ผู้จัดการรายวัน – ผลสำรวจ"ซีอีโอ"ทำนายอายุรัฐบาล "สมัคร 1" สั้นแค่ 1 ปี จี้รัฐบาลเร่งกระตุ้นการลงทุนเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจกต์ ย้ำเร่งสร้างความสมานฉันท์ภายในประเทศ หั่นเป้าจีดีพีปีนี้จากเติบโต 5-5.4% เหลือ 4.-4.9% เหตุรับพิษปัญหาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เงินเฟ้อคาดสูง 3-4% จากเดิมที่คาดอยู่ที่ 2-3% ระบุชัดเสถียรภาพทางการเมืองมีผลสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุน "กอบศักดิ์" ชี้ปล่อยราคาสินค้าขึ้นทันทีกระทบเงินเฟ้อแค่ปีเดียว หากทยอยปรับขึ้นหวั่นกระทบยาว 3 ปี
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey) ไตรมาส1/2551 ซึ่งสำรวจผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 101 แห่ง ใน 8 อุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เกตแคป) 62%ของมาร์เกตแคปรวมทั้งตลาดว่า บริษัทส่วนใหญ่ที่ตอบคำถามคาดว่ารัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะมีอายุในการดำเนินงานเพียง1 ปี โดยมีสัดส่วนถึง 51% ขณะที่อีก 25% คาดว่าจะอยู่ได้ 2 ปี ส่วน 20% คาดว่าจะอยู่ได้มากกว่า 2ปี โดยมี 3% คาดว่าอายุการทำงานจะอยู่ได้เพียง 6 เดือนและ 1% คาดว่าจะทำงานได้เพียง 3เดือน
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ด้านเสถียรภาพ 48% มองว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่ 32% มองว่าเหมือนเดิมและ 20% มองว่ามีเสถียรภาพน้อยลง นอกจากนี้คำถามที่ระบุเสถียรภาพทางการเมืองว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนของบริษัทหรือไม่ ปรากฎว่า 22% มองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ขณะที่ 58%มองว่าสำคัญและอีก 20%มองว่าไม่สำคัญ และมองว่าหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่นักลงทุนต่างประเทศจะให้มุมมองการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น 53% และ 43% มองว่าเหมือนเดิม ส่วน 4%มองว่าไม่น่าลงทุน
สำหรับเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ทำมากที่สุด คือ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน (เมกกะโปรเจ็ก) มีผู้สนับสน 46 บริษัท กระตุ้นการบริโภคในประเทศ มีผู้สนับสนุน 35 บริษัท สร้างความสมานฉันท์ในประเทศมีผู้สนับสนุน 34 บริษัท เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติมีผู้สนับสนุน 33 บริษัท ดูและความผันผวนค่าเงินมีผู้สนับสนุน 18 บริษัท ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมีผู้สนับสนุ18 บริษัท กระตุ้นการส่งออกมีผู้สนับสนุน 5 บริษัท และควบคุมราคาน้ำมันมีผู้สนับสนุน 2 บริษัท
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า จากการสำรวจผู้บริหารบจ.มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ย 55% ซึ่งมองว่าภาวะดังกล่าวจะมีผลกระทบปานกลาง 72% อีก 21% รุนแรงมาก และ 7% มองว่าไม่รุนแรง โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยซึ่ง 79% มองว่าได้รับผลกระทบบ้างส่วนอีก 21%มองว่าได้รับผลกระทบมาก โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ 84% มองว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจของตนบ้าง อีก 2% มองว่าได้รับผลกระทบมาก ส่วนอีก 14% มองว่าไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับการสำรวจเกี่ยวกับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ผู้บริหารบจ.มองว่าเศรษฐกิจไทยจะโตในระดับ 5-5.4% ได้เพียง 3-4 บริษัทจากครั้งก่อนหน้ามีผู้ตอบถึง 20 บริษัท เพราะปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐมีการชะลอตัวเรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4-4.9% และมองว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น 44% เหมือนเดิม 33% ในขณะที่อีก 23 % คาดว่าจะแย่ลง
ทั้งนี้ผู้บริหารมองว่าภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า 47% ขณะที่อีก 37% มองว่าเหมือนเดิมและ 14% มองว่าจะแย่ลง ขณะที่ผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น 52% อีก 36% เหมือนเดิม และอีก 12% มองว่าแย่ลงและมองว่าธุรกิจของตนในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามองว่าดีขึ้น 46% อีก 35%มองว่าเหมือนเดิม และ 19% มองว่าจะแย่ลง
