เอเอฟพี/รอยเตอร์/เฮอรัลด์ทรีบูน - ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ผวาตลาดการเงินจะเกิดความเสียหายยับทั้งระบบ เร่งอนุมัติเงินกู้ 30,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ "เจพีมอร์แกน" เดินหน้าซื้อ "แบร์สเติร์นส์" พร้อมประกาศเปิดช่องทางใหม่ เพื่อปล่อยสินเชื่อฉุกเฉินแบบไม่มีอั้น ให้แก่พวกวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ในวอลล์สตรีท แถมลดอัตราดอกเบี้ยดิสเคาน์เรตลงมา 0.25% อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวดุดันเหล่านี้ทำให้นักลงทุนสะดุ้ง หวั่นปัญหาภาคการเงินอเมริกันใหญ่โตมโหฬารกว่าที่มองเห็นกัน ส่งผลให้ราคาหุ้นแถบเอเชียและยุโรปวานนี้ ทรุดตัวเป็นแถว ขณะที่ดอลลาร์อ่อนตัวสุดๆ เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน ส่วนน้ำมันและทองคำซึ่งดูมีความเสี่ยงต่ำกว่า พากันพุ่งแรง ขณะที่หุ้นไทยรูด 11 จุด ผวาซับไพรม์ลามเกิดวิกฤตสถาบันการเงิน "รอบใหม่"
แบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 5 ของวอลล์สตรีท กำลังขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ จากการพัวพันในหลักทรัพย์อิงสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ จนทำให้นักลงทุนพากันหวาดเกรงว่า สถาบันการเงินเก่าแก่แต่ขึ้นชื่อเรื่องกล้าเสี่ยงแห่งนี้ กำลังจะใกล้เจ๊ง และแม้แบร์ประกาศในวันศุกร์ (14) ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนฉุกเฉินจากเฟด ทว่าสถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น โดยตอนปิดวันนั้น หุ้นแบร์ตกฮวบถึง 47% เหลืออยู่ในระดับหุ้นละ 30 ดอลลาร์ อีกทั้งตกเป็นข่าวสะพัดว่าจะถูกเทคโอเวอร์แน่ๆ
แล้วเจพีมอร์แกน เชส หนึ่งในวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของวอลล์สตรีทเช่นกัน ก็ประกาศในคืนวันอาทิตย์(16)ที่นิวยอร์ก ซึ่งตรงกับเช้าวานนี้เวลาเมืองไทยว่า สามารถทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อแบร์ด้วยวิธีเอาหุ้นของตนมาแลก โดยตีราคาหุ้นของแบร์เท่ากับเพียงหุ้นละ 2 ดอลลาร์ หรือรวมแล้วทั้งบริษัทก็แค่ 236 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้เจพีมอร์แกนบอกว่าราคาจริงๆ จะเป็น 6,000 ล้านดอลลาร์ เพราะตนตกลงที่ช่วยรับหนี้สินบางส่วนของแบร์ไปด้วย
กระนั้นก็ตาม ราคาต่อหุ้นที่เจพีมอร์แกนตกลงจ่าย ก็ยังเป็นเพียง 1 ใน 15 ของราคาหุ้นแบร์ตอนปิดวันศุกร์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงช่วงที่หุ้นแบร์ทะยานไปถึงระดับสูงสุดในปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่หุ้นละ 172.61 ดอลลาร์
แต่การที่เจพีมอร์แกนเข้าเทคโอเวอร์แบร์คราวนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือจากเฟดด้วย โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯตกลงที่จะปล่อยเงินกู้ให้ 30,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรับสินทรัพย์ซึ่งมีสภาพคล่องต่ำๆ ของแบร์
สื่อรายงานว่า เฟดซึ่งทำงานใกล้ชิดกับทั้งพวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบกิจการแบงก์ และกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้พยายามทำงานแข่งกับเวลา เพื่อเร่งรัดให้ข้อตกลงเทคโอเวอร์แบร์จบลงในคืนวันอาทิตย์ ก่อนที่ตลาดแถบเอเชียจะเปิดในวันจันทร์ ด้วยความมุ่งหมายไม่ให้นักลงทุนกลับมาแตกตื่นเรื่องฐานะของแบร์กันต่อไปอีก
การที่เฟดลงแรงหาทางให้แบร์ถูกซื้อไปแทนที่จะปล่อยให้เจ๊งนั้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นความพยายามที่จะป้องกันแบงก์และสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งกำลังประสบความเสียหายทำนองเดียวกับแบร์ ต้องพลอยย่ำแย่ลุกลามไปกันใหญ่
