xs
xsm
sm
md
lg

บิ๊กบจ.จี้"หมัก1"ฟื้นศก. ย้ำผลงาน3เดือนไม่เข้าตา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน จี้รัฐบาล "ลูกกรอก" ให้น้ำหนักแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ-เดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ มากกว่าให้ความสำคัญต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาบานปลายและกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลเอง ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจ 3 เดือนที่ผ่านมายังไม่เข้าตา พร้อมประสานเสียงรัฐบาล "หมัก1" อยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี และแสดงความเป็นห่วงราคาน้ำมันแพงกดดันเงินเฟ้อพุ่งจนส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey) ประจำไตรมาส 2 /2551 ว่า มีผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนร่วมตอบแบบสำรวจจำนวน 118 บริษัท ใน 8 อุตสาหกรรม คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เกตแคป) ประมาณ 60% ของมูลค่าตลาดรวมทั้งหมด ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำการสำรวจตั้งแต่ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมซึ่งยังไม่มีการชุมนุมประท้วง

สำหรับการสำรวจในเรื่องเสถียรภาพการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน นั้น ผู้บริหาร บจ.ไม่มีความเชื่อมั่นรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลละเลยการแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและไม่กระตุ้นการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ แต่กลับไปให้ความสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง และส่งผลให้การเมืองทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

พร้อมกันนี้ ผู้บริหารบจ. ระบุว่า เสถียรภาพทางการเมืองใน 6 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้า (3 เดือนที่ผ่านมา) จะมีเสถียรภาพน้อยลงคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 57% ส่วนที่เหลือ 32% และ 7% ให้ความเห็นเสถียรภาพการเมืองเหมือนเดิม และเสถียรภาพน้อยลงมาก ขณะที่มีเพียง 4% เท่านั้นที่มั่นใจว่าเสถียรภาพการเมืองจะดีขึ้น

ด้านความพอใจมาตรการและนโยบายของภาครัฐในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่คิดเป็น 32% รู้สึกเฉยๆ ส่วนอีก 30% รู้สึกน่าพอใจ 29% รู้สึกควรปรับปรุงมาก และอีก 9% มองว่าควรปรับปรุงมาก

"การสำรวจในครั้งพบว่า ผู้บริหารบจ.มั่นใจว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ในวาระไม่เกิน 1 ปี มีสัดส่วนสูงถึง 75% จากการสำรวจทั้งหมด ซึ่งสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 55%"

พร้อมกันนี้ ได้เสนอแนะให้รัฐบาลปรับปรุงและให้ความสำคัญในประเทศต่างๆ ดังนี้ คือ การดูและเสถียรภาพทางการเมืองคิดเป็น 36% เร่งโครงการเมกะโปรเจ็กต์ 22% กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ 17% การผ่อนคลายความเข้มงวดเรื่องการควบคุมราคาสินค้า 7% การดูและค่าเงินและ ควบคุมราคาน้ำมัน 6% การดูแลราคาข้าว5%การกระตุ้นการส่งออก 4% และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ 3%

"ซีอีโอบจ.มองว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยังไม่โดนใจ และรัฐบาลให้น้ำหนักเรื่องการเมืองละเลยการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ส่งผลให้ในอนาคตเศรษฐกิจจะแย่ลง แถมการเมืองทวีความรุนแรง และทำให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นรัฐบาลควรจะมุ่งเน้นทำนโยบายเศรษฐกิจให้โดนใจนักธุรกิจมากขึ้นกระตุ้นการใช้จ่ายมากขึ้น" นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้บริหารบจ.มีความกังวลใจมากที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท คือ ราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีสัดส่วน 62% เสถียรภาพทางการเมือง 49% กำลังซื้อที่ลดลงภายในประเทศ 39% ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 22%

ส่วนในเรื่องปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่อ (ซับไพรม์) ในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ประเด็นความกังวลเหมือนกับช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่มองว่าอัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าส่วนใหญ่มองว่าจะอยู่ที่ 5%

ขณะที่มุมมองต่อเศรษฐกิจไทยปีนี้จะมีอัตราการเติบโต 4.5-5.5% โดยผู้บริหารบจ. มีมุมมองดีขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านมาที่ส่วนใหญ่มองอยู่ที่ระดับ 4-4.9% และมองว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตดีขึ้น โดยมั่นใจในธุรกิจบริษัทจะมีการเติบโตที่ดีกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ และคาดว่ายอดขายในประเทศจะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15-20%

"ในระยะเวลาอีก 12 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นบ้างสัดส่วน 49% มีการลงทุนเท่าเดิม 31% อีก 12% มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนอีก 7%มองว่าลงทุนลดลงบ้าง อีก 1% มองว่าลดลงมาก"

สำหรับเงินที่จะนำมาลงทุนนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากกำไรสะสมของบริษัท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 61% สินเชื่อจากสถาบันการเงินในประเทศ 25% เพิ่มทุนหรือระดมทุนจากผู้ถือหุ้น 14% ออกหุ้นกู้ภายในประเทศ 10%

ด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่คาดว่าจะมีมีการใช้จ่ายลดลงคิดเป็นสัดส่วน 40% อีก 23% มองว่าลดลงบ้าง 23% เพิ่มขึ้นบ้าง 19% เท่าเดิม 11% ลดลงมาก และอีก 7% เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่นโยบายที่รัฐบาลควรนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค คือ การลดย่อนภาษี ถึง 36% ลดอัตราดอกเบี้ย 22% กระตุ้นการใช้จ่ายของรากหญ้า 17% เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 7% เร่งการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร
กำลังโหลดความคิดเห็น