ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหุ้นไทยเด้งแรงรับข่าวดีเฟดหั่นดอกเบี้ยลงอีก 0.50% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ บวกกับแรงซื้อหุ้นพลังงานขนาดใหญ่หลังราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยบวกกว่า 24 จุด เปิดที่ 408.31 จุด นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเฉียด 1.4 พันล้านบาท ด้านโบรกเกอร์ ออกโรงเตือนอย่าวางใจ แนวโน้มยังอยู่ช่วงขาลง ระบุสัญญาณร้ายยังรออีกเพียบ เหตุมาตรการลดดอกเบี้ย-มาตรการแก้วิกฤตเศรษฐกิจยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเห็นผล
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (29 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% เพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตสการเงินและกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยมีระดับต่ำสุดที่ 395.61 จุด สูงสุดที่ 409.67 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 408.31 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 24.16 จุด หรือคิดเป็น 6.29% มูลค่าการซื้อขายรวม 14,832.48 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 1,386.45 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 774.73 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย 2,161.17 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย (บล.) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตการเงินสหรัฐฯ จะส่งผลหนักสุดในปี 2552 ซึ่งยังไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ และล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลก (จีดีพี) ในปี 2552 เหลือ 3% จากเดิม 3.9% แต่บริษัทประเมินว่าไอเอ็มเอฟ ยังมีแนวโน้มปรับลดตัวเลขจีดีพีลงอีก หากเศรษฐกิจโลกหดตัวต่ำกว่า 3%
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ประเมินตัวเลขจีดีพี น่าจะเติบโตอยู่ที่เฉลี่ยไม่เกิน 3.3% ส่วนเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2551-2555 โดยตัวเลขจีดีพีจะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 4-6% ขณะที่จุดต่ำสุดของจีดีพีคาดว่าจะอยู่ในปี 2552 ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศชะลอตัว อัตราการว่างเงินเพิ่มสูงขึ้น รวมการส่งออกและการนำเข้าจะปรับตัวลดลง
“นโยบายภาครัฐที่อัดฉีดเงินกว่าแสนล้านบาท หากสามารถทำได้เป็นรูปธรรมจะเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริโภคภายในประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยแผนของรัฐบาลในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตอยู่ที่ 4%” นายสุกิจ กล่าว
ส่วนปัญหาการเมืองภายในประเทศ ยังกลายเป็นปัจจัยลบหลักที่สำคัญและไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมันของนักลงทุน และไม่รู้ว่าปัญหานั้นจะจบลงเมื่อใด
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% จะส่งผลในเรื่องจิตวิทยากับนักลงทุนทำให้คลายความกังวลต่อปัญหาวิกฤตการเงินลงได้ในระดับหนึ่ง และคาดว่าหลังจากนี้ในระยะเวลา 6 – 12 เดือน เฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2552 คาดว่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 3% และมีแนวโน้มที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75%
นายสุกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% รวมถึงธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ปรับลดดอกเบี้ยลด และอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเยนแข็งตัว ขณะที่แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยคาดว่าอยู่ในช่วงขาลง ตามทิศทางตลาดในต่างประเทศ รวมถึงความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐฯ ดังนั้นนักลงทุนหากหุ้นรีบาวน์ให้รีบขายเพื่อถือเงินสดไว้ในมือ ซึ่งประเมินแนวรับอยู่ที่ 370 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 420 จุด
นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และการปรับอัตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางต่างประเทศ ภายหลังจากที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ย แม้ว่าแนวโน้นวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นยังทรงตัว โดยให้จับตาการประกาศตัวเลขจีดีพีของสหรัฐฯ ซึ่งนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 390 จุด และแนวต้านที่ 412 จุด
นายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยขานรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้มีแรงซื้อเข้าในหุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ บวกกับปัจจัยต่างประเทศทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยเฟด และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบของหลายๆ ประเทศ
“ตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังคงผันผวน เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ และราคาน้ำมัน ซึ่งอาจมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบ้าง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว หากต้องการลงทุนระยะสั้นควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยให้แนวรับอยู่ที่ 400 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 420 จุด”
เอ็มเอฟซีมองใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยในช่วงนี้ ถือว่าใก้ลจุดต่ำสุดแล้ว ซึ่งในระยะสั้นๆ นี้ ดัชนีอาจจะผันผวนหรือมีโอกาสปรับลงไปได้อีก แต่โอกาสที่จะลงไปต่ำจนถึงระดับ 200 กว่าจุดเหมือนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 คงเป็นไปไม่ได้ เพราะภาวะต่างกัน ปัจจุบันเรามีเงินสำรองเป็นแสนล้าน ในขณะที่ช่วงเวลานั้น เราติดลบ ทั้งนี้ มองว่าตลาดหุ้นไทยจะยังซึมยาวไปจนถึงสิ้นปีและต้นปีหน้าหลังจากที่สหรัฐได้ผู้นำคนใหม่ พร้อมด้วยการประกาศนโยบายเศรษฐกิจออกมาแล้ว ในช่วงไตรมาส 2 ของปีหน้าทุกอย่างน่าจะเริ่มคลี่คลาย แต่การลงทุนยังต้องระมัดระวังอยู่เช่นกัน
ส่วนแนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นนั้น มองว่าเรื่องนี้มีส่วนช่วยในแง่ของจิตวิทยาเท่านั้น เพื่อบอกว่าเราเองเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนและเศรษฐกิจของเรามากกว่า ขณะเดียวกันมูลค่าในการจัดตั้งเองน้อยมาก นอกจากนี้ แนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นนั้น นักลงทุนทั่วไปมักไม่ชอบ เพราะเป็นการแทรกแซงตลาด ทำให้นักลงทุนทั่วไปไม่รู้ว่าราคาที่แท้จริงของตลาดอยู่ที่ไหน ซึ่งผิดกับปรัชญาตามธรรมชาติของตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาวะที่พูดถึงนี้ เป็นการตั้งกองในสภาวะที่แย่มาก และราคาหุ้นต่ำผิดปกติและต่ำกว่าแวลูที่ควรจะเป็น ซึ่งถ้าลงทุนจะได้กำไร แต่ต้องเป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้น มองว่าน่าจะเป็นเหตุผลในการลงทุนมากกว่าการพยุงหุ้น
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับกองทุนแมชชิ่งฟันด์ในขณะกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอจัดตั้งกองทุนกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเราเองได้ยื่นแสดงความจำนงร่วมลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว โดยกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก และกองทุนนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300-350 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์จะร่วมลงทุนประมาณ 200-250 ล้านบาท ทั้งนี้ เชื่อว่าจะสามารถระดมทุนได้ตามเป้า เพราะเราได้เจรจากับนักลงทุนสถาบัน ซึ่งแสดงความสนใจลงทุนอยู่แล้ว
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (29 ต.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% เพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตสการเงินและกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยมีระดับต่ำสุดที่ 395.61 จุด สูงสุดที่ 409.67 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 408.31 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 24.16 จุด หรือคิดเป็น 6.29% มูลค่าการซื้อขายรวม 14,832.48 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 1,386.45 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 774.73 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย 2,161.17 ล้านบาท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย (บล.) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤตการเงินสหรัฐฯ จะส่งผลหนักสุดในปี 2552 ซึ่งยังไม่สามารถประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้ และล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลก (จีดีพี) ในปี 2552 เหลือ 3% จากเดิม 3.9% แต่บริษัทประเมินว่าไอเอ็มเอฟ ยังมีแนวโน้มปรับลดตัวเลขจีดีพีลงอีก หากเศรษฐกิจโลกหดตัวต่ำกว่า 3%
สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ประเมินตัวเลขจีดีพี น่าจะเติบโตอยู่ที่เฉลี่ยไม่เกิน 3.3% ส่วนเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2551-2555 โดยตัวเลขจีดีพีจะเติบโตอยู่ที่ประมาณ 4-6% ขณะที่จุดต่ำสุดของจีดีพีคาดว่าจะอยู่ในปี 2552 ซึ่งจะส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศชะลอตัว อัตราการว่างเงินเพิ่มสูงขึ้น รวมการส่งออกและการนำเข้าจะปรับตัวลดลง
“นโยบายภาครัฐที่อัดฉีดเงินกว่าแสนล้านบาท หากสามารถทำได้เป็นรูปธรรมจะเป็นสิ่งที่ดีในการช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ทำให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น รวมถึงการบริโภคภายในประเทศก็จะเพิ่มขึ้นด้วย โดยแผนของรัฐบาลในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้เติบโตอยู่ที่ 4%” นายสุกิจ กล่าว