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้ออกโรงรับรองการกระทำของเฟดคราวนี้อย่างแข็งขัน โดยเขาพูดในคืนวันอาทิตย์ว่า การตัดสินใจของเฟดถูกต้องแล้ว เพราะเขาวิตกว่า การปล่อยให้แบร์ล้ม จะเกิดการหยุดพักชำระหนี้กันตามมาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เขาเป็นห่วงเรื่องนี้มากกว่าเรื่องที่ว่า การเข้าช่วยเหลือกิจการภาคเอกชนไม่ให้เจ๊งเช่นนี้ จะก่อให้เกิด "อันตรายเชิงศีลธรรม" (moral hazard) นั่นคือ อาจทำให้พวกวาณิชธนกิจกล้าเสี่ยงมากขึ้นในอนาคต เพราะคิดว่าอย่างไรเสียทางการก็จะต้องเข้ามาช่วยในที่สุด
ทว่าการเข้าไปช่วยเหลือกิจการภาคเอกชนไม่ให้ล้มเช่นนี้ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนัก
"วันเวลาในช่วงนี้จะต้องเป็นวันเวลาแห่งความต่ำต้อยสำหรับพวกนักการเงินวอลล์สตรีท, พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลชั้นสูง ตลอดจนคนอื่นๆ ผู้ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ยังเที่ยวเทศนาคุณความดีของการปล่อยให้ตลาดตราสารหนี้เอาไว้ตามลำพัง เพื่อให้เยียวยาตัวเอง" หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ วิจารณ์ไว้ในบทบรรณาธิการ "พวกเขาล้มเหลวอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้คนอื่นๆ ทุกๆ คนต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมหึมาอีกด้วย"
นอกเหนือจากช่วยไม่ให้แบร์ล้มแล้ว ในวันอาทิตย์นั่นเอง เฟดยังประกาศเปิดโครงการหรือช่องทางใหม่ในการปล่อยกู้ ซึ่งจะทำให้พวก "primary dealer" อันหมายถึงวาณิชธนกิจใหญ่ราว 20 แห่ง ที่ทำการซื้อขายพันธบัตรและตั๋วเงินคลังกับทางเฟดโดยตรงอยู่แล้ว สามารถที่จะขอกู้เงินจากเฟด ด้วยการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันชนิดค่อนข้างผ่อนปรน และเฟดจะคิดอัตราดอกเบี้ยระดับดิสเคาน์เรต
เฟดมีช่องทางที่จะปล่อยกู้ในลักษณะนี้อยู่แล้วเหมือนกัน นั่นคือ "discount window" ทว่าช่องทางดังกล่าวให้กู้เฉพาะพวกธนาคารที่มีการรับฝากเงินจากลูกค้า ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงกิจการวาณิชธนกิจด้วย
ธนาคารกลางสหรัฐฯบอกว่า จะเปิดช่องทางใหม่นี้เป็นการชั่วคราว 6 เดือน แต่ก็พร้อมขยายเวลาตามความเหมาะสม โดยที่จะปล่อยกู้ให้แบบไม่จำกัด
ยิ่งกว่านั้น เฟดยังประกาศลดดอกเบี้ยดิสเคาน์เรตลงมาอีก 0.25% เหลือ 3.25%
อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามมากมายเช่นนี้ ปฏิกิริยาจากตลาดการเงินกลับปรากฏว่าออกมาในทางลบ โดยนักลงทุนหวาดระแวงว่า เฟดต้องโหมมาตรการดุดันเช่นกัน อาจจะแสดงให้เห็นว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นหนักหน่วงสาหัสมาก
ยิ่งการที่แบร์ตกลงยอมขายให้เจพีมอร์แกนในราคาแบบยิ่งกว่าเลหลัง ก็ทำให้ผู้คนหวาดระแวง
ในตลาดแถบเอเชียเมื่อวานนี้ราคาหุ้นจึงพากันทรุด โตเกียวตกลงมา 3.71%, ฮ่องกง -5.2%, สิงคโปร์ -1.63%, มุมไบ -6.03% เซี่ยงไฮ้ -3.60%
เมื่อถึงช่วงการซื้อขายของแถบยุโรป ราคาหุ้นก็ไหลรูดเช่นกัน โดยในช่วงเช้าแฟรงเฟิร์ตทรุดหนักลงมา 3.06% ส่วนลอนดอน -2.11% และปารีส -2.61%
ความเคลื่อนไหวของเฟด ยังทำให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนยิ่งมั่นใจว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ในวันนี้(18) จะต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต กันอย่างแรงๆ โดยหลายคนมองว่าน่าจะลงมาระหว่าง 0.75-1.25% ทีเดียว
ความเข้าใจเช่นนี้ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงฮวบฮาบ โดยในช่วงหนึ่งของการซื้อขายแถบเอเชียวานนี้ 1 ยูโรแลกได้ 1.5905 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ทีเดียว ส่วนเมื่อเทียบกับเงินเยน มีช่วงหนึ่ง 1 ดอลลาร์แลกได้เพียง 95.75 เยน อันเป็นการลงต่ำชนิดไม่ได้เห็นกันมาตั้งแต่เดือนกันยายน 1995 แล้ว
