รอยเตอร์ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)มีมติเมื่อวันอังคาร(5) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ 2% ดังเดิม พร้อมกับแสดงความกังวลทั้งต่อสภาพการเติบโตขยายตัวของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อ อีกทั้งบ่งชี้ว่ายังไม่เร่งรีบที่จะผลักดันอัตราดอกเบี้ย อันเป็นต้นทุนการกู้ยืมเงินของธุรกิจต่างๆ ให้สูงขึ้นเร็ววัน
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ลงมติด้วยคะแนน 10 ต่อ 1 ให้คงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยเฟดเดอรัล ฟันด์ส เรต ไว้ที่ 2% ต่อไป หลังจากที่ยืนอยู่ในระดับนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายนปีนี้
ก่อนหน้านั้น เฟดได้ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยตัวนี้อย่างต่อเนื่องระลอกใหญ่ นับตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา รวมแล้วก็ลดลงมาถึง 3.25% เพื่อตอบโต้กับการที่ราคาบ้านร่วงลงอย่างรุนแรง รวมทั้งวิกฤตที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อด้วย
ทั้งนี้ เฟด ฟันด์ เรต เป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย ที่เฟดชี้นำให้บรรดาธนาคารต่างๆ ใช้คิดคำนวณในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารด้วยกันในชั่วระยะเวลาข้ามคืน และก็มีอิทธิพลมากจนกลายเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยอย่างอื่นๆ ไปด้วย
การคงอัตราดอกเบี้ยไว้เช่นนี้ เป็นไปตามความคาดหมายโดยทั่วไปของตลาดการเงินสหรัฐฯ
"แม้ว่าความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ ในขณะเดียวกันความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆก็เป็นความกังวลใหญ่เช่นเดียวกัน" เฟดระบุในคำแถลงที่ออกมาอธิบายการตัดสินใจครั้งนี้
คำแถลงคราวนี้ มีความใกล้เคียงกับที่ออกมาหลังจากการประชุมของเอฟโอเอ็มซีครั้งก่อนเมื่อเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม เฟดได้ตัดเอาประโยคที่พูดว่า ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ "ดูเหมือนว่าจะลดลงไปในระดับหนึ่ง" ออกไป
นอกจากนั้น ในคำแถลงครั้งนี้ตรงส่วนที่แสดงถึงความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ เฟดก็ทิ้งประโยคที่กล่าวว่า "ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้น" ที่เคยกล่าวไว้ในเดือนมิถุนายนออกไป โดยน่าจะเป็นการยอมรับทราบสภาพที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ลดลงในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
บรรดานักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ พากันยินดีต่อมติและคำแถลงอธิบายของเฟด โดยต่างตีความกันว่า เป็นการส่งสัญญาณที่ว่าเฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ และดังนั้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันอังคารดีดตัวขึ้นอย่างมาก ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 331 จุดหรือ 2.9% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯลดลง รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็อ่อนค่าลงเล็กน้อยด้วย ส่วนตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของอัตราดอกเบี้ยนั้น ก็แสดงนัยของอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นต่อเมื่อถึงช่วงสิ้นปีนี้
บรรดานักวิเคราะห์พากันลงความเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไปในวาระการประชุมนโยบายการเงินอีกสองครั้งถัดจากนี้ไป เพราะว่าเฟดนั้นกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ริชาร์ด ฟิสเชอร์ ประธานธนาคารกลางสาขาดัลลัส เป็นคนเดียวในเอฟโอเอ็มซีที่ลงมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และนับเป็นครั้งที่ห้าแล้วที่ฟิสเชอร์ลงมติชนิดสวนกระแสเสียงส่วนใหญ่เช่นนี้ นอกจากนั้น เขายังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับเฟดด้วยที่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา .มีกรรมการนโยบายการเงินออกเสียงตรงกันข้ามกันเสียงส่วนใหญ่ติดต่อกันมากครั้งถึงขนาดนี้
"หากว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญอันใดในการประเมินความเสี่ยงของเฟดในครั้งนี้แล้ว ก็เห็นจะเป็นในประเด็นที่เฟดลดความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อลงไป" มาร์ค แชนด์เลอร์ หัวหน้า
แผนกยุทธศาสตร์โลกของบราวน์ บราเธอร์ ฮาร์ริแมนในนิวยอร์ก เขียนไว้ในบันทึกถึงบรรดาลูกค้าของบริษัท
"นี่อาจจะเพียงพอที่จะกันให้มิให้กรรมการคนอื่น ๆเข้าไปรวมกลุ่มกับฟิสเชอร์ก็ได้"
อนึ่ง คำแถลงคราวนี้ของเฟดยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงไตรมาสสองนั้น เกิดขึ้นเพราะการจับจ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งการส่งออกที่แข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของสหรัฐฯขยายตัวในอัตรา 1.9% ต่อปีระหว่างเมษายนถึงมิถุนายน แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าการขยายตัวนี้จะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนจะลดลง เพราะว่ารายได้ที่พวกเขาได้เพิ่มมาจากแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของทางการในไตรมาสสองจะหายไป
คำแถลงของเฟดเตือนว่า สภาพสินเชื่อขาดแคลน, ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ รวมทั้งราคาพลังงานอยู่ในระดับสูงยังจะคงอยู่ไป "อีกหลายไตรมาสในอนาคต" แต่บรรดาผู้กำหนดนโยบายการเงินเหล่านี้มีความเชื่อว่า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งช่องทางอัดฉีดเงินทั้งหลายที่เฟดเปิดให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆจะช่วยลดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับพอประมาณเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ลงมติด้วยคะแนน 10 ต่อ 1 ให้คงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยเฟดเดอรัล ฟันด์ส เรต ไว้ที่ 2% ต่อไป หลังจากที่ยืนอยู่ในระดับนี้มาตั้งแต่เดือนเมษายนปีนี้
ก่อนหน้านั้น เฟดได้ทยอยลดอัตราดอกเบี้ยตัวนี้อย่างต่อเนื่องระลอกใหญ่ นับตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา รวมแล้วก็ลดลงมาถึง 3.25% เพื่อตอบโต้กับการที่ราคาบ้านร่วงลงอย่างรุนแรง รวมทั้งวิกฤตที่เกิดขึ้นในตลาดสินเชื่อด้วย
ทั้งนี้ เฟด ฟันด์ เรต เป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย ที่เฟดชี้นำให้บรรดาธนาคารต่างๆ ใช้คิดคำนวณในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารด้วยกันในชั่วระยะเวลาข้ามคืน และก็มีอิทธิพลมากจนกลายเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยอย่างอื่นๆ ไปด้วย
การคงอัตราดอกเบี้ยไว้เช่นนี้ เป็นไปตามความคาดหมายโดยทั่วไปของตลาดการเงินสหรัฐฯ
"แม้ว่าความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ ในขณะเดียวกันความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆก็เป็นความกังวลใหญ่เช่นเดียวกัน" เฟดระบุในคำแถลงที่ออกมาอธิบายการตัดสินใจครั้งนี้
คำแถลงคราวนี้ มีความใกล้เคียงกับที่ออกมาหลังจากการประชุมของเอฟโอเอ็มซีครั้งก่อนเมื่อเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม เฟดได้ตัดเอาประโยคที่พูดว่า ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ "ดูเหมือนว่าจะลดลงไปในระดับหนึ่ง" ออกไป
นอกจากนั้น ในคำแถลงครั้งนี้ตรงส่วนที่แสดงถึงความวิตกเกี่ยวกับเงินเฟ้อ เฟดก็ทิ้งประโยคที่กล่าวว่า "ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้น" ที่เคยกล่าวไว้ในเดือนมิถุนายนออกไป โดยน่าจะเป็นการยอมรับทราบสภาพที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ลดลงในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
บรรดานักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ พากันยินดีต่อมติและคำแถลงอธิบายของเฟด โดยต่างตีความกันว่า เป็นการส่งสัญญาณที่ว่าเฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้ และดังนั้นจึงส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯในวันอังคารดีดตัวขึ้นอย่างมาก ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 331 จุดหรือ 2.9% ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรกระทรวงการคลังสหรัฐฯลดลง รวมทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็อ่อนค่าลงเล็กน้อยด้วย ส่วนตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของอัตราดอกเบี้ยนั้น ก็แสดงนัยของอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นต่อเมื่อถึงช่วงสิ้นปีนี้
บรรดานักวิเคราะห์พากันลงความเห็นว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไปในวาระการประชุมนโยบายการเงินอีกสองครั้งถัดจากนี้ไป เพราะว่าเฟดนั้นกังวลเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ริชาร์ด ฟิสเชอร์ ประธานธนาคารกลางสาขาดัลลัส เป็นคนเดียวในเอฟโอเอ็มซีที่ลงมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ และนับเป็นครั้งที่ห้าแล้วที่ฟิสเชอร์ลงมติชนิดสวนกระแสเสียงส่วนใหญ่เช่นนี้ นอกจากนั้น เขายังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับเฟดด้วยที่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา .มีกรรมการนโยบายการเงินออกเสียงตรงกันข้ามกันเสียงส่วนใหญ่ติดต่อกันมากครั้งถึงขนาดนี้
"หากว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญอันใดในการประเมินความเสี่ยงของเฟดในครั้งนี้แล้ว ก็เห็นจะเป็นในประเด็นที่เฟดลดความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อลงไป" มาร์ค แชนด์เลอร์ หัวหน้า
แผนกยุทธศาสตร์โลกของบราวน์ บราเธอร์ ฮาร์ริแมนในนิวยอร์ก เขียนไว้ในบันทึกถึงบรรดาลูกค้าของบริษัท
"นี่อาจจะเพียงพอที่จะกันให้มิให้กรรมการคนอื่น ๆเข้าไปรวมกลุ่มกับฟิสเชอร์ก็ได้"
อนึ่ง คำแถลงคราวนี้ของเฟดยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงไตรมาสสองนั้น เกิดขึ้นเพราะการจับจ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งการส่งออกที่แข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของสหรัฐฯขยายตัวในอัตรา 1.9% ต่อปีระหว่างเมษายนถึงมิถุนายน แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าการขยายตัวนี้จะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนจะลดลง เพราะว่ารายได้ที่พวกเขาได้เพิ่มมาจากแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของทางการในไตรมาสสองจะหายไป
คำแถลงของเฟดเตือนว่า สภาพสินเชื่อขาดแคลน, ภาคอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ รวมทั้งราคาพลังงานอยู่ในระดับสูงยังจะคงอยู่ไป "อีกหลายไตรมาสในอนาคต" แต่บรรดาผู้กำหนดนโยบายการเงินเหล่านี้มีความเชื่อว่า ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งช่องทางอัดฉีดเงินทั้งหลายที่เฟดเปิดให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆจะช่วยลดปัญหาขาดแคลนสภาพคล่อง และกระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับพอประมาณเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง