หลังจากวิกฤติสถาบันการเงินที่ลุกลามไปทั่วโลกเริ่มคลี่คลายลงบ้างเเล้ว เเต่ยังหลงเหลือซากจากผลพวงวิกฤติดังกล่าวให้เห็น ซึ่งเรียกได้ว่ากระทบกันเป็นห่วงลูกโซ่ โดยเเต่ละประเทศก็หาวิธีป้องกันเเละดูเเลเศรษฐกิจภายในประเทศของตัวเองไม่ให้ได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้ พร้อมทั้งหาวิธีป้องกันคลื่นระลอกใหม่ที่จะตามมา
ทั้งนี้ ลองมาดูกันว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจเเละภาวะตลาดทุนเเละตลาดตราสารหนี้ของไทยรวมถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโลกเป็นเช่นไรกันบ้าง
อาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวถึงภาวะตลาดตราสารในช่วงสัปดาห์(10-14 พฤศจิกายน 2551) ที่ผ่านมาว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 10 bps จากการคาดการณ์ว่า ธนารคารเเห่งประเทศไทย หรือธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25-0.50 ในการประชุมในวันที่ 3 ธันวาคม 2551นี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.00-1.50 ของช่วงนโยบายการเงินผ่อนคลายจนถึงปี 2552 สำหรับเศรษฐกิจโลก ตลาดจับตามองการล้มละลายของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ
ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานทั่วโลกอาจถูกบันทึกเป็นสถิติใหม่ในปีหน้า ในสหรัฐฯ ประธานาธิบดีคนใหม่พยายามผลักดันแผนช่วยเหลือโดยใช้งบประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งคาดว่าเงินส่วนหนึ่งอาจนำมาจากแผนฟื้นฟู 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของตราสารหนี้ ควรปรับพอร์ตให้ยาวขึ้นเพื่อได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ลดลง ตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความเสี่ยงจากอุปทานของตราสารหนี้ที่มากขึ้น เนื่องจากงบประมาณขาดดุลที่เพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาท
สำหรับภาวะในตลาดทุนที่ผ่านมานั้นต่างชาติเทขายหุ้นในระหว่างสัปดาห์นี้ โดยสิ้นสุดสัปดาห์ ดัชนีดิ่งตัวลงจาก 463.81 จุดในสัปดาห์ก่อนหน้า สู่ 429.97 จุด ท่ามกลางการซื้อขายโดยเฉลี่ย 9 พันล้านบาทต่อวัน ส่วนดัชนีดาวโจนส์ ปรับลดลง 446.50 จุด คิดเป็นร้อยละ 4.99 นอกจากนี้ กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้ปรับปรุงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่นเน้นการปรับปรุงหนี้เสียของผู้บริโภคมากกว่าหนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือตลาดสินเชื่อ ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินอย่างมาก โดยล่าสุด บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) เข้าใกล้ภาวะล้มละลาย
ในส่วนของประเทศจีน รัฐบาลจีนอนุมัติเงินจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5.86 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อช่วยให้จีนรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน สำหรับราคาน้ำมัน ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ที่ 56.16 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในวันพุธ และมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาแอลพีจีในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6 บาท ใน 3 เดือนข้างหน้า หลังจากรัฐบาลหยุดตรึงราคาแอลพีจี โดยรัฐบาลหันมาลดภาษีนำเข้ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบ เหลือร้อยละ 60 จนถึงสิ้นปี 2552 เพื่อกระตุ้นการใช้เชื้อเพลิง E85 ในขณะที่ ยอดขายรถกระบะในเดือนตุลาคมดิ่งลง ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยนั้น ธปท. ระบุว่า ทางธนาคารกลางพร้อมใช้นโยบายการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงช่วยเปิดโอกาสให้ใช้นโยบายการเงินในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ในด้านค่าเงินบาท ทางธนาคารกลางจะดูแลค่าเงินให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวบั่นทอนความสามารถในการส่งออก นอกจากนี้ ธปท. เตรียมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะปรับลงใกล้ขอบด้านต่ำของประมาณการณ์ครั้งที่ผ่านมาที่ร้อยละ 3.8 – 5.0 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยลดลงสู่ 68.6 ในเดือนตุลาคม จาก 69.5 ในเดือนกันยายน โดยมีสาเหตุจาก ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ การอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ส่วนภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในปีหน้าลง จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 เป็นขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยมีสาเหตุจากความวุ่นวายในตลาดการเงิน การส่งออกที่ชะลอตัวลง และการปรับตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดย**สหรัฐอเมริกา***ทางรัฐบาลสหรัฐฯยกเลิกแผนที่จะใช้เงินจำนวน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าซื้อหนี้เสียในธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากทางการมองว่าไม่ใช่แนวทางที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้ลงทุนโดยตรงในสถาบันการเงิน และฟื้นฟูตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค
ด้านเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรก เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน (ไตรมาสก่อนหน้าหดตัวร้อยละ 0.4) โดยมีสาเหตุจากยอดส่งออกที่ลดลง
ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยงบดุลการค้า ขาดดุลน้อยลงเนื่องจากการส่งออกที่มากขึ้น ทำให้เดือนกันยายน มีการขาดดุล 7.482 พันล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 7.27 จากเดือนก่อนหน้า นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะมีการขาดดุล 8 พันล้านปอนด์ สำหรับเดือนถัดไป สำหรับราคาบ้านในอังกฤษ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปีก่อนหน้า ส่วนจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นเป็น 1.825 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี
โดยในส่วนของญี่ปุ่นนั้น นายเซอิจิ นากามูระ หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ โดยธนาคารกลางอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยหากพบว่าเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง แต่การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตลาดเงินได้ สำหรับความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงสู่ 29.4 ในเดือนตุลาคม จากระดับ 31.4 ในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำข้อมูลในปี 2525 ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 10.4 จากไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสมากที่สุดในรอบ 10 ปี
นอกจากนี้ บริษัทวิจัยของญี่ปุ่นรายงานว่า การล้มละลายของภาคเอกชนพุ่งขึ้นร้อยละ 13.4 ในเดือนตุลาคม จากเดือนเดียวกันในปีก่อน โดยพุ่งขึ้นสู่ 1,429 กรณี ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของปีนี้ ในขณะที่บริษัทก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ล้มละลายเป็นจำนวนมากท่ามกลางภาวะสินเชื่อหดตัวทั่วโลก
ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนอนุมัติเงินจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5.86 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อช่วยให้จีนรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน สำหรับดุลการค้าของจีน มียอดเกินดุลการค้ามากเป็นประวัติการณ์ถึง 3.524 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ 2.93 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้มาจากการส่งออกที่ขยายตัวดี แม้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ขณะที่การนำเข้าลดลงอย่างมาก
อัตราเงินเฟ้อของจีนเพิ่มขึ้นในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน สู่ ร้อยละ 4.0 ในเดือนตุลาคม จากร้อยละ 4.6 ในเดือนกันยายน ยอดค้าปลีกของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในเดือนตุลาคม ชะลอตัวลงจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ในเดือนกันยายน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอตัวลงจากขยายตัวร้อยละ 11.4 ในเดือนกันยายน
ที่มา บลจ.อยุธยาหรือเอวายเอฟ
ทั้งนี้ ลองมาดูกันว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะเศรษฐกิจเเละภาวะตลาดทุนเเละตลาดตราสารหนี้ของไทยรวมถึงภาพรวมของเศรษฐกิจโลกเป็นเช่นไรกันบ้าง
อาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ เอวายเอฟ กล่าวถึงภาวะตลาดตราสารในช่วงสัปดาห์(10-14 พฤศจิกายน 2551) ที่ผ่านมาว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง 10 bps จากการคาดการณ์ว่า ธนารคารเเห่งประเทศไทย หรือธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25-0.50 ในการประชุมในวันที่ 3 ธันวาคม 2551นี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.00-1.50 ของช่วงนโยบายการเงินผ่อนคลายจนถึงปี 2552 สำหรับเศรษฐกิจโลก ตลาดจับตามองการล้มละลายของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ
ในขณะเดียวกันอัตราการว่างงานทั่วโลกอาจถูกบันทึกเป็นสถิติใหม่ในปีหน้า ในสหรัฐฯ ประธานาธิบดีคนใหม่พยายามผลักดันแผนช่วยเหลือโดยใช้งบประมาณ 50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งคาดว่าเงินส่วนหนึ่งอาจนำมาจากแผนฟื้นฟู 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของตราสารหนี้ ควรปรับพอร์ตให้ยาวขึ้นเพื่อได้รับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ลดลง ตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความเสี่ยงจากอุปทานของตราสารหนี้ที่มากขึ้น เนื่องจากงบประมาณขาดดุลที่เพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาท
สำหรับภาวะในตลาดทุนที่ผ่านมานั้นต่างชาติเทขายหุ้นในระหว่างสัปดาห์นี้ โดยสิ้นสุดสัปดาห์ ดัชนีดิ่งตัวลงจาก 463.81 จุดในสัปดาห์ก่อนหน้า สู่ 429.97 จุด ท่ามกลางการซื้อขายโดยเฉลี่ย 9 พันล้านบาทต่อวัน ส่วนดัชนีดาวโจนส์ ปรับลดลง 446.50 จุด คิดเป็นร้อยละ 4.99 นอกจากนี้ กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้ปรับปรุงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่นเน้นการปรับปรุงหนี้เสียของผู้บริโภคมากกว่าหนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือตลาดสินเชื่อ ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินอย่างมาก โดยล่าสุด บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) เข้าใกล้ภาวะล้มละลาย