สำหรับราคาน้ำมันและทองคำในตลาดโลกเมื่อวานนี้ ก็พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ โดยที่ตลาดสิงคโปร์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูด สำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ช่วงหนึ่งมีราคาทะยานขึ้นทำสถิติใหม่ที่ 111.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนลงมาซื้อขายกันที่ 111.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำในตลาดลอนดอนบุลเลียนมาร์เก็ตก็พุ่งทำสถิติที่ 1,032.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนลงมาซื้อขายกันที่ 1,025.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์
หุ้นไทยไม่รอดรูด 11 จุด
ด้านภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (17 มี.ค.) ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกัน บวกกับปัจจัยในประเทศทั้งการประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลของหุ้นขนาดใหญ่ รวมถึงการพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยในวันนี้ โดยดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 806.74 จุด ลดลง 11.30 จุด หรือ 1.38% โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ 809.93 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 12,519.38 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,015.39 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 398.02 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,413.41 ล้านบาท นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดจากความกังวลเรื่องปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพสหรัฐฯ (ซับไพรม์) มีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากที่เฟดใช้มาตรการช่วยเหลือในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการช่วยเหลือเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เข้าซื้อหุ้นแบร์ สเติร์น สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ 1 ใน 5 ของสหรัฐฯ มูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ใช้มาเป็นเวลา 80 ปี
"เรื่องนี้สร้างความกังวลในเรื่องความเชื่อมั่น ประชาชนจึงแห่ถอนเงินจากธนาคารพาณิชย์ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ธนาคารขาดสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น จนอาจนำไปสู่ปัญหาที่มีความรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ คือ วิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ เหมือนกับที่เคยเกิดกับประเทศไทยในปี 2540 จนต้องปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง แต่สหรัฐฯ จะรุนแรงกว่า เพราะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก และใช้เวลานานมากจนกว่าที่จะคลี่คลายได้"
นายกอบศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวอย่างน้อยอีกครึ่งปีหรือจนกว่าสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ จะคลี่คลายหรือปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนการประชุมปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในวันนี้คาดว่ามีโอกาสที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ย 0.75-1% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3% ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในรอบนี้คงต้องรอดูทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อน
ลุ้นผลยุบพรรค "ชท.-มฌ."
