ASTVผู้จัดการรายวัน/ภูมิภาค - นักธุรกิจ ภาครัฐเอกชนและนักวิชาการประสานเสียงหนุนเปลี่ยนขั้วรัฐบาล ลั่นอย่างน้อยดีกว่าขั้วเดิม ระบุทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์มีฝีมือ ชี้ “อภิสิทธิ์” นั่งนายกรัฐมนตรี เอื้อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน แนะแนวทางจัดการต้องเรียกความเชื่อมั่นคืน เร่งกระตุ้นท่องเที่ยว เพิ่มกำลังซื้อในประเทศ ห้ามแตะรัฐธรรมนูญปี 50 ทีดีอาร์ไอชี้ ปชป.เหมาะสม ด้านหัวเมืองใหญ่ทุกภาคของประเทศหนุนเปลี่ยนขั้วพร้อมเตือน “ประชาธิปัตย์” อย่าเล่นการเมืองแบบเก่า
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เห็นตัวกับการที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ดึง 4 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม และ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ได้เกิน 250 เสียง และประกาศตัวขอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ แต่หากยังเป็นการจับขั้วเดิมและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ปัญหาความขัดแย้งก็จะกลับมาอีกและไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร
“การที่ ปชป. เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีความเหมาะสมแล้ว แต่ขณะนี้ ยังไม่รู้ว่าลงตัวหรือไม่กำลังติดตามอยู่” นายประมนต์กล่าว
ทั้งนี้ ภาคเอกชนอยากให้ทุกฝ่ายเปิดโอกาสให้ ปชป. เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เมื่อรัฐบาลเก่าหมดความชอบธรรม ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ ปชป.ได้พิสูจน์ฝีมือเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามข้อเรียกร้องของเอกชนที่อยากให้บ้านเมืองสงบสุข และไม่อยากเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกจนทำให้ประเทศชาติเสียหาย เพราะที่ผ่านมาประเทศเสียหายมาเป็นปีแล้ว โดยเชื่อว่ารัฐบาลใหม่ที่นำโดย ปชป. จะแก้ไขวิกฤติของบ้านเมืองได้
นายประมนต์กล่าวว่า การที่พรรค ปชป.จัดตั้งรัฐบาล และจะมีการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น เท่าที่ได้พูดคุยกับภาคเอกชนต่างๆ ล้วนให้การยอมรับ แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะมีจุดอ่อนและถูกมองว่ากระดูกยังไม่แข็งพอ แต่เชื่อว่าจากการที่นายอภิสิทธิ์เป็นบุคคลที่อยู่ในวงการเมืองมานาน มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ มาหลายปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหา และน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในยามที่บ้านเมืองมีปัญหาเช่นนี้
“รัฐบาลใหม่ที่นำโดย ปชป. น่าจะทำงานได้ เพราะสมาชิกพรรคหลายคนเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์สูง สามารถดึงเข้ามาช่วยบริหารบ้านเมืองได้ ส่วนพรรคร่วมที่เหลือ 4 พรรค และส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่จะเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ ก็มีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ น่าจะเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาบ้านเมืองได้ เอกชนขอหนุนเต็มที่” นายประมนต์กล่าว
สำหรับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข ก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาโดยเร็ว การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง และการดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
**จี้รบ.ใหม่แก้ปัญหาเศรษฐกิจ
นายปรากรม ปฐมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญตลาดเงินตลาดทุน กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกจะกระทบเข้ามายังไทยรุนแรงมากขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ควรเก็บเอาไว้ก่อน เพราะถือว่าไม่ใช่เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากปัญหาปากท้องของประชาชนซึ่งกำลังเผชิญอยู่ต้องเร่งหาทางแก้ไข และเห็นว่าแนวทางการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อลดภาระให้กับประชาชน แม้จะกระทบต่อรายได้รัฐบาล แต่เห็นว่าหากมีการเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บภาษีและขยายฐานให้กว้างขึ้นจะช่วยชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปได้
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) กล่าวว่า รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจเศรษฐกิจมีปัญหา จะทำให้รายได้จากการส่งออกน้อยลง สิ่งสำคัญต้องเร่งกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ให้ประชาชนกล้าออกมาใช้จ่าย เหมือนกับญี่ปุ่น ซึ่งกำลังแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศด้วยการให้ประชาชนที่มีเงินออมจำนวนมากนำมาเงินออกมาใช้จ่าย อีกทั้งจะต้องเร่งการฟื้นความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับคืนมา หลังจากสนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้บริการไปแล้ว เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาได้เร็วที่สุด และเป็นรายได้หลักของประเทศ ที่จะช่วยเยียวยาระบบเศรษฐกิจ
“รัฐบาลจะต้องเร่งทำประชาสัมพันธ์ว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมาจะไม่เกิดขึ้นอีก เมื่อนักท่องเที่ยวมั่นใจจะทำให้หันกลับมาเที่ยวในประเทศมากขึ้นเพราะขณะนี้ยังเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว”
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องหาแนวทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบ เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าปล่อยกู้ไปแล้วจะเกิดปัญหาหนี้เสีย เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็ต้องเงินทุนหมุนเวียน รวมถึงการเดินหน้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่มีความคืบหน้าไปมากแล้วเพราะจะทำให้เงินทุนไหลไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เกิดการจ้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะรถไฟฟ้ามีความสำคัญมาก ถึงแม้ราคาน้ำมันจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจถูกมองเห็นความสำคัญน้อยลง จึงไม่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ละเลยไม่ยอมเดินหน้าก่อสร้าง เพราะแนวโน้มในระยะยาวระบบขนส่งสาธารณะมีความสำคัญ หากมีความพร้อมเชื่อมโยงกันทุกระบบ จะช่วยให้การเดินทางสะดวก และราคาน้ำมันระยะยาวจะปรับขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน
“หากรัฐมนตรีคนใดมากำกับดูแล ไม่อยากให้ทบทวนโครงการใหม่ สั่งให้ไปศึกษาใหม่ เพื่อมีวาระซ่อนเร้นจากผู้รับเหมา เพราะการศึกษาใหม่จะทำให้โครงการล่าช้าไปอีกนับปี เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ก็จะเห็นว่าให้มีการศึกษาใหม่ทุกครั้ง การลงทุนรถไฟฟ้าของไทยจึงเกิดขึ้นได้ช้า ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ก็ควรเห็นว่ารถไฟฟ้าเป็นวาระแห่งชาติ ก็ควรสานต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม”นายประภัสร์กล่าว
***นายกฯ ประกันต้องการเสถียรภาพ
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การแบ่งขั้วเพื่อจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองในขณะนี้ค่อนข้างที่จะสับสนมากต่างฝ่ายต่างออกมาให้ข่าวกันคนละทิศละทาง ซึ่งในที่สุดแล้วเชื่อว่าทุกคนต้องการรัฐบาลที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพเข้ามาบริหารประเทศและสามารถบริหารประเทศได้อย่างจริงจัง
“คนที่จะเข้ามาตอนนี้จะต้องเป็นที่ยอมรับสามารถจัดการกับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งและเป็นที่ยอมรับของแต่ละฝ่าย ซึ่งภาคธุรกิจเองก็ต้องการการบริหารในระยะยาวมรนโยบายในเชิงเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นรูปธรรมหลายๆ อย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนได้ ไม่ว่าขั้วใดที่จะเข้ามาก็ขอให้มีเสถียรภาพสามารถบริหารประเทศได้” นายสาระกล่าว