ในส่วนของประเทศจีน รัฐบาลจีนอนุมัติเงินจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5.86 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อช่วยให้จีนรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน สำหรับราคาน้ำมัน ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ที่ 56.16 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในวันพุธ และมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาแอลพีจีในประเทศ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6 บาท ใน 3 เดือนข้างหน้า หลังจากรัฐบาลหยุดตรึงราคาแอลพีจี โดยรัฐบาลหันมาลดภาษีนำเข้ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบ เหลือร้อยละ 60 จนถึงสิ้นปี 2552 เพื่อกระตุ้นการใช้เชื้อเพลิง E85 ในขณะที่ ยอดขายรถกระบะในเดือนตุลาคมดิ่งลง ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจไทยนั้น ธปท. ระบุว่า ทางธนาคารกลางพร้อมใช้นโยบายการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงช่วยเปิดโอกาสให้ใช้นโยบายการเงินในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ในด้านค่าเงินบาท ทางธนาคารกลางจะดูแลค่าเงินให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่จะไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวบั่นทอนความสามารถในการส่งออก นอกจากนี้ ธปท. เตรียมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะปรับลงใกล้ขอบด้านต่ำของประมาณการณ์ครั้งที่ผ่านมาที่ร้อยละ 3.8 – 5.0 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยลดลงสู่ 68.6 ในเดือนตุลาคม จาก 69.5 ในเดือนกันยายน โดยมีสาเหตุจาก ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ การอ่อนตัวของค่าเงินบาท
ส่วนภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาธนาคารโลกปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในปีหน้าลง จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.4 เป็นขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยมีสาเหตุจากความวุ่นวายในตลาดการเงิน การส่งออกที่ชะลอตัวลง และการปรับตัวลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดย**สหรัฐอเมริกา***ทางรัฐบาลสหรัฐฯยกเลิกแผนที่จะใช้เงินจำนวน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าซื้อหนี้เสียในธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากทางการมองว่าไม่ใช่แนวทางที่จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้ลงทุนโดยตรงในสถาบันการเงิน และฟื้นฟูตลาดสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค
ด้านเศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรก เศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาสที่ 3 หดตัวร้อยละ 0.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีได้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากที่เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน (ไตรมาสก่อนหน้าหดตัวร้อยละ 0.4) โดยมีสาเหตุจากยอดส่งออกที่ลดลง
ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยงบดุลการค้า ขาดดุลน้อยลงเนื่องจากการส่งออกที่มากขึ้น ทำให้เดือนกันยายน มีการขาดดุล 7.482 พันล้านปอนด์ ลดลงร้อยละ 7.27 จากเดือนก่อนหน้า นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะมีการขาดดุล 8 พันล้านปอนด์ สำหรับเดือนถัดไป สำหรับราคาบ้านในอังกฤษ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปีก่อนหน้า ส่วนจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานของอังกฤษในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นเป็น 1.825 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบกว่า 10 ปี
โดยในส่วนของญี่ปุ่นนั้น นายเซอิจิ นากามูระ หนึ่งในผู้กำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ โดยธนาคารกลางอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยหากพบว่าเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรง แต่การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเกินไปอาจส่งผลเสียต่อตลาดเงินได้ สำหรับความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นลดลงสู่ 29.4 ในเดือนตุลาคม จากระดับ 31.4 ในเดือนกันยายน ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำข้อมูลในปี 2525 ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ลดลงร้อยละ 10.4 จากไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสมากที่สุดในรอบ 10 ปี
นอกจากนี้ บริษัทวิจัยของญี่ปุ่นรายงานว่า การล้มละลายของภาคเอกชนพุ่งขึ้นร้อยละ 13.4 ในเดือนตุลาคม จากเดือนเดียวกันในปีก่อน โดยพุ่งขึ้นสู่ 1,429 กรณี ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดของปีนี้ ในขณะที่บริษัทก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ล้มละลายเป็นจำนวนมากท่ามกลางภาวะสินเชื่อหดตัวทั่วโลก
ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนอนุมัติเงินจำนวน 4 ล้านล้านหยวน (ประมาณ 5.86 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และเพื่อช่วยให้จีนรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน สำหรับดุลการค้าของจีน มียอดเกินดุลการค้ามากเป็นประวัติการณ์ถึง 3.524 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ 2.93 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้มาจากการส่งออกที่ขยายตัวดี แม้ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ขณะที่การนำเข้าลดลงอย่างมาก
อัตราเงินเฟ้อของจีนเพิ่มขึ้นในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน สู่ ร้อยละ 4.0 ในเดือนตุลาคม จากร้อยละ 4.6 ในเดือนกันยายน ยอดค้าปลีกของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในเดือนตุลาคม ชะลอตัวลงจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 ในเดือนกันยายน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจได้ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ชะลอตัวลงจากขยายตัวร้อยละ 11.4 ในเดือนกันยายน
ที่มา บลจ.อยุธยาหรือเอวายเอฟ