น.ส.สุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากนักลงทุนต้องรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในคืนนี้ โดยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75% เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยจากปัญหาซับไพรม์
ขณะเดียวกัน ปัจจัยการเมืองในประเทศ ยังมีความเสี่ยงจากคดีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รวมถึงคดียุบพรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ที่จะยังเข้ามากดดันการลงทุน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำขายทำกำไร โดยประเมินแนวรับ 800 จุด แนวต้าน 810 จุด
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ต้องขึ้นอยู่กับการปรับลดดอกเบี้ยเฟด หากเฟดลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50-0.75% คงไม่มีผลต่อตลาดหุ้นมากนัก แต่หากลดลงมากถึง 1% อาจจะทำให้ตลาดหุ้นในวันพุธ (19) ปรับตัวในทิศทางบวก เช่นเดียวกันปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะคดียุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งหากผลคำตัดสินให้ยุบพรรค อาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยร่วงมากกว่าตลาดหุ้นอื่น แต่หากผลคำตัดสินเป็นบวกหรือถูกเลื่อนออกไปอีก จะไม่มีผลกับตลาด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟดลง 0.25% เหลือ 3.25% เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และลดความวิตกกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับกรณีของแบร์ สเติร์น กลับส่งผลตรงกันข้ามทำให้นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น จะเห็นได้จากตลาดหุ้นเอเชียรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลง ทั้งนี้ ดัชนีมีแนวรับสำคัญที่ 805 จุด หากดัชนีไม่สามารถยืนได้โอกาสสูงที่ดัชนีจะหลุด 800 จุด หรืออาจลงไปถึง 787-790 จุด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเอเชีย เป็นผลจากนักลงทุนชะลอการลงทุน โดยบางส่วนขายออกแล้วหยุดรอ หรือบางส่วนไม่ทำอะไรเลย ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง
สำหรับสาเหตุของการปรับลงของตลาดหุ้นทั่วโลก มาจากความกังวลในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น หลังเฟดประกาศลดดอกเบี้ยนอกรอบ ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ว่าผลประกอบการสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ไตรมาส 1/51 จะออกมาย่ำแย่ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งจะกระทบกับการการใช้จ่ายและการบริโภคของประชาชน ทำให้นักลงทุนมองภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ช่วงในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ไม่ค่อยดี
"วันนี้ดัชนีมีโอกาสปรับลดลงต่อ โดยมีกรอบแนวรับที่ 795-797 จุด แนวต้านที่ 810-812 จุด โดยระยะสั้นหากดัชนีแกว่งตัวขึ้นแรงๆ ให้ขายทำกำไรออกมาบ้าง ส่วนระยะยาวทยอยซื้อสะสมหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารใกล้ๆ แนวรับ".
แบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 5 ของวอลล์สตรีท กำลังขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ จากการพัวพันในหลักทรัพย์อิงสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ จนทำให้นักลงทุนพากันหวาดเกรงว่า สถาบันการเงินเก่าแก่แต่ขึ้นชื่อเรื่องกล้าเสี่ยงแห่งนี้ กำลังจะใกล้เจ๊ง และแม้แบร์ประกาศในวันศุกร์ (14) ขอรับความช่วยเหลือด้านเงินทุนฉุกเฉินจากเฟด ทว่าสถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น โดยตอนปิดวันนั้น หุ้นแบร์ตกฮวบถึง 47% เหลืออยู่ในระดับหุ้นละ 30 ดอลลาร์ อีกทั้งตกเป็นข่าวสะพัดว่าจะถูกเทคโอเวอร์แน่ๆ
แล้วเจพีมอร์แกน เชส หนึ่งในวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ของวอลล์สตรีทเช่นกัน ก็ประกาศในคืนวันอาทิตย์(16)ที่นิวยอร์ก ซึ่งตรงกับเช้าวานนี้เวลาเมืองไทยว่า สามารถทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อแบร์ด้วยวิธีเอาหุ้นของตนมาแลก โดยตีราคาหุ้นของแบร์เท่ากับเพียงหุ้นละ 2 ดอลลาร์ หรือรวมแล้วทั้งบริษัทก็แค่ 236 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้เจพีมอร์แกนบอกว่าราคาจริงๆ จะเป็น 6,000 ล้านดอลลาร์ เพราะตนตกลงที่ช่วยรับหนี้สินบางส่วนของแบร์ไปด้วย
กระนั้นก็ตาม ราคาต่อหุ้นที่เจพีมอร์แกนตกลงจ่าย ก็ยังเป็นเพียง 1 ใน 15 ของราคาหุ้นแบร์ตอนปิดวันศุกร์ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงช่วงที่หุ้นแบร์ทะยานไปถึงระดับสูงสุดในปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่หุ้นละ 172.61 ดอลลาร์
แต่การที่เจพีมอร์แกนเข้าเทคโอเวอร์แบร์คราวนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือจากเฟดด้วย โดยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯตกลงที่จะปล่อยเงินกู้ให้ 30,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรับสินทรัพย์ซึ่งมีสภาพคล่องต่ำๆ ของแบร์
สื่อรายงานว่า เฟดซึ่งทำงานใกล้ชิดกับทั้งพวกหน่วยงานกำกับตรวจสอบกิจการแบงก์ และกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้พยายามทำงานแข่งกับเวลา เพื่อเร่งรัดให้ข้อตกลงเทคโอเวอร์แบร์จบลงในคืนวันอาทิตย์ ก่อนที่ตลาดแถบเอเชียจะเปิดในวันจันทร์ ด้วยความมุ่งหมายไม่ให้นักลงทุนกลับมาแตกตื่นเรื่องฐานะของแบร์กันต่อไปอีก
การที่เฟดลงแรงหาทางให้แบร์ถูกซื้อไปแทนที่จะปล่อยให้เจ๊งนั้น นักวิเคราะห์มองว่าเป็นความพยายามที่จะป้องกันแบงก์และสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งกำลังประสบความเสียหายทำนองเดียวกับแบร์ ต้องพลอยย่ำแย่ลุกลามไปกันใหญ่
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้ออกโรงรับรองการกระทำของเฟดคราวนี้อย่างแข็งขัน โดยเขาพูดในคืนวันอาทิตย์ว่า การตัดสินใจของเฟดถูกต้องแล้ว เพราะเขาวิตกว่า การปล่อยให้แบร์ล้ม จะเกิดการหยุดพักชำระหนี้กันตามมาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ เขาเป็นห่วงเรื่องนี้มากกว่าเรื่องที่ว่า การเข้าช่วยเหลือกิจการภาคเอกชนไม่ให้เจ๊งเช่นนี้ จะก่อให้เกิด "อันตรายเชิงศีลธรรม" (moral hazard) นั่นคือ อาจทำให้พวกวาณิชธนกิจกล้าเสี่ยงมากขึ้นในอนาคต เพราะคิดว่าอย่างไรเสียทางการก็จะต้องเข้ามาช่วยในที่สุด
ทว่าการเข้าไปช่วยเหลือกิจการภาคเอกชนไม่ให้ล้มเช่นนี้ ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนัก
"วันเวลาในช่วงนี้จะต้องเป็นวันเวลาแห่งความต่ำต้อยสำหรับพวกนักการเงินวอลล์สตรีท, พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลชั้นสูง ตลอดจนคนอื่นๆ ผู้ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ยังเที่ยวเทศนาคุณความดีของการปล่อยให้ตลาดตราสารหนี้เอาไว้ตามลำพัง เพื่อให้เยียวยาตัวเอง" หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ วิจารณ์ไว้ในบทบรรณาธิการ "พวกเขาล้มเหลวอย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้คนอื่นๆ ทุกๆ คนต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมหึมาอีกด้วย"
นอกเหนือจากช่วยไม่ให้แบร์ล้มแล้ว ในวันอาทิตย์นั่นเอง เฟดยังประกาศเปิดโครงการหรือช่องทางใหม่ในการปล่อยกู้ ซึ่งจะทำให้พวก "primary dealer" อันหมายถึงวาณิชธนกิจใหญ่ราว 20 แห่ง ที่ทำการซื้อขายพันธบัตรและตั๋วเงินคลังกับทางเฟดโดยตรงอยู่แล้ว สามารถที่จะขอกู้เงินจากเฟด ด้วยการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันชนิดค่อนข้างผ่อนปรน และเฟดจะคิดอัตราดอกเบี้ยระดับดิสเคาน์เรต
เฟดมีช่องทางที่จะปล่อยกู้ในลักษณะนี้อยู่แล้วเหมือนกัน นั่นคือ "discount window" ทว่าช่องทางดังกล่าวให้กู้เฉพาะพวกธนาคารที่มีการรับฝากเงินจากลูกค้า ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงกิจการวาณิชธนกิจด้วย
ธนาคารกลางสหรัฐฯบอกว่า จะเปิดช่องทางใหม่นี้เป็นการชั่วคราว 6 เดือน แต่ก็พร้อมขยายเวลาตามความเหมาะสม โดยที่จะปล่อยกู้ให้แบบไม่จำกัด
ยิ่งกว่านั้น เฟดยังประกาศลดดอกเบี้ยดิสเคาน์เรตลงมาอีก 0.25% เหลือ 3.25%
อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามมากมายเช่นนี้ ปฏิกิริยาจากตลาดการเงินกลับปรากฏว่าออกมาในทางลบ โดยนักลงทุนหวาดระแวงว่า เฟดต้องโหมมาตรการดุดันเช่นกัน อาจจะแสดงให้เห็นว่าปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นหนักหน่วงสาหัสมาก
ยิ่งการที่แบร์ตกลงยอมขายให้เจพีมอร์แกนในราคาแบบยิ่งกว่าเลหลัง ก็ทำให้ผู้คนหวาดระแวง
ในตลาดแถบเอเชียเมื่อวานนี้ราคาหุ้นจึงพากันทรุด โตเกียวตกลงมา 3.71%, ฮ่องกง -5.2%, สิงคโปร์ -1.63%, มุมไบ -6.03% เซี่ยงไฮ้ -3.60%
เมื่อถึงช่วงการซื้อขายของแถบยุโรป ราคาหุ้นก็ไหลรูดเช่นกัน โดยในช่วงเช้าแฟรงเฟิร์ตทรุดหนักลงมา 3.06% ส่วนลอนดอน -2.11% และปารีส -2.61%