***ทีดีอาร์ไอชี้เหมาะแก้ ศก.
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองน่าจะลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลงไปได้ และคาดว่าปชป.จะหาทีมเศรษฐกิจเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจากเศรษฐกิจได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์คนในกรุงเทพฯ และคนระดับกลาง ยังให้กำลังใจอยู่ แม้จะมีปัญหาการเมืองก็คงหาคนเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่าพรรคเพื่อไทยที่จะหาทีมเศรษฐกิจมาร่วมงานด้วยในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งรัฐบาลควรระวังจำนวนเสียงของ ส.ส. เพราะหากสัดส่วนของรัฐบาลใหม่และฝ่ายค้านใกล้เคียงกันมาก จะทำให้การบริหารบ้านเมืองในยุคนี้มีปัญหาและทำงานลำบาก และอาจนำไปสู่การยุบสภาได้อีก อีกทั้งอาจมีปัญหาการประท้วงแบบกลับด้าน คือ กลุ่มเสื้อแดงก็จะออกมา แต่คาดว่าคงไม่รุนแรงเหมือนกับเสื้อเหลือง เพราะเสื้อแดงประกาศชัดเจนว่าต้องการการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้ก็เป็นการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้ว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนี้ไม่ว่าขั้วใดจะฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลถือว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพราะประเทศต้องการผู้บริหารเข้ามาดูและเศรษฐกิจโดยเร็ว รวมทั้งออกมาหามาตรการเพื่อดูแลเศรษฐกิจในปีหน้าที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน รวมถึงการเข้ามาผลักดันงบประมาณกลางปีผ่านสภาเพื่อสามารถเป็นส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
“มีหลายเรื่องที่ต้องให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาสานต่อภารกิจเร่งด่วนที่ยังค้างคาอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งก็มีภาพของผู้มีความรู้ด้านเศรษฐกิจดีอยู่แล้วก็อาจสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศต่อประชาชนและต่างชาติได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องดูภาพรวมของคณะรัฐบาลว่าองค์ประกอบจะออกมาอย่างไร หากภาพรวมออกมาดีก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าด้วยดีได้” นายสมชัยกล่าว
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ถือว่ายังเร็วไปที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งขั้วจัดตั้งรัฐบาลเนื่องจากยังมีหลายปัจจัยที่ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นสถานะของ ส.ส.ระบบสัดส่วนของพรรคที่ถูกยุบไปว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าการเมื่อไทยสามารถพลิกผันได้อยู่ตลอดเวลา
“อยากเห็นความชัดเจนของการเมืองไทยในหลายๆ ด้านก่อนที่จะให้ความเห็นกับรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะสถานการณ์เป็นส.ส.ของพรรคที่ถูกยุบไป อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้เมื่อไร ซึ่งเชื่อว่าหลังวันที่ 10 ธ.ค.ที่เป็นวันรัฐธรรมนูญแล้วทุกอย่างน่าจะชัดเจนมากขึ้น” นายเลอศักดิ์กล่าว
นายสมภพ มานะรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคการเมืองเดิมมาจัดตั้งรัฐบาลใหม่กับพรรค ปชป. จะช่วยลดปัญหาวังวนของการเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ และช่วยปลดล็อกปัญหาการเมือง แต่การตั้งรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นที่น่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ถือว่ายอมรับได้ เพราะรัฐธรรมนูญในปัจจุบันกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.จึงมีข้อจำกัดพอสมควร และที่สำคัญคือการหาทีมเศรษฐกิจเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ โดยเฉพาะจะมีความรุนแรงมากขึ้นในต้นปีหน้า
“รัฐบาลชุดใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นระบบการเมืองของไทย และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการส่งออก ซึ่งจะไม่ขยายตัวในปีหน้า ปัญหาการว่างงานจากธุรกิจเอกชนลดการผลิต การท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ จะต้องเร่งฟื้นฟูโดยเร็ว ที่สำคัญนโยบายมหภาคทั้งการเงินและการคลังต้องเหมาะสมกับฐานะของประเทศ ไม่ใช่แก้ปัญหาและหวังโปรยยาหอมในช่วงสั้นและสร้างปัญหาในระยะยาว” นายสมภพกล่าว
**นักวิชาการอุบลเตือน ปชป.ทำเพื่อชาติ
ผศ.สุริยา โชคสวัสดิ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง โดยอดีตพรรคร่วมรัฐบาลเก่าหันมาจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์เพื่อจัดตั้งรัฐบาลว่า ทำให้บรรยากาศทางการเมืองเกิดความสมานฉันท์และลดความร้อนแรงของอุณหภูมิทางการเมืองที่คุกรุ่นติดต่อมานานหลายเดือน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ต้องคิดด้วยว่า แท้ที่จริงประชาชนต้องการรัฐบาลแห่งชาติ
ดังนั้น เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสได้เป็นรัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐบาลของชาติ ไม่ใช่เป็นรัฐบาลของประชาธิปัตย์ เพราะประชาชนไม่อยากเห็นความขัดแย้งที่จะกลับมาเกิดขึ้นอีก โดยรัฐบาลใหม่ต้องมีนโยบายชัดเจนเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งประชาธิปัตย์มีบุคลากรที่มีความสามารถด้านนี้อยู่มาก ต้องแสดงผลงาน แต่ถ้ามาเป็นรัฐบาลแบบเก่าปล่อยให้มีการคอรัปชั่นกันอีกจะกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุเก่าแก่ แต่ก็ล้มเหลวด้านบริหารเหมือนพรรคการเมืองอื่น
นักวิชาการผู้นี้ให้ความเห็นกรณีหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยว่า เป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะประเทศกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต นายอภิสิทธิ์ จะได้แสดงศักยภาพการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพหรือไม่
