ตลาดหุ้นไทยยังไม่พ้นวิบากกรรม หลังจากโดนพิษเศรษฐกิจทั่วโลกหดตัวกดดันให้ตั้งแต่ต้นปีดัชนีร่วงกว่า 441 จุด หรือ 51.46% มาร์เกตแคปสูญ 3.32 ล้านล้านบาท หรือ 50% โดย 10 เดือนแรกนักลงทุนต่างชาติทิ้งของแล้วกว่า 1.4 แสนล้าน ขณะที่วอลุ่มเฉลี่ยต.ค. อยู่ที่ 1.44 หมื่นล้านบาท ด้านโบรกเกอร์ เตือนนักลงทุนจับตาผลจากการแก้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการชุมนุมของกลุ่มนปก.ที่จะก่อให้เกิดการเผชิญหน้าและความรุนแรงจนกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นรูดทำจุดต่ำสุดรอบใหม่ พร้อมแนะนำให้นักลงทุนระยะยาว ฉวยจังหวะหุ้นลงเลือกซื้อของถูก
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย นับตังแต่ต้นปี 2551 ยังถูกปกคลุมด้วยปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ก่อให้เกิดวิกฤตปัญหาสถาบันการเงินล้มละลายหลายแห่ง จนทำให้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต้องออกมาประกาศความร่วมมือช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น แต่มาตรการดังกล่าวกลับยังไม่เห็นผลมากนัก และส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวอยู่ในขณะนี้
โดยปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างถ้วนหน้า รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งหากเทียบดัชนีตลาดหุ้นไทยล่าสุด (31 ต.ค.) กับช่วงสิ้นปี 31 ธ.ค. 51 พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจาก 858.10 จุด เหลือ 416.53 จุด หรือลดลงไปกว่า 441.57 จุด คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงกว่า 51.46%
ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดลงจากสิ้นปีก่อนที่ 6.64 ล้านล้านบาท เหลือแค่ 3.32ล้านล้านบาท หรือลดลงไปกว่า 3.32 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50.00%
ด้านมูลค่าค่าการซื้อเฉลี่ยต่อวันนั้น ในเดือนตุลาคม 51 มูลค่าการซื้อขายประจำเดือนต.ค. เริ่มกระเตื้องขึ้น หลังจากลดลงต่ำสุดในเดือนกันยายน 51 ที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 11,464.29 ล้านบาท เป็น 14,455.48 ล้านบาท ขณะที่เดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยสูงสุดคือเดือนพฤษภาคม 51 ที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 23,447.03 ล้านบาท
หากพิจารณาถึงมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศนั้น พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 51 นักลงทุนต่างชาติมีการเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มียอดขายสุทธิเกือบทุกเดือน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ และพฤษภาคมที่มียอดซื้อสุทธิ 31,334.25 ล้านบาท และ 159 ล้านบาท ทำให้มียอดขายสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 140,718.64 ล้านบาท ขณะที่เดือนตุลาคม 51 มียอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอยู่ที่ 15,604.06 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน ดัชนีเคลื่อนไหวแรงทั้งแดนบวกและแดนลบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นภูมิเอเชียและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ที่เด้งแรงรับข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ลดลงดอกเบี้ยจาก 0.50% เป็น 0.30% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 7 ปี รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ร่วมมือกันช่วยเสริมสภาพคล่องให้ระบบการเงินดีขึ้น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจของไทยจากการรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า ไตรมาส 3 เศรษฐกิจได้ส่งสัญญาณชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน จากการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคการลงทุน ขณะเดียวกันยังมีแรงขายลดความเสี่ยงจากความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่สูงขึ้น
“ขณะนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ถือว่าเป็นระดับที่ต่ำสุด และไม่แน่ว่าจะต่ำสุดที่ระดับใด จากปัจจัยลบเรื่องวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย รวมถึงปัจจัยเสียงในประเทศ เรื่องของการเมืองที่จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มนปก. รวมถึงเรื่องที่จะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีโทรศัพท์ทางไกลจากต่างประเทศเข้ามาร่วมรายการด้วย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางการเมืองที่รุนแรงขึ้นในกลุ่มผู้ชุมนุม และอาจชักนำสู่การก่อเหตุรุนแรง”
นักวิเคราะห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้น หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นจะส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมากและกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ระดับ 380 จุด โดยกลยุทธ์การลงทุนให้นักลงทุนระยะยาวหาจังหวะซื้อหุ้น หากดัชนีปรับตัวลดต่ำกว่า 400 จุด และประเมินแนวรับไว้ที่ 380 จุด และแนวต้านที่ระดับ 420 จุด
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ และแรงกดดันจากการเมืองภายในประเทศ ขณะเดียวกันนักลงทุนจะต้องติดตามผลการประชุมธนาคารในประเทศอังกฤษว่าจะมีข้อสรุปออกมาอย่างไร ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 400-410 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 420-430 จุด
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือSYRUS กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ คาดว่ายังคงซึมๆ จากความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และควรจับตาสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ยังอึมครึม และทิศทางตลาดต่างประเทศว่าจะเคลื่อนไหวไปในรูปแบบใด
“ช่วงนี้นักลงทุนระยะสั้นที่มีหุ้นอยู่กลุ่มคอมมูนิตี้ โดยเฉพาะ ธุรกิจโรงกลั่น ธุรกิจปิโตรเคมี หากรีบาวน์ให้รีบขาย แล้วหันไปลงทุนในกลุ่มอื่นแทน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ซึ่งประเมินแนวรับอยู่ที่ 410 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 430 จุด”