ความเคลื่อนไหวของเฟด ยังทำให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนยิ่งมั่นใจว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด(เอฟโอเอ็มซี) ในวันนี้(18) จะต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต กันอย่างแรงๆ โดยหลายคนมองว่าน่าจะลงมาระหว่าง 0.75-1.25% ทีเดียว
ความเข้าใจเช่นนี้ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงฮวบฮาบ โดยในช่วงหนึ่งของการซื้อขายแถบเอเชียวานนี้ 1 ยูโรแลกได้ 1.5905 ดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ทีเดียว ส่วนเมื่อเทียบกับเงินเยน มีช่วงหนึ่ง 1 ดอลลาร์แลกได้เพียง 95.75 เยน อันเป็นการลงต่ำชนิดไม่ได้เห็นกันมาตั้งแต่เดือนกันยายน 1995 แล้ว
สำหรับราคาน้ำมันและทองคำในตลาดโลกเมื่อวานนี้ ก็พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ โดยที่ตลาดสิงคโปร์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูด สำหรับส่งมอบเดือนเมษายน ช่วงหนึ่งมีราคาทะยานขึ้นทำสถิติใหม่ที่ 111.80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนลงมาซื้อขายกันที่ 111.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ขณะที่ราคาทองคำในตลาดลอนดอนบุลเลียนมาร์เก็ตก็พุ่งทำสถิติที่ 1,032.70 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนลงมาซื้อขายกันที่ 1,025.24 ดอลลาร์ต่อออนซ์
หุ้นไทยไม่รอดรูด 11 จุด
ด้านภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (17 มี.ค.) ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวเช่นกัน บวกกับปัจจัยในประเทศทั้งการประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อสิทธิในการรับเงินปันผลของหุ้นขนาดใหญ่ รวมถึงการพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยในวันนี้ โดยดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 806.74 จุด ลดลง 11.30 จุด หรือ 1.38% โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ 809.93 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 805.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 12,519.38 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,015.39 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 398.02 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,413.41 ล้านบาท นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลกเกิดจากความกังวลเรื่องปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพสหรัฐฯ (ซับไพรม์) มีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากที่เฟดใช้มาตรการช่วยเหลือในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการช่วยเหลือเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เข้าซื้อหุ้นแบร์ สเติร์น สถาบันทางการเงินยักษ์ใหญ่ 1 ใน 5 ของสหรัฐฯ มูลค่า 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่ใช้มาเป็นเวลา 80 ปี
"เรื่องนี้สร้างความกังวลในเรื่องความเชื่อมั่น ประชาชนจึงแห่ถอนเงินจากธนาคารพาณิชย์ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้ธนาคารขาดสภาพคล่องมากยิ่งขึ้น จนอาจนำไปสู่ปัญหาที่มีความรุนแรงมากกว่าที่คาดไว้ คือ วิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ เหมือนกับที่เคยเกิดกับประเทศไทยในปี 2540 จนต้องปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง แต่สหรัฐฯ จะรุนแรงกว่า เพราะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก และใช้เวลานานมากจนกว่าที่จะคลี่คลายได้"
นายกอบศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะเคลื่อนไหวในลักษณะแกว่งตัวอย่างน้อยอีกครึ่งปีหรือจนกว่าสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ จะคลี่คลายหรือปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนการประชุมปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในวันนี้คาดว่ามีโอกาสที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ย 0.75-1% จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3% ขณะที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในรอบนี้คงต้องรอดูทิศทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อน
ลุ้นผลยุบพรรค "ชท.-มฌ."