ด้าน ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล นักวิชาการอีกคนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้สังคมกำลังจับตาดูรัฐบาลใหม่ที่มีประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ จะยังอยู่ในการเมืองแบบวังวนเก่าคือ ต้องมีการแบ่งโคต้า มีการจัดสรรตำแหน่งแบ่งปันกันหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เข้ามาบริหารประเทศ ต้องตระหนักเป็นลำดับแรก เพราะที่ผ่านมาประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรมของนักการเมืองที่หวังกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว
"การฟอร์มทีมรัฐบาลต้องตัดประเด็นเรื่องเหล่านี้ออกไป โดยไม่ยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก เพราะถ้าหน้าตาของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ออกมาดีเป็นความหวังของประชาชน ก็จะเป็นรัฐบาลที่อยู่ได้ยาว และนายอภิสิทธิ์แทบไม่ต้องทำอะไรเลยทุกอย่างก็เดินหน้าไปได้"
เมื่อประเทศมีรัฐบาลดี ก็สามารถสร้างความมั่นใจในเวทีโลก ความเชื่อมั่นต่างๆก็จะกลับมา และวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังหวั่นเกรงกันอยู่ ก็จะไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ประชาชนมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ ยังมีอาหารกินเพียงแต่ทุกคนต้องเลิกการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แล้วหันมายึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คนทั้งประเทศก็พร้อมพากันเดินไปข้างหน้าได้
**หอฯสงขลาแนะฟื้นฟูเศรษฐกิจ
นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากนี้ว่า จะต้องออกมาในรูปของความสมานฉันท์ เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังบอบช้ำและเป็นไข้ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มากมายพอสมควร โดยเฉพาะการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด โดยยอมให้พรรคประชาธิปไตย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะสามารถลดแรงกดดันลงไปได้มาก ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าขั้วการเมืองเดิมจะไม่ดี แต่หากยังจับขั้วเดิมอยู่แรงต่อต้านก็จะยังคงมีอยู่และปัญหาเดิมๆ จะไม่จบ
“การเมืองหลังจากนี้หากกลุ่มขั้วการเมืองเก่ายังสามารถเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลได้ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องเคลียร์ สะอาด และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่ใช่คนที่ทำงานเพื่อพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย และถ้าเป็นไปได้จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับรัฐบาลก่อนเลยยิ่งดี ที่สำคัญ บุคคลที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อไปจะต้องเก่งในเรื่องของเศรษฐกิจ เพราะปัญหาของประเทศขณะนี้ไม่ใช่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาเศรษฐกิจที่ยังรอให้รัฐบาลชุดต่อไปเข้ามาเร่งฟื้นฟู”
นายสมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลได้จริงคงเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยแล้วประเทศไทย จะได้มีรัฐบาลที่แข็งแกร่งเข้ามาบริหารประเทศสักที ที่สำคัญคือตนอยากเห็นภาพความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นลดลง เพราะตลอดช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดความบอบช้ำกับปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศมามากแล้ว ขณะเดียวกันภาพความขัดแย้งดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไปในทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"หากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศจริงๆ ปัญหาแรกที่อยากเรียกร้องให้เข้ามาแก้ไขคือการลดภาพแห่งความขัดแย้งภายใน ทั้งนี้ เพราะปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นลูกโซ่ ที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจเกิดความย่ำแย่ ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ ต้องคัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้ามาทำงานจริงๆ ไม่ใช่ว่าคัดสรรผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ในลักษณะโควต้าเหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นๆ ขาดคุณสมบัติในการบริหารและไม่มีความสามารถที่มากพอ จึงคล้ายกับว่าเป็นการให้ตำแหน่งเพื่อทดแทนบุญคุณ ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" นายสมชาติกล่าวและว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามการประกาศของพรรคประชาธิปัตย์จริง สิ่งหนึ่งที่อยากเรียกร้องให้ทางคณะผู้บริหารพรรคฯ เร่งดำเนินการคือปลูกจิตสำนึกให้กับคณะรัฐมนตรีให้ทำงานเพื่อชาติโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ที่สำคัญคือไม่ต้องให้มีการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่มาจากการทดแทนบุญคุณ เพราะตนมองว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ส่งผลดีต่อชาติบ้านเมืองเลย
นายสุรชัย ชินโสภณพันธุ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดพังงา กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศจริงๆ อยากเรียกร้องให้ทางพรรคได้เร่งแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นการด่วน เพราะตลอดช่วงที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่มาโดยตลอดอยู่แล้วและโดยส่วนตัวมองว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลจริง ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ เพียงแต่ทางพรรคต้องคัดสรรบุคคลที่มีความมุ่งมั่นกับการแก้ปัญหาเข้ามาดำรงตำแหน่งเท่านั้น เพราะในขณะนี้ประเทศรอให้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือการทำงานของคนไม่ได้แล้วจริงๆ
