การเมืองใหม่ที่คนไทยกำลังสร้างขึ้น ให้ความสำคัญต่ออำนาจประชาชนมากที่สุด นั่นคือ จะต้องเป็นอำนาจนำ กำหนดลักษณะและทิศทางการเมืองของประเทศไทย ให้พัฒนาไปได้ดีที่สุด ยังประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทย ในทุกขั้นตอนของการขับเคลื่อนสังคมไทย
ทั้งนี้ อำนาจประชาชนมิใช่อำนาจบริหาร แต่เป็นอำนาจคุมการใช้อำนาจบริหาร โดยผู้ใช้อำนาจบริหารจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจประชาชน ขึ้นต่ออำนาจประชาชน
อีกนัยหนึ่ง อำนาจเบื้องบนขึ้นต่ออำนาจเบื้องล่าง อำนาจส่วนยอดขึ้นต่ออำนาจฐานที่รองรับอยู่
พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยกำลังเดินไปบนเส้นทางนี้ อันเป็นเส้นทางประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ทำการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณเป็นขั้นๆ ด้วยการจุดเทียนปัญญาให้แก่ประชาชน ชุมนุมประท้วงแบบสันติ อหิงสา เอาธรรมนำหน้า อารยะขัดขืน และยึดมั่นในกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
พิสูจน์ได้จากการปฏิบัติ
การต่อสู้อย่างยืดเยื้อยาวนานถึง 193 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม-3 ธันวาคม 2551 ของมวลชนเรือนแสนเรือนล้าน ภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปูพื้นฐานอำนาจประชาชน ในฐานะอำนาจนำ กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยได้อย่างเป็นจริง เบิกทางไปสู่การสร้างการเมืองใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ทำให้การทำงานของระบบตุลาการมีประสิทธิภาพและเที่ยงตรงยิ่งกว่าครั้งใดๆ ซึ่งเป็นการแสดงออกของมิติ “ตุลาการภิวัตน์” เป็นไปตามเจตนารมณ์ของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นแกนนำ
นี่คือ ปรากฏการณ์รูปธรรม ที่อำนาจส่วนยอดขึ้นต่ออำนาจฐานที่รองรับอยู่ อำนาจเบื้องบนขึ้นต่ออำนาจเบื้องล่าง อำนาจประชาชนกำกับการทำงานของผู้ใช้อำนาจตุลาการ
ในทางทฤษฎี ที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ (ทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”) ก็คือ “กระบวนการประชาภิวัฒน์” อันเป็นตัวแทนอำนาจประชาชน ได้ชักนำให้ “กระบวนการตุลาการภิวัฒน์” ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ไม่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของระบอบทักษิณ ซึ่งก็คือไม่ขึ้นต่ออำนาจอิทธิพลของกลุ่มทุนสามานย์
กระบวนการประชาภิวัฒน์ อันหมายถึง การสร้างการเมืองใหม่ที่มีประชาชนเป็นเจ้าภาพ มุ่งสร้างอำนาจประชาชน และสถาปนาอำนาจประชาชนแทนที่อำนาจทุนสามานย์ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้น ในตัวเองก็คือคำตอบของการเมืองใหม่ เพราะมีแต่การขับเคลื่อนของกระบวนการประชาภิวัฒน์อย่างเป็นจริงเท่านั้น อำนาจประชาชนในฐานะอำนาจนำ อำนาจกำหนดลักษณะและทิศทางการเมืองใหม่ของประเทศไทยจึงจะปรากฏเป็นจริง
จากนี้ เราจึงพอจะ “ฟันธง” ได้ว่า เพราะความเติบใหญ่ของกระบวนการประชาภิวัฒน์ จึงกำหนดให้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ดำเนินมาได้อย่างต่อเนื่อง แสดงบทบาทฟาดฟันระบอบทักษิณให้พังพิณลงไปทีละส่วนๆ ขณะที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคลื่อนไหวคู่ขนาน ยับยั้งการกระทำใดๆ ของกลุ่มพรรคการเมืองในระบอบทักษิณที่กุมอำนาจรัฐได้อย่างทันท่วงที
การทำงานของกระบวนการประชาภิวัฒน์กับกระบวนการตุลาการภิวัฒน์จึงสอดประสานกันอย่างกลมกลืน ทำให้การต่อสู้กับระบอบทักษิณเป็นไปด้วยดี สั่งสมชัยชนะได้เป็นลำดับ ช่วยให้กระบวนการ “ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่” เป็นไปอย่างราบรื่น มิไยที่ฝ่ายตรงข้ามจะคอยข่มขู่คุกคามถึงขั้นชีวิตทั้งลับและแจ้ง