น.ส.สุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง เนื่องจากนักลงทุนต้องรอผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในคืนนี้ โดยคาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.75% เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยจากปัญหาซับไพรม์
ขณะเดียวกัน ปัจจัยการเมืองในประเทศ ยังมีความเสี่ยงจากคดีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รวมถึงคดียุบพรรคชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ที่จะยังเข้ามากดดันการลงทุน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน แนะนำขายทำกำไร โดยประเมินแนวรับ 800 จุด แนวต้าน 810 จุด
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้มีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ต้องขึ้นอยู่กับการปรับลดดอกเบี้ยเฟด หากเฟดลดดอกเบี้ยลงอีก 0.50-0.75% คงไม่มีผลต่อตลาดหุ้นมากนัก แต่หากลดลงมากถึง 1% อาจจะทำให้ตลาดหุ้นในวันพุธ (19) ปรับตัวในทิศทางบวก เช่นเดียวกันปัจจัยการเมืองในประเทศที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะคดียุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งหากผลคำตัดสินให้ยุบพรรค อาจกดดันให้ตลาดหุ้นไทยร่วงมากกว่าตลาดหุ้นอื่น แต่หากผลคำตัดสินเป็นบวกหรือถูกเลื่อนออกไปอีก จะไม่มีผลกับตลาด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟดลง 0.25% เหลือ 3.25% เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ และลดความวิตกกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับกรณีของแบร์ สเติร์น กลับส่งผลตรงกันข้ามทำให้นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขึ้น จะเห็นได้จากตลาดหุ้นเอเชียรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลง ทั้งนี้ ดัชนีมีแนวรับสำคัญที่ 805 จุด หากดัชนีไม่สามารถยืนได้โอกาสสูงที่ดัชนีจะหลุด 800 จุด หรืออาจลงไปถึง 787-790 จุด
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเอเชีย เป็นผลจากนักลงทุนชะลอการลงทุน โดยบางส่วนขายออกแล้วหยุดรอ หรือบางส่วนไม่ทำอะไรเลย ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง
สำหรับสาเหตุของการปรับลงของตลาดหุ้นทั่วโลก มาจากความกังวลในเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น หลังเฟดประกาศลดดอกเบี้ยนอกรอบ ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ว่าผลประกอบการสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ไตรมาส 1/51 จะออกมาย่ำแย่ รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 1 และไตรมาส 2 จะเพิ่มขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับสูง ซึ่งจะกระทบกับการการใช้จ่ายและการบริโภคของประชาชน ทำให้นักลงทุนมองภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ช่วงในไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ไม่ค่อยดี
"วันนี้ดัชนีมีโอกาสปรับลดลงต่อ โดยมีกรอบแนวรับที่ 795-797 จุด แนวต้านที่ 810-812 จุด โดยระยะสั้นหากดัชนีแกว่งตัวขึ้นแรงๆ ให้ขายทำกำไรออกมาบ้าง ส่วนระยะยาวทยอยซื้อสะสมหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารใกล้ๆ แนวรับ".