**ภาคธุรกิจเหนือขอรัฐบาลที่ยอมรับได้
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าภาคเอกชนคาดหวังต่อภาคการเมืองว่า หลังจากนี้ขอเพียงแค่รัฐบาลที่จะขึ้นมา ขอให้เป็นรัฐบาลที่ทุกฝ่ายยอมรับให้บริหารบ้านเมือง เมื่อจัดตั้งขึ้นมาแล้วจะไม่นำไปสู่การขัดแย้งถึงขั้นใช้ความรุนแรงในประเทศอีกเป็นพอ ส่วนความคาดหวังที่จะให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากนี้ไปตนไม่ได้หวังขอเพียงจัดตั้งแล้วไม่นำไปสู่ความวุ่ยวายชุมนุมประท้วงอีก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังจากนี้ ภาคเอกชนต้องช่วยตัวเองพึ่งตัวเองให้มากที่สุดไม่ได้หวังจากรัฐบาลใหม่และเตรียมรับมือไว้แล้วที่จะก้มหน้าฟื้นฟูซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร
“ผมประเมินว่าปีหน้าปัญหาเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะรุนแรงยิ่งกว่าการเผาผี แต่จะเป็นปีตายอนาถาหนัก ถึงขั้นไม่มีใครเผา ดังนั้น สูตรรัฐบาลที่จะจัดตั้งเข้ามาบริหารประเทศกันหลังจากนี้ขอเพียงเป็นสูตรที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ หรือหากยอมรับไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องยึดเอาระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ตั้งคืนอำนาจให้กับประชาชน โดยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ใครทำอะไรเสียหายต้องรับผิดชอบ เพื่อที่จะเร่งสร้างความเชื่อมั่น หรือไม่ลดความเชื่อมั่นด้านการลงทุนไปมากกว่าที่เป็นอยู่”
ด้านนายวีระยุทธ สุขวัฒฑโก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชียงใหม่ กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนขั้วน่าจะดี ไม่ใช่สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่สองครั้งที่ผ่านมาของกลุ่มการเมืองเดิมไม่ได้ทำให้ประเทศเดินไปได้ แม้จะดังทุรังก็ไม่มีตัวดีๆ แล้ว ดังนั้นหากเปลี่ยนขั้วดูสถานการณ์ต่างๆ อาจะจะนิ่มนวลขึ้นหรือเหมาะสมกว่าในขณะนี้ ลองปฎิบัติดู หากไม่ดีปีถัดไปก็ว่ากันใหม่
"ผมไม่มีคิดว่าการยุบสภาจะทำได้โดยรักษาการรัฐบาลหรือรักษาการนายกรัฐมนตรี และการยุบสภาหนีการเปลี่ยนขั้วก็ถือว่าเป็นการเอาเปรียบกันไปหน่อย น่าจะต้องลองให้อีกฝ่ายทำงานดู ส่วนการจะล็อบบี้กันอย่างไรไม่รู้ แต่น่าจะดีขึ้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่คาดหวังไปถึงทีมเศรษฐกิจแต่เชื่อว่าคงดีกว่าเดิม ซึ่งในวันนี้ (8 ธ.ค.) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จะนัดหารือกันเพื่อดูว่ารัฐน่าจะช่วยเหลือเราได้อย่างไรบ้างในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่นี้ จึงอยากขอร้องให้พรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยใหม่หยุดบ้างก็น่าจะดี เพราะห่วงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหากดื้อที่จะจัดรัฐบาลกลุ่มเดิม”
**ภาคธุรกิจ ตอ.ขานรับเปลี่ยนขั้ว
นายชาญชัย จินดาสถาพร ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก กล่าวว่า กรณีพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และหากมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นในความเห็นตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บ้านเมืองของเรามีโอกาสและทิศทางพัฒนาบ้านเมืองเพิ่มขึ้น และตนขอขอบคุณขั้วการเมืองที่ให้โอกาสบ้านเมืองของเราที่ผ่านมาภาคอุตสากรรมระส่ำระส่ายเพราะภาคการเมือง
“วันนี้ภาคการเมืองทำให้อุตสาหกรรมดีขึ้นฐานะของประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ขอบคุณที่พรรคการเมืองเห็นแก่ชาติบ้านเมือง สิ่งที่ทำวันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งในทางออกแก่ประเทศไทย”
ด้านนายชุมพล สมใจ ประธานหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้หากนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุการณ์น่าจะคลี่คลายดีขึ้น หากให้พรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยที่เป็นเครือข่ายเดียวกันเป็นจะเกิดปัญหาจะเกิดขึ้นอีกชุมนุมกันอีก
“อยากให้บ้านเมืองเรียบร้อยลองเปลี่ยนดู ลดความขัดแย้งลงไป เห็นด้วยกับที่จะเปลี่ยนขั้วการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์มาบริหารบ้านเมือง และที่ผ่านมาชมรมแบงก์ สภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมเห็นด้วยไม่อยากให้มีปัญหาหรือการชุมนุมเกิดขึ้นอีก”
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เห็นตัวกับการที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ดึง 4 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม และ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ได้เกิน 250 เสียง และประกาศตัวขอจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ แต่หากยังเป็นการจับขั้วเดิมและจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ปัญหาความขัดแย้งก็จะกลับมาอีกและไม่รู้ว่าจะจบลงอย่างไร
“การที่ ปชป. เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีความเหมาะสมแล้ว แต่ขณะนี้ ยังไม่รู้ว่าลงตัวหรือไม่กำลังติดตามอยู่” นายประมนต์กล่าว
ทั้งนี้ ภาคเอกชนอยากให้ทุกฝ่ายเปิดโอกาสให้ ปชป. เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เมื่อรัฐบาลเก่าหมดความชอบธรรม ก็ควรที่จะเปิดโอกาสให้ ปชป.ได้พิสูจน์ฝีมือเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามข้อเรียกร้องของเอกชนที่อยากให้บ้านเมืองสงบสุข และไม่อยากเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกจนทำให้ประเทศชาติเสียหาย เพราะที่ผ่านมาประเทศเสียหายมาเป็นปีแล้ว โดยเชื่อว่ารัฐบาลใหม่ที่นำโดย ปชป. จะแก้ไขวิกฤติของบ้านเมืองได้