ในกรณีของกองทัพ แม้จะไม่ปรากฏเด่นชัดเท่า แต่พัฒนาการของเหตุการณ์ก็ได้เหนี่ยวโน้มให้กองทัพแสดงบทบาทในรูปของกระบวนการกองทัพภิวัตน์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ จากเดิมที่ประกาศจุดยืนอยู่ข้างฝ่ายรัฐบาล พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล มาเป็นยืนอยู่ตรงกลาง เรียกร้องให้ยุบสภาฯ และอารยะขัดขืน ในทางเป็นจริงก็คือการลดทอนอำนาจต่อรองของระบอบทักษิณอย่างมีนัยสำคัญ
บนพื้นฐานของความเป็นจริงนี้ เมื่อขบวนการการเมืองภาคประชาชนฯ อันหมายถึงกระบวนการประชาภิวัฒน์ เชื่อมประสานการทำงานในด้านต่างๆ กับกองทัพให้มากขึ้น เชื่อได้ว่า กระบวนการ “กองทัพภิวัตน์” จะต้องปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ถึงตรงนี้ เราก็จะเข้าถึงกฎเกณฑ์พัฒนาการการเมืองใหม่ของประเทศไทยได้ เกิดความกระจ่างแจ้งในสัจธรรมที่ว่า “การเมืองใหม่ก็คือผลการทำงานร่วมกันของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัตน์” อำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจนำ จะดำเนินไปได้อย่างเป็นจริง ก็ต้องเสริมด้วยอำนาจตุลาการและอำนาจกองทัพ
อำนาจรวมนี้ (โดยอำนาจประชาชนเป็นอำนาจนำ) จะเป็นอำนาจกำหนดการใช้อำนาจของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมือง ในการบริหารประเทศ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการสังกัดอยู่ในกลไกรัฐระดับต่างๆ ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชน
ขณะที่อำนาจประชาชนในรูปของกระบวนการประชาภิวัฒน์ เป็นอำนาจกำกับ กำหนด ให้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ และกระบวนการกองทัพภิวัตน์พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชนอีกที
นั่นหมายถึงว่า กระบวนการประชาภิวัฒน์คือปัจจัยกำหนดสูงสุดของระบบอำนาจใหม่ที่จะทำให้การเมืองใหม่ปรากฏเป็นจริง การสร้างขบวนการการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีอำนาจนำอย่างแท้จริง จึงเป็นภารกิจพื้นฐานที่สุดของการเมืองใหม่ในประเทศไทย
อำนาจประชาชน ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา
ในการต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์หรือระบอบทักษิณ ที่ปัจจุบันเป็นแก่นแกนของการเมืองเก่า ขบวนการการเมืองภาคประชาชนได้ค้นพบ “อาวุธวิเศษ” ของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ “ปัญญา”
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล คือผู้ที่ใช้วิธีการ “จุดเทียนปัญญา” ตั้งแต่วันแรกของการเคลื่อนไหว (ปลายปี 2548) และได้กลายเป็นแนวทางยุทธศาสตร์หลักของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด
ด้วยความเป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อ เล็งเห็นความสำคัญของการเข้าถึงความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังข้อมูลข่าวสารที่ไหลหลากฉาบฉายอยู่ผิวหน้า ทำให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุลมุ่งมั่นนำเสนอข่าวสารเชิงวิเคราะห์มาโดยตลอด เพื่อให้ผู้บริโภคสื่อสามารถเข้าถึงความจริงว่า อะไรเป็นอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อันจะนำไปสู่การเกิดปัญญาของผู้อ่านผู้ชมและผู้ฟังสื่อในเครือของกลุ่มบริษัทผู้จัดการ
ความมุ่งมั่นของเขาได้ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านระบอบทักษิณได้อย่างพอดิบพอดี ด้วยประสบการณ์ และศักยภาพเฉพาะตัวของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลและทีมงานกลุ่มบริษัทผู้จัดการ โดยเฉพาะคือ เอเอสทีวี สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่นำเสนอรายการต่างๆ ในการเข้าถึงความจริงตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การ “จุดเทียนปัญญา” ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเหนือความคาดหมายใดๆ
ในการสัประยุทธ์กับระบอบทักษิณในช่วง “สงครามครั้งสุดท้าย” ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 เอเอสทีวีได้กลายเป็น “เทียนใหญ่” จุดแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชนชาวไทยทั่วทุกภาคในประเทศและทั่วทุกแห่งในต่างประเทศ สาดแสงส่องสว่างไสวโดยไม่มีวันหยุดแม้แต่วันเดียว ลำเลียงเนื้อข่าวและคำปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และทำเนียบรัฐบาล รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิในตอนท้ายๆ ไปยังมวลชนเรือนแสนเรือนล้านอย่างถี่ยิบ กระตุ้นต่อมปัญญาของมวลชนอันกว้างใหญ่ไพศาล เกิดปรากฏการณ์เอเอสทีวีไปทั่ว คือเมื่อใดที่ใครก็ตามที่ได้รับข่าวสารผ่านเอเอสทีวี ก็จะเกิดภาวะ “ตื่นรู้” โดยพลัน ทำให้มวลชนหันมาให้การสนับสนุนการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกันมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็วยิ่ง
เอเอสทีวีจึงได้รับการยกย่องในหมู่ชาวพันธมิตรฯ ว่าเป็นสมบัติล้ำค่า เป็น “อาวุธวิเศษ” ของพวกเขา จะต้องช่วยกันสนับสนุนให้เข้มแข็งต่อไป
จากกรณีของเอเอสทีวี เราสามารถได้ข้อสรุปทันทีว่า การจุดเทียนปัญญาให้แก่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ ไม่เว้นแม้แต่มวลชน “รากหญ้า” คือวิธีการสร้างอำนาจประชาชนที่ดีที่สุด การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสถานีโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หรือสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ จะต้องดำเนินไปอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อการเมืองใหม่ปรากฏชัดขึ้น รัฐบาลมาจากประชาชน บริหารประเทศเพื่อประชาชน จักต้องดำเนินการทุกอย่างให้กระบวนการจุดเทียนปัญญาดำเนินไปอย่างเต็มที่ทุกรูปแบบ
การจุดเทียนปัญญา คือการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่มวลชน อาวุธทรงอานุภาพสูงสุดในยุคข้อมูลข่าวสาร
อำนาจนำของประชาชน อำนาจกำหนดทิศทางการเมืองใหม่ของประเทศไทย จะทำงานได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นกับการจุดเทียนปัญญา กระบวนการประชาภิวัฒน์จะดำเนินไปได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการจุดเทียนปัญญา กระบวนการตุลาการภิวัฒน์และกองทัพภิวัตน์จะดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกับกระบวนการประชาภิวัฒน์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการจุดเทียนปัญญา
การจุดเทียนปัญญา จึงเป็นภารกิจพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ของการสร้างการเมืองใหม่แบบไทย ที่ประชาชนมีอำนาจนำ กำหนดลักษณะและทิศทางการพัฒนาของการเมืองประเทศไทยได้อย่างเป็นจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอื่นๆ ของโลก ทั้งที่เป็นประเทศทุนนิยมและสังคมนิยม
ใครคุมใครในระบอบประชาธิปไตย
พัฒนาการประชาธิปไตยโลก เริ่มต้นที่ทวีปยุโรป เมื่อประเทศต่างๆ ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การเมืองการปกครองของประเทศเหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจนำของกลุ่มทุน การเมืองรับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบก็อยู่ในการควบคุมของกลุ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่าง “ทุน” กับ “พรรค” และ “ประชาชน” จึงเป็นแบบ “ทุนคุมพรรค พรรคคุมประชาชน”
ในการปกครองระบอบสังคมนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบสังคมนิยมแบบจีน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” เนื่องจากฉีกพ้นออกจากสังคมนิยมแบบดั้งเดิมที่เคยปรากฏอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียต ได้มีการนำเอาระบบเศรษฐกิจตลาดและระบบวิธีการต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาพลังการผลิตของประเทศจีน มาประยุกต์ใช้ในระบบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนอย่างกว้างขวาง เกิดเป็นกลุ่มผลประโยชน์อันหลากหลายขึ้นในระบบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน เช่น กลุ่มทุนขนาดใหญ่ และชนชั้นกลาง เป็นต้น โดยทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อำนาจของ “พรรค” ซึ่งก็คือพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ถ้าเป็นเวียดนามก็คือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม) ผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นอำนาจนำเหนืออำนาจอื่นใดในสังคมจีน
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง “พรรค” “ทุน” และ “ประชาชน” จึงปรากฏออกมาในรูป “พรรคคุมทุน ทุนคุมประชาชน” พรรคคืออำนาจนำสูงสุด เป็นอำนาจกำหนดลักษณะและทิศทางการเมืองของประเทศจีน
อนึ่ง แม้จีนจะปกครองในระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้มีอำนาจนำ แต่ด้วยอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมอุดมการณ์ รับใช้ประชาชนอย่างสุดจิตสุดใจ พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่การได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ของประชาชนใต้การปกครอง พวกเขาจึงได้เร่งพัฒนาระบบประชาธิปไตยแบบจีน (หรือเวียดนาม) ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนที่นับวันหูตากว้างไกลและอยู่ดีกินดีขึ้นทุกๆ วัน
ทั้งนี้ โดยเน้นการพัฒนาระบบประชาธิปไตยภายในพรรคเป็นเบื้องต้น เพื่อให้เกิดการเมืองการปกครองที่ทันสมัย เท่าเทียมหรือกระทั่งดีกว่าประเทศทุนนิยม
ประชาธิปไตยแบบไทย คือประชาชนคุมพรรค พรรคคุมทุน
การสร้างการเมืองใหม่ที่มีประชาชนเป็นเจ้าภาพ กระบวนการประชาภิวัฒน์เป็นองค์นำ ที่กำลังเป็นไปในประเทศไทยวันนี้ สะท้อนสัจธรรมหรือกฎเกณฑ์เบื้องลึกที่ซ่อนซ้อนอยู่ภายในสังคมไทยสำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ ระบบประชาธิปไตยแบบไทยได้เริ่มต้นแล้วด้วยการจุดเทียนปัญญา สร้างอำนาจนำอันยิ่งใหญ่ขึ้นในหมู่ประชาชนอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และไม่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศอื่นใด ทั้งที่เป็นทุนนิยมและสังคมนิยม
อำนาจประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็คืออำนาจทางปัญญาของมวลชนในขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ในฐานะอำนาจนำ โดยมีอำนาจตุลาการและอำนาจกองทัพเป็นอำนาจเสริม ด้วยการทำงานประสานกันของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัตน์ จะแสดงบทบาทอย่างมีนัยสำคัญยิ่งของการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย โดยเริ่มต้นจากการเมือง ที่เป็นการเมืองใหม่ ไปสู่ความเป็นสังคมใหม่ และชีวิตใหม่ของปวงชนชาวไทยในที่สุด
ความสัมพันธ์ของอำนาจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็จะปรากฏออกมาในรูป “ประชาชนคุมพรรค พรรคคุมทุน”
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเต็มรูป ในทางปฏิบัติก็ต้อง 1. สร้างอำนาจประชาชนให้ยิ่งใหญ่ 2. สร้างพรรคการเมืองตัวแทนอำนาจประชาชน ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ 3. ปฏิรูประบบ กลไก และโครงสร้างต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปลดปล่อยและพัฒนาพลังการผลิตอย่างรอบด้าน กระตุ้นให้มีการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนไทยสามารถพัฒนาตนเองให้เติบใหญ่ แข่งขันได้ในทุกระดับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การเมืองใหม่ของประเทศไทย อันหมายถึงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็จะกลายเป็นการเมืองที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก มีความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง ยังประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วนในสังคมไทย