นายกอบศักดิ์ กล่าวอีก มุมมองต่อการลงทุนของบริษัทใน12เดือน โดย 58% จะลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ 38% จะลงทุนเท่าเดิมและอีก 4% มองว่าจะมีการลงทุนที่ลดลง จากสำรวจครั้งก่อนหน้านี้มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่ม 66% อีก 29% มองว่าจะมีการลงทุนเท่าเดิมและอีก 5% มองว่าจะมีการลงทุนที่ลดลง ในส่วนของปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนมากที่สุดที่อยู่ในอันดับแรก คือ เศรษฐกิจในประเทศมีผู้ตอบ 50 บริษัท การเมืองในประเทศ 15 บริษัท เศรษฐกิจโลก 15 บริษัท ราคาน้ำมัน 4 บริษัท อัตราดอกเบี้ย 4 บริษัท อัตราแลกเปลี่ยน 5 บริษัทและการลงทุนภาครัฐ 4 บริษัท ซึ่งบจ.มีแผนที่บริษัทมีแผนที่จะระดมทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้าโดยการใช้กำไรสะสมของบริษัท 53 บริษัท ขณะที่ขอสินเชื่อจากธนาคารในประเทศ 28 บริษัท เพิ่มทุนหรือระดมทุนจากผู้ถือหุ้น 6 บริษัท ออกหุ้นกู้ภายในประเทศ 6 บริษัท และขอสินเชื่อจากธนาคารต่างประเทศ 2 บริษัท
สำหรับมุมมองต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าของบริษัทในอีก 6 เดือนข้างหน้าพบว่ามีแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้น 43% อีก 42% มองว่าไม่เปลี่ยนแปลง และ 15% มองว่าจะลดลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 68% อีก 24 % มองว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง อีก 8% มองว่าจะลดลง
นอกจากนี้ได้สำรวจถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าซึ่งผู้บริหารบจ.มองว่าจะอยู่ที่ระดับ 3-4% กว่า 50 บริษัท อีก 19 บริษัทมองว่าจะอยู่ที่ 2-3% โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านที่ส่วนใหญ่มองว่าจะอยู่ที่ 2-3% ถึง 40 บริษัท และมองว่าจะอยู่ที่ 3-4% เพียง 30 บริษัท
“ราคาวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้นแต่บริษัทไม่สามารถที่จะปรับตัวเพิ่มราคาขึ้นทันที ซึ่งภาครัฐคอยดูแลเพื่อที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปจึงต้องค่อยๆทยอยปรับราคาสินค้า ซึ่งหากกระทรวงพาณิชย์ยอมให้ผู้ประกอบการมีการขึ้นราคาสินค้าทันทีนั้นจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงเพียง1 ปีเท่านั้น แต่หากมีการค่อยๆปรับขึ้นราคาจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อสูงจะใช้เวลานานเป็น 2-3 ปี ”นายกอบศักดิ์กล่าว
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey) ไตรมาส1/2551 ซึ่งสำรวจผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 101 แห่ง ใน 8 อุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เกตแคป) 62%ของมาร์เกตแคปรวมทั้งตลาดว่า บริษัทส่วนใหญ่ที่ตอบคำถามคาดว่ารัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จะมีอายุในการดำเนินงานเพียง1 ปี โดยมีสัดส่วนถึง 51% ขณะที่อีก 25% คาดว่าจะอยู่ได้ 2 ปี ส่วน 20% คาดว่าจะอยู่ได้มากกว่า 2ปี โดยมี 3% คาดว่าอายุการทำงานจะอยู่ได้เพียง 6 เดือนและ 1% คาดว่าจะทำงานได้เพียง 3เดือน
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากจัดตั้งรัฐบาลใหม่ด้านเสถียรภาพ 48% มองว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่ 32% มองว่าเหมือนเดิมและ 20% มองว่ามีเสถียรภาพน้อยลง นอกจากนี้คำถามที่ระบุเสถียรภาพทางการเมืองว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนของบริษัทหรือไม่ ปรากฎว่า 22% มองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ขณะที่ 58%มองว่าสำคัญและอีก 20%มองว่าไม่สำคัญ และมองว่าหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่นักลงทุนต่างประเทศจะให้มุมมองการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น 53% และ 43% มองว่าเหมือนเดิม ส่วน 4%มองว่าไม่น่าลงทุน
สำหรับเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ทำมากที่สุด คือ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน (เมกกะโปรเจ็ก) มีผู้สนับสน 46 บริษัท กระตุ้นการบริโภคในประเทศ มีผู้สนับสนุน 35 บริษัท สร้างความสมานฉันท์ในประเทศมีผู้สนับสนุน 34 บริษัท เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติมีผู้สนับสนุน 33 บริษัท ดูและความผันผวนค่าเงินมีผู้สนับสนุน 18 บริษัท ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมีผู้สนับสนุ18 บริษัท กระตุ้นการส่งออกมีผู้สนับสนุน 5 บริษัท และควบคุมราคาน้ำมันมีผู้สนับสนุน 2 บริษัท
นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า จากการสำรวจผู้บริหารบจ.มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีโอกาสเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเฉลี่ย 55% ซึ่งมองว่าภาวะดังกล่าวจะมีผลกระทบปานกลาง 72% อีก 21% รุนแรงมาก และ 7% มองว่าไม่รุนแรง โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยซึ่ง 79% มองว่าได้รับผลกระทบบ้างส่วนอีก 21%มองว่าได้รับผลกระทบมาก โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ 84% มองว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจของตนบ้าง อีก 2% มองว่าได้รับผลกระทบมาก ส่วนอีก 14% มองว่าไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับการสำรวจเกี่ยวกับการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ผู้บริหารบจ.มองว่าเศรษฐกิจไทยจะโตในระดับ 5-5.4% ได้เพียง 3-4 บริษัทจากครั้งก่อนหน้ามีผู้ตอบถึง 20 บริษัท เพราะปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐมีการชะลอตัวเรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 4-4.9% และมองว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น 44% เหมือนเดิม 33% ในขณะที่อีก 23 % คาดว่าจะแย่ลง
ทั้งนี้ผู้บริหารมองว่าภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า 47% ขณะที่อีก 37% มองว่าเหมือนเดิมและ 14% มองว่าจะแย่ลง ขณะที่ผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น 52% อีก 36% เหมือนเดิม และอีก 12% มองว่าแย่ลงและมองว่าธุรกิจของตนในปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามองว่าดีขึ้น 46% อีก 35%มองว่าเหมือนเดิม และ 19% มองว่าจะแย่ลง
นายกอบศักดิ์ กล่าวอีก มุมมองต่อการลงทุนของบริษัทใน12เดือน โดย 58% จะลงทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ 38% จะลงทุนเท่าเดิมและอีก 4% มองว่าจะมีการลงทุนที่ลดลง จากสำรวจครั้งก่อนหน้านี้มองว่าจะมีการลงทุนเพิ่ม 66% อีก 29% มองว่าจะมีการลงทุนเท่าเดิมและอีก 5% มองว่าจะมีการลงทุนที่ลดลง ในส่วนของปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุนมากที่สุดที่อยู่ในอันดับแรก คือ เศรษฐกิจในประเทศมีผู้ตอบ 50 บริษัท การเมืองในประเทศ 15 บริษัท เศรษฐกิจโลก 15 บริษัท ราคาน้ำมัน 4 บริษัท อัตราดอกเบี้ย 4 บริษัท อัตราแลกเปลี่ยน 5 บริษัทและการลงทุนภาครัฐ 4 บริษัท ซึ่งบจ.มีแผนที่บริษัทมีแผนที่จะระดมทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้าโดยการใช้กำไรสะสมของบริษัท 53 บริษัท ขณะที่ขอสินเชื่อจากธนาคารในประเทศ 28 บริษัท เพิ่มทุนหรือระดมทุนจากผู้ถือหุ้น 6 บริษัท ออกหุ้นกู้ภายในประเทศ 6 บริษัท และขอสินเชื่อจากธนาคารต่างประเทศ 2 บริษัท
สำหรับมุมมองต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าของบริษัทในอีก 6 เดือนข้างหน้าพบว่ามีแนวโน้มการปรับเพิ่มขึ้น 43% อีก 42% มองว่าไม่เปลี่ยนแปลง และ 15% มองว่าจะลดลง ในขณะที่ราคาวัตถุดิบในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 68% อีก 24 % มองว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง อีก 8% มองว่าจะลดลง
นอกจากนี้ได้สำรวจถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าซึ่งผู้บริหารบจ.มองว่าจะอยู่ที่ระดับ 3-4% กว่า 50 บริษัท อีก 19 บริษัทมองว่าจะอยู่ที่ 2-3% โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ผ่านที่ส่วนใหญ่มองว่าจะอยู่ที่ 2-3% ถึง 40 บริษัท และมองว่าจะอยู่ที่ 3-4% เพียง 30 บริษัท
“ราคาวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้นแต่บริษัทไม่สามารถที่จะปรับตัวเพิ่มราคาขึ้นทันที ซึ่งภาครัฐคอยดูแลเพื่อที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไปจึงต้องค่อยๆทยอยปรับราคาสินค้า ซึ่งหากกระทรวงพาณิชย์ยอมให้ผู้ประกอบการมีการขึ้นราคาสินค้าทันทีนั้นจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงเพียง1 ปีเท่านั้น แต่หากมีการค่อยๆปรับขึ้นราคาจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อสูงจะใช้เวลานานเป็น 2-3 ปี ”นายกอบศักดิ์กล่าว