นายประมนต์กล่าวว่า การที่พรรค ปชป.จัดตั้งรัฐบาล และจะมีการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น เท่าที่ได้พูดคุยกับภาคเอกชนต่างๆ ล้วนให้การยอมรับ แม้ว่านายอภิสิทธิ์จะมีจุดอ่อนและถูกมองว่ากระดูกยังไม่แข็งพอ แต่เชื่อว่าจากการที่นายอภิสิทธิ์เป็นบุคคลที่อยู่ในวงการเมืองมานาน มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ มาหลายปี ก็ไม่น่าจะมีปัญหา และน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในยามที่บ้านเมืองมีปัญหาเช่นนี้
“รัฐบาลใหม่ที่นำโดย ปชป. น่าจะทำงานได้ เพราะสมาชิกพรรคหลายคนเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์สูง สามารถดึงเข้ามาช่วยบริหารบ้านเมืองได้ ส่วนพรรคร่วมที่เหลือ 4 พรรค และส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่จะเข้ามาร่วมจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้ ก็มีบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ น่าจะเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาบ้านเมืองได้ เอกชนขอหนุนเต็มที่” นายประมนต์กล่าว
สำหรับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไข ก็คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาโดยเร็ว การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง และการดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
**จี้รบ.ใหม่แก้ปัญหาเศรษฐกิจ
นายปรากรม ปฐมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญตลาดเงินตลาดทุน กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกจะกระทบเข้ามายังไทยรุนแรงมากขึ้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ควรเก็บเอาไว้ก่อน เพราะถือว่าไม่ใช่เร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากปัญหาปากท้องของประชาชนซึ่งกำลังเผชิญอยู่ต้องเร่งหาทางแก้ไข และเห็นว่าแนวทางการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ เพื่อลดภาระให้กับประชาชน แม้จะกระทบต่อรายได้รัฐบาล แต่เห็นว่าหากมีการเพิ่มศักยภาพการจัดเก็บภาษีและขยายฐานให้กว้างขึ้นจะช่วยชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปได้
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท. ) กล่าวว่า รัฐบาลชุดใหม่ต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งผลกระทบไปยังประเทศต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมหาอำนาจเศรษฐกิจมีปัญหา จะทำให้รายได้จากการส่งออกน้อยลง สิ่งสำคัญต้องเร่งกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ให้ประชาชนกล้าออกมาใช้จ่าย เหมือนกับญี่ปุ่น ซึ่งกำลังแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศด้วยการให้ประชาชนที่มีเงินออมจำนวนมากนำมาเงินออกมาใช้จ่าย อีกทั้งจะต้องเร่งการฟื้นความเชื่อมั่นจากนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับคืนมา หลังจากสนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้บริการไปแล้ว เนื่องจากรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาได้เร็วที่สุด และเป็นรายได้หลักของประเทศ ที่จะช่วยเยียวยาระบบเศรษฐกิจ
“รัฐบาลจะต้องเร่งทำประชาสัมพันธ์ว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมาจะไม่เกิดขึ้นอีก เมื่อนักท่องเที่ยวมั่นใจจะทำให้หันกลับมาเที่ยวในประเทศมากขึ้นเพราะขณะนี้ยังเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว”
นอกจากนี้ รัฐบาลต้องหาแนวทางสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบ เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าปล่อยกู้ไปแล้วจะเกิดปัญหาหนี้เสีย เนื่องจากผู้ประกอบการเองก็ต้องเงินทุนหมุนเวียน รวมถึงการเดินหน้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่มีความคืบหน้าไปมากแล้วเพราะจะทำให้เงินทุนไหลไปสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เกิดการจ้างงานสร้างรายได้เพิ่มขึ้น
นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะรถไฟฟ้ามีความสำคัญมาก ถึงแม้ราคาน้ำมันจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจถูกมองเห็นความสำคัญน้อยลง จึงไม่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ละเลยไม่ยอมเดินหน้าก่อสร้าง เพราะแนวโน้มในระยะยาวระบบขนส่งสาธารณะมีความสำคัญ หากมีความพร้อมเชื่อมโยงกันทุกระบบ จะช่วยให้การเดินทางสะดวก และราคาน้ำมันระยะยาวจะปรับขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน
“หากรัฐมนตรีคนใดมากำกับดูแล ไม่อยากให้ทบทวนโครงการใหม่ สั่งให้ไปศึกษาใหม่ เพื่อมีวาระซ่อนเร้นจากผู้รับเหมา เพราะการศึกษาใหม่จะทำให้โครงการล่าช้าไปอีกนับปี เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ก็จะเห็นว่าให้มีการศึกษาใหม่ทุกครั้ง การลงทุนรถไฟฟ้าของไทยจึงเกิดขึ้นได้ช้า ดังนั้น ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาล ก็ควรเห็นว่ารถไฟฟ้าเป็นวาระแห่งชาติ ก็ควรสานต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม”นายประภัสร์กล่าว
***นายกฯ ประกันต้องการเสถียรภาพ
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การแบ่งขั้วเพื่อจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมืองในขณะนี้ค่อนข้างที่จะสับสนมากต่างฝ่ายต่างออกมาให้ข่าวกันคนละทิศละทาง ซึ่งในที่สุดแล้วเชื่อว่าทุกคนต้องการรัฐบาลที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพเข้ามาบริหารประเทศและสามารถบริหารประเทศได้อย่างจริงจัง
“คนที่จะเข้ามาตอนนี้จะต้องเป็นที่ยอมรับสามารถจัดการกับความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งและเป็นที่ยอมรับของแต่ละฝ่าย ซึ่งภาคธุรกิจเองก็ต้องการการบริหารในระยะยาวมรนโยบายในเชิงเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นรูปธรรมหลายๆ อย่างเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนได้ ไม่ว่าขั้วใดที่จะเข้ามาก็ขอให้มีเสถียรภาพสามารถบริหารประเทศได้” นายสาระกล่าว