ด้านนายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) ตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวนตามทิศทางตลาดต่างประเทศ และสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมืดมน โดยให้จับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายหลังเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร แนะผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะสั้นควรชะลอการลงทุนออกไป ส่วนนักลงทุนระยะยาวให้เริ่มทยอยเก็บหุ้นได้แล้ว และมองแนวรับอยู่ที่ 395 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 450 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย นับตังแต่ต้นปี 2551 ยังถูกปกคลุมด้วยปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ก่อให้เกิดวิกฤตปัญหาสถาบันการเงินล้มละลายหลายแห่ง จนทำให้ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต้องออกมาประกาศความร่วมมือช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น แต่มาตรการดังกล่าวกลับยังไม่เห็นผลมากนัก และส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวอยู่ในขณะนี้
โดยปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงอย่างถ้วนหน้า รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย ซึ่งหากเทียบดัชนีตลาดหุ้นไทยล่าสุด (31 ต.ค.) กับช่วงสิ้นปี 31 ธ.ค. 51 พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจาก 858.10 จุด เหลือ 416.53 จุด หรือลดลงไปกว่า 441.57 จุด คิดเป็นสัดส่วนที่ลดลงกว่า 51.46%
ขณะที่มูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ลดลงจากสิ้นปีก่อนที่ 6.64 ล้านล้านบาท เหลือแค่ 3.32ล้านล้านบาท หรือลดลงไปกว่า 3.32 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50.00%
ด้านมูลค่าค่าการซื้อเฉลี่ยต่อวันนั้น ในเดือนตุลาคม 51 มูลค่าการซื้อขายประจำเดือนต.ค. เริ่มกระเตื้องขึ้น หลังจากลดลงต่ำสุดในเดือนกันยายน 51 ที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่ 11,464.29 ล้านบาท เป็น 14,455.48 ล้านบาท ขณะที่เดือนที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยสูงสุดคือเดือนพฤษภาคม 51 ที่มีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 23,447.03 ล้านบาท
หากพิจารณาถึงมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศนั้น พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 51 นักลงทุนต่างชาติมีการเทขายหุ้นไทยออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มียอดขายสุทธิเกือบทุกเดือน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ และพฤษภาคมที่มียอดซื้อสุทธิ 31,334.25 ล้านบาท และ 159 ล้านบาท ทำให้มียอดขายสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 140,718.64 ล้านบาท ขณะที่เดือนตุลาคม 51 มียอดขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติอยู่ที่ 15,604.06 ล้านบาท
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน ดัชนีเคลื่อนไหวแรงทั้งแดนบวกและแดนลบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นภูมิเอเชียและตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ที่เด้งแรงรับข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ลดลงดอกเบี้ยจาก 0.50% เป็น 0.30% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 7 ปี รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่ร่วมมือกันช่วยเสริมสภาพคล่องให้ระบบการเงินดีขึ้น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงเศรษฐกิจของไทยจากการรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า ไตรมาส 3 เศรษฐกิจได้ส่งสัญญาณชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน จากการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคการลงทุน ขณะเดียวกันยังมีแรงขายลดความเสี่ยงจากความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศที่สูงขึ้น
“ขณะนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังไม่ถือว่าเป็นระดับที่ต่ำสุด และไม่แน่ว่าจะต่ำสุดที่ระดับใด จากปัจจัยลบเรื่องวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย รวมถึงปัจจัยเสียงในประเทศ เรื่องของการเมืองที่จะมีการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มนปก. รวมถึงเรื่องที่จะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีโทรศัพท์ทางไกลจากต่างประเทศเข้ามาร่วมรายการด้วย ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกทางการเมืองที่รุนแรงขึ้นในกลุ่มผู้ชุมนุม และอาจชักนำสู่การก่อเหตุรุนแรง”
นักวิเคราะห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหุ้น หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นจะส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมากและกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ระดับ 380 จุด โดยกลยุทธ์การลงทุนให้นักลงทุนระยะยาวหาจังหวะซื้อหุ้น หากดัชนีปรับตัวลดต่ำกว่า 400 จุด และประเมินแนวรับไว้ที่ 380 จุด และแนวต้านที่ระดับ 420 จุด
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ และแรงกดดันจากการเมืองภายในประเทศ ขณะเดียวกันนักลงทุนจะต้องติดตามผลการประชุมธนาคารในประเทศอังกฤษว่าจะมีข้อสรุปออกมาอย่างไร ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อน เพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 400-410 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 420-430 จุด
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือSYRUS กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ คาดว่ายังคงซึมๆ จากความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และควรจับตาสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ยังอึมครึม และทิศทางตลาดต่างประเทศว่าจะเคลื่อนไหวไปในรูปแบบใด
“ช่วงนี้นักลงทุนระยะสั้นที่มีหุ้นอยู่กลุ่มคอมมูนิตี้ โดยเฉพาะ ธุรกิจโรงกลั่น ธุรกิจปิโตรเคมี หากรีบาวน์ให้รีบขาย แล้วหันไปลงทุนในกลุ่มอื่นแทน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง ซึ่งประเมินแนวรับอยู่ที่ 410 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 430 จุด”
ด้านนายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) ตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวนตามทิศทางตลาดต่างประเทศ และสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมืดมน โดยให้จับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายหลังเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยว่าจะเป็นอย่างไร แนะผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะสั้นควรชะลอการลงทุนออกไป ส่วนนักลงทุนระยะยาวให้เริ่มทยอยเก็บหุ้นได้แล้ว และมองแนวรับอยู่ที่ 395 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 450 จุด