ทั้งนี้ อำนาจประชาชนมิใช่อำนาจบริหาร แต่เป็นอำนาจคุมการใช้อำนาจบริหาร โดยผู้ใช้อำนาจบริหารจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจประชาชน ขึ้นต่ออำนาจประชาชน
อีกนัยหนึ่ง อำนาจเบื้องบนขึ้นต่ออำนาจเบื้องล่าง อำนาจส่วนยอดขึ้นต่ออำนาจฐานที่รองรับอยู่
พัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยกำลังเดินไปบนเส้นทางนี้ อันเป็นเส้นทางประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ทำการต่อสู้เอาชนะระบอบทักษิณเป็นขั้นๆ ด้วยการจุดเทียนปัญญาให้แก่ประชาชน ชุมนุมประท้วงแบบสันติ อหิงสา เอาธรรมนำหน้า อารยะขัดขืน และยึดมั่นในกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด
พิสูจน์ได้จากการปฏิบัติ
การต่อสู้อย่างยืดเยื้อยาวนานถึง 193 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม-3 ธันวาคม 2551 ของมวลชนเรือนแสนเรือนล้าน ภายใต้การนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ปูพื้นฐานอำนาจประชาชน ในฐานะอำนาจนำ กำหนดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศไทยได้อย่างเป็นจริง เบิกทางไปสู่การสร้างการเมืองใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ทำให้การทำงานของระบบตุลาการมีประสิทธิภาพและเที่ยงตรงยิ่งกว่าครั้งใดๆ ซึ่งเป็นการแสดงออกของมิติ “ตุลาการภิวัตน์” เป็นไปตามเจตนารมณ์ของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่มีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นแกนนำ
นี่คือ ปรากฏการณ์รูปธรรม ที่อำนาจส่วนยอดขึ้นต่ออำนาจฐานที่รองรับอยู่ อำนาจเบื้องบนขึ้นต่ออำนาจเบื้องล่าง อำนาจประชาชนกำกับการทำงานของผู้ใช้อำนาจตุลาการ
ในทางทฤษฎี ที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ (ทฤษฎี “3 ดาบกายสิทธิ์”) ก็คือ “กระบวนการประชาภิวัฒน์” อันเป็นตัวแทนอำนาจประชาชน ได้ชักนำให้ “กระบวนการตุลาการภิวัฒน์” ดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ไม่สนองตอบต่อผลประโยชน์ของระบอบทักษิณ ซึ่งก็คือไม่ขึ้นต่ออำนาจอิทธิพลของกลุ่มทุนสามานย์
กระบวนการประชาภิวัฒน์ อันหมายถึง การสร้างการเมืองใหม่ที่มีประชาชนเป็นเจ้าภาพ มุ่งสร้างอำนาจประชาชน และสถาปนาอำนาจประชาชนแทนที่อำนาจทุนสามานย์ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้น ในตัวเองก็คือคำตอบของการเมืองใหม่ เพราะมีแต่การขับเคลื่อนของกระบวนการประชาภิวัฒน์อย่างเป็นจริงเท่านั้น อำนาจประชาชนในฐานะอำนาจนำ อำนาจกำหนดลักษณะและทิศทางการเมืองใหม่ของประเทศไทยจึงจะปรากฏเป็นจริง
จากนี้ เราจึงพอจะ “ฟันธง” ได้ว่า เพราะความเติบใหญ่ของกระบวนการประชาภิวัฒน์ จึงกำหนดให้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ดำเนินมาได้อย่างต่อเนื่อง แสดงบทบาทฟาดฟันระบอบทักษิณให้พังพิณลงไปทีละส่วนๆ ขณะที่ขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เคลื่อนไหวคู่ขนาน ยับยั้งการกระทำใดๆ ของกลุ่มพรรคการเมืองในระบอบทักษิณที่กุมอำนาจรัฐได้อย่างทันท่วงที
การทำงานของกระบวนการประชาภิวัฒน์กับกระบวนการตุลาการภิวัฒน์จึงสอดประสานกันอย่างกลมกลืน ทำให้การต่อสู้กับระบอบทักษิณเป็นไปด้วยดี สั่งสมชัยชนะได้เป็นลำดับ ช่วยให้กระบวนการ “ล้างการเมืองเก่า สร้างการเมืองใหม่” เป็นไปอย่างราบรื่น มิไยที่ฝ่ายตรงข้ามจะคอยข่มขู่คุกคามถึงขั้นชีวิตทั้งลับและแจ้ง
ในกรณีของกองทัพ แม้จะไม่ปรากฏเด่นชัดเท่า แต่พัฒนาการของเหตุการณ์ก็ได้เหนี่ยวโน้มให้กองทัพแสดงบทบาทในรูปของกระบวนการกองทัพภิวัตน์ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ จากเดิมที่ประกาศจุดยืนอยู่ข้างฝ่ายรัฐบาล พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล มาเป็นยืนอยู่ตรงกลาง เรียกร้องให้ยุบสภาฯ และอารยะขัดขืน ในทางเป็นจริงก็คือการลดทอนอำนาจต่อรองของระบอบทักษิณอย่างมีนัยสำคัญ