***ทีดีอาร์ไอชี้เหมาะแก้ ศก.
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองน่าจะลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลงไปได้ และคาดว่าปชป.จะหาทีมเศรษฐกิจเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจากเศรษฐกิจได้ เพราะพรรคประชาธิปัตย์คนในกรุงเทพฯ และคนระดับกลาง ยังให้กำลังใจอยู่ แม้จะมีปัญหาการเมืองก็คงหาคนเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่าพรรคเพื่อไทยที่จะหาทีมเศรษฐกิจมาร่วมงานด้วยในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งรัฐบาลควรระวังจำนวนเสียงของ ส.ส. เพราะหากสัดส่วนของรัฐบาลใหม่และฝ่ายค้านใกล้เคียงกันมาก จะทำให้การบริหารบ้านเมืองในยุคนี้มีปัญหาและทำงานลำบาก และอาจนำไปสู่การยุบสภาได้อีก อีกทั้งอาจมีปัญหาการประท้วงแบบกลับด้าน คือ กลุ่มเสื้อแดงก็จะออกมา แต่คาดว่าคงไม่รุนแรงเหมือนกับเสื้อเหลือง เพราะเสื้อแดงประกาศชัดเจนว่าต้องการการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้ก็เป็นการเมืองแบบประชาธิปไตยแล้ว
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจและสังคมในขณะนี้ไม่ว่าขั้วใดจะฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลถือว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนเพราะประเทศต้องการผู้บริหารเข้ามาดูและเศรษฐกิจโดยเร็ว รวมทั้งออกมาหามาตรการเพื่อดูแลเศรษฐกิจในปีหน้าที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างชัดเจน รวมถึงการเข้ามาผลักดันงบประมาณกลางปีผ่านสภาเพื่อสามารถเป็นส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง
“มีหลายเรื่องที่ต้องให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาสานต่อภารกิจเร่งด่วนที่ยังค้างคาอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลหรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งก็มีภาพของผู้มีความรู้ด้านเศรษฐกิจดีอยู่แล้วก็อาจสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของประเทศต่อประชาชนและต่างชาติได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องดูภาพรวมของคณะรัฐบาลว่าองค์ประกอบจะออกมาอย่างไร หากภาพรวมออกมาดีก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าด้วยดีได้” นายสมชัยกล่าว
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ถือว่ายังเร็วไปที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งขั้วจัดตั้งรัฐบาลเนื่องจากยังมีหลายปัจจัยที่ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะประเด็นสถานะของ ส.ส.ระบบสัดส่วนของพรรคที่ถูกยุบไปว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างไร ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็จะเห็นว่าการเมื่อไทยสามารถพลิกผันได้อยู่ตลอดเวลา
“อยากเห็นความชัดเจนของการเมืองไทยในหลายๆ ด้านก่อนที่จะให้ความเห็นกับรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะสถานการณ์เป็นส.ส.ของพรรคที่ถูกยุบไป อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถเปิดประชุมสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้เมื่อไร ซึ่งเชื่อว่าหลังวันที่ 10 ธ.ค.ที่เป็นวันรัฐธรรมนูญแล้วทุกอย่างน่าจะชัดเจนมากขึ้น” นายเลอศักดิ์กล่าว
นายสมภพ มานะรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคการเมืองเดิมมาจัดตั้งรัฐบาลใหม่กับพรรค ปชป. จะช่วยลดปัญหาวังวนของการเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ และช่วยปลดล็อกปัญหาการเมือง แต่การตั้งรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีต้องเป็นที่น่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ถือว่ายอมรับได้ เพราะรัฐธรรมนูญในปัจจุบันกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส.จึงมีข้อจำกัดพอสมควร และที่สำคัญคือการหาทีมเศรษฐกิจเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ โดยเฉพาะจะมีความรุนแรงมากขึ้นในต้นปีหน้า
“รัฐบาลชุดใหม่ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่นระบบการเมืองของไทย และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการส่งออก ซึ่งจะไม่ขยายตัวในปีหน้า ปัญหาการว่างงานจากธุรกิจเอกชนลดการผลิต การท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศ จะต้องเร่งฟื้นฟูโดยเร็ว ที่สำคัญนโยบายมหภาคทั้งการเงินและการคลังต้องเหมาะสมกับฐานะของประเทศ ไม่ใช่แก้ปัญหาและหวังโปรยยาหอมในช่วงสั้นและสร้างปัญหาในระยะยาว” นายสมภพกล่าว
**นักวิชาการอุบลเตือน ปชป.ทำเพื่อชาติ
ผศ.สุริยา โชคสวัสดิ์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง โดยอดีตพรรคร่วมรัฐบาลเก่าหันมาจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์เพื่อจัดตั้งรัฐบาลว่า ทำให้บรรยากาศทางการเมืองเกิดความสมานฉันท์และลดความร้อนแรงของอุณหภูมิทางการเมืองที่คุกรุ่นติดต่อมานานหลายเดือน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ต้องคิดด้วยว่า แท้ที่จริงประชาชนต้องการรัฐบาลแห่งชาติ
ดังนั้น เมื่อพรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสได้เป็นรัฐบาลก็ต้องเป็นรัฐบาลของชาติ ไม่ใช่เป็นรัฐบาลของประชาธิปัตย์ เพราะประชาชนไม่อยากเห็นความขัดแย้งที่จะกลับมาเกิดขึ้นอีก โดยรัฐบาลใหม่ต้องมีนโยบายชัดเจนเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งประชาธิปัตย์มีบุคลากรที่มีความสามารถด้านนี้อยู่มาก ต้องแสดงผลงาน แต่ถ้ามาเป็นรัฐบาลแบบเก่าปล่อยให้มีการคอรัปชั่นกันอีกจะกลายเป็นพรรคการเมืองที่มีอายุเก่าแก่ แต่ก็ล้มเหลวด้านบริหารเหมือนพรรคการเมืองอื่น