ส่วนปัญหาการเมืองภายในประเทศ ยังกลายเป็นปัจจัยลบหลักที่สำคัญและไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมันของนักลงทุน และไม่รู้ว่าปัญหานั้นจะจบลงเมื่อใด
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% จะส่งผลในเรื่องจิตวิทยากับนักลงทุนทำให้คลายความกังวลต่อปัญหาวิกฤตการเงินลงได้ในระดับหนึ่ง และคาดว่าหลังจากนี้ในระยะเวลา 6 – 12 เดือน เฟดมีแนวโน้มจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยในปี 2552 คาดว่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 3% และมีแนวโน้มที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.75%
นายสุกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ วานนี้ (30 ต.ค.) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากเฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% รวมถึงธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ปรับลดดอกเบี้ยลด และอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเยนแข็งตัว ขณะที่แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยคาดว่าอยู่ในช่วงขาลง ตามทิศทางตลาดในต่างประเทศ รวมถึงความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐฯ ดังนั้นนักลงทุนหากหุ้นรีบาวน์ให้รีบขายเพื่อถือเงินสดไว้ในมือ ซึ่งประเมินแนวรับอยู่ที่ 370 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 420 จุด
นางสาวปองรัตน์ รัตนะตวณานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และการปรับอัตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางต่างประเทศ ภายหลังจากที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ย แม้ว่าแนวโน้นวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นยังทรงตัว โดยให้จับตาการประกาศตัวเลขจีดีพีของสหรัฐฯ ซึ่งนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที่ 390 จุด และแนวต้านที่ 412 จุด
นายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยขานรับราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้มีแรงซื้อเข้าในหุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่ บวกกับปัจจัยต่างประเทศทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยเฟด และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบของหลายๆ ประเทศ
“ตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังคงผันผวน เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ และราคาน้ำมัน ซึ่งอาจมีแรงเทขายทำกำไรออกมาบ้าง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว หากต้องการลงทุนระยะสั้นควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยให้แนวรับอยู่ที่ 400 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 420 จุด”
เอ็มเอฟซีมองใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยในช่วงนี้ ถือว่าใก้ลจุดต่ำสุดแล้ว ซึ่งในระยะสั้นๆ นี้ ดัชนีอาจจะผันผวนหรือมีโอกาสปรับลงไปได้อีก แต่โอกาสที่จะลงไปต่ำจนถึงระดับ 200 กว่าจุดเหมือนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 คงเป็นไปไม่ได้ เพราะภาวะต่างกัน ปัจจุบันเรามีเงินสำรองเป็นแสนล้าน ในขณะที่ช่วงเวลานั้น เราติดลบ ทั้งนี้ มองว่าตลาดหุ้นไทยจะยังซึมยาวไปจนถึงสิ้นปีและต้นปีหน้าหลังจากที่สหรัฐได้ผู้นำคนใหม่ พร้อมด้วยการประกาศนโยบายเศรษฐกิจออกมาแล้ว ในช่วงไตรมาส 2 ของปีหน้าทุกอย่างน่าจะเริ่มคลี่คลาย แต่การลงทุนยังต้องระมัดระวังอยู่เช่นกัน
ส่วนแนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นนั้น มองว่าเรื่องนี้มีส่วนช่วยในแง่ของจิตวิทยาเท่านั้น เพื่อบอกว่าเราเองเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนและเศรษฐกิจของเรามากกว่า ขณะเดียวกันมูลค่าในการจัดตั้งเองน้อยมาก นอกจากนี้ แนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นนั้น นักลงทุนทั่วไปมักไม่ชอบ เพราะเป็นการแทรกแซงตลาด ทำให้นักลงทุนทั่วไปไม่รู้ว่าราคาที่แท้จริงของตลาดอยู่ที่ไหน ซึ่งผิดกับปรัชญาตามธรรมชาติของตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาวะที่พูดถึงนี้ เป็นการตั้งกองในสภาวะที่แย่มาก และราคาหุ้นต่ำผิดปกติและต่ำกว่าแวลูที่ควรจะเป็น ซึ่งถ้าลงทุนจะได้กำไร แต่ต้องเป็นการลงทุนระยะยาว ดังนั้น มองว่าน่าจะเป็นเหตุผลในการลงทุนมากกว่าการพยุงหุ้น
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับกองทุนแมชชิ่งฟันด์ในขณะกำลังอยู่ระหว่างการยื่นขอจัดตั้งกองทุนกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเราเองได้ยื่นแสดงความจำนงร่วมลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว โดยกองทุนดังกล่าว เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก และกองทุนนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300-350 ล้านบาท โดยตลาดหลักทรัพย์จะร่วมลงทุนประมาณ 200-250 ล้านบาท ทั้งนี้ เชื่อว่าจะสามารถระดมทุนได้ตามเป้า เพราะเราได้เจรจากับนักลงทุนสถาบัน ซึ่งแสดงความสนใจลงทุนอยู่แล้ว