บนพื้นฐานของความเป็นจริงนี้ เมื่อขบวนการการเมืองภาคประชาชนฯ อันหมายถึงกระบวนการประชาภิวัฒน์ เชื่อมประสานการทำงานในด้านต่างๆ กับกองทัพให้มากขึ้น เชื่อได้ว่า กระบวนการ “กองทัพภิวัตน์” จะต้องปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ถึงตรงนี้ เราก็จะเข้าถึงกฎเกณฑ์พัฒนาการการเมืองใหม่ของประเทศไทยได้ เกิดความกระจ่างแจ้งในสัจธรรมที่ว่า “การเมืองใหม่ก็คือผลการทำงานร่วมกันของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัตน์” อำนาจประชาชนซึ่งเป็นอำนาจนำ จะดำเนินไปได้อย่างเป็นจริง ก็ต้องเสริมด้วยอำนาจตุลาการและอำนาจกองทัพ
อำนาจรวมนี้ (โดยอำนาจประชาชนเป็นอำนาจนำ) จะเป็นอำนาจกำหนดการใช้อำนาจของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมือง ในการบริหารประเทศ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐและข้าราชการสังกัดอยู่ในกลไกรัฐระดับต่างๆ ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชน
ขณะที่อำนาจประชาชนในรูปของกระบวนการประชาภิวัฒน์ เป็นอำนาจกำกับ กำหนด ให้กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ และกระบวนการกองทัพภิวัตน์พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชนอีกที
นั่นหมายถึงว่า กระบวนการประชาภิวัฒน์คือปัจจัยกำหนดสูงสุดของระบบอำนาจใหม่ที่จะทำให้การเมืองใหม่ปรากฏเป็นจริง การสร้างขบวนการการเมืองภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ประชาชนมีอำนาจนำอย่างแท้จริง จึงเป็นภารกิจพื้นฐานที่สุดของการเมืองใหม่ในประเทศไทย
อำนาจประชาชน ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา
ในการต่อสู้กับกลุ่มทุนสามานย์หรือระบอบทักษิณ ที่ปัจจุบันเป็นแก่นแกนของการเมืองเก่า ขบวนการการเมืองภาคประชาชนได้ค้นพบ “อาวุธวิเศษ” ของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ “ปัญญา”
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล คือผู้ที่ใช้วิธีการ “จุดเทียนปัญญา” ตั้งแต่วันแรกของการเคลื่อนไหว (ปลายปี 2548) และได้กลายเป็นแนวทางยุทธศาสตร์หลักของขบวนการการเมืองภาคประชาชนที่นำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด
ด้วยความเป็นผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อ เล็งเห็นความสำคัญของการเข้าถึงความจริงที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังข้อมูลข่าวสารที่ไหลหลากฉาบฉายอยู่ผิวหน้า ทำให้คุณสนธิ ลิ้มทองกุลมุ่งมั่นนำเสนอข่าวสารเชิงวิเคราะห์มาโดยตลอด เพื่อให้ผู้บริโภคสื่อสามารถเข้าถึงความจริงว่า อะไรเป็นอะไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อันจะนำไปสู่การเกิดปัญญาของผู้อ่านผู้ชมและผู้ฟังสื่อในเครือของกลุ่มบริษัทผู้จัดการ
ความมุ่งมั่นของเขาได้ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับการเคลื่อนไหวมวลชนต่อต้านระบอบทักษิณได้อย่างพอดิบพอดี ด้วยประสบการณ์ และศักยภาพเฉพาะตัวของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลและทีมงานกลุ่มบริษัทผู้จัดการ โดยเฉพาะคือ เอเอสทีวี สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่นำเสนอรายการต่างๆ ในการเข้าถึงความจริงตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การ “จุดเทียนปัญญา” ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเหนือความคาดหมายใดๆ
ในการสัประยุทธ์กับระบอบทักษิณในช่วง “สงครามครั้งสุดท้าย” ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 เอเอสทีวีได้กลายเป็น “เทียนใหญ่” จุดแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชนชาวไทยทั่วทุกภาคในประเทศและทั่วทุกแห่งในต่างประเทศ สาดแสงส่องสว่างไสวโดยไม่มีวันหยุดแม้แต่วันเดียว ลำเลียงเนื้อข่าวและคำปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ และทำเนียบรัฐบาล รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิในตอนท้ายๆ ไปยังมวลชนเรือนแสนเรือนล้านอย่างถี่ยิบ กระตุ้นต่อมปัญญาของมวลชนอันกว้างใหญ่ไพศาล เกิดปรากฏการณ์เอเอสทีวีไปทั่ว คือเมื่อใดที่ใครก็ตามที่ได้รับข่าวสารผ่านเอเอสทีวี ก็จะเกิดภาวะ “ตื่นรู้” โดยพลัน ทำให้มวลชนหันมาให้การสนับสนุนการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกันมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็วยิ่ง
เอเอสทีวีจึงได้รับการยกย่องในหมู่ชาวพันธมิตรฯ ว่าเป็นสมบัติล้ำค่า เป็น “อาวุธวิเศษ” ของพวกเขา จะต้องช่วยกันสนับสนุนให้เข้มแข็งต่อไป
จากกรณีของเอเอสทีวี เราสามารถได้ข้อสรุปทันทีว่า การจุดเทียนปัญญาให้แก่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ ไม่เว้นแม้แต่มวลชน “รากหญ้า” คือวิธีการสร้างอำนาจประชาชนที่ดีที่สุด การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสถานีโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง หรือสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ จะต้องดำเนินไปอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อการเมืองใหม่ปรากฏชัดขึ้น รัฐบาลมาจากประชาชน บริหารประเทศเพื่อประชาชน จักต้องดำเนินการทุกอย่างให้กระบวนการจุดเทียนปัญญาดำเนินไปอย่างเต็มที่ทุกรูปแบบ
การจุดเทียนปัญญา คือการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่มวลชน อาวุธทรงอานุภาพสูงสุดในยุคข้อมูลข่าวสาร
อำนาจนำของประชาชน อำนาจกำหนดทิศทางการเมืองใหม่ของประเทศไทย จะทำงานได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นกับการจุดเทียนปัญญา กระบวนการประชาภิวัฒน์จะดำเนินไปได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการจุดเทียนปัญญา กระบวนการตุลาการภิวัฒน์และกองทัพภิวัตน์จะดำเนินไปได้อย่างสอดคล้องกับกระบวนการประชาภิวัฒน์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการจุดเทียนปัญญา
การจุดเทียนปัญญา จึงเป็นภารกิจพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ของการสร้างการเมืองใหม่แบบไทย ที่ประชาชนมีอำนาจนำ กำหนดลักษณะและทิศทางการพัฒนาของการเมืองประเทศไทยได้อย่างเป็นจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอื่นๆ ของโลก ทั้งที่เป็นประเทศทุนนิยมและสังคมนิยม
ใครคุมใครในระบอบประชาธิปไตย
พัฒนาการประชาธิปไตยโลก เริ่มต้นที่ทวีปยุโรป เมื่อประเทศต่างๆ ก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การเมืองการปกครองของประเทศเหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจนำของกลุ่มทุน การเมืองรับใช้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ และเป็นส่วนสำคัญ พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบก็อยู่ในการควบคุมของกลุ่มทุนเป็นส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่าง “ทุน” กับ “พรรค” และ “ประชาชน” จึงเป็นแบบ “ทุนคุมพรรค พรรคคุมประชาชน”
ในการปกครองระบอบสังคมนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบสังคมนิยมแบบจีน หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” เนื่องจากฉีกพ้นออกจากสังคมนิยมแบบดั้งเดิมที่เคยปรากฏอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและอดีตสหภาพโซเวียต ได้มีการนำเอาระบบเศรษฐกิจตลาดและระบบวิธีการต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาพลังการผลิตของประเทศจีน มาประยุกต์ใช้ในระบบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีนอย่างกว้างขวาง เกิดเป็นกลุ่มผลประโยชน์อันหลากหลายขึ้นในระบบสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน เช่น กลุ่มทุนขนาดใหญ่ และชนชั้นกลาง เป็นต้น โดยทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อำนาจของ “พรรค” ซึ่งก็คือพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ถ้าเป็นเวียดนามก็คือพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม) ผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นอำนาจนำเหนืออำนาจอื่นใดในสังคมจีน
รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง “พรรค” “ทุน” และ “ประชาชน” จึงปรากฏออกมาในรูป “พรรคคุมทุน ทุนคุมประชาชน” พรรคคืออำนาจนำสูงสุด เป็นอำนาจกำหนดลักษณะและทิศทางการเมืองของประเทศจีน
อนึ่ง แม้จีนจะปกครองในระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้มีอำนาจนำ แต่ด้วยอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมอุดมการณ์ รับใช้ประชาชนอย่างสุดจิตสุดใจ พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่การได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆ ของประชาชนใต้การปกครอง พวกเขาจึงได้เร่งพัฒนาระบบประชาธิปไตยแบบจีน (หรือเวียดนาม) ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบความต้องการของประชาชนที่นับวันหูตากว้างไกลและอยู่ดีกินดีขึ้นทุกๆ วัน
ทั้งนี้ โดยเน้นการพัฒนาระบบประชาธิปไตยภายในพรรคเป็นเบื้องต้น เพื่อให้เกิดการเมืองการปกครองที่ทันสมัย เท่าเทียมหรือกระทั่งดีกว่าประเทศทุนนิยม
ประชาธิปไตยแบบไทย คือประชาชนคุมพรรค พรรคคุมทุน
การสร้างการเมืองใหม่ที่มีประชาชนเป็นเจ้าภาพ กระบวนการประชาภิวัฒน์เป็นองค์นำ ที่กำลังเป็นไปในประเทศไทยวันนี้ สะท้อนสัจธรรมหรือกฎเกณฑ์เบื้องลึกที่ซ่อนซ้อนอยู่ภายในสังคมไทยสำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ ระบบประชาธิปไตยแบบไทยได้เริ่มต้นแล้วด้วยการจุดเทียนปัญญา สร้างอำนาจนำอันยิ่งใหญ่ขึ้นในหมู่ประชาชนอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และไม่เคยเกิดขึ้นที่ประเทศอื่นใด ทั้งที่เป็นทุนนิยมและสังคมนิยม
อำนาจประชาชน ซึ่งปัจจุบันก็คืออำนาจทางปัญญาของมวลชนในขบวนการการเมืองภาคประชาชนนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ในฐานะอำนาจนำ โดยมีอำนาจตุลาการและอำนาจกองทัพเป็นอำนาจเสริม ด้วยการทำงานประสานกันของกระบวนการประชาภิวัฒน์ ตุลาการภิวัฒน์ และกองทัพภิวัตน์ จะแสดงบทบาทอย่างมีนัยสำคัญยิ่งของการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทย โดยเริ่มต้นจากการเมือง ที่เป็นการเมืองใหม่ ไปสู่ความเป็นสังคมใหม่ และชีวิตใหม่ของปวงชนชาวไทยในที่สุด
ความสัมพันธ์ของอำนาจทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็จะปรากฏออกมาในรูป “ประชาชนคุมพรรค พรรคคุมทุน”
เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเต็มรูป ในทางปฏิบัติก็ต้อง 1. สร้างอำนาจประชาชนให้ยิ่งใหญ่ 2. สร้างพรรคการเมืองตัวแทนอำนาจประชาชน ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ 3. ปฏิรูประบบ กลไก และโครงสร้างต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปลดปล่อยและพัฒนาพลังการผลิตอย่างรอบด้าน กระตุ้นให้มีการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนไทยสามารถพัฒนาตนเองให้เติบใหญ่ แข่งขันได้ในทุกระดับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การเมืองใหม่ของประเทศไทย อันหมายถึงระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็จะกลายเป็นการเมืองที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก มีความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง ยังประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วนในสังคมไทย