นักวิชาการผู้นี้ให้ความเห็นกรณีหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยว่า เป็นจังหวะที่เหมาะสม เพราะประเทศกำลังอยู่ในช่วงวิกฤต นายอภิสิทธิ์ จะได้แสดงศักยภาพการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพหรือไม่
ด้าน ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ วังไพศาล นักวิชาการอีกคนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้สังคมกำลังจับตาดูรัฐบาลใหม่ที่มีประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ จะยังอยู่ในการเมืองแบบวังวนเก่าคือ ต้องมีการแบ่งโคต้า มีการจัดสรรตำแหน่งแบ่งปันกันหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เข้ามาบริหารประเทศ ต้องตระหนักเป็นลำดับแรก เพราะที่ผ่านมาประชาชนมีความเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรมของนักการเมืองที่หวังกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตัว
"การฟอร์มทีมรัฐบาลต้องตัดประเด็นเรื่องเหล่านี้ออกไป โดยไม่ยึดถือประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก เพราะถ้าหน้าตาของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ออกมาดีเป็นความหวังของประชาชน ก็จะเป็นรัฐบาลที่อยู่ได้ยาว และนายอภิสิทธิ์แทบไม่ต้องทำอะไรเลยทุกอย่างก็เดินหน้าไปได้"
เมื่อประเทศมีรัฐบาลดี ก็สามารถสร้างความมั่นใจในเวทีโลก ความเชื่อมั่นต่างๆก็จะกลับมา และวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังหวั่นเกรงกันอยู่ ก็จะไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ประชาชนมาก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศอู่ข้าวอู่น้ำ ยังมีอาหารกินเพียงแต่ทุกคนต้องเลิกการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แล้วหันมายึดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คนทั้งประเทศก็พร้อมพากันเดินไปข้างหน้าได้
**หอฯสงขลาแนะฟื้นฟูเศรษฐกิจ
นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากนี้ว่า จะต้องออกมาในรูปของความสมานฉันท์ เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังบอบช้ำและเป็นไข้ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มากมายพอสมควร โดยเฉพาะการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด โดยยอมให้พรรคประชาธิปไตย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งจะสามารถลดแรงกดดันลงไปได้มาก ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าขั้วการเมืองเดิมจะไม่ดี แต่หากยังจับขั้วเดิมอยู่แรงต่อต้านก็จะยังคงมีอยู่และปัญหาเดิมๆ จะไม่จบ
“การเมืองหลังจากนี้หากกลุ่มขั้วการเมืองเก่ายังสามารถเป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลได้ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องเคลียร์ สะอาด และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่ใช่คนที่ทำงานเพื่อพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทย และถ้าเป็นไปได้จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับรัฐบาลก่อนเลยยิ่งดี ที่สำคัญ บุคคลที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อไปจะต้องเก่งในเรื่องของเศรษฐกิจ เพราะปัญหาของประเทศขณะนี้ไม่ใช่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัญหาเศรษฐกิจที่ยังรอให้รัฐบาลชุดต่อไปเข้ามาเร่งฟื้นฟู”
นายสมชาติ พิมพ์ธนะพูนพร นายกสมาคมโรงแรมหาดใหญ่-สงขลา กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลได้จริงคงเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยแล้วประเทศไทย จะได้มีรัฐบาลที่แข็งแกร่งเข้ามาบริหารประเทศสักที ที่สำคัญคือตนอยากเห็นภาพความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นลดลง เพราะตลอดช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยเกิดความบอบช้ำกับปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศมามากแล้ว ขณะเดียวกันภาพความขัดแย้งดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศไปในทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"หากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศจริงๆ ปัญหาแรกที่อยากเรียกร้องให้เข้ามาแก้ไขคือการลดภาพแห่งความขัดแย้งภายใน ทั้งนี้ เพราะปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นลูกโซ่ ที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจเกิดความย่ำแย่ ขณะเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ ต้องคัดสรรบุคคลที่มีความเหมาะสมเข้ามาทำงานจริงๆ ไม่ใช่ว่าคัดสรรผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ในลักษณะโควต้าเหมือนรัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่บุคคลนั้นๆ ขาดคุณสมบัติในการบริหารและไม่มีความสามารถที่มากพอ จึงคล้ายกับว่าเป็นการให้ตำแหน่งเพื่อทดแทนบุญคุณ ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" นายสมชาติกล่าวและว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามการประกาศของพรรคประชาธิปัตย์จริง สิ่งหนึ่งที่อยากเรียกร้องให้ทางคณะผู้บริหารพรรคฯ เร่งดำเนินการคือปลูกจิตสำนึกให้กับคณะรัฐมนตรีให้ทำงานเพื่อชาติโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ที่สำคัญคือไม่ต้องให้มีการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่มาจากการทดแทนบุญคุณ เพราะตนมองว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ได้ส่งผลดีต่อชาติบ้านเมืองเลย
