดี ทำให้ไม่ค่อยมีการลงทุนมากนักจึงทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่แรง แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ซึ่งหากไม่สามารถผลักดันนโยบายออกมาได้จึงก็จะทำให้ดัชนีปรับตัวลดลง
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเชื่อว่าจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า จากจากเศรษฐกิจจะต่ำสุดในไตรมาส 2-3 ปีหน้า ซึ่งถือว่าวิกฤตรอบนี้ทำให้เศรษฐกิจถดถอยถึง18 เดือน ซึ่งสูงกว่าวิกฤตที่ผ่านมาที่จะใช้เวลา 12 เดือน ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้วซึ่งตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนเมื่อรู้ว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุด” นายสุกิจกล่าว
นายสุกิจ กล่าวว่า บริษัทคาดมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยปีหน้าจะอยู่ที่ระดับ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีนี้ที่เฉลี่ย 1.6 หมื่นล้านบาท จากมองว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป)จะอยู่ที่ระดับประมาณ 3 ล้านล้านบาท ส่วนกำไรของบริษัทจดทะเบียนปีหน้าจะไม่เติบโต หรือลดลง 0.5% จากปีนี้ จากที่ได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว ปิโตรเคมี ที่กไรไม่ดี ส่วนกลุ่มธนาคารนั้นเชื่อว่าจะมีกำไร แต่จะเติบโตที่ลดลง จากที่ไม่ต้องสำรองด้อยค่ามากนัก
บริษัทได้มีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นปีหน้าเพิ่มขึ้น เป็น 40% จากเดิมที่ 35% และลดการลงทุนในตราสารหนี้เหลือ 35% จาก 40% และลงทุนในตราสารทางการเงิน 5% ลงทุนกองทุนอสังหาริทรัพย์ 10% และทองคำ 5% โดยหุ้นที่แนะนำลงทุนนั้นควรเลือกหุ้นเป็นรายตัว ที่มีมูลค่าทางบัญชี(บุ๊กแวลู)ที่ต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีหุ้นที่ต่ำมากถึง 80% ของหุ้นทั้งหมด ซึ่งหากลงทุนในหุ้นที่มีบุ๊กแวลูที่มี 0.5 เท่า จะสามารถทำกำไรได้ถึง 100% หากหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้บุ๊กอยู่ที่ 0.6 เท่า
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค และได้รับปัจจัยบวกจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) จะมีการเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุน ฉบับที่ 2 (บาเซิล 2) และจากการที่คาดว่าธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นจากการที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดจากที่ได้รัฐบาลใหม่ ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาดในวานนี้
ทั้งนี้ การที่ดัชนีปรับตัวไม่มากนักจากได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 6-7 วัน ทำให้ดัชนีเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 40 จุด แล้ว ซึ่งนักลงทุนที่มีการขายออกไปยังไม่กล้าเข้ามาซื้อ ส่วนคนที่จะซื้อยังไม่กล้าเข้ามาลงทุน จาก ต้องการอดูโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี นโยบายและ ที่จะประกาศออกมาในวันที่ 29 -30 ธันวาคมนี้ ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายไม่มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (19 ธ.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆๆมูลค่าการซื้อขายไม่มากนัก จากนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูนโยบายของรัฐบาล และการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐจะเป็นอย่างไรจากที่มีการเลื่อนการพิจารณา และทิศทางราคาน้ำมันดิบยังเป็นช่วงขาลง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 445-447 จุด แนวต้านที่ระดับ 455-457 จุด
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นมาได้ดี ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย โดยมีปัจจัยการเมืองหนุน และความเชื่อมั่นในรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาลงทำให้เกิดการเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มกลุ่มแบงก์และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ส่วนปัจจัยจากต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจยังออกมาแย่อยู่ และตลาดก็ตอบรับเรื่องนี้มาพอสมควรแล้ว อีกทั้งตลาดกำลังรอดูการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯว่าจะออกมาเป็นอย่างไรด้วย รวมทั้งรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ตลาดหุ้นไทยน่าจะมีการปรับฐาน หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสังเกตได้จาก 2 วันที่ผ่านมาเริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะๆ และน่าจะอยู่ในลักษณะของการแกว่งตัว โดยให้แนวต้านที่ 455, 463 จุด แนวรับ 440 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (18 ธ.ค.) ปรับตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน แม้ดัชนีตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จากได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงรวมถึงแรงขายทำกำไรของนักลงทุนจากที่ผ่านมาหุ้นขึ้นติดต่อกัน7 วัน โดยมีแรงสนับสนุนจากเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์
โดยระหว่างวันดัชนีแตะระดับต่ำสุดที่ 446.02 จุด และสูงสุดที่ 455.38 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ระดับ 451.72 จุด เพิ่มขึ้น 5.78 จุด หรือเพิ่มขึ้น 1.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 13,627.10 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 186.14 ล้านบาท นักลงทุสถาบันซื้อสุทธิ 199.52 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 13.38 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2552 และจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี เนื่องจากทิศทางการเมืองพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนมีความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และนโยบายการดำเนินงานของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐที่จะเข้าแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดปรากฏการณ์หุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงในเดือนมกราคม (January effect)
ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีหน้าคาดว่าจะปรับตัวสูงสุดอยู่ที่ระดับ 530 จุด ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ ซึ่งจะมีเม็ดเงินลงทุนจากตลาดตราสารหนี้ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น จากผลตอบแทนต่ำ แต่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จากมีแรงขายนักลงทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) จะมีแรงขายหุ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยอีกรอบจากขณะนี้เฮดจ์ฟันด์ได้มีการเจรจากับผู้ถือหน่วยลงทุนว่าหากยังไม่ขายช่วงนี้ให้ถือหน่วยอีกสักระยะจะมีการลดค่าธรรมเนียมในการขาย (ค่าฟรี) ให้หากมีการขายหุ้นปีหน้า
สำหรับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย คาดว่าจะชะลอตัวลงอาจจะมีกลับเข้ามาซื้อสุทธิบ้าง แต่จะยังไม่กลับเข้ามาซื้อสุทธิมากนัก จากที่ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาทางการเงินทำให้สภาพคล่องทางการเงินปีหน้าไม่ดี ทำให้ไม่ค่อยมีการลงทุนมากนักจึงทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่แรง แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ซึ่งหากไม่สามารถผลักดันนโยบายออกมาได้จึงก็จะทำให้ดัชนีปรับตัวลดลง
“ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเชื่อว่าจะเป็นในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า จากจากเศรษฐกิจจะต่ำสุดในไตรมาส 2-3 ปีหน้า ซึ่งถือว่าวิกฤตรอบนี้ทำให้เศรษฐกิจถดถอยถึง18 เดือน ซึ่งสูงกว่าวิกฤตที่ผ่านมาที่จะใช้เวลา 12 เดือน ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้วซึ่งตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนเมื่อรู้ว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุด” นายสุกิจกล่าว
นายสุกิจ กล่าวว่า บริษัทคาดมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยปีหน้าจะอยู่ที่ระดับ 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งลดลงจากปีนี้ที่เฉลี่ย 1.6 หมื่นล้านบาท จากมองว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป)จะอยู่ที่ระดับประมาณ 3 ล้านล้านบาท ส่วนกำไรของบริษัทจดทะเบียนปีหน้าจะไม่เติบโต หรือลดลง 0.5% จากปีนี้ จากที่ได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว ปิโตรเคมี ที่กไรไม่ดี ส่วนกลุ่มธนาคารนั้นเชื่อว่าจะมีกำไร แต่จะเติบโตที่ลดลง จากที่ไม่ต้องสำรองด้อยค่ามากนัก
บริษัทได้มีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นปีหน้าเพิ่มขึ้น เป็น 40% จากเดิมที่ 35% และลดการลงทุนในตราสารหนี้เหลือ 35% จาก 40% และลงทุนในตราสารทางการเงิน 5% ลงทุนกองทุนอสังหาริทรัพย์ 10% และทองคำ 5% โดยหุ้นที่แนะนำลงทุนนั้นควรเลือกหุ้นเป็นรายตัว ที่มีมูลค่าทางบัญชี(บุ๊กแวลู)ที่ต่ำ ซึ่งปัจจุบันมีหุ้นที่ต่ำมากถึง 80% ของหุ้นทั้งหมด ซึ่งหากลงทุนในหุ้นที่มีบุ๊กแวลูที่มี 0.5 เท่า จะสามารถทำกำไรได้ถึง 100% หากหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้บุ๊กอยู่ที่ 0.6 เท่า
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นภูมิภาค และได้รับปัจจัยบวกจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) จะมีการเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานร่างหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุน ฉบับที่ 2 (บาเซิล 2) และจากการที่คาดว่าธนาคารพาณิชย์จะปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นจากการที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดจากที่ได้รัฐบาลใหม่ ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นนำตลาดในวานนี้
ทั้งนี้ การที่ดัชนีปรับตัวไม่มากนักจากได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นไทยได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 6-7 วัน ทำให้ดัชนีเพิ่มขึ้นประมาณกว่า 40 จุด แล้ว ซึ่งนักลงทุนที่มีการขายออกไปยังไม่กล้าเข้ามาซื้อ ส่วนคนที่จะซื้อยังไม่กล้าเข้ามาลงทุน จาก ต้องการอดูโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี นโยบายและ ที่จะประกาศออกมาในวันที่ 29 -30 ธันวาคมนี้ ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายไม่มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ (19 ธ.ค.) คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบๆๆมูลค่าการซื้อขายไม่มากนัก จากนักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูนโยบายของรัฐบาล และการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ของสหรัฐจะเป็นอย่างไรจากที่มีการเลื่อนการพิจารณา และทิศทางราคาน้ำมันดิบยังเป็นช่วงขาลง โดยประเมินแนวรับที่ระดับ 445-447 จุด แนวต้านที่ระดับ 455-457 จุด
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวขึ้นมาได้ดี ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชีย โดยมีปัจจัยการเมืองหนุน และความเชื่อมั่นในรัฐบาลชุดใหม่ รวมถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาลงทำให้เกิดการเก็งกำไรหุ้นในกลุ่มกลุ่มแบงก์และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ส่วนปัจจัยจากต่างประเทศ ยังคงเป็นเรื่องเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจยังออกมาแย่อยู่ และตลาดก็ตอบรับเรื่องนี้มาพอสมควรแล้ว อีกทั้งตลาดกำลังรอดูการแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในสหรัฐฯว่าจะออกมาเป็นอย่างไรด้วย รวมทั้งรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ตลาดหุ้นไทยน่าจะมีการปรับฐาน หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสังเกตได้จาก 2 วันที่ผ่านมาเริ่มมีแรงขายทำกำไรออกมาเป็นระยะๆ และน่าจะอยู่ในลักษณะของการแกว่งตัว โดยให้แนวต้านที่ 455, 463 จุด แนวรับ 440 จุด