นายสุรชัย ชินโสภณพันธุ์ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดพังงา กล่าวว่า หากพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศจริงๆ อยากเรียกร้องให้ทางพรรคได้เร่งแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นการด่วน เพราะตลอดช่วงที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่มาโดยตลอดอยู่แล้วและโดยส่วนตัวมองว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลจริง ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาใดๆ เพียงแต่ทางพรรคต้องคัดสรรบุคคลที่มีความมุ่งมั่นกับการแก้ปัญหาเข้ามาดำรงตำแหน่งเท่านั้น เพราะในขณะนี้ประเทศรอให้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือการทำงานของคนไม่ได้แล้วจริงๆ
**ภาคธุรกิจเหนือขอรัฐบาลที่ยอมรับได้
นายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าภาคเอกชนคาดหวังต่อภาคการเมืองว่า หลังจากนี้ขอเพียงแค่รัฐบาลที่จะขึ้นมา ขอให้เป็นรัฐบาลที่ทุกฝ่ายยอมรับให้บริหารบ้านเมือง เมื่อจัดตั้งขึ้นมาแล้วจะไม่นำไปสู่การขัดแย้งถึงขั้นใช้ความรุนแรงในประเทศอีกเป็นพอ ส่วนความคาดหวังที่จะให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากนี้ไปตนไม่ได้หวังขอเพียงจัดตั้งแล้วไม่นำไปสู่ความวุ่ยวายชุมนุมประท้วงอีก การแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังจากนี้ ภาคเอกชนต้องช่วยตัวเองพึ่งตัวเองให้มากที่สุดไม่ได้หวังจากรัฐบาลใหม่และเตรียมรับมือไว้แล้วที่จะก้มหน้าฟื้นฟูซึ่งคงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควร
“ผมประเมินว่าปีหน้าปัญหาเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะรุนแรงยิ่งกว่าการเผาผี แต่จะเป็นปีตายอนาถาหนัก ถึงขั้นไม่มีใครเผา ดังนั้น สูตรรัฐบาลที่จะจัดตั้งเข้ามาบริหารประเทศกันหลังจากนี้ขอเพียงเป็นสูตรที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ หรือหากยอมรับไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องยึดเอาระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ตั้งคืนอำนาจให้กับประชาชน โดยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ใครทำอะไรเสียหายต้องรับผิดชอบ เพื่อที่จะเร่งสร้างความเชื่อมั่น หรือไม่ลดความเชื่อมั่นด้านการลงทุนไปมากกว่าที่เป็นอยู่”
ด้านนายวีระยุทธ สุขวัฒฑโก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชียงใหม่ กล่าวว่า หากมีการเปลี่ยนขั้วน่าจะดี ไม่ใช่สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่สองครั้งที่ผ่านมาของกลุ่มการเมืองเดิมไม่ได้ทำให้ประเทศเดินไปได้ แม้จะดังทุรังก็ไม่มีตัวดีๆ แล้ว ดังนั้นหากเปลี่ยนขั้วดูสถานการณ์ต่างๆ อาจะจะนิ่มนวลขึ้นหรือเหมาะสมกว่าในขณะนี้ ลองปฎิบัติดู หากไม่ดีปีถัดไปก็ว่ากันใหม่
"ผมไม่มีคิดว่าการยุบสภาจะทำได้โดยรักษาการรัฐบาลหรือรักษาการนายกรัฐมนตรี และการยุบสภาหนีการเปลี่ยนขั้วก็ถือว่าเป็นการเอาเปรียบกันไปหน่อย น่าจะต้องลองให้อีกฝ่ายทำงานดู ส่วนการจะล็อบบี้กันอย่างไรไม่รู้ แต่น่าจะดีขึ้นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่คาดหวังไปถึงทีมเศรษฐกิจแต่เชื่อว่าคงดีกว่าเดิม ซึ่งในวันนี้ (8 ธ.ค.) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จะนัดหารือกันเพื่อดูว่ารัฐน่าจะช่วยเหลือเราได้อย่างไรบ้างในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่นี้ จึงอยากขอร้องให้พรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทยใหม่หยุดบ้างก็น่าจะดี เพราะห่วงเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นหากดื้อที่จะจัดรัฐบาลกลุ่มเดิม”
**ภาคธุรกิจ ตอ.ขานรับเปลี่ยนขั้ว
นายชาญชัย จินดาสถาพร ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก กล่าวว่า กรณีพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และหากมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้นในความเห็นตนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บ้านเมืองของเรามีโอกาสและทิศทางพัฒนาบ้านเมืองเพิ่มขึ้น และตนขอขอบคุณขั้วการเมืองที่ให้โอกาสบ้านเมืองของเราที่ผ่านมาภาคอุตสากรรมระส่ำระส่ายเพราะภาคการเมือง
“วันนี้ภาคการเมืองทำให้อุตสาหกรรมดีขึ้นฐานะของประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ขอบคุณที่พรรคการเมืองเห็นแก่ชาติบ้านเมือง สิ่งที่ทำวันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งในทางออกแก่ประเทศไทย”
ด้านนายชุมพล สมใจ ประธานหอการค้าจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์ตอนนี้หากนายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุการณ์น่าจะคลี่คลายดีขึ้น หากให้พรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยที่เป็นเครือข่ายเดียวกันเป็นจะเกิดปัญหาจะเกิดขึ้นอีกชุมนุมกันอีก
“อยากให้บ้านเมืองเรียบร้อยลองเปลี่ยนดู ลดความขัดแย้งลงไป เห็นด้วยกับที่จะเปลี่ยนขั้วการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์มาบริหารบ้านเมือง และที่ผ่านมาชมรมแบงก์ สภาหอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมเห็นด้วยไม่อยากให้มีปัญหาหรือการชุมนุมเกิดขึ้นอีก”